ผู้จัดการรายวัน 360 - บอร์ดพัฒนาตลาดทุนไทย อนุมัติจัดตั้ง “กระดานที่ 3” เปิดทางธุรกิจสตาร์ทอัประดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ คาดเริ่มเทรดภายในไตรมาส 1/64 พร้อมเตรียมจัดโครงการ "บอนด์ละบาท" เพื่อให้ประชาชนลงทุนพันธบัตรได้มากขึ้น "อุตตม" เผยเริ่มซื้อขายหน่วยลงทุน "SSF" 1 เม.ย.นี้ ขณะที่ตลาดหุ้นไทยร่วงต่อ 21 จุด
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย ว่า ที่ประชุมฯ มีการหารือถึงถึงแนวทาง ยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดทุนไทย โดยเฉพาะในเรื่องการยกระดับการเข้าถึงตลาดทุนที่ต้องทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง รวมทั้งผู้ประกอบการกลุ่มสตาร์ทอัพสามารถเข้ามาระดมทุนได้ นอกจากนี้ ยังได้ยกระดับตลาดทุนไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล และเป็นตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันคณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการส่งเสริมกระดานตลาดหุ้นที่ 3 ให้แก่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเป็นการเฉพาะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างการจัดทำเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คาดจะสามารถเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ของกลุ่มสตาร์ทอัพได้ในไตรมาส 1 ปี 64
"ภาครัฐจะเน้นเรื่องการสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ระดับฐานรากสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการบริหารการเงิน รวมถึงตลาดทุนในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเข้าถึงจะใช้โครงข่ายสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB รวมคลังจังหวัดในเรื่องการพัฒนาด้วย" นายอุตตม กล่าว
ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ และก.ล.ต. รวมถึงสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ยังจะพัฒนาแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการทำบัญชีใหม่ รวมถึงจนถึงการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อรองรับแผนการเข้าจดทะเบียนระดมุทนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอนาคต ทั้งนี้ ในปัจจุบันกลุ่มคนตัวเล็ก SMEs เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีความพร้อมที่จะยื่นขอจดทะเบียนกระจายหุ้นกิจการในตลาดหลักทรัพย์ได้
สำหรับโครงการนำร่องการเชื่อมโยงสู่ดิจิทัลมีโครงการนำร่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการคือ โครงการ "บอนด์ละบาท" ที่มีความตั้งใจจะเปิดให้ประชาชนซื้อพันธบัตรออกใหม่ได้ในอัตราหน่วยละ 1 บาท จากเดิมเสนอขายขั้นต่ำหน่วยละ 1,000 บาท ด้วยการนำเทคโนโลโลมาช่วยลดต้นทุนการออกบอนด์ โดยปัจจุบันสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบและระบบการขายบอนด์ คาดจะแล้วเสร็จและออกบอนด์ในโครงการบอนด์ละบาทได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยเบื้องต้นกำหนดวงเงินไว้ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท
ส่วนการผลักดันโครงการสร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางการออกหลักทรัพย์ เพื่อการระดมทุนโดยองค์กรที่เน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เน้นการขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม (Green Bond) ในอาเซียนนั้น ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ก.ล.ต. จะมีความชัดเจนในเรื่องกฎเกณฑ์การออกหลักทรัพย์ โดยในปัจจุบัน Green Bond เป็นหลักทรัพย์ที่นักลงทุนมีความต้องการสูง และประเทศไทยถือว่าอยู่ในจุดที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางได้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึงมาตรการดูแลตลาดหลักทรัพย์ฯ ในภาวะปัจจุบันว่า วันนี้ (11) ก.ล.ต. ได้ประกาศผ่อนผันการส่งงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 รวมทั้ง ยังให้บริษัทจดทะเบียนสามารถจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นเดือน เม.ย. 63 ก.ล.ต. จะเสนอให้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาลดค่าธรรมเนียมประจำปีแก่บริษัทที่ส่งงบการเงิน และรายงานประจำปีตามกำหนดเวลา โดยกำหนดให้บริษัทที่มีส่วนทุนน้อยกว่า 500 ล้านบาทได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด ส่วนบริษัทที่มีส่วนทุนเกินกว่า 500 ล้านบาท จะยกเว้นค่าธรรมเนียมมากกว่า 30% ขณะที่ตราสารหนี้ หุ้นกู้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบในปัจจุบัน
ด้านการประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ประจำปี จะขยายเวลาการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากปัจจุบันไปอีก 4 เดือน หรือจนถึงเดือน มิ.ย. 63 แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถขยายเวลาเพิ่มเติมได้อีกหากสถานการณ์ COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์สามารถทำงานจากบ้านได้ รวมทั้ง ยังมีการปรับปรุงเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนในการรับจัดจำหน่ายหุ้น IPO ด้วย
สำหรับความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย วานนี้ (11 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้นในช่วงเช้า ขานรับมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 แต่เริ่มมีความกังวลเมื่อเจอผู้ป่วยรายใหม่ในไทยเพิ่มอีก 6 ราย ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้น ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นติดลบ แตะระดับต่ำสุดที่ 1,238.00 จุด สูงสุด 1,281.63 จุด ก่อนจะปิดที่ 1,249.89 จุด ลดลง 21.36 จุด หรือ 1.68% มูลค่าการซื้อขาย 72,236.43 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิ 3,925.69 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 131.77 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,034.04 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 5,091.50 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ราคาปิด 29.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท หรือคิดเป็น 2.63% มูลค่าการซื้อขาย 7,985.16 ล้านบาท บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ปิดที่ 72.25 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 2.48% มูลค่า 4,522.64 ล้านบาท และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ปิดที่ 23.50 บาท ลดลง 1.30 บาท หรือ 5.24% มูลค่า 3,992.60 ล้านบาท
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย ว่า ที่ประชุมฯ มีการหารือถึงถึงแนวทาง ยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดทุนไทย โดยเฉพาะในเรื่องการยกระดับการเข้าถึงตลาดทุนที่ต้องทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง รวมทั้งผู้ประกอบการกลุ่มสตาร์ทอัพสามารถเข้ามาระดมทุนได้ นอกจากนี้ ยังได้ยกระดับตลาดทุนไทยให้แข่งขันได้ในระดับสากล และเป็นตลาดในระดับภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันคณะกรรมการฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการส่งเสริมกระดานตลาดหุ้นที่ 3 ให้แก่ผู้ประกอบการสตาร์ทอัพเป็นการเฉพาะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อยู่ระหว่างการจัดทำเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คาดจะสามารถเปิดการซื้อขายหลักทรัพย์ของกลุ่มสตาร์ทอัพได้ในไตรมาส 1 ปี 64
"ภาครัฐจะเน้นเรื่องการสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปตั้งแต่ระดับฐานรากสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการบริหารการเงิน รวมถึงตลาดทุนในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการเข้าถึงจะใช้โครงข่ายสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยเฉพาะธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB รวมคลังจังหวัดในเรื่องการพัฒนาด้วย" นายอุตตม กล่าว
ขณะเดียวกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ และก.ล.ต. รวมถึงสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ยังจะพัฒนาแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการทำบัญชีใหม่ รวมถึงจนถึงการบริหารสินค้าคงคลัง เพื่อรองรับแผนการเข้าจดทะเบียนระดมุทนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ในอนาคต ทั้งนี้ ในปัจจุบันกลุ่มคนตัวเล็ก SMEs เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีความพร้อมที่จะยื่นขอจดทะเบียนกระจายหุ้นกิจการในตลาดหลักทรัพย์ได้
สำหรับโครงการนำร่องการเชื่อมโยงสู่ดิจิทัลมีโครงการนำร่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการคือ โครงการ "บอนด์ละบาท" ที่มีความตั้งใจจะเปิดให้ประชาชนซื้อพันธบัตรออกใหม่ได้ในอัตราหน่วยละ 1 บาท จากเดิมเสนอขายขั้นต่ำหน่วยละ 1,000 บาท ด้วยการนำเทคโนโลโลมาช่วยลดต้นทุนการออกบอนด์ โดยปัจจุบันสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) อยู่ระหว่างการศึกษารูปแบบและระบบการขายบอนด์ คาดจะแล้วเสร็จและออกบอนด์ในโครงการบอนด์ละบาทได้ในไตรมาส 3 ปีนี้ โดยเบื้องต้นกำหนดวงเงินไว้ที่ประมาณ 5,000 ล้านบาท
ส่วนการผลักดันโครงการสร้างไทยให้เป็นศูนย์กลางการออกหลักทรัพย์ เพื่อการระดมทุนโดยองค์กรที่เน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่เน้นการขับเคลื่อนไปสู่ความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม (Green Bond) ในอาเซียนนั้น ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ก.ล.ต. จะมีความชัดเจนในเรื่องกฎเกณฑ์การออกหลักทรัพย์ โดยในปัจจุบัน Green Bond เป็นหลักทรัพย์ที่นักลงทุนมีความต้องการสูง และประเทศไทยถือว่าอยู่ในจุดที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นศูนย์กลางได้
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยังกล่าวถึงมาตรการดูแลตลาดหลักทรัพย์ฯ ในภาวะปัจจุบันว่า วันนี้ (11) ก.ล.ต. ได้ประกาศผ่อนผันการส่งงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่เดือน ก.พ. 63 รวมทั้ง ยังให้บริษัทจดทะเบียนสามารถจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
อย่างไรก็ตาม ช่วงต้นเดือน เม.ย. 63 ก.ล.ต. จะเสนอให้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. พิจารณาลดค่าธรรมเนียมประจำปีแก่บริษัทที่ส่งงบการเงิน และรายงานประจำปีตามกำหนดเวลา โดยกำหนดให้บริษัทที่มีส่วนทุนน้อยกว่า 500 ล้านบาทได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด ส่วนบริษัทที่มีส่วนทุนเกินกว่า 500 ล้านบาท จะยกเว้นค่าธรรมเนียมมากกว่า 30% ขณะที่ตราสารหนี้ หุ้นกู้ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมทั้งหมด ทั้งนี้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบในปัจจุบัน
ด้านการประชุมผู้ถือหุ้นใหญ่ประจำปี จะขยายเวลาการจัดการประชุมผู้ถือหุ้นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน จากปัจจุบันไปอีก 4 เดือน หรือจนถึงเดือน มิ.ย. 63 แต่อย่างไรก็ตาม ยังสามารถขยายเวลาเพิ่มเติมได้อีกหากสถานการณ์ COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหลักทรัพย์สามารถทำงานจากบ้านได้ รวมทั้ง ยังมีการปรับปรุงเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนในการรับจัดจำหน่ายหุ้น IPO ด้วย
สำหรับความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย วานนี้ (11 มี.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวดีขึ้นในช่วงเช้า ขานรับมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคไวรัสโควิด-19 แต่เริ่มมีความกังวลเมื่อเจอผู้ป่วยรายใหม่ในไทยเพิ่มอีก 6 ราย ส่งผลให้นักลงทุนเทขายหุ้น ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นติดลบ แตะระดับต่ำสุดที่ 1,238.00 จุด สูงสุด 1,281.63 จุด ก่อนจะปิดที่ 1,249.89 จุด ลดลง 21.36 จุด หรือ 1.68% มูลค่าการซื้อขาย 72,236.43 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังคงขายสุทธิ 3,925.69 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 131.77 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 1,034.04 ล้านบาท และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ ซื้อสุทธิ 5,091.50 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ราคาปิด 29.25 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท หรือคิดเป็น 2.63% มูลค่าการซื้อขาย 7,985.16 ล้านบาท บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ปิดที่ 72.25 บาท เพิ่มขึ้น 1.75 บาท หรือ 2.48% มูลค่า 4,522.64 ล้านบาท และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM ปิดที่ 23.50 บาท ลดลง 1.30 บาท หรือ 5.24% มูลค่า 3,992.60 ล้านบาท