ผู้จัดการรายวัน360- สธ.พบผู้ป่วยติดโควิด-19 เพิ่มอีก 30 ราย จากสนามมวยอีก11 ราย สะสมรวม 177 ราย "บิ๊กตู่" ยังไม่ปิดกรุงเทพฯ ไม่ปิดประเทศ แค่ปิดสถานศึกษา-ผับ-สถานบันเทิง-สนามมวย-สนามม้า งดคอนเสิร์ต-งานแสดงสินค้า-กิจกรรมทางศาสนา เพิ่มมาตรการเข้ม ห้างฯ-ตลาด-สถานที่ราชการ -รัฐวิสาหกิจ-ร้านค้า-ร้านอาหาร เลื่อนหยุดสงกรานต์13-15 เม.ย.นี้ ห้ามเคลื่อนคนข้ามจังหวัด จำกัดเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าว “อนุทิน” แจง ปิดสถานบันเทิงกทม.-ปริมณฑล เพื่อบิ๊กคลีนนิ่ง "สาธิต" ประสานโรงแรมร่วมเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยไม่รุนแรง
วานนี้ (17 มี.ค.) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เพิ่มอีก 30 ราย แบ่งเป็น 1. กลุ่มที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 14 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย ทั้งราชดำเนิน ลุมพินี อ้อมน้อย รวม 11 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 1 ราย และกลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยเคสเก่า 2 ราย และ 2. ผู้ป่วยรายใหม่ 16 ราย ได้แก่ กลับจากต่างประเทศ 9 ราย เป็นคนไทย 6 ราย ต่างชาติ 3 ราย คนทำงานใกล้ชิดต่างชาติ 1 ราย เป็นคนขับแท็กซี่ และรอผลสอบสวนโรคเพิ่มเติม 6 ราย ทั้งนี้ ยังมีการรอผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการอยู่อีก 22 ราย
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้าน 3 ราย จากสถาบันโรคทรวงอก 1 ราย และสถาบันบำราศนราดูร 2 ราย สรุปมีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 177 ราย รักษาหาย 41 ราย เสียชีวิต 1 ราย ยังรักษาในรพ. 135 ราย มีอาการหนัก 1 ราย รักษาตัวที่สถาบันบำราศนราดูร
สำหรับผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทั้งหมด 7,045 ราย กลับบ้านแล้ว 4,588 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ ยังรักษาใน รพ. 2,457 ราย ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลกมีผู้ป่วยแล้ว 160 ประเทศ จำนวนผู้ป่วย 179,188 ราย เสียชีวิต 7,066 ราย ส่วนผู้ที่เดินทางกลับมาจากอิตาลี มาลงที่สัตหีบ จ.ชลบุรี 83 คน รับไว้สังเกตอาการในรพ. 6 คน ทั้งหมดไม่มีไข้ มีน้ำมูกเล็กน้อย 1 คน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ ส่วนอีก 77 คน ที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ ทุกคนไม่มีไข้ โดยจะเฝ้าสังเกตอาการจนครบ 14 วัน
"ขณะนี้ในพื้นที่ กทม. พบผู้ป่วยจำนวนมาก ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรค กองระบาดวิทยา ทำแผนที่แสดงเขตที่พบผู้ป่วย โดยจะแสดงในเว็บไซต์ว่า จุดไหนที่เราพบ " นพ.สุขุม กล่าว
วาง 6มาตรการสกัดการแพร่ระบาดโควิด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมครม. ว่าปัจจุบัน ถึงแม้ว่าขณะนี้จะยังไม่เข้าสู่การระบาด ในระยะที่ 3 แต่ว่ามีแนวโน้มการแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และหามาตรการรองรับ ซึ่ง ครม.ได้มีมติเห็นชอบดังต่อไปนี้
1 .ด้านสาธารณสุข ยังไม่มีการปิดเมือง หรือปิดประเทศ (การห้ามเข้า-ออก) โดย
1.1 ป้องกันและสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทยประกอบด้วย 1. ชาวต่างชาติที่เดินทางจากประเทศซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดโรคติดต่ออันตรายซึ่งมี 4 ประเทศ บวก 2 เขตปกครองพิเศษ ขาเข้าต้องมีใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 3 วัน ต้องมีประกันสุขภาพ ยินยอมใช้ Application ติดตามตัวของรัฐ ตม. ดูหนังสือเดินทางของชาวต่างประเทศด้วยว่า ก่อนที่จะเข้ามาประเทศไทย ประเทศสุดท้าย คือประเทศใดบ้าง ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ประกาศไปแล้ว ก็จำเป็นต้องมีมาตรการให้เหมือนกับ 4 ประเทศ บวก 2 เขตปกครองพิเศษ เพื่อป้องกันการอ้อมเข้าประเทศ โดยไปพักกลางทางมาก่อน แล้วถึงเข้ามา ตม.จะต้องเข้าไปดูพาสปอร์ต ต้องมีมาตรการคัดกรอง แล้วแจ้ง มท. จากนั้นเข้าสู่มาตรการกักกัน ถูกคุมไว้สังเกตอาการ 14 วัน
2. ชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศ พื้นที่ระบาดต่อเนื่อง และยังไม่ประกาศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ขาเข้าต้องมีใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 3 วัน ต้องมีประกันสุขภาพ มีที่พำนักที่สามารถติดต่อได้ในประเทศไทย ยินยอมใช้ Application ติดตามของรัฐ ถูกคุมไว้สังเกตอาการ 14 วัน
3. ห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็น
, พัฒนาระบบและกลไกการกักกัน ผู้ที่เป็นหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น โรคติดต่ออันตราย ณ ที่พำนัก ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีกฎหมายตัวนี้อยู่แล้ว, การกำหนดให้ชาวต่างประเทศ รวมทั้งคนไทย ที่เดินทางมาจากต่างประเทศให้มีการใช้แอปพลิเคชัน ติดตามตัว, จัดหาและเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับรับมือระยะที่ 3, แนะนำให้คนไทยที่พำนักอาศัยในต่างประเทศ ชะลอการเดินทางกลับประเทศไทย
2. ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน ต้องเร่งผลิตในประเทศ และจากต่างประเทศ ให้เพียงพอกับความต้องการ โดยเร่งผลิตหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยผ้า เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการป้องกัน เจล และแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้น วันนี้ได้มีการผลิตเจล เพื่อแจกจ่ายประชาชน บริเวณสถานบริการน้ำมันบางจาก และ ปตท.
ของกลาง ที่ยึดได้ที่มีการขายออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ หรือกติกาของกระทรวงพาณิชย์ ส่งมาศูนย์ฯ เพื่อกระจายต่อไป ซึ่งเท่าที่จับมาได้ก็มีจำนวนหนึ่ง แม้จะมีจำนวนไม่มาก สำรวจความต้องการของเวชภัณฑ์ที่จำเป็น อาทิ ชุดป้องกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ (พีพีอี) หน้ากาก N95 และอุปกรณ์ชุดตรวจสอบที่มีความต้องการจำนวนมากขึ้น
3. ด้านข้อมูลการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ของรัฐบาล มาจากกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นการแถลงเฉพาะด้านข้อมูลทางการแพทย์และการสาธารณสุข หลายอย่างที่เป็นมติในที่ประชุม จะเสนอมาเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลโควิด –19 เป็นการแถลงภาพรวมในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง
4 ด้านต่างประเทศ การจัดตั้งทีมงานเพื่อดูแลคนไทยในต่างประเทศ โดยมีท่านทูตเป็นหัวหน้าทีม ในส่วนของในประเทศก็เช่นเดียวกัน ได้สั่งให้มีการจัดตั้งคณะทำงานย่อย ที่มาจากภาคเอกชน ภาคประชาชนต่างๆ เพื่อจะทำงานให้ข้อมูลและประสานข้อมูลในส่วนของศูนย์โควิด -19 ของรัฐบาล
5. ด้านการป้องกัน จะมีการปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น โดยะเฉพาะสถานที่ซึ่งมีผู้คนมาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ สถานบันกวดวิชา และทุกสถาบัน ให้ปิดชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.นี้ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และให้สถานศึกษาดำเนินการ ป้องกันโรคตามมาตรฐานของ สธ. อย่างเคร่งครัด
ส่วนสถานที่ซึ่งผู้คนไม่ได้มาชุมนุมเป็นกิจวัตร แต่มาเพื่อทำกิจกรรมที่มีการเบียดเสียดใกล้ชิด เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อง่ายทางปาก สัมผัสถูกเนื้อต้องตัว หรือใช้สิ่งของร่วมกันง่าย จะต้องปิดชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ทั้ง สนามมวย สนามกีฬา สนามม้า ในกทม. และปริมณฑล
ส่วน ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ และโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้ปิดชั่วคราว 14 วัน พร้อมกันนี้ให้งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก เช่น คอนเสิร์ต การจัดงานแสดงสินค้าต่างๆ กิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา
ส่วนมาตรการลดความแออัดในการเดินทางนั้น ให้งดวันหยุดสงกรานต์ ตั้งแต่ 13-15 เม.ย.นี้ โดยให้เลื่อนออกไปก่อน จะมีการชดเชยวันหยุดให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
6 . ด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มธุรกิจ โรงงาน สถานประกอบการ โรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยว ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการรองรับ ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมีการเสนอมาตรการนี้เข้ามา
สำหรับกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และมีภาระในการผ่อนชำระ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ฯลฯ เพื่อให้สถาบันการเงินผ่อนผันการชำระค่างวด รวมถึงประชาชนที่ประกอบอาชีพต่างๆ ที่อยู่นอกระบบ
สรุปแล้ว ขณะนี้ประเทศไทย ควบคุมสถานการณ์ และจะชะลอ ระยะ 2 ให้ได้นานที่สุด จะพยายามอย่างเต็มที่เมื่อถามว่า จะมีการปิดกรุงเทพฯ ชั่วคราว หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า " ไม่ได้พูดว่าปิด ผมพูดถึงว่า หลายอย่างในกรุงเทพฯ ต้องมีการควบคุม ผู้สื่อข่าวถามย้ำ โฆษกฯ เป็นคนพูดว่า ปิดกทม. นายกฯ เดินออกจากโพเดียมพร้อมกล่าวว่า “แล้วใครแถลงล่ะ ผมไม่ได้พูด”
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ไม่ได้ใช้คำว่าปิด แต่เป็นการควบคุมในระดับที่เข้มข้น มีวิธีการ มีมาตรการต่างๆ ตามที่ สธ. ได้นำเสนอ
“อนุทิน” แจง ปิดสถานบันเทิงกทม.-ปริมณฑล เพื่อบิ๊กคลีนนิ่ง ยัน สธ.มีความพร้อม เคยสู้โรคร้ายแรงมาแล้ว ไม่มีแตกแยกกัน
นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เรามีความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษา การคัดกรองผู้ป่วย เวชภัณฑ์ ผ่านมา 2 เดือนครึ่งเราสามารถที่จะหาผู้ที่ติดเชื้อได้พบเกือบทุกราย มีการแถลงทำความเข้าใจและแนะนำประชาชนถึงวิธีปฏิบัติที่จะหลีกเลี่ยงจากการเสี่ยงติดเชื้อ หรือหากมีอาการต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยมีการปรับตัวของสถานการณ์ขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปตามเหตุการณ์ที่มันจะต้องเป็น เพราะเรายังมีการเดินทางไปมาของคนในประเทศและต่างประเทศ โดยยังป้องกันอย่างเต็มที่ เราต้องคิดถึงหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน ยืนยันด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรายังหาต้นตอได้ และจำนวนผู้ป่วยที่หายป่วยก็มีไม่น้อย ส่วนที่ไม่รายงานประชาชนว่าแต่ละช่วงมีผู้ป่วยอยู่เท่าไรนั้น เพราะเกรงว่าจะทำให้ประชาชนตกใจ และเราต้องการที่จะให้ประชาชนรับทราบข้อมูลมากที่สุด ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะปิดข่าวหรือดัดแปลง ข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)มีเป็นข้อมูลเดียวกับประชาชน ซึ่งการที่ประกาศยอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นรายวันนั้น ก็เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น
นายอนุทิน กล่าวว่า หลังจากวันนี้อธิบดีกรมควบคุมโรคมีอำนาจในฐานะเจ้าพนักงานในการออกคำสั่งให้ฝ่ายปกครองพิจารณาแล้วดำเนินการตามเหตุการณ์ที่สมควรของแต่ละจังหวัด หากตนหรืออธิบดีกรมควบคุมโรคลงพื้นที่พบเห็นสถานที่ใดไม่ปลอดภัย อธิบดีกรมควบคุมโรคในฐานะเจ้าพนักงานสามารถสั่งการและสั่งปิดสถานที่นั้นได้เลย
นายอนุทิน กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องปิดสถานที่ต่างๆ ใน กทม. และปริมณฑล 14 วันนั้น ให้เจ้าของพั้นที่ทำบิ๊กคลีนนิ่ง โดย สธ.จะเข้าไปให้คำแนะนำว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ภายในระยะเวลา 14 วัน
"สาธิต"หาโรงแรมร่วมเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วย
นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงแผนการเตรียมการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า เรากำลังประสานงานผู้ประกอบการโรงแรมเก่าๆ หรือโรงแรมที่ประสบปัญหา มาร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง จะเริ่มประสานงานกับโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่คาดว่าจะมีจำนวนห้องพักทั้งหมดประมาณ 2,000 ห้อง
"เจ๊หน่อย"เสนอมาตรการเข้มสู้โควิด
ที่พรรคเพื่อไทย คุณหญิงสุดรัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธ์ศาสตร์พรรคเพื่อไทย แถลงว่า ขอเสนอแนวทางให้นายกฯ ทำทันที เพื่อคนไทยปลอดภัย เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว จึงขอเสนอให้
1. ประกาศเปิดปฏิบัติการค้นหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วประเทศ เป็นการเร่งด่วน ลงมือทำทันทีแบบปูพรมพร้อมกันทั้งประเทศ 2. ระงับการเพิ่มผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าประเทศ โดย ปิดประเทศไม่รับผู้เดินทางจากต่างประเทศ 14 วัน หรือประกาศให้ผู้เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ต้องถูกกักตัวเฝ้าระวังสังเกตอาการ 14 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคระบาด รัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณให้ทุกรพ. จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการป้องกันตัวเองของบุคลากรให้พร้อมเพรียง3. ปรับปรุงการทำงานของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ
วานนี้ (17 มี.ค.) นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า มีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่เพิ่มอีก 30 ราย แบ่งเป็น 1. กลุ่มที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 14 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย ทั้งราชดำเนิน ลุมพินี อ้อมน้อย รวม 11 ราย กลุ่มสถานบันเทิง 1 ราย และกลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยเคสเก่า 2 ราย และ 2. ผู้ป่วยรายใหม่ 16 ราย ได้แก่ กลับจากต่างประเทศ 9 ราย เป็นคนไทย 6 ราย ต่างชาติ 3 ราย คนทำงานใกล้ชิดต่างชาติ 1 ราย เป็นคนขับแท็กซี่ และรอผลสอบสวนโรคเพิ่มเติม 6 ราย ทั้งนี้ ยังมีการรอผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการอยู่อีก 22 ราย
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้าน 3 ราย จากสถาบันโรคทรวงอก 1 ราย และสถาบันบำราศนราดูร 2 ราย สรุปมีผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 177 ราย รักษาหาย 41 ราย เสียชีวิต 1 ราย ยังรักษาในรพ. 135 ราย มีอาการหนัก 1 ราย รักษาตัวที่สถาบันบำราศนราดูร
สำหรับผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทั้งหมด 7,045 ราย กลับบ้านแล้ว 4,588 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ ยังรักษาใน รพ. 2,457 ราย ขณะที่สถานการณ์ทั่วโลกมีผู้ป่วยแล้ว 160 ประเทศ จำนวนผู้ป่วย 179,188 ราย เสียชีวิต 7,066 ราย ส่วนผู้ที่เดินทางกลับมาจากอิตาลี มาลงที่สัตหีบ จ.ชลบุรี 83 คน รับไว้สังเกตอาการในรพ. 6 คน ทั้งหมดไม่มีไข้ มีน้ำมูกเล็กน้อย 1 คน ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ ส่วนอีก 77 คน ที่อาคารรับรองฐานทัพเรือสัตหีบ ทุกคนไม่มีไข้ โดยจะเฝ้าสังเกตอาการจนครบ 14 วัน
"ขณะนี้ในพื้นที่ กทม. พบผู้ป่วยจำนวนมาก ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรค กองระบาดวิทยา ทำแผนที่แสดงเขตที่พบผู้ป่วย โดยจะแสดงในเว็บไซต์ว่า จุดไหนที่เราพบ " นพ.สุขุม กล่าว
วาง 6มาตรการสกัดการแพร่ระบาดโควิด
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงภายหลังการประชุมครม. ว่าปัจจุบัน ถึงแม้ว่าขณะนี้จะยังไม่เข้าสู่การระบาด ในระยะที่ 3 แต่ว่ามีแนวโน้มการแพร่กระจายเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม และหามาตรการรองรับ ซึ่ง ครม.ได้มีมติเห็นชอบดังต่อไปนี้
1 .ด้านสาธารณสุข ยังไม่มีการปิดเมือง หรือปิดประเทศ (การห้ามเข้า-ออก) โดย
1.1 ป้องกันและสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทยประกอบด้วย 1. ชาวต่างชาติที่เดินทางจากประเทศซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดโรคติดต่ออันตรายซึ่งมี 4 ประเทศ บวก 2 เขตปกครองพิเศษ ขาเข้าต้องมีใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 3 วัน ต้องมีประกันสุขภาพ ยินยอมใช้ Application ติดตามตัวของรัฐ ตม. ดูหนังสือเดินทางของชาวต่างประเทศด้วยว่า ก่อนที่จะเข้ามาประเทศไทย ประเทศสุดท้าย คือประเทศใดบ้าง ถ้าอยู่ในพื้นที่ที่ประกาศไปแล้ว ก็จำเป็นต้องมีมาตรการให้เหมือนกับ 4 ประเทศ บวก 2 เขตปกครองพิเศษ เพื่อป้องกันการอ้อมเข้าประเทศ โดยไปพักกลางทางมาก่อน แล้วถึงเข้ามา ตม.จะต้องเข้าไปดูพาสปอร์ต ต้องมีมาตรการคัดกรอง แล้วแจ้ง มท. จากนั้นเข้าสู่มาตรการกักกัน ถูกคุมไว้สังเกตอาการ 14 วัน
2. ชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศ พื้นที่ระบาดต่อเนื่อง และยังไม่ประกาศเป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย ขาเข้าต้องมีใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 3 วัน ต้องมีประกันสุขภาพ มีที่พำนักที่สามารถติดต่อได้ในประเทศไทย ยินยอมใช้ Application ติดตามของรัฐ ถูกคุมไว้สังเกตอาการ 14 วัน
3. ห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ เดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็น
, พัฒนาระบบและกลไกการกักกัน ผู้ที่เป็นหรือผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น โรคติดต่ออันตราย ณ ที่พำนัก ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีกฎหมายตัวนี้อยู่แล้ว, การกำหนดให้ชาวต่างประเทศ รวมทั้งคนไทย ที่เดินทางมาจากต่างประเทศให้มีการใช้แอปพลิเคชัน ติดตามตัว, จัดหาและเพิ่มบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็น ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับรับมือระยะที่ 3, แนะนำให้คนไทยที่พำนักอาศัยในต่างประเทศ ชะลอการเดินทางกลับประเทศไทย
2. ด้านเวชภัณฑ์ป้องกัน ต้องเร่งผลิตในประเทศ และจากต่างประเทศ ให้เพียงพอกับความต้องการ โดยเร่งผลิตหน้ากากอนามัย หน้ากากอนามัยผ้า เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับการป้องกัน เจล และแอลกอฮอล์ เพิ่มขึ้น วันนี้ได้มีการผลิตเจล เพื่อแจกจ่ายประชาชน บริเวณสถานบริการน้ำมันบางจาก และ ปตท.
ของกลาง ที่ยึดได้ที่มีการขายออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย ผิดระเบียบ หรือกติกาของกระทรวงพาณิชย์ ส่งมาศูนย์ฯ เพื่อกระจายต่อไป ซึ่งเท่าที่จับมาได้ก็มีจำนวนหนึ่ง แม้จะมีจำนวนไม่มาก สำรวจความต้องการของเวชภัณฑ์ที่จำเป็น อาทิ ชุดป้องกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ (พีพีอี) หน้ากาก N95 และอุปกรณ์ชุดตรวจสอบที่มีความต้องการจำนวนมากขึ้น
3. ด้านข้อมูลการสื่อสารข้อมูลต่างๆ ของรัฐบาล มาจากกระทรวงสาธารณสุข ที่เป็นการแถลงเฉพาะด้านข้อมูลทางการแพทย์และการสาธารณสุข หลายอย่างที่เป็นมติในที่ประชุม จะเสนอมาเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลโควิด –19 เป็นการแถลงภาพรวมในทุกด้านที่เกี่ยวข้อง
4 ด้านต่างประเทศ การจัดตั้งทีมงานเพื่อดูแลคนไทยในต่างประเทศ โดยมีท่านทูตเป็นหัวหน้าทีม ในส่วนของในประเทศก็เช่นเดียวกัน ได้สั่งให้มีการจัดตั้งคณะทำงานย่อย ที่มาจากภาคเอกชน ภาคประชาชนต่างๆ เพื่อจะทำงานให้ข้อมูลและประสานข้อมูลในส่วนของศูนย์โควิด -19 ของรัฐบาล
5. ด้านการป้องกัน จะมีการปิดสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น โดยะเฉพาะสถานที่ซึ่งมีผู้คนมาร่วมทำกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัย โรงเรียนนานาชาติ สถานบันกวดวิชา และทุกสถาบัน ให้ปิดชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.นี้ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ และให้สถานศึกษาดำเนินการ ป้องกันโรคตามมาตรฐานของ สธ. อย่างเคร่งครัด
ส่วนสถานที่ซึ่งผู้คนไม่ได้มาชุมนุมเป็นกิจวัตร แต่มาเพื่อทำกิจกรรมที่มีการเบียดเสียดใกล้ชิด เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อง่ายทางปาก สัมผัสถูกเนื้อต้องตัว หรือใช้สิ่งของร่วมกันง่าย จะต้องปิดชั่วคราว จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย ทั้ง สนามมวย สนามกีฬา สนามม้า ในกทม. และปริมณฑล
ส่วน ผับ สถานบันเทิง สถานบริการ นวดแผนโบราณ และโรงมหรสพ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้ปิดชั่วคราว 14 วัน พร้อมกันนี้ให้งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก เช่น คอนเสิร์ต การจัดงานแสดงสินค้าต่างๆ กิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และกีฬา
ส่วนมาตรการลดความแออัดในการเดินทางนั้น ให้งดวันหยุดสงกรานต์ ตั้งแต่ 13-15 เม.ย.นี้ โดยให้เลื่อนออกไปก่อน จะมีการชดเชยวันหยุดให้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม
6 . ด้านมาตรการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มธุรกิจ โรงงาน สถานประกอบการ โรงแรม และธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยว ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการรองรับ ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมีการเสนอมาตรการนี้เข้ามา
สำหรับกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และมีภาระในการผ่อนชำระ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ฯลฯ เพื่อให้สถาบันการเงินผ่อนผันการชำระค่างวด รวมถึงประชาชนที่ประกอบอาชีพต่างๆ ที่อยู่นอกระบบ
สรุปแล้ว ขณะนี้ประเทศไทย ควบคุมสถานการณ์ และจะชะลอ ระยะ 2 ให้ได้นานที่สุด จะพยายามอย่างเต็มที่เมื่อถามว่า จะมีการปิดกรุงเทพฯ ชั่วคราว หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า " ไม่ได้พูดว่าปิด ผมพูดถึงว่า หลายอย่างในกรุงเทพฯ ต้องมีการควบคุม ผู้สื่อข่าวถามย้ำ โฆษกฯ เป็นคนพูดว่า ปิดกทม. นายกฯ เดินออกจากโพเดียมพร้อมกล่าวว่า “แล้วใครแถลงล่ะ ผมไม่ได้พูด”
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ไม่ได้ใช้คำว่าปิด แต่เป็นการควบคุมในระดับที่เข้มข้น มีวิธีการ มีมาตรการต่างๆ ตามที่ สธ. ได้นำเสนอ
“อนุทิน” แจง ปิดสถานบันเทิงกทม.-ปริมณฑล เพื่อบิ๊กคลีนนิ่ง ยัน สธ.มีความพร้อม เคยสู้โรคร้ายแรงมาแล้ว ไม่มีแตกแยกกัน
นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า เรามีความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการดูแลรักษา การคัดกรองผู้ป่วย เวชภัณฑ์ ผ่านมา 2 เดือนครึ่งเราสามารถที่จะหาผู้ที่ติดเชื้อได้พบเกือบทุกราย มีการแถลงทำความเข้าใจและแนะนำประชาชนถึงวิธีปฏิบัติที่จะหลีกเลี่ยงจากการเสี่ยงติดเชื้อ หรือหากมีอาการต้องปฏิบัติตัวอย่างไร โดยมีการปรับตัวของสถานการณ์ขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปตามเหตุการณ์ที่มันจะต้องเป็น เพราะเรายังมีการเดินทางไปมาของคนในประเทศและต่างประเทศ โดยยังป้องกันอย่างเต็มที่ เราต้องคิดถึงหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน ยืนยันด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรายังหาต้นตอได้ และจำนวนผู้ป่วยที่หายป่วยก็มีไม่น้อย ส่วนที่ไม่รายงานประชาชนว่าแต่ละช่วงมีผู้ป่วยอยู่เท่าไรนั้น เพราะเกรงว่าจะทำให้ประชาชนตกใจ และเราต้องการที่จะให้ประชาชนรับทราบข้อมูลมากที่สุด ไม่มีเหตุผลอะไรที่เราจะปิดข่าวหรือดัดแปลง ข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)มีเป็นข้อมูลเดียวกับประชาชน ซึ่งการที่ประกาศยอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นรายวันนั้น ก็เพื่อให้ประชาชนระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น
นายอนุทิน กล่าวว่า หลังจากวันนี้อธิบดีกรมควบคุมโรคมีอำนาจในฐานะเจ้าพนักงานในการออกคำสั่งให้ฝ่ายปกครองพิจารณาแล้วดำเนินการตามเหตุการณ์ที่สมควรของแต่ละจังหวัด หากตนหรืออธิบดีกรมควบคุมโรคลงพื้นที่พบเห็นสถานที่ใดไม่ปลอดภัย อธิบดีกรมควบคุมโรคในฐานะเจ้าพนักงานสามารถสั่งการและสั่งปิดสถานที่นั้นได้เลย
นายอนุทิน กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องปิดสถานที่ต่างๆ ใน กทม. และปริมณฑล 14 วันนั้น ให้เจ้าของพั้นที่ทำบิ๊กคลีนนิ่ง โดย สธ.จะเข้าไปให้คำแนะนำว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความปลอดภัย ภายในระยะเวลา 14 วัน
"สาธิต"หาโรงแรมร่วมเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วย
นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงแผนการเตรียมการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า เรากำลังประสานงานผู้ประกอบการโรงแรมเก่าๆ หรือโรงแรมที่ประสบปัญหา มาร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นสถานที่รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง จะเริ่มประสานงานกับโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่คาดว่าจะมีจำนวนห้องพักทั้งหมดประมาณ 2,000 ห้อง
"เจ๊หน่อย"เสนอมาตรการเข้มสู้โควิด
ที่พรรคเพื่อไทย คุณหญิงสุดรัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธ์ศาสตร์พรรคเพื่อไทย แถลงว่า ขอเสนอแนวทางให้นายกฯ ทำทันที เพื่อคนไทยปลอดภัย เศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว จึงขอเสนอให้
1. ประกาศเปิดปฏิบัติการค้นหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วประเทศ เป็นการเร่งด่วน ลงมือทำทันทีแบบปูพรมพร้อมกันทั้งประเทศ 2. ระงับการเพิ่มผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าประเทศ โดย ปิดประเทศไม่รับผู้เดินทางจากต่างประเทศ 14 วัน หรือประกาศให้ผู้เดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยง ต้องถูกกักตัวเฝ้าระวังสังเกตอาการ 14 วัน หากไม่ปฏิบัติตาม มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรคระบาด รัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณให้ทุกรพ. จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ในการป้องกันตัวเองของบุคลากรให้พร้อมเพรียง3. ปรับปรุงการทำงานของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพ