ผู้จัดการรายวัน360-"สนธิรัตน์" ไฟเขียวเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงไฟฟ้าชุมชน 13 มี.ค.นี้ หวังเดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ให้เอกชนยื่นเสนอภายในเดือนมี.ค.นี้ คาดเกิดการลงทุนราว 7 หมื่นล้าน แต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากได้นับแสนล้าน พร้อมดึงเอทานอลส่วนเกินมาทำแอลกอฮอล์ ช่วยแก้ปัญหาขาดแคลน เผย ปตท. กฟผ. โดดร่วมผลิตเจลล้างมือแจกด้วย
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า วันที่ 13 มี.ค.2563 กระทรวงพลังงานจะจัดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ 700 เมกะวัตต์ (MW) เพื่อเร่งดำเนินการประกาศให้เอกชนเข้าร่วมเสนอขายไฟฟ้าภายในเดือนมี.ค.2563 ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการลงทุนประมาณ 70,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจฐานรากที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ได้นับแสนล้านบาท และยังเป็นการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ นอกจากเม็ดเงินลงทุน 70,000 ล้านบาทแล้ว ยังได้ผลประโยชน์ในเรื่องการปลูกพืชพลังงาน สร้างรายได้ให้กองทุนหมู่บ้าน 25-30 สตางค์/หน่วย ชาวบ้านยังได้เงินปันผล ก็จะให้เกิดเม็ดเงินต่อเนื่องนับแสนล้านบาท และยังช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 จากการเผาวัสดุเกษตร 25,000 ตัน โดยขณะนี้มีโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่องสามารถยื่นขอจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนได้ทันที เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ , อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ , อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี , อ.บันนังสตา จ.ยะลา และ อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นต้น
สำหรับการแก้ปัญหาขาดแคลนแอลกอฮอล์จะเร่งประสานกับ 26 โรงงานผู้ผลิตเอทานอลว่าจะมีสัดส่วนการนำมาผลิตเป็นแอลกอฮอล์แต่ละโรงงานมากน้อยเพียงใด โดยดูแลให้นำมาใช้ทางการแพทย์เท่านั้น หลังจากกรมสรรพสามิตออกประกาศให้นำเอทานอลไปขาย เพื่อใช้ผลิตแอลกอฮอล์ทางการแพทย์ เพื่อผลิตเป็นเจลล้างมือได้ โดยให้อยู่ในการดูแลของกระทรวงพลังงาน ซึ่งปัจจุบันมีเอทานอลส่วนเกินจากการผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 1 ล้านลิตร/วัน และล่าสุดได้รับรายงานว่า บมจ.ปตท. ว่าจะร่วมแก้ไขปัญหา โดยมีแผนที่จะทำเจลล้างมือแจกให้กับผู้เติมน้ำมัน ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการผลิตเจลล้างมือแจกจ่ายให้พนักงานและเตรียมแจกชุมชนโดยรอบหน่วยงานด้วย
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้เตรียมวางแผนร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่กระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคช่วงภัยแล้ง พร้อมกับพัฒนาระบบ Geographical Information System เพื่อติดตามจุดติดตั้งระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ทั่วประเทศ โดยปัจจุบันดำเนินการเสร็จแล้ว 2,003 บ่อ
รายงานข่าวแจ้งว่า เดิมจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นโรงไฟฟ้าชุมชนเมื่อวันที่ 11 มี.ค.2563 โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน แต่ได้มีการยกเลิกไป เนื่องจากตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ลดการประชุมใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 แต่เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงต้องเร่งดำเนินการต่อ
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า วันที่ 13 มี.ค.2563 กระทรวงพลังงานจะจัดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐ 700 เมกะวัตต์ (MW) เพื่อเร่งดำเนินการประกาศให้เอกชนเข้าร่วมเสนอขายไฟฟ้าภายในเดือนมี.ค.2563 ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการลงทุนประมาณ 70,000 ล้านบาท และก่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจฐานรากที่โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ได้นับแสนล้านบาท และยังเป็นการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ นอกจากเม็ดเงินลงทุน 70,000 ล้านบาทแล้ว ยังได้ผลประโยชน์ในเรื่องการปลูกพืชพลังงาน สร้างรายได้ให้กองทุนหมู่บ้าน 25-30 สตางค์/หน่วย ชาวบ้านยังได้เงินปันผล ก็จะให้เกิดเม็ดเงินต่อเนื่องนับแสนล้านบาท และยังช่วยลดปัญหาฝุ่น PM2.5 จากการเผาวัสดุเกษตร 25,000 ตัน โดยขณะนี้มีโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่องสามารถยื่นขอจัดตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนได้ทันที เช่น โรงไฟฟ้าชุมชนที่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ , อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ , อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี , อ.บันนังสตา จ.ยะลา และ อ.เมือง จ.นราธิวาส เป็นต้น
สำหรับการแก้ปัญหาขาดแคลนแอลกอฮอล์จะเร่งประสานกับ 26 โรงงานผู้ผลิตเอทานอลว่าจะมีสัดส่วนการนำมาผลิตเป็นแอลกอฮอล์แต่ละโรงงานมากน้อยเพียงใด โดยดูแลให้นำมาใช้ทางการแพทย์เท่านั้น หลังจากกรมสรรพสามิตออกประกาศให้นำเอทานอลไปขาย เพื่อใช้ผลิตแอลกอฮอล์ทางการแพทย์ เพื่อผลิตเป็นเจลล้างมือได้ โดยให้อยู่ในการดูแลของกระทรวงพลังงาน ซึ่งปัจจุบันมีเอทานอลส่วนเกินจากการผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงกว่า 1 ล้านลิตร/วัน และล่าสุดได้รับรายงานว่า บมจ.ปตท. ว่าจะร่วมแก้ไขปัญหา โดยมีแผนที่จะทำเจลล้างมือแจกให้กับผู้เติมน้ำมัน ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีการผลิตเจลล้างมือแจกจ่ายให้พนักงานและเตรียมแจกชุมชนโดยรอบหน่วยงานด้วย
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้เตรียมวางแผนร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการให้เกิดความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่กระทบต่อน้ำอุปโภคบริโภคช่วงภัยแล้ง พร้อมกับพัฒนาระบบ Geographical Information System เพื่อติดตามจุดติดตั้งระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ทั่วประเทศ โดยปัจจุบันดำเนินการเสร็จแล้ว 2,003 บ่อ
รายงานข่าวแจ้งว่า เดิมจะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นโรงไฟฟ้าชุมชนเมื่อวันที่ 11 มี.ค.2563 โดยมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน แต่ได้มีการยกเลิกไป เนื่องจากตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ลดการประชุมใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 แต่เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงต้องเร่งดำเนินการต่อ