ผู้จัดการรายวัน 360 - "บิ๊กตู่" ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั่วราชอาณาจักร สู้ "โควิด-19" เริ่ม 26 มี.ค.-30 เม.ย.63 ลั่นคุมเอง แบ่งงานปลัด 4 กระทรวง พ่วง "ผบ.ทสส." เตรียมออกข้อกำหนดเข้ม คุมการระบาด ยันไม่ปิดร้านค้าของดำรงชีพ ไม่ปรานี พวกฉวยโอกาสหากินบนความทุกข์คน คาดโทษจนท.ละเลยหน้าที่ ด้าน "วิษณุ" ชี้ยังไม่ปิดประเทศ ประชาชนเดินทางไปต่างจังหวัดได้ แต่ไม่ควร เพราะจะมีมาตรการตรวจเข้มข้น ยันยังไม่ประกาศเคอร์ฟิว แย้มมีจริงต้อง 24 ชม. “อนุทิน”เผยช่วงนี้ห้ามคนต่างชาติเข้าประเทศ ด้านสธ.แถลงผู้ติดเชื้อเพิ่ม 107 ราย หมอ 2 ราย ทำให้ 25 บุคลากรแพทย์ต้องหยุด-กักตัว วอนผู้ป่วยอย่าปิดบังประวัติ
วานนี้ (25มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงภาวะวิกฤตจากไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์อาจจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่านี้อีกหลายเท่า รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินมาตรการต่างๆด้วยความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อหยุดการแพร่ระบาด และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร โดยอาศัยอำนาจ ตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.63 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้จะยกระดับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้ตั้งไว้แล้วให้เป็นหน่วยงานพิเศษ ตาม มาตรา 7 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อบูรณาการทุกส่วนราชการ และสั่งการทุกส่วนราชการได้อย่างมีเอกภาพ รวดเร็ว เนื่องจากในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ จำเป็นต้องรวมศูนย์สั่งการไว้ที่เดียว เพื่อกำหนดแนวทางที่ชัดเจนและขจัดปัญหาการทำงานแบบต่างคนต่างทำของหน่วยงานต่างๆ โดยมีตนเป็นประธานฯ
นายกฯ กล่าวว่า ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าฯ กทม. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้า ผู้รับผิดชอบ ด้านการควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้า ผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคง การปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ รวมทั้ง มีทีมงานจากทุกภาคส่วนเป็นคณะที่ปรึกษา โดยจะประชุมร่วมกันทุกวัน เพื่อให้ทุกฝ่ายรับทราบข้อมูลสถานการณ์เป็นภาพเดียวกัน และเมื่อตนแจกจ่ายงาน ทุกฝ่ายจะรับทราบแผนงานทั้งหมดไปพร้อมกัน สามารถทำงานสอดประสานไปในทิศทางเดียวกันได้ซึ่งผู้ที่จะรายงานต่อประชาชน จะต้องเป็นตนหรือผู้ที่ผมมอบหมายเท่านั้น
สำหรับข้อกำหนดต่างๆเช่น การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง, การปิดสถานที่เสี่ยง ซึ่งปิดไปบ้างแล้ว, การปิดช่องทางเข้าประเทศ, การเสนอข้อพึงปฏิบัติสำหรับ ผู้สูงวัย คนป่วย และเด็ก การห้ามกักตุนสินค้า,การขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล การห้ามเสนอข่าวบิดเบือน จะมีการประกาศตามมาหลังจากที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว และยืนยันว่า ภายใต้พ.ร.ก.ฉบับนี้ จะไม่มีการปิดร้านค้าที่จำหน่ายสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ข้อกำหนดเหล่านี้ อาจจะสร้างความไม่สะดวกกับประชาชนบ้าง แต่ขอให้ทุกท่านร่วมมือ และเสียสละเพื่อส่วนรวม งานหลักที่เราจะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด และดำเนินการควบคู่กันไป คืองานป้องกันการระบาด ด้วยการควบคุมพื้นที่ ทุกพื้นที่ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
นอกจากนี้ จะปรับปรุงให้การสื่อสาร เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 กับประชาชนให้มีความถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน โดยผมได้สั่งการให้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ และมาตรการต่างๆ รวมถึงคำแนะนำต่อประชาชนเพียงวันละหนึ่งครั้ง เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดการบิดเบือนข้อมูล และลดการสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ขอยืนยันว่าประชาชน จะได้รับข้อมูลที่เป็นทางการ ตรงไปตรงมา โปร่งใส และชัดเจน จากเพียงแหล่งเดียวเป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ขอความร่วมมือให้สื่อมวลชน เพิ่มความรับผิดชอบในการรายงานข่าว ขอให้ใช้ข้อมูลจากการแถลงประจำวันของทีมสื่อสารเฉพาะกิจและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก แทนการขอสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ และบุคลากรทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่
สำหรับผู้ใช้โซเชียลมีเดียทุกท่าน พวกเราคือทีมเดียวกัน ทุกท่านสามารถร่วมแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องจากการแถลงประจำวัน ช่วยกันรายงาน และต่อต้านการแชร์ข่าวปลอม และใช้ความคิดสร้างสรรค์ของท่าน ช่วยให้ประชาชน รับรู้ และเข้าใจข้อมูลได้ง่ายและกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขอเตือนกลุ่มคนที่จะฉวยโอกาส หาผลประโยชน์บนความทุกข์ร้อนความเป็นความตายของประชาชนให้รู้ไว้ว่า อย่าคิดว่าจะหลุดพ้นไปได้ ผมจะทำทุกทางที่จะใช้กฏหมายจัดการกับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด และไม่ปรานี
การบังคับใช้กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมโรค จะเข้มข้นขึ้นมากทั่วประเทศ ทั้งการเอาผิดผู้ที่ละเมิดกฎหมาย และการเอาผิดข้าราชการ และเจ้าพนักงาน ที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่
"ภาครัฐอย่างเดียว ไม่สามารถฝ่าวิกฤตไปได้เพียงลำพัง ถ้าเราไม่จับมือ และดึงภาคส่วนอื่นๆเข้ามาเป็นทีมเดียวกันกับภาครัฐ ประเทศไทยโชคดีที่มีคนเก่งมากมาย อยู่ในภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่พร้อมจะช่วยรัฐบาลแก้ปัญหา ภายในหนึ่งสัปดาห์ผมจะกระจายทีมงาน ไปทำความเข้าใจปัญหา และความต้องการของทุกกลุ่มรวมทั้งรับทราบศักยภาพของแต่ละกลุ่มในการที่จะเข้ามาร่วมมือกันแก้ปัญหา และผมจะดึงคนเก่งเหล่านี้ มาร่วมกันทำงาน ต่อจากนี้ไป มาตรการต่างๆ ที่รัฐจะออกมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้ จะมีความเข้มข้นขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน ผมขอความร่วมมือ และขอให้มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม รวมทั้งปฏิบัติตามนโยบายป้องกันโรคระบาดนี้ อย่างเคร่งครัด บางคนอาจจะรู้สึกเสียสิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการทำเพื่อปกป้องชีวิตของท่านเอง ของครอบครัวของท่าน และของคนไทยทุกคน หากพวกเราเข้าใจ เข้มงวดและจริงจัง ในเวลาไม่นาน ผมมั่นใจว่า พวกเราจะสามารถก้าวพ้นสถานการณ์ อันเลวร้ายนี้ไปได้" นายกฯ กล่าว
ช่วงเวลานี้ อาจเป็นช่วงเวลาที่สร้างความเจ็บปวด และท้าทายความรัก ความสามัคคีของพวกเราทุกคน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่จะดึงสิ่งที่ดีที่สุด ในตัวของพวกเราคนไทยทุกคนออกมา นั่นก็คือ ความกล้าหาญ ความรัก ที่มีต่อพี่น้องร่วมชาติ ความเสียสละที่จะช่วยเหลือผู้อื่น รวมถึงความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ซึ่งจะนำพาให้เราก้าวผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ไปได้ ด้วยความสามัคคี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจของคนไทย ซึ่งหาไม่ได้จากชาติใดในโลก ไวรัสโควิด-19 ที่น่ากลัวและอันตราย ได้สร้างความเสียหายไปทั่วโลกก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ไวรัสโควิด-19ไม่สามารถทำร้ายได้ก็คือความดีงามในใจและความสามัคคี ของคนไทยจะกลับมาเปล่งประกายไปทั่วผืนแผ่นดินไทยอีกครั้ง
"ผมในฐานะนายกรัฐมนตรี ขอให้คำมั่นสัญญากับทุกคนว่า ผมจะเดินหน้าสุดความสามารถ เพื่อนำประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของ ประชาชนชาวไทยทุกคน เป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด ผมขอให้ทุกคนเชื่อมั่น และร่วมมือกัน ฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน ประเทศไทยที่รักของเราทุกคน จะต้องกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง เราจะสู้ไปด้วยกัน และเราจะชนะไปด้วยกัน ขอบคุณครับ " นายกฯ กล่าว
จากนั้นได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงนาม โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.63 ถึงวันที่ 30 เม.ย. 63 ประกาศ ณ วันที่ 25 มี.ค.63
"วิษณุ" ยันยังไม่เคอร์ฟิว- แย้มถ้ามีเจอ 24 ชม.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า เราได้เตรียมการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไว้ แต่มีผลทันทีไม่ได้ โดยประกาศดังกล่าวสามารถโอนอำนาจของรัฐมนตรีของกระทรวงตามกฎหมายใดก็ได้มาเป็นของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับข้อเสนอ และจะมีการออกคำสั่งให้โอนอำนาจรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ. 40 ฉบับ มาเป็นของนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ คำสั่งที่ 1 เป็นการโอนอำนาจเพื่อความรวดเร็วบูรณาการ
คำสั่งที่ 2 เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้รักษาสถานการณ์ นายกฯจะเป็นผู้อำนวยสถานการณ์ทั่วประเทศ รองนายกฯจะเป็นผู้ช่วยเรียงตามลำดับในการรักษาราชการ ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก นายวิษณุ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองนายกและรมว.พาณิชย์ และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าจะรับผิดชอบด้านต่างๆทั่วราชอาณาจักร
คำสั่งที่ 3 การตั้งศูนย์หรือหน่วยบริหาร ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ยกระดับเป็นศอฉ. กรณีจำเป็นเร่งด่วนจะพิจารณาสั่งการในนาม ศอฉ. โดยนายกฯไม่ต้องเรียกประชุมเต็มคณะ สามารถตั้งกรรกการเฉพาะกิจได้ และจะมีการจัดโครงการอีก 5-6 ศูนย์ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติจะรับไปดำเนินการ
คำสั่งที่ 4 ข้อกำหนด มี 16 ข้อ มีทั้งหมด 3 ประเภท
ประเภทแรก ห้ามทำ เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนด แต่หากในจังหวัดใดที่ผู้ว่ายังไม่ออกคำสั่งให้ผู้ว่าดำเนินการสั่งห้ามในลักษณะปิดอย่างเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกแห่ง สถานที่บางอย่างให้พิจารณาตามความเหมาะสม เช่น แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ชายหาดต่างๆ ศาสนสถาน เป็นต้น ขณะที่ การเดินทาง อากาศยาน เรือ ยานพาหนะ ทุกด่านทั่วประเทศ ห้ามเข้ามาในประเทศ ยกเว้น บุคคลดังต่อไปนี้ ผู้ที่มีสัญชาติไทย บุคคลที่เป็นคณะทูต เป็นต้น นอกจากนี้ยังห้ามชุมนุม ห้ามแพร่ข่าวปลอม,เฟคนิวส์
ประเภทที่ 2.ให้ทำ บังคับส่วนราชการ เช่น ให้ หน่วยงานของรัฐเตรียมมาตรการช่วยเหลือประชาชน
และประเภทที่ 3.ควรทำ เป็นคำแนะนำประชาชน เรายังไม่ไปถึงขั้นบังคับ เช่นไม่ควรออกนอกบ้าน บุคคลสามประเภทที่ทางการแพทย์ระบุว่ามีความเสี่ยงสูงมาก คือ บุคคลสูงอายุเกิน 70 ปี บุคคลที่เป็นโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันสูง โรคปิด เป็นต้น และประเภท 3 เด็กตั้งแต่ 5 ขวบลงมา ขอให้อยู่กับบ้านเว้นแต่ต้องออกมาทำกิจกรรมต่างๆ ขณะที่เรื่องการเดินทางไปต่างจังหวัดนั้นจะมีมาตรการทำให้การเดินทางยากและลำบากเว้นคนที่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น อาจจะมีการตั้งจุดสกัดหรือด่าน โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างจังหวัด หรือตรวจดูว่า ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ นั่งห่างกัน 1 เมตรหรือไม่ และบางกรณีอาจใช้แอพลิเคชั่นติดตามตัว.
ส่วนแผนปฏิบัติงานการเคอร์ฟิวนั้น นายวิษณุ กล่าวยืนยัน ยังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว จัดอยู่ในประเภทมาตรการควรทำ ยังไม่ได้ห้าม เป็นคำเตือนระดับที่ 1 แต่ถ้าจะไปถึงขั้นห้าม จะมีการเตือนโดยไม่ออกข้อกำหนดล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ตื่นตระหนก ไม่ให้กักตุน ซื้อของเป็นที่โกลาหล หากมีการประกาศเคอร์ฟิว การประกาศจะไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยเจอ คือ ที่ผ่านมาเคอร์ฟิวจะประกาศห้ามออกกลางคืน เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความมั่นคง
“แต่โรคโควิด เชื้อไม่ได้ออกตอนเที่ยงคืนหรือจ้องจะออกตอนไหน เชื้อโรคออก 24 ชั่วโมง ดังนั้น หากจะมีประกาศจะเคอร์ฟิวตลอด 24 ชั่วโมงแบบมีข้อยกเว้น แต่เชื้อก็ไม่ได้ออกมาง่ายขนาดนั้น ถ้ามีเคอร์ฟิว ต้อง 24 ชั่วโมง แต่มีข้อยกเว้นเป็นอันมาก เช่น ไปซื้อของ ไปหาหมอ ไปธนาคาร ไปส่งสินค้ารับสินค้าได้ ไปศาลได้ วิทยุ โทรทัศน์ ต้องออกข่าวได้ ซึ่งข้อยกเว้นในประกาศฉบับที่ 1 จะถูกนำมาใช้ในการประกาศครั้งต่อไป”
“อนุทิน”เผยช่วงนี้ห้ามคนต่างชาติเข้าประเทศ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวครั้งภายหลังนายกฯ หลังแถลงการณ์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า มาตรการต่างๆ ต้องเข้มข้นขึ้น ไม่ให้มีการเข้าประเทศของคนต่างชาติในช่วงนี้ เพื่อป้องกันเชื้อที่จะมาจากต่างชาติ เราจะได้มาเน้นในการรักษาคนที่อยู่ในประเทศให้ได้มากที่สุด ซึ่งกลุ่มใหญ่ ๆในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรามีมาตรการไม่ให้เขาเดินทางข้ามจังหวัด และส่งแพทย์ อสม. รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล เข้าไปเฝ้าระวัง ทำการรักษาคนที่ป่วย ส่วนคนที่เข้าข่ายจะป่วย ก็ต้องเฝ้าระวังให้เรียบร้อย จัดให้เป็นโซนๆ
นายอนุทิน มั่นใจว่า หลังประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สถานการณ์ต้องดีขึ้น ขอเพียงประชาชนต้องอดทนที่จะอยู่ห่างกันซักระยะหนึ่ง หากทุกคนอยู่ห่างกันได้ ไม่สุงสิงกันแค่ 3 สัปดาห์ ทุกอย่างก็เรียบร้อย นั่นคือทฤษฎี แต่เราก็พยายามอยู่ห่างกันมากที่สุด แต่หากจะมีการติดเชื้อ ก็จะอยู่ในวงที่แคบที่สุด ซึ่งสามารถรักษาได้ ขอเพียงให้ทุกคนเข้าใจ และช่วยกันคนละไม้คนละมือที่จะอยู่ห่างกัน และแยกตัวเองออกไป ไม่ให้สัมผัสใกล้ชิด 2-3 สัปดาห์ วงแพร่เชื้อก็จะเล็กลงๆ สิ่งที่สำคัญคือความพร้อมในการรักษาพยาบาล ความพร้อมของยา และอุปกรณ์เครื่องมือ ซึ่งตอนนี้พร้อม แต่อย่าป่วยให้มากกว่านี้ หากทุกคนจำกัดวงได้ สิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่ก็จะเหลือ มากกว่าที่จะต้องใช้ ก็จะสร้างความมั่นใจว่า เราจะรักษาสถานการณ์นี้ได้ รัฐบาลและหมอ ทำทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว เหลือแต่ความร่วมมือจากประชาชนเท่านั้น
สธ.เผยหมอติด'โควิด-19' 2 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า สรุปรวมประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันสะสม 934 ราย กลับบ้านแล้ว 70 รายและรักษาอยู่ใน รพ.จำนวน 860 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 4 ราย และเสียชีวิต 4 ราย โดยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 107 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นแพทย์พี่เลี้ยง หรือแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 จำนวน 2 ราย
“การพบแพทย์ติดเชื้อเพิ่ม 2 คน ทำให้แพทย์และบุคคลกรอีก25 รายที่ร่วมปฏิบัติงาน และสัมผัสใกล้ชิด ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่กักตัวนาน 14 วัน ซึ่งการติดเชื้อสืบเนื่องจากผู้ป่วยปิดบังประวัติ เมื่อสอบสวนโรคประวัติย้อนหลังจึงให้ข้อมูลว่าสามีไปสนามมวยมา ดังนั้นอยากขอความรับผิดชอบจากประชาชนให้บอกข้อมูลทั้งหมดโดยไม่ปิดบัง เพราะส่งผลกระทบต่อแพทย์และบุคคลกรแพทย์ มีผลต่อระบบสาธารณสุขที่ขาดแคลนกำลังมารักษาผู้ป่วยในช่วงวิกฤตโรคโควิด-19” โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าว
วานนี้ (25มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงภาวะวิกฤตจากไวรัสโควิด-19 และสถานการณ์อาจจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่านี้อีกหลายเท่า รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินมาตรการต่างๆด้วยความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อหยุดการแพร่ระบาด และลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร โดยอาศัยอำนาจ ตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.63 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้จะยกระดับศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้ตั้งไว้แล้วให้เป็นหน่วยงานพิเศษ ตาม มาตรา 7 แห่งพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อบูรณาการทุกส่วนราชการ และสั่งการทุกส่วนราชการได้อย่างมีเอกภาพ รวดเร็ว เนื่องจากในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ จำเป็นต้องรวมศูนย์สั่งการไว้ที่เดียว เพื่อกำหนดแนวทางที่ชัดเจนและขจัดปัญหาการทำงานแบบต่างคนต่างทำของหน่วยงานต่างๆ โดยมีตนเป็นประธานฯ
นายกฯ กล่าวว่า ได้กำหนดให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านการสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าฯ กทม. ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้า ผู้รับผิดชอบ ด้านการควบคุมสินค้าและเวชภัณฑ์ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้า ผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านการต่างประเทศ และการคุ้มครองช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ และ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านความมั่นคง การปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ทหาร และตำรวจ รวมทั้ง มีทีมงานจากทุกภาคส่วนเป็นคณะที่ปรึกษา โดยจะประชุมร่วมกันทุกวัน เพื่อให้ทุกฝ่ายรับทราบข้อมูลสถานการณ์เป็นภาพเดียวกัน และเมื่อตนแจกจ่ายงาน ทุกฝ่ายจะรับทราบแผนงานทั้งหมดไปพร้อมกัน สามารถทำงานสอดประสานไปในทิศทางเดียวกันได้ซึ่งผู้ที่จะรายงานต่อประชาชน จะต้องเป็นตนหรือผู้ที่ผมมอบหมายเท่านั้น
สำหรับข้อกำหนดต่างๆเช่น การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง, การปิดสถานที่เสี่ยง ซึ่งปิดไปบ้างแล้ว, การปิดช่องทางเข้าประเทศ, การเสนอข้อพึงปฏิบัติสำหรับ ผู้สูงวัย คนป่วย และเด็ก การห้ามกักตุนสินค้า,การขึ้นราคาสินค้าโดยไม่มีเหตุผล การห้ามเสนอข่าวบิดเบือน จะมีการประกาศตามมาหลังจากที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว และยืนยันว่า ภายใต้พ.ร.ก.ฉบับนี้ จะไม่มีการปิดร้านค้าที่จำหน่ายสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ข้อกำหนดเหล่านี้ อาจจะสร้างความไม่สะดวกกับประชาชนบ้าง แต่ขอให้ทุกท่านร่วมมือ และเสียสละเพื่อส่วนรวม งานหลักที่เราจะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด และดำเนินการควบคู่กันไป คืองานป้องกันการระบาด ด้วยการควบคุมพื้นที่ ทุกพื้นที่ และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
นอกจากนี้ จะปรับปรุงให้การสื่อสาร เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 กับประชาชนให้มีความถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน โดยผมได้สั่งการให้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ และมาตรการต่างๆ รวมถึงคำแนะนำต่อประชาชนเพียงวันละหนึ่งครั้ง เพื่อลดความซ้ำซ้อน ลดการบิดเบือนข้อมูล และลดการสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ขอยืนยันว่าประชาชน จะได้รับข้อมูลที่เป็นทางการ ตรงไปตรงมา โปร่งใส และชัดเจน จากเพียงแหล่งเดียวเป็นประจำทุกวัน นอกจากนี้ขอความร่วมมือให้สื่อมวลชน เพิ่มความรับผิดชอบในการรายงานข่าว ขอให้ใช้ข้อมูลจากการแถลงประจำวันของทีมสื่อสารเฉพาะกิจและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก แทนการขอสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ และบุคลากรทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มที่
สำหรับผู้ใช้โซเชียลมีเดียทุกท่าน พวกเราคือทีมเดียวกัน ทุกท่านสามารถร่วมแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องจากการแถลงประจำวัน ช่วยกันรายงาน และต่อต้านการแชร์ข่าวปลอม และใช้ความคิดสร้างสรรค์ของท่าน ช่วยให้ประชาชน รับรู้ และเข้าใจข้อมูลได้ง่ายและกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขอเตือนกลุ่มคนที่จะฉวยโอกาส หาผลประโยชน์บนความทุกข์ร้อนความเป็นความตายของประชาชนให้รู้ไว้ว่า อย่าคิดว่าจะหลุดพ้นไปได้ ผมจะทำทุกทางที่จะใช้กฏหมายจัดการกับกลุ่มคนเหล่านี้อย่างรวดเร็ว เด็ดขาด และไม่ปรานี
การบังคับใช้กฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมโรค จะเข้มข้นขึ้นมากทั่วประเทศ ทั้งการเอาผิดผู้ที่ละเมิดกฎหมาย และการเอาผิดข้าราชการ และเจ้าพนักงาน ที่ละเลยการปฏิบัติหน้าที่
"ภาครัฐอย่างเดียว ไม่สามารถฝ่าวิกฤตไปได้เพียงลำพัง ถ้าเราไม่จับมือ และดึงภาคส่วนอื่นๆเข้ามาเป็นทีมเดียวกันกับภาครัฐ ประเทศไทยโชคดีที่มีคนเก่งมากมาย อยู่ในภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่พร้อมจะช่วยรัฐบาลแก้ปัญหา ภายในหนึ่งสัปดาห์ผมจะกระจายทีมงาน ไปทำความเข้าใจปัญหา และความต้องการของทุกกลุ่มรวมทั้งรับทราบศักยภาพของแต่ละกลุ่มในการที่จะเข้ามาร่วมมือกันแก้ปัญหา และผมจะดึงคนเก่งเหล่านี้ มาร่วมกันทำงาน ต่อจากนี้ไป มาตรการต่างๆ ที่รัฐจะออกมา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อร้ายนี้ จะมีความเข้มข้นขึ้น จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน ผมขอความร่วมมือ และขอให้มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม รวมทั้งปฏิบัติตามนโยบายป้องกันโรคระบาดนี้ อย่างเคร่งครัด บางคนอาจจะรู้สึกเสียสิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการทำเพื่อปกป้องชีวิตของท่านเอง ของครอบครัวของท่าน และของคนไทยทุกคน หากพวกเราเข้าใจ เข้มงวดและจริงจัง ในเวลาไม่นาน ผมมั่นใจว่า พวกเราจะสามารถก้าวพ้นสถานการณ์ อันเลวร้ายนี้ไปได้" นายกฯ กล่าว
ช่วงเวลานี้ อาจเป็นช่วงเวลาที่สร้างความเจ็บปวด และท้าทายความรัก ความสามัคคีของพวกเราทุกคน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงเวลาที่จะดึงสิ่งที่ดีที่สุด ในตัวของพวกเราคนไทยทุกคนออกมา นั่นก็คือ ความกล้าหาญ ความรัก ที่มีต่อพี่น้องร่วมชาติ ความเสียสละที่จะช่วยเหลือผู้อื่น รวมถึงความเอื้ออาทรต่อกันและกัน ซึ่งจะนำพาให้เราก้าวผ่านช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ไปได้ ด้วยความสามัคคี ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจของคนไทย ซึ่งหาไม่ได้จากชาติใดในโลก ไวรัสโควิด-19 ที่น่ากลัวและอันตราย ได้สร้างความเสียหายไปทั่วโลกก็จริง แต่สิ่งหนึ่งที่ไวรัสโควิด-19ไม่สามารถทำร้ายได้ก็คือความดีงามในใจและความสามัคคี ของคนไทยจะกลับมาเปล่งประกายไปทั่วผืนแผ่นดินไทยอีกครั้ง
"ผมในฐานะนายกรัฐมนตรี ขอให้คำมั่นสัญญากับทุกคนว่า ผมจะเดินหน้าสุดความสามารถ เพื่อนำประเทศไทยให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปให้ได้ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของ ประชาชนชาวไทยทุกคน เป็นสิ่งสำคัญเหนืออื่นใด ผมขอให้ทุกคนเชื่อมั่น และร่วมมือกัน ฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน ประเทศไทยที่รักของเราทุกคน จะต้องกลับมาแข็งแรงอีกครั้ง เราจะสู้ไปด้วยกัน และเราจะชนะไปด้วยกัน ขอบคุณครับ " นายกฯ กล่าว
จากนั้นได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงนาม โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.63 ถึงวันที่ 30 เม.ย. 63 ประกาศ ณ วันที่ 25 มี.ค.63
"วิษณุ" ยันยังไม่เคอร์ฟิว- แย้มถ้ามีเจอ 24 ชม.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี แถลงว่า เราได้เตรียมการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯไว้ แต่มีผลทันทีไม่ได้ โดยประกาศดังกล่าวสามารถโอนอำนาจของรัฐมนตรีของกระทรวงตามกฎหมายใดก็ได้มาเป็นของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับข้อเสนอ และจะมีการออกคำสั่งให้โอนอำนาจรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ. 40 ฉบับ มาเป็นของนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ คำสั่งที่ 1 เป็นการโอนอำนาจเพื่อความรวดเร็วบูรณาการ
คำสั่งที่ 2 เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้รักษาสถานการณ์ นายกฯจะเป็นผู้อำนวยสถานการณ์ทั่วประเทศ รองนายกฯจะเป็นผู้ช่วยเรียงตามลำดับในการรักษาราชการ ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายก นายวิษณุ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฐ์ รองนายกและรมว.พาณิชย์ และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข ส่วนผู้ที่ทำหน้าที่หัวหน้าจะรับผิดชอบด้านต่างๆทั่วราชอาณาจักร
คำสั่งที่ 3 การตั้งศูนย์หรือหน่วยบริหาร ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ยกระดับเป็นศอฉ. กรณีจำเป็นเร่งด่วนจะพิจารณาสั่งการในนาม ศอฉ. โดยนายกฯไม่ต้องเรียกประชุมเต็มคณะ สามารถตั้งกรรกการเฉพาะกิจได้ และจะมีการจัดโครงการอีก 5-6 ศูนย์ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติจะรับไปดำเนินการ
คำสั่งที่ 4 ข้อกำหนด มี 16 ข้อ มีทั้งหมด 3 ประเภท
ประเภทแรก ห้ามทำ เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนด แต่หากในจังหวัดใดที่ผู้ว่ายังไม่ออกคำสั่งให้ผู้ว่าดำเนินการสั่งห้ามในลักษณะปิดอย่างเดียวกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกแห่ง สถานที่บางอย่างให้พิจารณาตามความเหมาะสม เช่น แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ชายหาดต่างๆ ศาสนสถาน เป็นต้น ขณะที่ การเดินทาง อากาศยาน เรือ ยานพาหนะ ทุกด่านทั่วประเทศ ห้ามเข้ามาในประเทศ ยกเว้น บุคคลดังต่อไปนี้ ผู้ที่มีสัญชาติไทย บุคคลที่เป็นคณะทูต เป็นต้น นอกจากนี้ยังห้ามชุมนุม ห้ามแพร่ข่าวปลอม,เฟคนิวส์
ประเภทที่ 2.ให้ทำ บังคับส่วนราชการ เช่น ให้ หน่วยงานของรัฐเตรียมมาตรการช่วยเหลือประชาชน
และประเภทที่ 3.ควรทำ เป็นคำแนะนำประชาชน เรายังไม่ไปถึงขั้นบังคับ เช่นไม่ควรออกนอกบ้าน บุคคลสามประเภทที่ทางการแพทย์ระบุว่ามีความเสี่ยงสูงมาก คือ บุคคลสูงอายุเกิน 70 ปี บุคคลที่เป็นโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันสูง โรคปิด เป็นต้น และประเภท 3 เด็กตั้งแต่ 5 ขวบลงมา ขอให้อยู่กับบ้านเว้นแต่ต้องออกมาทำกิจกรรมต่างๆ ขณะที่เรื่องการเดินทางไปต่างจังหวัดนั้นจะมีมาตรการทำให้การเดินทางยากและลำบากเว้นคนที่มีความจำเป็นจริงๆ เช่น อาจจะมีการตั้งจุดสกัดหรือด่าน โดยเฉพาะรอยต่อระหว่างจังหวัด หรือตรวจดูว่า ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ นั่งห่างกัน 1 เมตรหรือไม่ และบางกรณีอาจใช้แอพลิเคชั่นติดตามตัว.
ส่วนแผนปฏิบัติงานการเคอร์ฟิวนั้น นายวิษณุ กล่าวยืนยัน ยังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว จัดอยู่ในประเภทมาตรการควรทำ ยังไม่ได้ห้าม เป็นคำเตือนระดับที่ 1 แต่ถ้าจะไปถึงขั้นห้าม จะมีการเตือนโดยไม่ออกข้อกำหนดล่วงหน้า เพื่อไม่ให้ตื่นตระหนก ไม่ให้กักตุน ซื้อของเป็นที่โกลาหล หากมีการประกาศเคอร์ฟิว การประกาศจะไม่เหมือนกับสิ่งที่เราเคยเจอ คือ ที่ผ่านมาเคอร์ฟิวจะประกาศห้ามออกกลางคืน เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความมั่นคง
“แต่โรคโควิด เชื้อไม่ได้ออกตอนเที่ยงคืนหรือจ้องจะออกตอนไหน เชื้อโรคออก 24 ชั่วโมง ดังนั้น หากจะมีประกาศจะเคอร์ฟิวตลอด 24 ชั่วโมงแบบมีข้อยกเว้น แต่เชื้อก็ไม่ได้ออกมาง่ายขนาดนั้น ถ้ามีเคอร์ฟิว ต้อง 24 ชั่วโมง แต่มีข้อยกเว้นเป็นอันมาก เช่น ไปซื้อของ ไปหาหมอ ไปธนาคาร ไปส่งสินค้ารับสินค้าได้ ไปศาลได้ วิทยุ โทรทัศน์ ต้องออกข่าวได้ ซึ่งข้อยกเว้นในประกาศฉบับที่ 1 จะถูกนำมาใช้ในการประกาศครั้งต่อไป”
“อนุทิน”เผยช่วงนี้ห้ามคนต่างชาติเข้าประเทศ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวครั้งภายหลังนายกฯ หลังแถลงการณ์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินว่า มาตรการต่างๆ ต้องเข้มข้นขึ้น ไม่ให้มีการเข้าประเทศของคนต่างชาติในช่วงนี้ เพื่อป้องกันเชื้อที่จะมาจากต่างชาติ เราจะได้มาเน้นในการรักษาคนที่อยู่ในประเทศให้ได้มากที่สุด ซึ่งกลุ่มใหญ่ ๆในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรามีมาตรการไม่ให้เขาเดินทางข้ามจังหวัด และส่งแพทย์ อสม. รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล เข้าไปเฝ้าระวัง ทำการรักษาคนที่ป่วย ส่วนคนที่เข้าข่ายจะป่วย ก็ต้องเฝ้าระวังให้เรียบร้อย จัดให้เป็นโซนๆ
นายอนุทิน มั่นใจว่า หลังประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน สถานการณ์ต้องดีขึ้น ขอเพียงประชาชนต้องอดทนที่จะอยู่ห่างกันซักระยะหนึ่ง หากทุกคนอยู่ห่างกันได้ ไม่สุงสิงกันแค่ 3 สัปดาห์ ทุกอย่างก็เรียบร้อย นั่นคือทฤษฎี แต่เราก็พยายามอยู่ห่างกันมากที่สุด แต่หากจะมีการติดเชื้อ ก็จะอยู่ในวงที่แคบที่สุด ซึ่งสามารถรักษาได้ ขอเพียงให้ทุกคนเข้าใจ และช่วยกันคนละไม้คนละมือที่จะอยู่ห่างกัน และแยกตัวเองออกไป ไม่ให้สัมผัสใกล้ชิด 2-3 สัปดาห์ วงแพร่เชื้อก็จะเล็กลงๆ สิ่งที่สำคัญคือความพร้อมในการรักษาพยาบาล ความพร้อมของยา และอุปกรณ์เครื่องมือ ซึ่งตอนนี้พร้อม แต่อย่าป่วยให้มากกว่านี้ หากทุกคนจำกัดวงได้ สิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่ก็จะเหลือ มากกว่าที่จะต้องใช้ ก็จะสร้างความมั่นใจว่า เราจะรักษาสถานการณ์นี้ได้ รัฐบาลและหมอ ทำทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว เหลือแต่ความร่วมมือจากประชาชนเท่านั้น
สธ.เผยหมอติด'โควิด-19' 2 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงความคืบหน้าของสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่า สรุปรวมประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันสะสม 934 ราย กลับบ้านแล้ว 70 รายและรักษาอยู่ใน รพ.จำนวน 860 ราย มีผู้ป่วยอาการหนัก 4 ราย และเสียชีวิต 4 ราย โดยพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 107 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเป็นแพทย์พี่เลี้ยง หรือแพทย์ใช้ทุนปีที่ 2 จำนวน 2 ราย
“การพบแพทย์ติดเชื้อเพิ่ม 2 คน ทำให้แพทย์และบุคคลกรอีก25 รายที่ร่วมปฏิบัติงาน และสัมผัสใกล้ชิด ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่กักตัวนาน 14 วัน ซึ่งการติดเชื้อสืบเนื่องจากผู้ป่วยปิดบังประวัติ เมื่อสอบสวนโรคประวัติย้อนหลังจึงให้ข้อมูลว่าสามีไปสนามมวยมา ดังนั้นอยากขอความรับผิดชอบจากประชาชนให้บอกข้อมูลทั้งหมดโดยไม่ปิดบัง เพราะส่งผลกระทบต่อแพทย์และบุคคลกรแพทย์ มีผลต่อระบบสาธารณสุขที่ขาดแคลนกำลังมารักษาผู้ป่วยในช่วงวิกฤตโรคโควิด-19” โฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าว