"สมาคมร้านขายยา" จวกยับ "กรมการค้าภายใน" อ้างจัดสรรหน้ากากอนามัยให้ แต่ไม่เคยได้แม้แต่ชิ้นเดียว ด้าน"พาณิชย์"แจงส่งร้านขายยาโดยตรง ไม่ผ่านสมาคมฯ ดีเดย์วันนี้ (9 มี.ค.) จับแหลกผู้ขายแมสก์เกิน 2.50 บาท ทั้งร้านค้าทั่วไป ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า และในออนไลน์ ระบุโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท ส่วน "ผีน้อย" ลอตแรก เข้าคัดกรอง กักกันที่อาคารรับรองกองทัพเรือ สัตหีบ แล้ว 59 คน ส่วนที่เดินทางมาก่อนหน้านั้น ที่หนีการกักตัว 70-80 คน สธ.กำลังตามตัวนำมากักกันแล้ว หากยังไม่ให้ความร่วมมือ ต้องดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2 แสน
นายเทพรักษ์ สุรทานต์นนท์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมร้านขายยา กล่าวถึงกรณีหน้ากากอนามัยขาดตลาดว่า ตามที่ปรากฏทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ ได้ออกมาชี้แจงว่า มีการกระจายหน้ากากอนามัยไปยังภาคส่วนต่างๆ โดยกรมการค้าภายใน ได้จัดสรรหน้ากากอนามัยให้แก่สมาคมร้านขายยาวันละ 2.5 หมื่นชิ้น เพื่อจำหน่ายกับผู้ที่ต้องการนั้น สมาคมร้านขายยา ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า จนถึงขณะนี้ทางสมาคมฯ ยังไม่เคยได้รับหน้ากากอนามัยจากกรมการค้าภายในเลยแม้แต่น้อย
ฉะนั้น เพื่อความยุติธรรม ตลอดจนลดแรงกดดัน และเพื่อให้สมาคมร้านขายยา ที่มีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศ ช่วยลดช่องว่าง ช่วยแบ่งเบาภาระทางราชการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 สมาคมร้านขายยาจึงขอเรียกร้อง ให้กรมการค้าภายใน และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดส่งหน้ากากอนามัย ให้แก่ทางสมาคมฯตามที่ปรากฏเป็นข่าวด้วย
แจงส่งร้านขายยาโดยตรง
ด้านนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ว่า ร้านขายยาได้รับการจัดสรรหน้ากากอนามัย วันละ 25,000 ชิ้น ตามที่ได้มีการตกลงกัน แต่การส่งมอบ จะทำโดยโรงงานผู้ผลิตหน้ากากอนามัยจัดส่งให้ร้านขายยาโดยตรง เพื่อลดขั้นตอนการจัดส่ง เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคโดยเร็ว
ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการประชุมร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ สมาคมโรงพยาบาลเอกชน โรงงานผู้ผลิตหน้ากากอนามัย ว่าจะให้ความสำคัญกับ สถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย เป็นผู้ที่ควรได้รับการดูแล และได้รับหน้ากากอนามัยเป็นกลุ่มแรก โดยมอบหมายให้สธ. ซึ่งมีองค์การเภสัชกรรม และองค์การอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนผู้บริโภคทั่วไป มอบหมายกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เป็นผู้รับผิดชอบ
โดยล่าสุด สธ. ได้รับมอบหมายให้นำหน้ากากอนามัยไปจัดสรร 700,000 ชิ้นต่อวัน และกระทรวงพาณิชย์ 500,000 ชิ้นต่อวัน การจัดสรรดังกล่าว ร้านขายยายังได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้จำหน่ายหน้ากากอนามัยจำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 ชิ้น ตามที่ได้ตกลงไว้เดิม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 6-8 มี.ค.63 ผู้ผลิตหน้ากากอนามัย ได้จัดส่งหน้ากาก ทั้งที่เป็นหน้ากากอนามัยเพื่อการแพทย์ และหน้ากากอื่นๆ เช่น หน้ากากคาร์บอน N95 ให้กับร้านขายยากว่า 700,000 ชิ้น โดยจำนวนดังกล่าวสามารถยืนยันได้ จากการที่กรมการค้าภายใน ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำโรงงานผู้ผลิตทั้ง 11 ราย เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าโรงงานผู้ผลิตได้จัดส่งหน้ากากอนามัยให้กับร้านขายยาตามที่มีการตกลงกันไว้
กรณีนี้ ผู้ผลิตหน้ากากอนามัย ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มีความสะดวกในการที่จะจัดส่งให้ร้านขายยาโดยตรง เนื่องจากสมาคมเป็นนิติบุคคล ที่ไม่สามารถทำการค้าได้ การทำนิติกรรมการซื้อขาย อาจมีปัญหาด้านกฎหมาย จึงเลือกใช้วิธีการส่งให้กับร้านขายยาโดยตรงแทน จึงขอชี้แจงให้ได้รับทราบทั่วกัน และขอให้สมาคมฯ ได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
9 มี.ค.จับแหลกขายแมสก์เกินราคา
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.63 เป็นต้นไป กรมฯ จะจัดส่งเจ้าหน้าที่สายตรวจ ออกตรวจสอบการจำหน่ายหน้ากากอนามัย (แบบสีเขียว) ที่ประชาชนใช้สำหรับป้องกันโรคไวรัส โควิด-19 โดยในกรุงเทพฯ จะมี 10 สาย และต่างจังหวัด จะดำเนินการร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เพื่อตรวจสอบว่ามีการจำหน่ายในราคาสูงสุดตามที่กม.กำหนด คือ ชิ้นละ 2.50 บาทหรือไม่ หากพบว่ามีการจำหน่ายเกินราคา จะดำเนินการจับกุม และส่งดำเนินคดีตามกม. ซึ่งมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทันที
"ขอเตือนไปยังร้านค้าทั่วไป ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า หรือผู้ที่จำหน่ายทางออนไลน์ ให้จำหน่ายหน้ากากอนามัยในราคาสูงสุดตามที่กม.กำหนด ถ้าไม่ทำตาม จะมีความผิด และถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มียกเว้น ทุกราย และเฉพาะทางออนไลน์ หากเป็นทางเฟซบุ๊ก จะมีการประสานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้ามาช่วยตามตัว ส่วนที่ขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ขายผ่านทางมาร์เก็ตเพลส ต่างๆ ไม่เพียงแต่เล่นงานคนขาย จะดำเนินคดีกับแพลตฟอร์ม และมาร์เก็ตเพลส ที่ปล่อยให้มีการขายเกินราคาที่กำหนดด้วย มีโทษเท่ากัน" นายวิชัย กล่าว
สำหรับการกระจายหน้ากากอนามัย ที่ศูนย์บริหารจัดการหน้ากากอนามัยได้รับมาวันละ 1.2 ล้านชิ้น จาก 11 โรงงาน ยังคงแบ่งสัดส่วนการระบายเช่นเดิม คือ 7 แสนชิ้น ให้กระทรวงสาธารณสุขกระจายให้กับ รพ. สถานพยาบาลทุกสังกัด ทั้งรัฐและเอกชน ส่วนอีก 5 แสนชิ้น กรมการค้าภายใน จะเป็นผู้ระบายให้กับประชากร 65 ล้านคน โดยส่วนหนึ่งจะกระจายให้กับ การบินไทย เพื่อให้นำไปให้ผู้ที่ให้บริการทั้งในสนามบินและบนเครื่องบินใช้ กระจายให้กับสมาคมร้านขายยา และร้านสะดวกซื้อ คือ เซเว่นอีเลฟเว่น มินิ บิ๊กซี โลตัส เอ็กซ์เพรส แฟมิลี่มาร์ท และรถโมบาย 111 คัน กระจายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
"ตอนนี้ ทางศูนย์ฯได้เร่งจัดส่งหน้ากากอนามัยไปให้ รพ. สถานพยาบาล ที่มีปัญหาขาดแคลนเป็นการเร่งด่วนแล้ว โดยจะส่งให้รายที่มีปัญหาก่อน จากนั้นจะทยอยส่งไปให้ทุกที่ ซึ่งปริมาณที่ส่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม และความจำเป็นเร่งด่วน ส่วนการจำหน่ายให้กับประชาชน ก็จะกระจายผ่านช่องทางที่มีอยู่ และจะเน้นผ่านรถโมบายมากขึ้น เพราะวิ่งตรงเข้าถึงชุมชนเลย แต่ที่กระทรวงพาณิชย์ ได้ยกเลิกการจำหน่ายไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.63 ที่ผ่านมา" นายวิชัย กล่าว
ส่วนการส่งออก ปัจจุบันยังคงห้ามการส่งออกทุกชิ้นเหมือนเดิม ขณะที่สินค้านำเข้า ปกติเคยนำได้เข้าประมาณ 20 ล้านชิ้น ต่อเดือน แต่ปัจจุบันในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา นำเข้าเหลือ 1-2 ล้านชิ้นต่อเดือน และในจำนวนนี้ เป็นหน้ากากอนามัยแบบสีเขียวแค่ 7-8 แสนชิ้นเท่านั้น ถือว่ายอดลดลงมาก เพราะประเทศที่เป็นผู้ผลิตอย่างจีน ญี่ปุ่น ได้ห้ามการส่งออก ซึ่งก็ต้องหาทางเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศ โดยล่าสุดรัฐบาลได้เดินหน้าแก้ไขแล้ว ทั้งการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ หรือสนับสนุนให้มีการลงทุนโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
คัดกรอง"ผีน้อย"ที่อาคารรับรองสัตหีบ
วานนี้ (8 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ การรับคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ ให้เข้าพักเพื่อเฝ้าดูอาการที่อาคารรับรอง สวัสดิการอาคารรับรองกองทัพเรือ อ่าวดงตาล อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งมีคนไทยจำนวน 59 คน เป็นชาย 27 คน หญิง 32 คน ถูกนำตัวมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ เข้าสู่พื้นที่กักตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น
เมื่อเวลา 10.00 น. (8 มี.ค.) นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ได้เดินทางมายังอาคารรับรองสัตหีบ เพื่อติดตามกระบวนการกักตัวแรงงานไทยที่กลับจากเกาหลีใต้ และเข้าสู่กระบวนการกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการเป็นเวลา 14 วัน พร้อมกล่าวว่า กลุ่มแรงงานไทยที่ไปทำงานแบบผิดกฎหมาย และเดินทางกลับประเทศไทยก่อนเที่ยวบิน 21.10 น. ทั้งหมด จะต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
โดยกระทรวงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกจังหวัด ติดตามตัวผู้มีรายชื่อ เข้าสู่กระบวนการคัดกรองแล้ว และหากใครไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการ หรือไม่ให้ความร่วมมือ จะถูกดำเนินคดีตามพ.ร.บ.ควบคุมโรค โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
นายสาธิต ยังกล่าวถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้ ที่มีคนไทย 200 ราย จากเกาหลีใต้มาถึงแล้ว แต่ไม่ยอมให้ความร่วมมือ พยายามหนีจากการกักกันตัว โดยมีหลุดหนีออกไปได้ 70-80 คน ว่า สั่งให้อธิดีกรมควบคุมโรค เร่งตรวจสอบรายชื่อข้อมูลการเดินทาง เพื่อนำตัวกลับมากักกันแล้ว หากยังไม่ให้ความร่วมมือ จะต้องดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค
คาดผีน้อยที่หนีมาก่อนมาตรการคัดกรอง
ด้าน นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.) ว่า ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยสะสมจึงยังเท่าเดิม 50 ราย รักษาหายกลับบ้านเพิ่มอีก 2 ราย รวมเป็น 33 ราย เสียชีวิต 1 ราย ยังรักษาตัวอยู่ใน รพ. 16 ราย จำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย แต่อาการไม่ได้ดีขึ้น หรือแย่ลง ยังคงรับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทั้งหมด 4,366 คน กลับบ้านแล้ว 2,629 คน ยังรักษาตัวใน รพ. 1,737 คน เฉพาะเมื่อวันที่ 7 มี.ค. มีผู้เข้าเกณฑ์มากกว่า 130 คน สำหรับต่างประเทศขณะนี้มีผู้ป่วยแล้วกว่า 90 ประเทศ จำนวนผู้ป่วย 106,195 ราย เสียชีวิต 3,600 ราย โดยสถานการณ์ในจีนผู้ป่วยรายใหม่ชะลอตัวลงชัดเจน จากหลักพันเหลือหลักร้อย ส่วนประเทศอื่นๆ พบว่า หลายประเทศทวีความรุนแรง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อถามถึงกรณีแรงงานไทยผิดกฎหมาย ที่กลับจากเกาหลีใต้ (ผีน้อย) มีการหลบหนีจากการกักกันตัวเพื่อเฝ้าระวังโรค 14 วัน ประมาณ 80 คน นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า เราเริ่มคัดกรองแรงงานนอกระบบกลับจากเกาหลีใต้ไฟลท์แรก เมื่อวันที่ 7 มี.ค.62 คือ ไฟลต์ LJ003 มีจำนวน 104 คน โดยวันที่ 7 มี.ค. มีจำนวน 4 ไฟลต์บิน คัดกรองแรงงานนอกระบบกลับจากเกาหลีใต้ได้ประมาณ 500 กว่าคน และได้รับความร่วมมือจากทุกคน ในการพาไปยังสถานที่เพื่อเฝ้าสังเกตอาการทุกคน
ส่วนที่มีข่าวว่าหนีนั้น เข้าใจว่าเป็นไฟลท์ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีการคัดกรอง ที่เรายังไม่สามารถชี้แจงมาตรการอย่างเข้าอกเข้าใจได้ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา ซึ่งเราจะติดตามให้ได้ทุกคน เพื่อให้ลงทะเบียนรายงานสุขภาพทุกวัน โดยจะขอให้กักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน แต่หากไม่ปฏิบัติตาม ก็จะนำตัวมายังสถานที่เฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้ตนยังไม่ถือว่าหลบหนี เพราะยังไม่ได้มีการชี้แจงมาตรการให้เข้าใจ
'หญิงหน่อย'จี้รัฐเร่งแก้ 4 จุดป้องโควิด-19
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวถึง การยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส "โควิด-19" ในไทยว่า อยากจะฝากไว้ 3 เรื่อง คือ การป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อใหม่เดินทางเข้าประเทศไทย จะต้องมีการดูแลด่านพรมแดนทั้งทางบก เรือ และทางอากาศ ซึ่งมีความสำคัญทุกด้าน ความจำเป็นที่จะต้องแยกให้ชัดเจน จะต้องมีการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้ามา 14 วัน ต้องทำให้มีมาตรฐาน และชัดเจน
ส่วนที่ 2 คือ เกิดการระบาดแล้วในประเทศ จะต้องมีมาตรการระบาดวิทยา ในการควบคุมการระบาด การติดตามผู้ที่สัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้ออย่างมีมาตรการเข้มแข็ง และเป็นมาตรการที่ได้มาตรฐานสากล
ส่วนที่ 3 เป็นส่วนสุดท้าย คือควรจะให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตนเอง จัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันให้กับประชาชนได้เพียงพอ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และเจลล้างมือ ต้องกระจายให้มีการจำหน่ายอย่างทั่วถึง
"อีกประเด็นคือ การระบาดเป็นเรื่องสำคัญที่สุดคือ โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ เป็นด่านหน้า อุปกรณ์ก็ต้องมีครบหมด และการสาธารณสุข ก็สำคัญมาก อุปกรณ์ พวกเขาต้องมีครบหมด ทั้งหน้ากาก เสื้อป้องกันทุกอย่าง เห็นว่าหลายโรงพยาบาลก็ร้องเรียนกันอยู่ ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ใน 4 จุดนี้ " คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
นายเทพรักษ์ สุรทานต์นนท์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมร้านขายยา กล่าวถึงกรณีหน้ากากอนามัยขาดตลาดว่า ตามที่ปรากฏทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ ที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.พาณิชย์ ได้ออกมาชี้แจงว่า มีการกระจายหน้ากากอนามัยไปยังภาคส่วนต่างๆ โดยกรมการค้าภายใน ได้จัดสรรหน้ากากอนามัยให้แก่สมาคมร้านขายยาวันละ 2.5 หมื่นชิ้น เพื่อจำหน่ายกับผู้ที่ต้องการนั้น สมาคมร้านขายยา ขอแจ้งให้ทราบโดยทั่วกันว่า จนถึงขณะนี้ทางสมาคมฯ ยังไม่เคยได้รับหน้ากากอนามัยจากกรมการค้าภายในเลยแม้แต่น้อย
ฉะนั้น เพื่อความยุติธรรม ตลอดจนลดแรงกดดัน และเพื่อให้สมาคมร้านขายยา ที่มีสมาชิกอยู่ทั่วประเทศ ช่วยลดช่องว่าง ช่วยแบ่งเบาภาระทางราชการในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส COVID-19 สมาคมร้านขายยาจึงขอเรียกร้อง ให้กรมการค้าภายใน และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการจัดส่งหน้ากากอนามัย ให้แก่ทางสมาคมฯตามที่ปรากฏเป็นข่าวด้วย
แจงส่งร้านขายยาโดยตรง
ด้านนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ว่า ร้านขายยาได้รับการจัดสรรหน้ากากอนามัย วันละ 25,000 ชิ้น ตามที่ได้มีการตกลงกัน แต่การส่งมอบ จะทำโดยโรงงานผู้ผลิตหน้ากากอนามัยจัดส่งให้ร้านขายยาโดยตรง เพื่อลดขั้นตอนการจัดส่ง เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคโดยเร็ว
ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการประชุมร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ สมาคมโรงพยาบาลเอกชน โรงงานผู้ผลิตหน้ากากอนามัย ว่าจะให้ความสำคัญกับ สถานพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย เป็นผู้ที่ควรได้รับการดูแล และได้รับหน้ากากอนามัยเป็นกลุ่มแรก โดยมอบหมายให้สธ. ซึ่งมีองค์การเภสัชกรรม และองค์การอาหารและยาเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนผู้บริโภคทั่วไป มอบหมายกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน เป็นผู้รับผิดชอบ
โดยล่าสุด สธ. ได้รับมอบหมายให้นำหน้ากากอนามัยไปจัดสรร 700,000 ชิ้นต่อวัน และกระทรวงพาณิชย์ 500,000 ชิ้นต่อวัน การจัดสรรดังกล่าว ร้านขายยายังได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้จำหน่ายหน้ากากอนามัยจำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 ชิ้น ตามที่ได้ตกลงไว้เดิม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 6-8 มี.ค.63 ผู้ผลิตหน้ากากอนามัย ได้จัดส่งหน้ากาก ทั้งที่เป็นหน้ากากอนามัยเพื่อการแพทย์ และหน้ากากอื่นๆ เช่น หน้ากากคาร์บอน N95 ให้กับร้านขายยากว่า 700,000 ชิ้น โดยจำนวนดังกล่าวสามารถยืนยันได้ จากการที่กรมการค้าภายใน ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปประจำโรงงานผู้ผลิตทั้ง 11 ราย เป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าโรงงานผู้ผลิตได้จัดส่งหน้ากากอนามัยให้กับร้านขายยาตามที่มีการตกลงกันไว้
กรณีนี้ ผู้ผลิตหน้ากากอนามัย ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มีความสะดวกในการที่จะจัดส่งให้ร้านขายยาโดยตรง เนื่องจากสมาคมเป็นนิติบุคคล ที่ไม่สามารถทำการค้าได้ การทำนิติกรรมการซื้อขาย อาจมีปัญหาด้านกฎหมาย จึงเลือกใช้วิธีการส่งให้กับร้านขายยาโดยตรงแทน จึงขอชี้แจงให้ได้รับทราบทั่วกัน และขอให้สมาคมฯ ได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วย
9 มี.ค.จับแหลกขายแมสก์เกินราคา
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.63 เป็นต้นไป กรมฯ จะจัดส่งเจ้าหน้าที่สายตรวจ ออกตรวจสอบการจำหน่ายหน้ากากอนามัย (แบบสีเขียว) ที่ประชาชนใช้สำหรับป้องกันโรคไวรัส โควิด-19 โดยในกรุงเทพฯ จะมี 10 สาย และต่างจังหวัด จะดำเนินการร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด เพื่อตรวจสอบว่ามีการจำหน่ายในราคาสูงสุดตามที่กม.กำหนด คือ ชิ้นละ 2.50 บาทหรือไม่ หากพบว่ามีการจำหน่ายเกินราคา จะดำเนินการจับกุม และส่งดำเนินคดีตามกม. ซึ่งมีโทษจำคุก 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทันที
"ขอเตือนไปยังร้านค้าทั่วไป ร้านขายยา ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า หรือผู้ที่จำหน่ายทางออนไลน์ ให้จำหน่ายหน้ากากอนามัยในราคาสูงสุดตามที่กม.กำหนด ถ้าไม่ทำตาม จะมีความผิด และถูกจับกุมดำเนินคดีไม่มียกเว้น ทุกราย และเฉพาะทางออนไลน์ หากเป็นทางเฟซบุ๊ก จะมีการประสานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้ามาช่วยตามตัว ส่วนที่ขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ขายผ่านทางมาร์เก็ตเพลส ต่างๆ ไม่เพียงแต่เล่นงานคนขาย จะดำเนินคดีกับแพลตฟอร์ม และมาร์เก็ตเพลส ที่ปล่อยให้มีการขายเกินราคาที่กำหนดด้วย มีโทษเท่ากัน" นายวิชัย กล่าว
สำหรับการกระจายหน้ากากอนามัย ที่ศูนย์บริหารจัดการหน้ากากอนามัยได้รับมาวันละ 1.2 ล้านชิ้น จาก 11 โรงงาน ยังคงแบ่งสัดส่วนการระบายเช่นเดิม คือ 7 แสนชิ้น ให้กระทรวงสาธารณสุขกระจายให้กับ รพ. สถานพยาบาลทุกสังกัด ทั้งรัฐและเอกชน ส่วนอีก 5 แสนชิ้น กรมการค้าภายใน จะเป็นผู้ระบายให้กับประชากร 65 ล้านคน โดยส่วนหนึ่งจะกระจายให้กับ การบินไทย เพื่อให้นำไปให้ผู้ที่ให้บริการทั้งในสนามบินและบนเครื่องบินใช้ กระจายให้กับสมาคมร้านขายยา และร้านสะดวกซื้อ คือ เซเว่นอีเลฟเว่น มินิ บิ๊กซี โลตัส เอ็กซ์เพรส แฟมิลี่มาร์ท และรถโมบาย 111 คัน กระจายทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
"ตอนนี้ ทางศูนย์ฯได้เร่งจัดส่งหน้ากากอนามัยไปให้ รพ. สถานพยาบาล ที่มีปัญหาขาดแคลนเป็นการเร่งด่วนแล้ว โดยจะส่งให้รายที่มีปัญหาก่อน จากนั้นจะทยอยส่งไปให้ทุกที่ ซึ่งปริมาณที่ส่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม และความจำเป็นเร่งด่วน ส่วนการจำหน่ายให้กับประชาชน ก็จะกระจายผ่านช่องทางที่มีอยู่ และจะเน้นผ่านรถโมบายมากขึ้น เพราะวิ่งตรงเข้าถึงชุมชนเลย แต่ที่กระทรวงพาณิชย์ ได้ยกเลิกการจำหน่ายไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.63 ที่ผ่านมา" นายวิชัย กล่าว
ส่วนการส่งออก ปัจจุบันยังคงห้ามการส่งออกทุกชิ้นเหมือนเดิม ขณะที่สินค้านำเข้า ปกติเคยนำได้เข้าประมาณ 20 ล้านชิ้น ต่อเดือน แต่ปัจจุบันในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา นำเข้าเหลือ 1-2 ล้านชิ้นต่อเดือน และในจำนวนนี้ เป็นหน้ากากอนามัยแบบสีเขียวแค่ 7-8 แสนชิ้นเท่านั้น ถือว่ายอดลดลงมาก เพราะประเทศที่เป็นผู้ผลิตอย่างจีน ญี่ปุ่น ได้ห้ามการส่งออก ซึ่งก็ต้องหาทางเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศ โดยล่าสุดรัฐบาลได้เดินหน้าแก้ไขแล้ว ทั้งการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ หรือสนับสนุนให้มีการลงทุนโรงงานเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต
คัดกรอง"ผีน้อย"ที่อาคารรับรองสัตหีบ
วานนี้ (8 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ การรับคนไทยที่เดินทางกลับจากประเทศเกาหลีใต้ ให้เข้าพักเพื่อเฝ้าดูอาการที่อาคารรับรอง สวัสดิการอาคารรับรองกองทัพเรือ อ่าวดงตาล อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งมีคนไทยจำนวน 59 คน เป็นชาย 27 คน หญิง 32 คน ถูกนำตัวมาจากสนามบินสุวรรณภูมิ เข้าสู่พื้นที่กักตัวเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น
เมื่อเวลา 10.00 น. (8 มี.ค.) นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ได้เดินทางมายังอาคารรับรองสัตหีบ เพื่อติดตามกระบวนการกักตัวแรงงานไทยที่กลับจากเกาหลีใต้ และเข้าสู่กระบวนการกักตัวเพื่อเฝ้าดูอาการเป็นเวลา 14 วัน พร้อมกล่าวว่า กลุ่มแรงงานไทยที่ไปทำงานแบบผิดกฎหมาย และเดินทางกลับประเทศไทยก่อนเที่ยวบิน 21.10 น. ทั้งหมด จะต้องเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
โดยกระทรวงได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกจังหวัด ติดตามตัวผู้มีรายชื่อ เข้าสู่กระบวนการคัดกรองแล้ว และหากใครไม่ยอมเข้าสู่กระบวนการ หรือไม่ให้ความร่วมมือ จะถูกดำเนินคดีตามพ.ร.บ.ควบคุมโรค โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
นายสาธิต ยังกล่าวถึงกรณีที่ก่อนหน้านี้ ที่มีคนไทย 200 ราย จากเกาหลีใต้มาถึงแล้ว แต่ไม่ยอมให้ความร่วมมือ พยายามหนีจากการกักกันตัว โดยมีหลุดหนีออกไปได้ 70-80 คน ว่า สั่งให้อธิดีกรมควบคุมโรค เร่งตรวจสอบรายชื่อข้อมูลการเดินทาง เพื่อนำตัวกลับมากักกันแล้ว หากยังไม่ให้ความร่วมมือ จะต้องดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค
คาดผีน้อยที่หนีมาก่อนมาตรการคัดกรอง
ด้าน นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าว สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 เมื่อวานนี้ (8 มี.ค.) ว่า ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยสะสมจึงยังเท่าเดิม 50 ราย รักษาหายกลับบ้านเพิ่มอีก 2 ราย รวมเป็น 33 ราย เสียชีวิต 1 ราย ยังรักษาตัวอยู่ใน รพ. 16 ราย จำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย แต่อาการไม่ได้ดีขึ้น หรือแย่ลง ยังคงรับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคทั้งหมด 4,366 คน กลับบ้านแล้ว 2,629 คน ยังรักษาตัวใน รพ. 1,737 คน เฉพาะเมื่อวันที่ 7 มี.ค. มีผู้เข้าเกณฑ์มากกว่า 130 คน สำหรับต่างประเทศขณะนี้มีผู้ป่วยแล้วกว่า 90 ประเทศ จำนวนผู้ป่วย 106,195 ราย เสียชีวิต 3,600 ราย โดยสถานการณ์ในจีนผู้ป่วยรายใหม่ชะลอตัวลงชัดเจน จากหลักพันเหลือหลักร้อย ส่วนประเทศอื่นๆ พบว่า หลายประเทศทวีความรุนแรง ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เมื่อถามถึงกรณีแรงงานไทยผิดกฎหมาย ที่กลับจากเกาหลีใต้ (ผีน้อย) มีการหลบหนีจากการกักกันตัวเพื่อเฝ้าระวังโรค 14 วัน ประมาณ 80 คน นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า เราเริ่มคัดกรองแรงงานนอกระบบกลับจากเกาหลีใต้ไฟลท์แรก เมื่อวันที่ 7 มี.ค.62 คือ ไฟลต์ LJ003 มีจำนวน 104 คน โดยวันที่ 7 มี.ค. มีจำนวน 4 ไฟลต์บิน คัดกรองแรงงานนอกระบบกลับจากเกาหลีใต้ได้ประมาณ 500 กว่าคน และได้รับความร่วมมือจากทุกคน ในการพาไปยังสถานที่เพื่อเฝ้าสังเกตอาการทุกคน
ส่วนที่มีข่าวว่าหนีนั้น เข้าใจว่าเป็นไฟลท์ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีการคัดกรอง ที่เรายังไม่สามารถชี้แจงมาตรการอย่างเข้าอกเข้าใจได้ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา ซึ่งเราจะติดตามให้ได้ทุกคน เพื่อให้ลงทะเบียนรายงานสุขภาพทุกวัน โดยจะขอให้กักตัวอยู่ที่บ้าน 14 วัน แต่หากไม่ปฏิบัติตาม ก็จะนำตัวมายังสถานที่เฝ้าระวัง อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้ตนยังไม่ถือว่าหลบหนี เพราะยังไม่ได้มีการชี้แจงมาตรการให้เข้าใจ
'หญิงหน่อย'จี้รัฐเร่งแก้ 4 จุดป้องโควิด-19
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย กล่าวถึง การยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส "โควิด-19" ในไทยว่า อยากจะฝากไว้ 3 เรื่อง คือ การป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อใหม่เดินทางเข้าประเทศไทย จะต้องมีการดูแลด่านพรมแดนทั้งทางบก เรือ และทางอากาศ ซึ่งมีความสำคัญทุกด้าน ความจำเป็นที่จะต้องแยกให้ชัดเจน จะต้องมีการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางเข้ามา 14 วัน ต้องทำให้มีมาตรฐาน และชัดเจน
ส่วนที่ 2 คือ เกิดการระบาดแล้วในประเทศ จะต้องมีมาตรการระบาดวิทยา ในการควบคุมการระบาด การติดตามผู้ที่สัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้ออย่างมีมาตรการเข้มแข็ง และเป็นมาตรการที่ได้มาตรฐานสากล
ส่วนที่ 3 เป็นส่วนสุดท้าย คือควรจะให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตนเอง จัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันให้กับประชาชนได้เพียงพอ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ และเจลล้างมือ ต้องกระจายให้มีการจำหน่ายอย่างทั่วถึง
"อีกประเด็นคือ การระบาดเป็นเรื่องสำคัญที่สุดคือ โรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ เป็นด่านหน้า อุปกรณ์ก็ต้องมีครบหมด และการสาธารณสุข ก็สำคัญมาก อุปกรณ์ พวกเขาต้องมีครบหมด ทั้งหน้ากาก เสื้อป้องกันทุกอย่าง เห็นว่าหลายโรงพยาบาลก็ร้องเรียนกันอยู่ ซึ่งรัฐบาลจะต้องเร่งแก้ใน 4 จุดนี้ " คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว