ผู้จัดการรายวัน 360-ประเดิมใช้ "เซอร์กิต เบรกเกอร์" เกณฑ์ใหม่ หุ้นไทยดิ่งเหวกว่า 102.78 จุด ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ เผย 3 ปัจจัยลดกดดันตลาดหุ้นทั้งมาตรการปิดห้าง ราคาน้ำมัน และยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูง คลอดมาตรการใหม่สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าแตะ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ นักบริหารเงินคาดการณ์ กนง. หั่นดอกเบี้ยอีก 0.25% ในการประชุม 25 มี.ค.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (23 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า จากความกังวลการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง รวมถึงการแพร่ระบาดในไทยยังคงอยู่ในอัตราสูง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเวลา 15.25 น. ดัชนีลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1,037.05 จุด ลดลง 90.19 จุด หรือ 8.00% ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงสั่งหยุดพักการซื้อขายเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 30 นาที ซึ่งเป็นครั้งแรกหลักจากที่ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ในกรณีที่หุ้นปรับตัวลดลง 8% จะหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว และนับเป็นครั้งที่ 3 ภายในรอบ 1 เดือนนี้
หลังจากเปิดการซื้อขายอีกครั้ง ดัชนีตลาดหุ้นยังคงปรับตัวลดลง แตะระดับต่ำสุดที่ 1,022.83 จุด สูงสุด 1,065.67 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,024.46 จุด ลดลงจากวันก่อน 102.78 จุด หรือคิดเป็น 9.12% มูลค่าการซื้อขายรวม 59,677.79 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิ 4,235.46 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 1,263.76 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,344.90 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 6,844.13 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ราคาปิดที่ 17.10 บาท ลดลง 3.00 บาท หรือ 14.93% มูลค่าการซื้อขาย 5,099.38 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ราคาปิด 27.25 บาท ลดลง 2.25 บาท หรือ 7.63% มูลค่าการซื้อขาย 4,575.25 ล้านบาท และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ราคาปิด 58.50 บาท ลดลง 0.75 บาท หรือ 1.27% มูลค่าการซื้อขาย 3,342.64 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ต่างปรับลดลงถ้วนหน้า ยกเว้นดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 334.95 จุด หรือ 2.02% ปิดที่ 16,887.78 จุด ส่วนตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็ง ปิด 21,696.13 จุด ลดลง 1,108.94 จุด หรือ 4.86% ตลาดหุ้นจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ปิด 2,660.17 จุด ลดลง 85.45 จุด หรือ 3.11% ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ดัชนีคอมโพสิต (KOSPI) ปิดที่ 1,482.46 จุด ลดลง 83.69 จุด หรือ 5.34%
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงแรง จนต้องใช้มาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้นไทย โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ปรับตัวลงมากว่า 4-5% และบางประเทศลดลงกว่าระดับ 12% ขณะที่การปรับมาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ ลงมาที่ระดับ 8% ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น และดัชนีไม่ปรับตัวลดลงถึงระดับเดิมที่ 10%
สำหรับปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การประกาศปิดห้างในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กระทบต่อราคาหุ้นกลุ่มค้าปลีก 2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงกว่า 10% และ 3.การรายงานจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน กลุ่มค้าปลีก กลุ่มซ่อมแซมบ้าน กลุ่มการบิน และกลุ่มการเงินด้วย
ขณะที่บางอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงน้อย เช่น กลุ่มไอซีที , กลุ่มการแพทย์ , กลุ่มบริโภค และกลุ่มธุรกิจประกัน แต่เชื่อว่าหลังจากการที่หน่วยงานต่างๆ มีมาตรการออกมา เพื่อไม่ให้สถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงกว่านี้ ก็หวังว่าหลังจากนี้สถานการณ์ต่างๆ จะปรับตัวดีขึ้น
ส่วนประเด็นเรื่องของการปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ เหมือนตลาดหุ้นจีน-ฟิลิปปินส์นั้น นายภากร กล่าวว่า สิ่งสุดท้ายที่จะปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ต้องมาจากการที่ภาคธนาคารปิดการให้บริการ ซึ่งหากเป็นเหตุอื่นๆ แทบไม่มีเหตุผลที่จะต้องปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ
สำหรับมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเพิ่มเติมนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังพิจารณาอยู่หลายมาตรการ แต่ประเด็นสำคัญขณะนี้ คือ การให้ข้อมูลในการประเมินสินทรัพย์ต่างๆ ให้กับนักลงทุนในการประกอบการตัดสินใจลงทุน เพื่อเปรียบเทียบกับอนาคต และในส่วนของการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น ถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มองอยู่ แต่ตอนนี้เชื่อว่าการออกมาตรการต่างๆ ควรพิจารณาเป็นระดับไป
ด้านนักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์ ระบุว่า เงินบาทวานนี้ปิดตลาดที่ 33.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าจากเปิดตลาดที่ 32.86 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยปัจจัยหลักๆ มาจากความกังวลในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทีมีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของไทย ทำให้มีแรงเทขายทั้งในส่วนของตลาดหุ้น ตลาดตราสาร และเงินบาทออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาตรการเสริมสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ก็ตาม แต่ยังไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.83 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.05 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินแนวโน้มเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75-33.30 ต่อเหรียญสหรัฐ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 32.50 ต่อเหรียญสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% สู่จุดต่ำสุดครั้งใหม่ที่ 0.50% ในวันที่ 25 มี.ค.2563 หลังการประชุมนัดพิเศษวันที่ 20 มี.ค.2563 มีมติเอกฉันท์ให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.00% เป็น 0.75% โดย กนง. ระบุว่าการระบาดของโควิด-19 ในระยะข้างหน้ารุนแรงกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งกระทบสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงินไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (23 มี.ค.) ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในช่วงเช้า จากความกังวลการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง รวมถึงการแพร่ระบาดในไทยยังคงอยู่ในอัตราสูง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวลง ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเวลา 15.25 น. ดัชนีลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1,037.05 จุด ลดลง 90.19 จุด หรือ 8.00% ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงสั่งหยุดพักการซื้อขายเป็นการชั่วคราว เป็นเวลา 30 นาที ซึ่งเป็นครั้งแรกหลักจากที่ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ในกรณีที่หุ้นปรับตัวลดลง 8% จะหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว และนับเป็นครั้งที่ 3 ภายในรอบ 1 เดือนนี้
หลังจากเปิดการซื้อขายอีกครั้ง ดัชนีตลาดหุ้นยังคงปรับตัวลดลง แตะระดับต่ำสุดที่ 1,022.83 จุด สูงสุด 1,065.67 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,024.46 จุด ลดลงจากวันก่อน 102.78 จุด หรือคิดเป็น 9.12% มูลค่าการซื้อขายรวม 59,677.79 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิ 4,235.46 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 1,263.76 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,344.90 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 6,844.13 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ราคาปิดที่ 17.10 บาท ลดลง 3.00 บาท หรือ 14.93% มูลค่าการซื้อขาย 5,099.38 ล้านบาท บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ราคาปิด 27.25 บาท ลดลง 2.25 บาท หรือ 7.63% มูลค่าการซื้อขาย 4,575.25 ล้านบาท และบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ราคาปิด 58.50 บาท ลดลง 0.75 บาท หรือ 1.27% มูลค่าการซื้อขาย 3,342.64 ล้านบาท
ขณะที่ตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ต่างปรับลดลงถ้วนหน้า ยกเว้นดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 334.95 จุด หรือ 2.02% ปิดที่ 16,887.78 จุด ส่วนตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็ง ปิด 21,696.13 จุด ลดลง 1,108.94 จุด หรือ 4.86% ตลาดหุ้นจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ปิด 2,660.17 จุด ลดลง 85.45 จุด หรือ 3.11% ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ดัชนีคอมโพสิต (KOSPI) ปิดที่ 1,482.46 จุด ลดลง 83.69 จุด หรือ 5.34%
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงแรง จนต้องใช้มาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะตลาดหุ้นไทย โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป ปรับตัวลงมากว่า 4-5% และบางประเทศลดลงกว่าระดับ 12% ขณะที่การปรับมาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ ลงมาที่ระดับ 8% ทำให้ตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น และดัชนีไม่ปรับตัวลดลงถึงระดับเดิมที่ 10%
สำหรับปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1.การประกาศปิดห้างในพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กระทบต่อราคาหุ้นกลุ่มค้าปลีก 2.ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงกว่า 10% และ 3.การรายงานจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน กลุ่มค้าปลีก กลุ่มซ่อมแซมบ้าน กลุ่มการบิน และกลุ่มการเงินด้วย
ขณะที่บางอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงน้อย เช่น กลุ่มไอซีที , กลุ่มการแพทย์ , กลุ่มบริโภค และกลุ่มธุรกิจประกัน แต่เชื่อว่าหลังจากการที่หน่วยงานต่างๆ มีมาตรการออกมา เพื่อไม่ให้สถานการณ์การแพร่ระบาดรุนแรงกว่านี้ ก็หวังว่าหลังจากนี้สถานการณ์ต่างๆ จะปรับตัวดีขึ้น
ส่วนประเด็นเรื่องของการปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ เหมือนตลาดหุ้นจีน-ฟิลิปปินส์นั้น นายภากร กล่าวว่า สิ่งสุดท้ายที่จะปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ ต้องมาจากการที่ภาคธนาคารปิดการให้บริการ ซึ่งหากเป็นเหตุอื่นๆ แทบไม่มีเหตุผลที่จะต้องปิดตลาดหลักทรัพย์ฯ
สำหรับมาตรการเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนเพิ่มเติมนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำลังพิจารณาอยู่หลายมาตรการ แต่ประเด็นสำคัญขณะนี้ คือ การให้ข้อมูลในการประเมินสินทรัพย์ต่างๆ ให้กับนักลงทุนในการประกอบการตัดสินใจลงทุน เพื่อเปรียบเทียบกับอนาคต และในส่วนของการจัดตั้งกองทุนพยุงหุ้น ถือเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มองอยู่ แต่ตอนนี้เชื่อว่าการออกมาตรการต่างๆ ควรพิจารณาเป็นระดับไป
ด้านนักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์ ระบุว่า เงินบาทวานนี้ปิดตลาดที่ 33.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ อ่อนค่าจากเปิดตลาดที่ 32.86 บาทต่อเหรียญสหรัฐ โดยปัจจัยหลักๆ มาจากความกังวลในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด 19 ทีมีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของไทย ทำให้มีแรงเทขายทั้งในส่วนของตลาดหุ้น ตลาดตราสาร และเงินบาทออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาตรการเสริมสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้ก็ตาม แต่ยังไม่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนได้ โดยระหว่างวันค่าเงินบาทแข็งค่าสุดที่ระดับ 32.83 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ระดับ 33.05 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินแนวโน้มเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75-33.30 ต่อเหรียญสหรัฐ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 32.50 ต่อเหรียญสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงอีก 0.25% สู่จุดต่ำสุดครั้งใหม่ที่ 0.50% ในวันที่ 25 มี.ค.2563 หลังการประชุมนัดพิเศษวันที่ 20 มี.ค.2563 มีมติเอกฉันท์ให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.00% เป็น 0.75% โดย กนง. ระบุว่าการระบาดของโควิด-19 ในระยะข้างหน้ารุนแรงกว่าที่เคยประเมินไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งกระทบสภาพคล่องและกลไกการทำงานของตลาดการเงินไทย