ผู้จัดการรายวัน 360-ตลาดหุ้นเอเชียร่วงระนาว หลังเฟดหั่นดอกเบี้ยฉุกเฉินเหลือ 0-0.25% ชี้ชัดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19ส่วนในไทยนักลงทุนกังวลเสี่ยงเข้าสู่ระยะ 3 หลังพบผู้ติดเชื้อใหม่เพิ่มอีก 33 ราย ฉุดดัชนีหุ้นไทยติดลบกว่า 82.83 จุด ปิดที่ 1,046.08 จุด ก.ล.ต. พร้อมให้ บลจ. ยื่นจัดตั้งกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ เพื่อเสนอขายหน่วยได้ทัน 1 เม.ย.63 หวังเข้าช่วยพยุงตลาดหุ้น ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนแตะ 32.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (16 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ โดยตลาดหุ้นเอเชียต่างติดลบ สองคล้องกับดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ปรับตัวลงมา หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ฉุกเฉิน ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือ 0.00-0.25% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ นักลงทุนยังกังวลการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เสี่ยงจะเข้าสู่ระยะที่ 3 รวมทั้งพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 33 ราย ทำให้ยอดรวมผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 147 ราย กดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแตะระดับต่ำสุดที่ 1,043.79 จุด สูงสุดที่ 1,105.20 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,046.08 จุด ลดลงจากวันก่อน 82.83 จุด หรือคิดเป็น 7.34% มูลค่าการซื้อขายกว่า 68,179.26 ล้านบาท โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ 11.25 ล้านล้านบาท หรือลดลงจากวันก่อนเฉียด 8.9 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศ ยังคงขายสุทธิ 5,425.08 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,946.58 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,460.32 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 4,938.82 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3อันดับแรก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ราคาปิด 60.00 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 2.83% มูลค่าซื้อขาย 5,723.07 ล้านบาท บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ราคาปิด 15.60 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 13.81% มูลค่าซื้อขาย 4,739.79 ล้านบาท และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ราคาปิด 26.25 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 6.25% มูลค่าซื้อขาย 4,536.70 ล้านบาท
สำหรับตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย ต่างปรับตัวลดลงกันถ้วนหน้า อาทิ ตลาดหุ้นโตเกียว ดัชนีนิกเกอิ ปิดที่ 17,002.04 จุด ลดลง 429.01 จุด หรือ 2.46% ตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็ง ปิดที่ 23,063.57 จุด ลดลง 969.34 จุด หรือ 4.03% ตลาดหุ้นจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ปิดที่ 2,789.25 จุด ลดลง 98.18 จุด หรือ 3.40% ตลาดหุ้นไต้หวัน ดัชนี TAIEX ปิดที่ 9,717.77 จุด ลดลง 411.10 จุด หรือ 4.06% และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ดัชนีคอมโพสิต (KOSPI) ปิดที่ 1,714.86 จุด ลดลง 56.58 จุด หรือ 3.19%
น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึง ความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนเพื่อการออม (SSF) ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ว่า วานนี้ (16 มี.ค.) สำนักงานก.ล.ต. ได้ประชุมหารือกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) และสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เพื่อหารือและทำความเข้าใจในรายละเอียดการจัดตั้งกองทุน โดย ก.ล.ต. พร้อมที่จะรับคำขอจัดตั้งกองทุนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อให้พร้อมเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในวันที่ 1 เม.ย.2563
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2563 มีมติเห็นชอบเรื่องมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ระยะที่ 1 โดยมีมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน ให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด โดยต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย.2563 และถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี
นักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์ ระบุค่าเงินบาทวานนี้ปิดตลาดที่ 32.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากเปิดตลาดที่ระดับ 31.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะนักลงทุนมีความกังวลในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น ขณะที่ตลาดทุนก็ยังมีความผันผวน ทำให้มีการเทขายเงินบาทออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเงินแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 31.66 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ 32.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.70-32.20 ต่อดอลลาร์สหรัฐ
ผู้สื่อข่าวรายงาน บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (16 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงในทิศทางเดียวกับตลาดต่างประเทศ โดยตลาดหุ้นเอเชียต่างติดลบ สองคล้องกับดาวโจนส์ฟิวเจอร์สที่ปรับตัวลงมา หลังจากที่ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ฉุกเฉิน ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือ 0.00-0.25% ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ขณะที่ปัจจัยในประเทศ นักลงทุนยังกังวลการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เสี่ยงจะเข้าสู่ระยะที่ 3 รวมทั้งพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 33 ราย ทำให้ยอดรวมผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 147 ราย กดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยแตะระดับต่ำสุดที่ 1,043.79 จุด สูงสุดที่ 1,105.20 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,046.08 จุด ลดลงจากวันก่อน 82.83 จุด หรือคิดเป็น 7.34% มูลค่าการซื้อขายกว่า 68,179.26 ล้านบาท โดยมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) อยู่ที่ 11.25 ล้านล้านบาท หรือลดลงจากวันก่อนเฉียด 8.9 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศ ยังคงขายสุทธิ 5,425.08 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 1,946.58 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,460.32 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 4,938.82 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3อันดับแรก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ราคาปิด 60.00 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 2.83% มูลค่าซื้อขาย 5,723.07 ล้านบาท บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ราคาปิด 15.60 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 13.81% มูลค่าซื้อขาย 4,739.79 ล้านบาท และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ราคาปิด 26.25 บาท ลดลง 1.75 บาท หรือ 6.25% มูลค่าซื้อขาย 4,536.70 ล้านบาท
สำหรับตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย ต่างปรับตัวลดลงกันถ้วนหน้า อาทิ ตลาดหุ้นโตเกียว ดัชนีนิกเกอิ ปิดที่ 17,002.04 จุด ลดลง 429.01 จุด หรือ 2.46% ตลาดหุ้นฮ่องกง ดัชนีฮั่งเส็ง ปิดที่ 23,063.57 จุด ลดลง 969.34 จุด หรือ 4.03% ตลาดหุ้นจีน ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต ปิดที่ 2,789.25 จุด ลดลง 98.18 จุด หรือ 3.40% ตลาดหุ้นไต้หวัน ดัชนี TAIEX ปิดที่ 9,717.77 จุด ลดลง 411.10 จุด หรือ 4.06% และตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ดัชนีคอมโพสิต (KOSPI) ปิดที่ 1,714.86 จุด ลดลง 56.58 จุด หรือ 3.19%
น.ส.รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวถึง ความคืบหน้าการจัดตั้งกองทุนเพื่อการออม (SSF) ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ว่า วานนี้ (16 มี.ค.) สำนักงานก.ล.ต. ได้ประชุมหารือกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) และสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เพื่อหารือและทำความเข้าใจในรายละเอียดการจัดตั้งกองทุน โดย ก.ล.ต. พร้อมที่จะรับคำขอจัดตั้งกองทุนตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เพื่อให้พร้อมเสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไปในวันที่ 1 เม.ย.2563
ทั้งนี้ ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มี.ค.2563 มีมติเห็นชอบเรื่องมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ระยะที่ 1 โดยมีมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุน ให้ประชาชนทั่วไปหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF หลักทรัพย์จดทะเบียน ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยแยกจากวงเงินหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF กรณีปกติ และไม่อยู่ภายใต้เพดานวงเงินหักลดหย่อนรวมในกองทุนเพื่อการเกษียณทั้งหมด โดยต้องซื้อระหว่างวันที่ 1 เม.ย.-30 มิ.ย.2563 และถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี
นักบริหารเงินธนาคารพาณิชย์ ระบุค่าเงินบาทวานนี้ปิดตลาดที่ 32.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าจากเปิดตลาดที่ระดับ 31.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะนักลงทุนมีความกังวลในสถานการณ์ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น ขณะที่ตลาดทุนก็ยังมีความผันผวน ทำให้มีการเทขายเงินบาทออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเงินแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 31.66 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และอ่อนค่าสุดที่ 32.09 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 31.70-32.20 ต่อดอลลาร์สหรัฐ