วานนี้ (16มี.ค.) นายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาธิการ ป.ป.ช. แถลงว่า เรื่องกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับครม.รวม 35 คน ร่วมกันมีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... .และเสนอ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ต่อสภาฯ ซึ่งเป็นการขัดต่อ รธน.50 มาตรา 169 และ มาตรา 170 เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เรื่องนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะ เป็นองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยมี นายณรงค์ รัฐอมฤต เป็นกรรมการป.ป.ช. ผู้รับผิดชอบสำนวน
จากการไต่สวนข้อเท็จจริง ได้ความว่า เมื่อวันที่ 19 มี.ค.56 น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกฯ กับพวก ในฐานะครม. ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ส่ง ร่าง พ.ร.บ.นี้ ให้สภาฯพิจารณา และต่อมา สภาฯ และ สมาชิวุฒิสภา ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
ต่อมาได้มี ส.ส.และส.ว.จำนวน 6 คน เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาล รธน. เพื่อวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รธน.ปี 50 มาตรา 169 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 170 ประธานรัฐสภา จึงได้มีหนังสือ ลงวันที่ 26 พ.ย.56 ส่งเรื่องดังกล่าว ให้ศาลรธน. วินิจฉัย และศาลฯ ได้มีคำวินิจฉัย ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรธน. และ มีข้อความขัด หรือแย้งต่อรธน.ปี 50 มาตรา 169 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 170 วรรคสอง ซึ่งข้อความดังกล่าว เป็นสาระสำคัญ มีผลให้ ร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นอันตกไป ตาม รธน. มาตรา 154 วรรคสาม
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องการขัด รธน.ปี 50 มาพิจารณา เนื่องจากเนื้อหาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้เคยมีการตราไว้เป็นกฎหมาย ในทำนองเดียวกัน มาหลายครั้ง มีข้อความในทำนองเดียวกันกับ มาตรา 169 ของรธน.ปี 50 และที่ผ่านมาไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการขัดรธน.แต่อย่างใด
จึงเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากับพวก เชื่อว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ขัดต่อรธน. อีกทั้งในการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.เป็นไปตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา อันไม่ใช่หน้าที่ทั่วไป หรือตามที่กม.กำหนด ตามองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 และ ม. 123/1 ตามพ.ร.ป. ป.ป.ช. ปี 42 ซึ่งเมื่อมีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวไปยังรัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่โดยตรงในการพิจารณา และตรากฎหมาย มีอำนาจพิจารณาเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ หรือมีอำนาจการแก้ไขได้ เป็นการตรวจสอบ ถ่วงดุล และคานอำนาจฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย และเป็นการกระทำของรัฐบาล ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา เป็นไปตามหลักทฤษฎีการกระทำของรัฐบาล ซึ่งโดยหลักการศาลปกครอง หรือศาลยุติธรรมจะไม่เข้าไปตรวจสอบ เว้นแต่รธน.ปี 50 ให้อำนาจศาลรธน. ตรวจสอบว่า พ.ร.บ.ใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรธน. ซึ่งถ้ามีบทบัญญัติใดที่รัฐบาลเสนอมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรธน. ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง ในเรื่องกระบวนการถอดถอนหรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการตั้งกระทู้ถามอันเป็นการตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
"คณะกรรมการป.ป.ช.จึงมีมติด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 1 ว่า การกระทำดังกล่าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และผู้ถูกกล่าวหาที่ 2-35 ไม่มีมูลความผิดตามที่กล่าวหา ให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไป" นายวรวิทย์ ระบุ
จากการไต่สวนข้อเท็จจริง ได้ความว่า เมื่อวันที่ 19 มี.ค.56 น.ส.ยิ่งลักษณ์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกฯ กับพวก ในฐานะครม. ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ส่ง ร่าง พ.ร.บ.นี้ ให้สภาฯพิจารณา และต่อมา สภาฯ และ สมาชิวุฒิสภา ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
ต่อมาได้มี ส.ส.และส.ว.จำนวน 6 คน เข้าชื่อเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งความเห็นไปยังศาล รธน. เพื่อวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว มีข้อความขัดหรือแย้งต่อ รธน.ปี 50 มาตรา 169 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 170 ประธานรัฐสภา จึงได้มีหนังสือ ลงวันที่ 26 พ.ย.56 ส่งเรื่องดังกล่าว ให้ศาลรธน. วินิจฉัย และศาลฯ ได้มีคำวินิจฉัย ว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรธน. และ มีข้อความขัด หรือแย้งต่อรธน.ปี 50 มาตรา 169 วรรคหนึ่ง และ มาตรา 170 วรรคสอง ซึ่งข้อความดังกล่าว เป็นสาระสำคัญ มีผลให้ ร่าง พ.ร.บ.นี้ เป็นอันตกไป ตาม รธน. มาตรา 154 วรรคสาม
คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องการขัด รธน.ปี 50 มาพิจารณา เนื่องจากเนื้อหาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้เคยมีการตราไว้เป็นกฎหมาย ในทำนองเดียวกัน มาหลายครั้ง มีข้อความในทำนองเดียวกันกับ มาตรา 169 ของรธน.ปี 50 และที่ผ่านมาไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องการขัดรธน.แต่อย่างใด
จึงเห็นว่า ผู้ถูกกล่าวหากับพวก เชื่อว่าการเสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ขัดต่อรธน. อีกทั้งในการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.เป็นไปตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา อันไม่ใช่หน้าที่ทั่วไป หรือตามที่กม.กำหนด ตามองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.157 และ ม. 123/1 ตามพ.ร.ป. ป.ป.ช. ปี 42 ซึ่งเมื่อมีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวไปยังรัฐสภา ฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่โดยตรงในการพิจารณา และตรากฎหมาย มีอำนาจพิจารณาเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบ หรือมีอำนาจการแก้ไขได้ เป็นการตรวจสอบ ถ่วงดุล และคานอำนาจฝ่ายบริหารของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตย และเป็นการกระทำของรัฐบาล ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับรัฐสภา เป็นไปตามหลักทฤษฎีการกระทำของรัฐบาล ซึ่งโดยหลักการศาลปกครอง หรือศาลยุติธรรมจะไม่เข้าไปตรวจสอบ เว้นแต่รธน.ปี 50 ให้อำนาจศาลรธน. ตรวจสอบว่า พ.ร.บ.ใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรธน. ซึ่งถ้ามีบทบัญญัติใดที่รัฐบาลเสนอมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรธน. ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง ในเรื่องกระบวนการถอดถอนหรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หรือการตั้งกระทู้ถามอันเป็นการตรวจสอบโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
"คณะกรรมการป.ป.ช.จึงมีมติด้วยคะแนนเสียง 5 ต่อ 1 ว่า การกระทำดังกล่าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 และผู้ถูกกล่าวหาที่ 2-35 ไม่มีมูลความผิดตามที่กล่าวหา ให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไป" นายวรวิทย์ ระบุ