โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ
การผนึกพลัง 3 ประสาน การเปลี่ยนพลิกสังคม
การผนึกพลัง 3 ประสานจะเปลี่ยนโลกการขนส่ง : การเดินทางแบบสั่งรถมา, รถยนต์ไร้คนขับ, รถยนต์ไฟฟ้า เราใช้รถ 4% จอดไว้ 96% รถบริษัทให้เช่าจะมีการใช้ 40-80% ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า บริษัท Didi ของจีน (คือ Uber ของอเมริกา) ปีนี้สั่งรถไฟฟ้า 1 ล้านคัน
การขนส่งแบบบริการ (Transportation as a Service TaaS) ต่อไปผู้คนอาจจะจ่ายเดือนละ 100 เหรียญ (เดือนละ 3,100 บาท) เพื่อเป็นสมาชิกบริษัทรถเช่า เหมือนเป็นสมาชิก Netflix (ดูหนังรายเดือน) ใช้รถไปไหนก็ได้ เพราะรถส่วนตัวจะแพงกว่ามาก ค่ารักษา ค่าไฟ ค่าประกันภัย ค่าที่จอดรถ ภาษีทะเบียนรถ ฯลฯ คนจะไม่ซื้อรถเพราะแพงกว่า 10 เท่า ใช้รถของบริษัทถูกกว่า สบายกว่า คนป่วย คนพิการ ผู้สูงอายุ ได้รับความสะดวกมากกว่า ใครอยากไปไหนเมื่อไรก็สั่งมา เป็นรถไม่มีคนขับ ไว้ใจได้มากกว่ามีคนขับอีก
เศรษฐกิจจะดี ไม่มีรถติด ครอบครัวจะประหยัดได้ปีละ 5,600 เหรียญ รัฐประหยัดเงินได้ปีละ 1 ล้านล้านเหรียญ คาร์บอนไดออกไซด์จะลดลง 90% อุบัติเหตุคนตายน้อยมาก จะมีบริการนั่งฟรีมากขึ้น เช่น เดินทางเข้าเมือง ในเมือง มีรถขายกาแฟ ขายอาหารบริการให้นั่งฟรี โดยขึ้นไปแล้วซื้อกาแฟซื้ออาหารเขา นั่งทำงานไป อ่านหนังสือ คุยกันไป ผู้ประกอบการมีรถแบบนี้ถูกกว่าไปเช่าห้องเพื่อขายประจำ (เหมือนวันนี้ที่มีการแจกมือถือฟรี แต่ให้ซื้อแพกเกจโทร.รายเดือน)
ที่จอดรถในเมืองต่างๆ จะว่างมาก เอาไปทำอย่างอื่นได้มากมาย ที่จอดรถที่ลอส แองเจลิส สามารถเอาเมืองเล็กๆ เข้าไปตั้งได้ถึง 3 เมือง
น้ำมันจะพีคปีนี้ (2020) หรือปีหน้า แล้วจะลง ที่ผ่านมา ถ้าผลิตมากเกินความต้องการเพียง 2-3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ราคาก็ลงไปถึง 20-25 เหรียญ ปีหน้าจะเห็นราคาน้ำมันลดลงไป 25 เหรียญต่อบาร์เรล (วันนี้ราคาต่ำกว่า 50 เหรียญเพราะวิกฤตไวรัสโควิด-19 ด้วย คิดเป็นไทยลิตรละ 12 บาท แต่เพิ่มภาษีและอะไรต่อมิอะไรอีก 10 บาท จึงถึงผู้บริโภคประมาณ 22-25 บาท ต่อไปอาจเห็นราคาน้ำมันลิตรละ 10 บาทก็เป็นได้)
ไม่มี transition การเปลี่ยนผ่าน มีแต่ disruption การเปลี่ยนดับ
หนังสือเล่มใหม่ของ Tony Seba : Rethinking Transportation 2020-2030
ข้อคิดจากที่ได้ฟัง Tony Seba
1. ความคิดแบบโทนี ซีบา อย่าคิดว่าเป็นความบ้า (insane) อย่างที่มีคนเคยบอกเขาหลายปีก่อน เพราะเขาได้พิสูจน์ว่า ที่เขาเคยบอกไว้ล้วนเกิดขึ้นจริง แต่ก็ฟังไว้อย่างมีวิจารณญาณ แม้เขาจะมีข้อมูลเต็มไปหมด ก็ใช่ว่ามีตาทิพย์ เป็นสัพพัญญู ที่รู้และเห็นไปเสียทุกเรื่อง
2. ในเวลาเดียวกันก็อย่านึกว่าคนไทยไม่เปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนแบบไหลไปตามโลก แบบกระแสพัดพาไป หรือจะเปลี่ยนแบบเป็นตัวของตัวเอง (จะตามเขาทันหรือจะตามเขาต้อยๆ) คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต ใช้โซเชียลมีเดียเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จนอาจเรียกว่าหมกมุ่นเลยทีเดียว
3. ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมาถึงบ้านเราหลายปีแล้ว แต่วิเคราะห์กันได้แค่ไหน อาจเก่งแต่การวิเคราะห์อดีตหรือมองไปข้างหลังแล้วบอกว่า “กูว่าแล้ว” (ทายถูกเมื่อหวยออก) แต่ไม่เก่งมองไปข้างหน้า เช่น ปัญญาประดิษฐ์ทำให้คนตกงาน มาแทนคนในอุตสาหกรรมต่างๆ การเงินออนไลน์ทำให้พนักงานธนาคารตกงานไปเท่าไร เมื่อ 5 G มาทำให้ IOT Internet of Thing เกิดไปในทุกส่วนของชีวิต ที่บ้าน ที่ทำงาน อะไรก็เชื่อมต่อถึงกันทางเน็ตได้หมด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น การทำงาน การใช้ชีวิต การจ้างงาน ถ้ามองไปข้างหน้าได้ “ทะลุ” ด้วยข้อมูลรอบด้าน ก็จะหาวิธีรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมไปด้วย
4. สังคมไทย 4.0 ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ไม่เห็นรายละเอียดว่า รัฐบาลเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แล้วปรับตัว รับมืออย่างไร ในทุกภาคส่วน เห็นแต่ต่างคนต่างทำในส่วนเล็กๆ ของตน ดูเหมือนส่วนใหญ่ยังก้มหน้าก้มตาทำตามหน้าที่ประจำ (routine) ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
5. การศึกษาไทยในยุคที่โลกเปลี่ยนแบบดับของเก่า (disruptive) ยังเห็นแต่ “ของเก่าแบบเดิม” ด้วย “วิสัยทัศน์” เดิม เป้าหมาย-วิธีการเดิม นักศึกษามาท่องหนังสือ ท่องตำราฟังบรรยาย จดเล็กเชอร์ในห้องสี่เหลี่ยม ไปสอบเอาคะแนน เอาใบปริญญาไปหางานทำ หลักสูตรวิชาส่วนใหญ่ก็ล้าสมัย โลกเปลี่ยนไป แต่รัฐไทยยังให้คนคอยควบคุมการจัดการศึกษาแบบอุตสาหกรรมร้อยปีก่อน วันนี้คนสามารถเรียนรู้ได้มากมายหลายรูปแบบ ถ้าจะไปห้องเรียน สิ่งที่ดีที่สุด คือ การสัมมนา การอภิปราย ถกเถียง แลกเปลี่ยนความเห็นที่ไม่มีให้ในสื่ออื่น และการเรียนด้วยการลงมือทำนอกห้องเรียน ในชีวิตจริง เรียนแบบเดิมๆ แล้วเอาปริญญาไปหางานทำยากแล้ว สังคมต้องการคนมีทักษะ ทำงานเป็น คิดใหม่ทำใหม่เป็น ทำงานกับคนอื่นได้
6. สังคมเกษตรเปลี่ยนอย่างไร ทุนเดิมของไทย ยังไงก็ยังต้องกินต้องดื่ม ศักยภาพของไทยมีอะไรดีๆ มากมาย เทคโนโลยีไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง หุ่นยนต์มีข้อมูลและความรู้ที่เราใส่เข้าไป แต่คงไม่มี “หัวใจ” แบบมนุษย์ อะไรที่เทคโนโลยีแทนไม่ได้ จะส่งเสริมกันอย่างไร คนจะตกงานมากมาย เตรียมตัวเตรียมใจไปทำเกษตร ไปทำมาค้าขาย คิดอาชีพใหม่ หากินด้วยความรู้ทักษะที่เหมาะสมอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยให้ไปตายเอาดาบหน้า หากินเอาเอง
7. ทั้งหมดที่นายโทนี ซีบาพูดคงมีข้อโต้แย้งเหมือนกัน เขาพูดจากประสบการณ์ของอเมริกา เมืองไทยมีหลายอย่างเหมือนอเมริกา เพราะเราเลียนแบบวิถีอเมริกันมาตลอด สภาพสังคม ค่านิยม การพัฒนาบ้านเมืองก็เลียนแบบเขา แต่หลายอย่างก็แตกต่างกัน อย่างกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย วินัยจราจร สภาพถนนหนทาง เมาแล้วขับ กินยาบ้า ทำงานหนักไม่ได้หลับไม่ได้นอนแล้วขับรถ อุบัติเหตุตาย 80% ในเทศกาลปีใหม่สงกรานต์มาจากมอเตอร์ไซค์ในถนนเล็ก ตามตำบลหมู่บ้าน เหล่านี้จะไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างไรดี
8. การคาดการณ์ว่า รถยนต์ส่วนตัวจะน้อยลงมาก โดยคิดว่ามาจากเหตุผลเศรษฐกิจ คือ แพงกว่าการเรียกรถจากบริษัทมาใช้เป็นครั้งๆ และอ้างว่า เราใช้รถเพียง 4% จอดไว้ 96% ในชีวิตจริง เรามีอะไรมากมายหลายอย่างที่ใช้น้อยกว่านั้นอีก แต่ก็ซื้อมาเพราะชอบ เพราะรัก เพราะอยากได้ ไม่ว่าเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ข้าวของต่างๆ เต็มตู้เต็มบ้าน สร้อยคอ เครื่องเพชร นาฬิกา เครื่องประดับตกแต่ง มันเป็นอะไรที่ให้ความพอใจ ความสุขแก่ชีวิต นอกจากของใช้ ลองคิดถึงของกิน รู้ว่ากินขนาดไหนพอดี แต่ก็อดกินของอร่อยๆ ที่ตนชอบไม่ได้ บางคนก็กินมากเกินไปจนเป็นโรคอ้วน การเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าคันหนึ่ง อยากไปไหนก็ไป เป็น “รถคู่ชีพ” เป็นอะไรที่นายโทนี ซีบาแกไม่ได้คิดถึง เพราะแกเองไม่มีรถยนต์ส่วนตัว แกคงไม่รับรู้ “อารมณ์ความรู้สึก” ของการมีรถส่วนตัว การคาดการณ์ของแกในเรื่องนี้อาจผิดไปก็ได้ ก็คอยดูกัน
9. อย่างไรก็ดี ใครคิดจะซื้อรถยนต์ใหม่ก็ควรพิจารณาและติดตามการเปลี่ยนแปลงให้ใกล้ชิด เพราะอาจเกิด “ปรากฏการณ์เชฟโรเล็ต” อีก ที่ประกาศปิดโรงงานในไทย ขายเลหลังรถยนต์ครึ่งราคา เล่นเอาคนที่ซื้อเต็มราคาไปก่อนนั้นไม่นานเสียใจเสียดาย (เสียค่าโง่) เรียกร้องให้บริษัทเห็นใจจ่ายคืนบ้าง ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้
รถยนต์น้ำมันจะทยอยปิดตัวและเปลี่ยนไปทำรถไฟฟ้ากันหมดอย่างแน่นอน มีหลายบริษัท เช่น Volvo ประกาศไว้แล้วว่า ปี 2025 เป็นต้นไปจะไม่ผลิตรถยนต์น้ำมันอีก หรือใครมีเงินสดในมือ อยากรอซื้อรถยี่ห้อดังๆ ครึ่งราคาก่อนปี 2025 ก็ลองดูนะครับ แต่ถ้าจะรอให้เกิดอย่างที่คุณโทนี ซีบาบอก ก็ไม่ต้องซื้อรถ รอให้มีรถไร้คนขับที่สั่งมารับใช้ได้ตลอดเวลา แบบนั้นคงต้องไปอยู่สิงคโปร์ หรืออเมริกา บ้านเราคงช้ากว่าเขาหลายปี หรือว่าผมคาดการณ์ผิด
การผนึกพลัง 3 ประสาน การเปลี่ยนพลิกสังคม
การผนึกพลัง 3 ประสานจะเปลี่ยนโลกการขนส่ง : การเดินทางแบบสั่งรถมา, รถยนต์ไร้คนขับ, รถยนต์ไฟฟ้า เราใช้รถ 4% จอดไว้ 96% รถบริษัทให้เช่าจะมีการใช้ 40-80% ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า บริษัท Didi ของจีน (คือ Uber ของอเมริกา) ปีนี้สั่งรถไฟฟ้า 1 ล้านคัน
การขนส่งแบบบริการ (Transportation as a Service TaaS) ต่อไปผู้คนอาจจะจ่ายเดือนละ 100 เหรียญ (เดือนละ 3,100 บาท) เพื่อเป็นสมาชิกบริษัทรถเช่า เหมือนเป็นสมาชิก Netflix (ดูหนังรายเดือน) ใช้รถไปไหนก็ได้ เพราะรถส่วนตัวจะแพงกว่ามาก ค่ารักษา ค่าไฟ ค่าประกันภัย ค่าที่จอดรถ ภาษีทะเบียนรถ ฯลฯ คนจะไม่ซื้อรถเพราะแพงกว่า 10 เท่า ใช้รถของบริษัทถูกกว่า สบายกว่า คนป่วย คนพิการ ผู้สูงอายุ ได้รับความสะดวกมากกว่า ใครอยากไปไหนเมื่อไรก็สั่งมา เป็นรถไม่มีคนขับ ไว้ใจได้มากกว่ามีคนขับอีก
เศรษฐกิจจะดี ไม่มีรถติด ครอบครัวจะประหยัดได้ปีละ 5,600 เหรียญ รัฐประหยัดเงินได้ปีละ 1 ล้านล้านเหรียญ คาร์บอนไดออกไซด์จะลดลง 90% อุบัติเหตุคนตายน้อยมาก จะมีบริการนั่งฟรีมากขึ้น เช่น เดินทางเข้าเมือง ในเมือง มีรถขายกาแฟ ขายอาหารบริการให้นั่งฟรี โดยขึ้นไปแล้วซื้อกาแฟซื้ออาหารเขา นั่งทำงานไป อ่านหนังสือ คุยกันไป ผู้ประกอบการมีรถแบบนี้ถูกกว่าไปเช่าห้องเพื่อขายประจำ (เหมือนวันนี้ที่มีการแจกมือถือฟรี แต่ให้ซื้อแพกเกจโทร.รายเดือน)
ที่จอดรถในเมืองต่างๆ จะว่างมาก เอาไปทำอย่างอื่นได้มากมาย ที่จอดรถที่ลอส แองเจลิส สามารถเอาเมืองเล็กๆ เข้าไปตั้งได้ถึง 3 เมือง
น้ำมันจะพีคปีนี้ (2020) หรือปีหน้า แล้วจะลง ที่ผ่านมา ถ้าผลิตมากเกินความต้องการเพียง 2-3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ราคาก็ลงไปถึง 20-25 เหรียญ ปีหน้าจะเห็นราคาน้ำมันลดลงไป 25 เหรียญต่อบาร์เรล (วันนี้ราคาต่ำกว่า 50 เหรียญเพราะวิกฤตไวรัสโควิด-19 ด้วย คิดเป็นไทยลิตรละ 12 บาท แต่เพิ่มภาษีและอะไรต่อมิอะไรอีก 10 บาท จึงถึงผู้บริโภคประมาณ 22-25 บาท ต่อไปอาจเห็นราคาน้ำมันลิตรละ 10 บาทก็เป็นได้)
ไม่มี transition การเปลี่ยนผ่าน มีแต่ disruption การเปลี่ยนดับ
หนังสือเล่มใหม่ของ Tony Seba : Rethinking Transportation 2020-2030
ข้อคิดจากที่ได้ฟัง Tony Seba
1. ความคิดแบบโทนี ซีบา อย่าคิดว่าเป็นความบ้า (insane) อย่างที่มีคนเคยบอกเขาหลายปีก่อน เพราะเขาได้พิสูจน์ว่า ที่เขาเคยบอกไว้ล้วนเกิดขึ้นจริง แต่ก็ฟังไว้อย่างมีวิจารณญาณ แม้เขาจะมีข้อมูลเต็มไปหมด ก็ใช่ว่ามีตาทิพย์ เป็นสัพพัญญู ที่รู้และเห็นไปเสียทุกเรื่อง
2. ในเวลาเดียวกันก็อย่านึกว่าคนไทยไม่เปลี่ยน แต่จะเปลี่ยนแบบไหลไปตามโลก แบบกระแสพัดพาไป หรือจะเปลี่ยนแบบเป็นตัวของตัวเอง (จะตามเขาทันหรือจะตามเขาต้อยๆ) คนไทยใช้อินเทอร์เน็ต ใช้โซเชียลมีเดียเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จนอาจเรียกว่าหมกมุ่นเลยทีเดียว
3. ปัญหาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงมาถึงบ้านเราหลายปีแล้ว แต่วิเคราะห์กันได้แค่ไหน อาจเก่งแต่การวิเคราะห์อดีตหรือมองไปข้างหลังแล้วบอกว่า “กูว่าแล้ว” (ทายถูกเมื่อหวยออก) แต่ไม่เก่งมองไปข้างหน้า เช่น ปัญญาประดิษฐ์ทำให้คนตกงาน มาแทนคนในอุตสาหกรรมต่างๆ การเงินออนไลน์ทำให้พนักงานธนาคารตกงานไปเท่าไร เมื่อ 5 G มาทำให้ IOT Internet of Thing เกิดไปในทุกส่วนของชีวิต ที่บ้าน ที่ทำงาน อะไรก็เชื่อมต่อถึงกันทางเน็ตได้หมด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น การทำงาน การใช้ชีวิต การจ้างงาน ถ้ามองไปข้างหน้าได้ “ทะลุ” ด้วยข้อมูลรอบด้าน ก็จะหาวิธีรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมไปด้วย
4. สังคมไทย 4.0 ยังไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ไม่เห็นรายละเอียดว่า รัฐบาลเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี แล้วปรับตัว รับมืออย่างไร ในทุกภาคส่วน เห็นแต่ต่างคนต่างทำในส่วนเล็กๆ ของตน ดูเหมือนส่วนใหญ่ยังก้มหน้าก้มตาทำตามหน้าที่ประจำ (routine) ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
5. การศึกษาไทยในยุคที่โลกเปลี่ยนแบบดับของเก่า (disruptive) ยังเห็นแต่ “ของเก่าแบบเดิม” ด้วย “วิสัยทัศน์” เดิม เป้าหมาย-วิธีการเดิม นักศึกษามาท่องหนังสือ ท่องตำราฟังบรรยาย จดเล็กเชอร์ในห้องสี่เหลี่ยม ไปสอบเอาคะแนน เอาใบปริญญาไปหางานทำ หลักสูตรวิชาส่วนใหญ่ก็ล้าสมัย โลกเปลี่ยนไป แต่รัฐไทยยังให้คนคอยควบคุมการจัดการศึกษาแบบอุตสาหกรรมร้อยปีก่อน วันนี้คนสามารถเรียนรู้ได้มากมายหลายรูปแบบ ถ้าจะไปห้องเรียน สิ่งที่ดีที่สุด คือ การสัมมนา การอภิปราย ถกเถียง แลกเปลี่ยนความเห็นที่ไม่มีให้ในสื่ออื่น และการเรียนด้วยการลงมือทำนอกห้องเรียน ในชีวิตจริง เรียนแบบเดิมๆ แล้วเอาปริญญาไปหางานทำยากแล้ว สังคมต้องการคนมีทักษะ ทำงานเป็น คิดใหม่ทำใหม่เป็น ทำงานกับคนอื่นได้
6. สังคมเกษตรเปลี่ยนอย่างไร ทุนเดิมของไทย ยังไงก็ยังต้องกินต้องดื่ม ศักยภาพของไทยมีอะไรดีๆ มากมาย เทคโนโลยีไม่สามารถทำได้ทุกอย่าง หุ่นยนต์มีข้อมูลและความรู้ที่เราใส่เข้าไป แต่คงไม่มี “หัวใจ” แบบมนุษย์ อะไรที่เทคโนโลยีแทนไม่ได้ จะส่งเสริมกันอย่างไร คนจะตกงานมากมาย เตรียมตัวเตรียมใจไปทำเกษตร ไปทำมาค้าขาย คิดอาชีพใหม่ หากินด้วยความรู้ทักษะที่เหมาะสมอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยให้ไปตายเอาดาบหน้า หากินเอาเอง
7. ทั้งหมดที่นายโทนี ซีบาพูดคงมีข้อโต้แย้งเหมือนกัน เขาพูดจากประสบการณ์ของอเมริกา เมืองไทยมีหลายอย่างเหมือนอเมริกา เพราะเราเลียนแบบวิถีอเมริกันมาตลอด สภาพสังคม ค่านิยม การพัฒนาบ้านเมืองก็เลียนแบบเขา แต่หลายอย่างก็แตกต่างกัน อย่างกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย วินัยจราจร สภาพถนนหนทาง เมาแล้วขับ กินยาบ้า ทำงานหนักไม่ได้หลับไม่ได้นอนแล้วขับรถ อุบัติเหตุตาย 80% ในเทศกาลปีใหม่สงกรานต์มาจากมอเตอร์ไซค์ในถนนเล็ก ตามตำบลหมู่บ้าน เหล่านี้จะไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างไรดี
8. การคาดการณ์ว่า รถยนต์ส่วนตัวจะน้อยลงมาก โดยคิดว่ามาจากเหตุผลเศรษฐกิจ คือ แพงกว่าการเรียกรถจากบริษัทมาใช้เป็นครั้งๆ และอ้างว่า เราใช้รถเพียง 4% จอดไว้ 96% ในชีวิตจริง เรามีอะไรมากมายหลายอย่างที่ใช้น้อยกว่านั้นอีก แต่ก็ซื้อมาเพราะชอบ เพราะรัก เพราะอยากได้ ไม่ว่าเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ข้าวของต่างๆ เต็มตู้เต็มบ้าน สร้อยคอ เครื่องเพชร นาฬิกา เครื่องประดับตกแต่ง มันเป็นอะไรที่ให้ความพอใจ ความสุขแก่ชีวิต นอกจากของใช้ ลองคิดถึงของกิน รู้ว่ากินขนาดไหนพอดี แต่ก็อดกินของอร่อยๆ ที่ตนชอบไม่ได้ บางคนก็กินมากเกินไปจนเป็นโรคอ้วน การเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าคันหนึ่ง อยากไปไหนก็ไป เป็น “รถคู่ชีพ” เป็นอะไรที่นายโทนี ซีบาแกไม่ได้คิดถึง เพราะแกเองไม่มีรถยนต์ส่วนตัว แกคงไม่รับรู้ “อารมณ์ความรู้สึก” ของการมีรถส่วนตัว การคาดการณ์ของแกในเรื่องนี้อาจผิดไปก็ได้ ก็คอยดูกัน
9. อย่างไรก็ดี ใครคิดจะซื้อรถยนต์ใหม่ก็ควรพิจารณาและติดตามการเปลี่ยนแปลงให้ใกล้ชิด เพราะอาจเกิด “ปรากฏการณ์เชฟโรเล็ต” อีก ที่ประกาศปิดโรงงานในไทย ขายเลหลังรถยนต์ครึ่งราคา เล่นเอาคนที่ซื้อเต็มราคาไปก่อนนั้นไม่นานเสียใจเสียดาย (เสียค่าโง่) เรียกร้องให้บริษัทเห็นใจจ่ายคืนบ้าง ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้
รถยนต์น้ำมันจะทยอยปิดตัวและเปลี่ยนไปทำรถไฟฟ้ากันหมดอย่างแน่นอน มีหลายบริษัท เช่น Volvo ประกาศไว้แล้วว่า ปี 2025 เป็นต้นไปจะไม่ผลิตรถยนต์น้ำมันอีก หรือใครมีเงินสดในมือ อยากรอซื้อรถยี่ห้อดังๆ ครึ่งราคาก่อนปี 2025 ก็ลองดูนะครับ แต่ถ้าจะรอให้เกิดอย่างที่คุณโทนี ซีบาบอก ก็ไม่ต้องซื้อรถ รอให้มีรถไร้คนขับที่สั่งมารับใช้ได้ตลอดเวลา แบบนั้นคงต้องไปอยู่สิงคโปร์ หรืออเมริกา บ้านเราคงช้ากว่าเขาหลายปี หรือว่าผมคาดการณ์ผิด