ตระหนก "โควิด-19" ลามทั่วโลก นักลงทุนแห่ทิ้งหุ้น ดัชนีดิ่งเหวต้องใช้ “เซอร์กิตเบรกเกอร์” หยุดซื้อขายชั่วคราว แต่เอาไม่อยู่หลังเปิดซื้อขายต่อ ปิดลบ 134.98 จุด คิดเป็น 10.80% วอลุ่มทะลัก 1 แสนล้านบาท มาร์เก็ตแคปวูบกว่า 1.45 ล้านล้านบาท เผยต่างชาติทิ้งหุ้นไทยตั้งแต่ต้นปีกว่า 7 หมื่นล้าน "สมคิด" สั่งเร่งศึกษาตั้งกองทุนพยุงหุ้น พร้อมดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ "รมว.คลัง” เด้งรับหากจำเป็นพร้อมเข็นใช้ทันที แต่ไม่มีแนวคิดหั่นแวตกระตุ้นเศรษฐกิจ "ภากร" เผยศึกษากองทุนพยุงหุ้นสอดคล้องสถานการณ์-ทบทวนช็อตเชล
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (12 มี.ค.) นักลงทุนตื่นตระหนกเทขายหุ้นออกมาตั้งแต่เปิดการซื้อขายในภาคเช้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่้วโลก หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ภาวะการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ประกอบกับไทยเองที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 11 คน ส่งผลให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในไทยเพิ่มเป็น 70 ราย
หุ้นดิ่งต่ำสุดรอบเกือบ 8 ปี
ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยหลุดแนวต้านสำคัญที่ระดับ 1,200 จุดทันทีตั้งแต่เปิดการซื้อขาย และมีแรงเทขายเข้ามาอย่างต่อเนื่องกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นลดลงอย่างหนัก จนกระทั่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องประกาศหยุดการซ์้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker : เซอร์กิตเบรกเกอร์ ) ระหว่างเวลา 14.38 น. ถึง 15.08 น. หลังจากดัชนีหุ้นไทยอยู่แตะที่ระดับ 1,124.84 จุด ลดลง 125.05 จุด หรือ 10% โดยจะหยุดการซื้อขายเป็นเวลา 30 นาที
แต่หลังเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง ดัชนีตลาดหุ้นไทย ยังคงดิ่งลงอย่างหนัก แตะระดับต่ำสุดที่ 1,095.37 จุด สูงสุด 1,187.39 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,114.91 จุด ลดลง 134.98 จุด หรือคิดเป็น 10.80% มูลค่าการซื้อขายรวม 101,652.04 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ลดลงกว่า 1.45 ล้านล้านบาท จาก 13.44 ล้านล้านบาท (11 มี.ค.) เหลือเพียง 11.99 ล้านล้านบาท
สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,114.91 จุด นับเป็นจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปี จากจุดต่ำสุดเดิมที่ 1,099 จุด เมื่อเดือน มิ.ย.2555
ต้นปี 63 ต่างชาติทิ้งหุ้นไทย 7 หมื่นล.
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 1,928.87 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 4,636.95 ล้านบาท บริษัทบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 4,077.94 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 10,643.76 ล้านบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นปี 63 ที่ผ่านมากว่า 70,182.29 ล้านบาท
สำหรับการใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ ครั้งนี้นับถือเป็นครั้งที่ 4 หรือในรอบกว่า 11 ปี 4 เดือน โดยครั้งแรกใช้เมื่อ 19 ธ.ค. 49 สาเหตุจากธนาคารแห่งประไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการกันสำรอง 30% ซึ่งในวันเดียวกันนี้เกือบใช้ถึง 2 ครั้งเมื่อดัชนีร่วงไปถึง 19.52% ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 สาเหตุจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐฯ (HAMBURGER CRISIS) ในวันที่ 10 ต.ค. 51 และ 27 ต.ค. 51
"สมคิด"สั่งศึกษาตั้งกองทุนพยุงหุ้น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งศึกษาการจัดตั้งกองทุนสร้างเสถียรภาพตลาดทุน หรือ กองทุนพยุงหุ้น โดยมอบหมายให้นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ศึกษาแนวทางที่เหมาะสม ขนาดของกองทุน โดยคำนึงถึงในระยะยาวกองทุนพยุงหุ้นจะต้องมีกำไร และเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่่ตลาดทุนที่รัฐบาล กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมจะเข้าไปดูแล
"แม้ขณะนี้พื้นฐานตลาดหุ้นไทยจะดี แต่สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ปกติ รุนแรงมาก จากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะกรณีสหรัฐฯ มีคำสั่งห้ามบางประเทศ เช่น กลุ่มอียู เดินทางเข้าสหรัฐฯ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก" นายสมคิด กล่าว
นอกจากนี้ จากการหารือร่วมกันได้มอบหมายให้คลังไปดำเนินการอีก 2 ประเป็นเด็นคือ 1. เตรียมมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ชุดที่ 2 เพิ่มเติมจากชุดที่ 1 ส่วนประเด็นที่ 2 คือ ให้กระทรวงการคลังเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. โดยให้เตรียมมาตรการและวงเงินให้พร้อมใช้ได้ทันที เพราะต้องยอมรับเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะหนักหนาพอสมควร
“อุตตม” ยันไม่มีแนวคิดหั่นแวต
นายอุตตม สาวนายน รมว.การคลัง กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ดัชนีตลาดหุ้นลดลงแรง เกิดจากกรณีที่ WHO ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นการแพร่ระบาดรุนแรง ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นทั่วโลก จึงได้สั่งการให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว ขณะที่คลังอาจจะออกมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็น แต่คลังไม่มีแนวคิดที่จะใช้มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนโดยตรงในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (SSF) ไปแล้ว
"คลังไม่มีแนวคิดลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) กระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนญี่ปุ่นที่พิจารณาลดภาษีแวตเหลือ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง" นายอุตตม กล่าว
ตลท.ถกตั้งกองทุนฯ-ทบทวนซ็อตเซล
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นลงแรงไปกว่า 134.98 จุด หรือลบ 10.80% แม้จะใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์พักการซื้อขาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาการจัดตั้งกองทุนสร้างเสถียรภาพตลาดทุนหลังจากที่ไม่ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยยืนยันว่าจะมีการศึกษาให้มีความเหมาะสม พร้อมกับการศึกษามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมในทุกแนวทาง รวมไปถึงการทบทวนธุรกรรมช็อตเซลหากจะมีผลต่อ Sentiment รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ตลาดหลักทรัพย์กลับเข้าสู่ภาวะปกติและมีความมั่นคง
นายภากร กล่าวว่า จากการที่ตลาดหุ้นลดลงอย่างมากเริ่มจากกลางเดือน ก.พ.จากปัจจัยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-49 และกระแทกแรง ๆ อีกครั้งเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.จากสถานการณ์ราคาน้ำมัน และยังมีข่าวเรื่องโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง พบว่าราคาหุ้นใน SET และ mai ต่ำสุดในรอบ 5 ปี จำนวน 231 ตัว ฐานราคาปรับลงมาค่อนข้างมาก
เมื่อราคาลงมาทำให้หุ้น 448 ตัวที่มีราคาเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (บุ๊คแวลู) ต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่ามูลค่าสินทรัพย์สูงกว่าราคาหุ้น เป็นโอกาสของการเข้าซื้อกิจการ เพราะซื้อหุ้นในตลาดได้ถูกมาก และมีบริษัทที่ประกาศจ่ายปันผลแล้วพบว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงกว่า 5% มี 66 บริษัท ขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ 0.8%
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (12 มี.ค.) นักลงทุนตื่นตระหนกเทขายหุ้นออกมาตั้งแต่เปิดการซื้อขายในภาคเช้า ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่้วโลก หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้เชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ภาวะการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ประกอบกับไทยเองที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 11 คน ส่งผลให้ยอดรวมผู้ติดเชื้อในไทยเพิ่มเป็น 70 ราย
หุ้นดิ่งต่ำสุดรอบเกือบ 8 ปี
ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยหลุดแนวต้านสำคัญที่ระดับ 1,200 จุดทันทีตั้งแต่เปิดการซื้อขาย และมีแรงเทขายเข้ามาอย่างต่อเนื่องกดดันให้ดัชนีตลาดหุ้นลดลงอย่างหนัก จนกระทั่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องประกาศหยุดการซ์้อขายชั่วคราว (Circuit Breaker : เซอร์กิตเบรกเกอร์ ) ระหว่างเวลา 14.38 น. ถึง 15.08 น. หลังจากดัชนีหุ้นไทยอยู่แตะที่ระดับ 1,124.84 จุด ลดลง 125.05 จุด หรือ 10% โดยจะหยุดการซื้อขายเป็นเวลา 30 นาที
แต่หลังเปิดให้ซื้อขายอีกครั้ง ดัชนีตลาดหุ้นไทย ยังคงดิ่งลงอย่างหนัก แตะระดับต่ำสุดที่ 1,095.37 จุด สูงสุด 1,187.39 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,114.91 จุด ลดลง 134.98 จุด หรือคิดเป็น 10.80% มูลค่าการซื้อขายรวม 101,652.04 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ลดลงกว่า 1.45 ล้านล้านบาท จาก 13.44 ล้านล้านบาท (11 มี.ค.) เหลือเพียง 11.99 ล้านล้านบาท
สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดที่ 1,114.91 จุด นับเป็นจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปี จากจุดต่ำสุดเดิมที่ 1,099 จุด เมื่อเดือน มิ.ย.2555
ต้นปี 63 ต่างชาติทิ้งหุ้นไทย 7 หมื่นล.
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 1,928.87 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ขายสุทธิ 4,636.95 ล้านบาท บริษัทบริษัทหลักทรัพย์ ขายสุทธิ 4,077.94 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ซื้อสุทธิ 10,643.76 ล้านบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมียอดขายสุทธิตั้งแต่ต้นปี 63 ที่ผ่านมากว่า 70,182.29 ล้านบาท
สำหรับการใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ ครั้งนี้นับถือเป็นครั้งที่ 4 หรือในรอบกว่า 11 ปี 4 เดือน โดยครั้งแรกใช้เมื่อ 19 ธ.ค. 49 สาเหตุจากธนาคารแห่งประไทย (ธปท.) ประกาศใช้มาตรการกันสำรอง 30% ซึ่งในวันเดียวกันนี้เกือบใช้ถึง 2 ครั้งเมื่อดัชนีร่วงไปถึง 19.52% ส่วนครั้งที่ 2 และ 3 สาเหตุจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกจากสหรัฐฯ (HAMBURGER CRISIS) ในวันที่ 10 ต.ค. 51 และ 27 ต.ค. 51
"สมคิด"สั่งศึกษาตั้งกองทุนพยุงหุ้น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังเร่งศึกษาการจัดตั้งกองทุนสร้างเสถียรภาพตลาดทุน หรือ กองทุนพยุงหุ้น โดยมอบหมายให้นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ศึกษาแนวทางที่เหมาะสม ขนาดของกองทุน โดยคำนึงถึงในระยะยาวกองทุนพยุงหุ้นจะต้องมีกำไร และเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่่ตลาดทุนที่รัฐบาล กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมจะเข้าไปดูแล
"แม้ขณะนี้พื้นฐานตลาดหุ้นไทยจะดี แต่สถานการณ์เศรษฐกิจไม่ปกติ รุนแรงมาก จากการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะกรณีสหรัฐฯ มีคำสั่งห้ามบางประเทศ เช่น กลุ่มอียู เดินทางเข้าสหรัฐฯ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก" นายสมคิด กล่าว
นอกจากนี้ จากการหารือร่วมกันได้มอบหมายให้คลังไปดำเนินการอีก 2 ประเป็นเด็นคือ 1. เตรียมมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ชุดที่ 2 เพิ่มเติมจากชุดที่ 1 ส่วนประเด็นที่ 2 คือ ให้กระทรวงการคลังเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. โดยให้เตรียมมาตรการและวงเงินให้พร้อมใช้ได้ทันที เพราะต้องยอมรับเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะหนักหนาพอสมควร
“อุตตม” ยันไม่มีแนวคิดหั่นแวต
นายอุตตม สาวนายน รมว.การคลัง กล่าวว่า ได้รับรายงานจากผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ดัชนีตลาดหุ้นลดลงแรง เกิดจากกรณีที่ WHO ประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นการแพร่ระบาดรุนแรง ส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นทั่วโลก จึงได้สั่งการให้ตลาดหลักทรัพย์ไทยติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดแล้ว ขณะที่คลังอาจจะออกมาตรการที่เหมาะสมเพิ่มเติม หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็น แต่คลังไม่มีแนวคิดที่จะใช้มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการลงทุนโดยตรงในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออมระยะยาว (SSF) ไปแล้ว
"คลังไม่มีแนวคิดลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) กระตุ้นเศรษฐกิจเหมือนญี่ปุ่นที่พิจารณาลดภาษีแวตเหลือ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรง" นายอุตตม กล่าว
ตลท.ถกตั้งกองทุนฯ-ทบทวนซ็อตเซล
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นลงแรงไปกว่า 134.98 จุด หรือลบ 10.80% แม้จะใช้มาตรการเซอร์กิตเบรกเกอร์พักการซื้อขาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาการจัดตั้งกองทุนสร้างเสถียรภาพตลาดทุนหลังจากที่ไม่ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยยืนยันว่าจะมีการศึกษาให้มีความเหมาะสม พร้อมกับการศึกษามาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมในทุกแนวทาง รวมไปถึงการทบทวนธุรกรรมช็อตเซลหากจะมีผลต่อ Sentiment รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ตลาดหลักทรัพย์กลับเข้าสู่ภาวะปกติและมีความมั่นคง
นายภากร กล่าวว่า จากการที่ตลาดหุ้นลดลงอย่างมากเริ่มจากกลางเดือน ก.พ.จากปัจจัยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-49 และกระแทกแรง ๆ อีกครั้งเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.จากสถานการณ์ราคาน้ำมัน และยังมีข่าวเรื่องโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง พบว่าราคาหุ้นใน SET และ mai ต่ำสุดในรอบ 5 ปี จำนวน 231 ตัว ฐานราคาปรับลงมาค่อนข้างมาก
เมื่อราคาลงมาทำให้หุ้น 448 ตัวที่มีราคาเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (บุ๊คแวลู) ต่ำกว่า 1 เท่า แสดงว่ามูลค่าสินทรัพย์สูงกว่าราคาหุ้น เป็นโอกาสของการเข้าซื้อกิจการ เพราะซื้อหุ้นในตลาดได้ถูกมาก และมีบริษัทที่ประกาศจ่ายปันผลแล้วพบว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล (Dividend Yield) สูงกว่า 5% มี 66 บริษัท ขณะที่อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอยู่ที่ 0.8%