ผู้จัดการรายวัน 360-"การบินไทย" บักโกรก ปี 62 ขาดทุนสุทธิกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท เหตุรายได้ทรุด 7.7% ขณะที่ปี 63 ยังต้องเผชิญมรสุมลูกใหญ่ จากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และสารพัดปัญหารุมเร้า "สุเมธ"เผยหลังไวรัสระบาด ลดเที่ยวบินลง 20% ทำผู้โดยสารหาย 30-40% เตรียมเดินหน้าเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ลุยศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา เร่งทำแผนจัดหาเครื่องบินเพิ่ม หวังไตรมาส 3 สถานการณ์คลี่คลาย
นายณัฐพงศ์ สมิตอำไพพิศาล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือTHAI แจ้งผลการดำเนินงานปี 2562 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัทมีผลขาดทุน 12,042.41 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 5.52 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 11,625.17 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 5.33 บาท หรือขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3.58% สืบเนื่องจากรายได้รวมลดลง 7.7% เหลืออยู่ที่ 184,046 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 196,470 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 5.8% ประกอบด้วย ค่าน้ำมันเครื่องบิน 54,675 ล้านบาท คิดเป็น 27.8% ของค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด ลดลงจากปีก่อน 9.0% จากราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยต่ำกว่าปีก่อน 8.2% ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมัน 137,550 ล้านบาท ลดลง 4.6% และค่าใช้จ่ายต้นทุนทางการเงิน 4,245 ล้านบาท ลดลง 2.0%
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยได้รับผลกระทบทางลบหลายประการ ทั้งจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ภัยธรรมชาติ การแข็งค่าของเงินบาทที่แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี การแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง มีการหยุดบินในบางเส้นทางจากเหตุการณ์ปิดน่านฟ้าของปากีสถาน การประท้วงในฮ่องกง และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2562 ประกอบกับมีการรับรู้ค่าชดเชยตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจาก 300 วันเป็น 400 วัน รวมทั้งปัจจัยภายใน คือ ปัญหาความล่าช้าของการซ่อมเครื่องยนต์ของบริษัทผู้ผลิต ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำรายได้
ทั้งนี้ ในปี 2563 บริษัทจะเร่งเพิ่มรายได้ ทั้งการบริหารจัดการร่วมกับไทยสมายล์ การเจาะกลุ่มลูกค้าแบบ Personalized การมุ่งเน้นการสร้างรายได้เสริม และรายได้จากการขาย Preferred Seat ซึ่งเริ่มเมื่อก.ค.2562 จากรายได้หลักแสนบาทถึงธ.ค.2562 มีรายได้เพิ่มเป็น 30-40 ล้านบาท คาดว่าเมื่อทำเต็มรูปแบบ รายได้จะเป็น 60-70 ล้านบาท/ปี และเพิ่มรายได้ในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการบิน เช่น ฝ่ายครัวการบิน รวมถึงใช้ Data Analytic ในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มการขายทาง Online มากขึ้น
สำหรับโครงการ MRO ศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา ซึ่งแอร์บัสยังยืนยันในการร่วมทุนภายในวันที่ 6 มี.ค.2563 และจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบเอกสารและประเมินข้อเสนอของคณะกรรมการคัดเลือก ส่วนการจัดหาเครื่องบิน จะปรับปรุงแผนเสร็จในเดือนมี.ค.2563 จากนั้นจะนำเสนอบอร์ด และจะสรุปแผนเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการขายเครื่องบินที่ปลดระวางแล้ว โดยในปี 2562 มีการโอนกรรมสิทธิ์เครื่องบินให้แก่ผู้ซื้อรวม 6 ลำ ได้แก่ เครื่องบินแบบแอร์บัส A330-300 จำนวน 5 ลำ และเครื่องบินแบบโบอิ้ง B747-400 จำนวน 1 ลำ
นายสุเมธกล่าวว่า ทางด้านการรับมือกับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ได้มีการออกมาตรการ5 ระดับเพื่อรองรับสถานการณ์ ครอบคลุมการปฎิบัติ รายได้ ค่าใช้จ่าย มีตัวชี้วัด และปรับลดมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับลดเที่ยวบินไปแล้ว กว่า 10% เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสาร และประเมินจากยอดจองตั๋วที่เข้ามา คาดว่ามี.ค.-พ.ค.2563 เที่ยวบินจะลดประมาณ 20% ผู้โดยสารในเอเชีย ลดลง 30-40% โดยภาพรวมยังไม่มีการหยุดบิน แต่เป็นการลดเที่ยวบิน ลดขนาดเครื่องบิน ส่วนยุโรป ลดลงประมาณ 5%
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 มีสัญญาณดี เช่น การเปิดเมืองอู่ฮั่น และจีนมีการผลิตวัคซีนรักษาออกมา และหากมีวัคซีนป้องกัน จะคลี่คลาย คาดว่าน่าจะดีขึ้นในไตรมาส3 โดยเชื่อว่าในไทยยังควบคุมได้ดี แต่ต้องดูมาตรการของทุกประเทศด้วย ที่จะสร้างความมั่นใจให้คนกลับมาเดินทาง ซึ่งการบินไทยจะเดินหน้ามาตรการต่างๆ ทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ มาตรการด้านการตลาด พัฒนาฝูงบิน เส้นทางบินต่อไป เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด
นายณัฐพงศ์ สมิตอำไพพิศาล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการเงินและการบัญชี บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือTHAI แจ้งผลการดำเนินงานปี 2562 ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า บริษัทมีผลขาดทุน 12,042.41 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 5.52 บาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนขาดทุนสุทธิ 11,625.17 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น 5.33 บาท หรือขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3.58% สืบเนื่องจากรายได้รวมลดลง 7.7% เหลืออยู่ที่ 184,046 ล้านบาท ขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 196,470 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 5.8% ประกอบด้วย ค่าน้ำมันเครื่องบิน 54,675 ล้านบาท คิดเป็น 27.8% ของค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด ลดลงจากปีก่อน 9.0% จากราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยต่ำกว่าปีก่อน 8.2% ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมน้ำมัน 137,550 ล้านบาท ลดลง 4.6% และค่าใช้จ่ายต้นทุนทางการเงิน 4,245 ล้านบาท ลดลง 2.0%
นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยได้รับผลกระทบทางลบหลายประการ ทั้งจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ภัยธรรมชาติ การแข็งค่าของเงินบาทที่แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี การแข่งขันด้านราคาที่รุนแรง มีการหยุดบินในบางเส้นทางจากเหตุการณ์ปิดน่านฟ้าของปากีสถาน การประท้วงในฮ่องกง และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2562 ประกอบกับมีการรับรู้ค่าชดเชยตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจาก 300 วันเป็น 400 วัน รวมทั้งปัจจัยภายใน คือ ปัญหาความล่าช้าของการซ่อมเครื่องยนต์ของบริษัทผู้ผลิต ทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำรายได้
ทั้งนี้ ในปี 2563 บริษัทจะเร่งเพิ่มรายได้ ทั้งการบริหารจัดการร่วมกับไทยสมายล์ การเจาะกลุ่มลูกค้าแบบ Personalized การมุ่งเน้นการสร้างรายได้เสริม และรายได้จากการขาย Preferred Seat ซึ่งเริ่มเมื่อก.ค.2562 จากรายได้หลักแสนบาทถึงธ.ค.2562 มีรายได้เพิ่มเป็น 30-40 ล้านบาท คาดว่าเมื่อทำเต็มรูปแบบ รายได้จะเป็น 60-70 ล้านบาท/ปี และเพิ่มรายได้ในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการบิน เช่น ฝ่ายครัวการบิน รวมถึงใช้ Data Analytic ในการวิเคราะห์ตลาดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มการขายทาง Online มากขึ้น
สำหรับโครงการ MRO ศูนย์ซ่อมอู่ตะเภา ซึ่งแอร์บัสยังยืนยันในการร่วมทุนภายในวันที่ 6 มี.ค.2563 และจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบเอกสารและประเมินข้อเสนอของคณะกรรมการคัดเลือก ส่วนการจัดหาเครื่องบิน จะปรับปรุงแผนเสร็จในเดือนมี.ค.2563 จากนั้นจะนำเสนอบอร์ด และจะสรุปแผนเสนอกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ขณะเดียวกัน จะเร่งดำเนินการขายเครื่องบินที่ปลดระวางแล้ว โดยในปี 2562 มีการโอนกรรมสิทธิ์เครื่องบินให้แก่ผู้ซื้อรวม 6 ลำ ได้แก่ เครื่องบินแบบแอร์บัส A330-300 จำนวน 5 ลำ และเครื่องบินแบบโบอิ้ง B747-400 จำนวน 1 ลำ
นายสุเมธกล่าวว่า ทางด้านการรับมือกับผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่ปลายปี 2562 ได้มีการออกมาตรการ5 ระดับเพื่อรองรับสถานการณ์ ครอบคลุมการปฎิบัติ รายได้ ค่าใช้จ่าย มีตัวชี้วัด และปรับลดมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยที่ผ่านมาได้มีการปรับลดเที่ยวบินไปแล้ว กว่า 10% เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนผู้โดยสาร และประเมินจากยอดจองตั๋วที่เข้ามา คาดว่ามี.ค.-พ.ค.2563 เที่ยวบินจะลดประมาณ 20% ผู้โดยสารในเอเชีย ลดลง 30-40% โดยภาพรวมยังไม่มีการหยุดบิน แต่เป็นการลดเที่ยวบิน ลดขนาดเครื่องบิน ส่วนยุโรป ลดลงประมาณ 5%
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิด-19 มีสัญญาณดี เช่น การเปิดเมืองอู่ฮั่น และจีนมีการผลิตวัคซีนรักษาออกมา และหากมีวัคซีนป้องกัน จะคลี่คลาย คาดว่าน่าจะดีขึ้นในไตรมาส3 โดยเชื่อว่าในไทยยังควบคุมได้ดี แต่ต้องดูมาตรการของทุกประเทศด้วย ที่จะสร้างความมั่นใจให้คนกลับมาเดินทาง ซึ่งการบินไทยจะเดินหน้ามาตรการต่างๆ ทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพ มาตรการด้านการตลาด พัฒนาฝูงบิน เส้นทางบินต่อไป เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด