ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในพรรคเพื่อไทย ขณะนี้ได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ถึงภาพรวมการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ในวันที่ 24 ก.พ. ซึ่งเป็นวันแรกของการอภิปรายฯ ซึ่งพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย วางตัวบุคคลขึ้นอภิปรายพุ่งเป้าเปิดแผล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม โดยมอบหมายให้ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย เป็นผู้อภิปรายคนแรก และได้การโหมโรงไว้ก่อนการอภิปรายว่า นายยุทธพงศ์ จะเป็นไฮไลต์ ของการอภิปรายในวันแรก และได้มีการตีข่าวล่วงหน้าอย่างต่อเนื่องว่า มีข้อมูลเด็ด และมีใบเสร็จ ที่จะเอาผิดพล.อ.ประยุทธ์ และครม.ได้
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ นายยุทธพงศ์ ลุกขึ้นอภิปรายได้เพียง 40 นาที จากเวลาที่ขอไว้ 2 ชม. ทำให้ส.ส.เพื่อไทยส่วนใหญ่ รวมไปถึงส.ส.ประชาธิปัตย์ กลุ่มที่ไม่นิยม พล.อ.ประยุทธ์ ต่างส่ายหน้า เดินออกนอกห้องประชุม จับกลุ่มพูดคุยถึงการทำหน้าที่ของ นายยุทธพงศ์ และคณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย ที่มีร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นประธาน ที่ก่อนหน้านี้เคยมีกระแสข่าวในเชิงว่าได้เจรจากับแกนนำรัฐบาลเพื่อให้ออมมือในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้
"ผิดหวังการทำหน้าที่ของส.ส.โจ้ (ชื่อเล่นของนายยุทธพงศ์) มืออภิปราย เขาไม่อภิปรายกันแบบนี้ ไม่รู้แกนนำพรรคไปเชื่อมือได้อย่างไร เรื่องบางเรื่องที่ควรพูด กลับไม่พูด" ส.ส.เพื่อไทย รายหนึ่งปรารภ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะที่ทีมวอร์รูมพรรคเพื่อไทย ที่ส่วนใหญ่เป็น คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ที่ติดตามสถานการณ์การอภิปรายในห้องประชุม 301 ภายในอาคารรัฐสภา ซึ่งมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยร่วมอยู่ด้วย ได้หารือเพื่อปรับแผนการอภิปราย ทั้งในส่วนของผู้ที่จะอภิปราย และข้อมูลที่ยังไม่ได้ใช้ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ฟิลลิปมอร์ริส ในเรื่องคดีภาษีบุหรี่ หรือเหตุการณ์ความสูญเสียที่จ.นครราชสีมา ที่ต้องการโจมตีพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะรมว.กลาโหม เกี่ยวกับความหละหลวมภายในกองทัพ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สภาฯเคยมีการเสนอกระทู้ถาม และญัตติอภิปราย แต่พล.อ.ประยุทธ์ ลี่ยงไม่เข้ามาตอบคำถาม
ทั้งนี้ ทางวอร์รูมของคุณหญิงสุดารัตน์ เตรียมให้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. และนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน ที่เตรียมอภิปรายในประเด็นอื่น ต้องปรับข้อมูลหลักที่เตรียมอภิปราย และ มาเสริมข้อมูลชุดที่ นายยุทธพงศ์ ไม่ได้พูดมามาอภิปรายแทนในเวลาที่เหลือ
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดข้อมูลหลักที่ นายยุทธพงศ์ และทีมกิจการพิเศษพยายามโหมโรงมาตลอดบางเรื่อง ไม่มีการพูดถึง กลับนำเรื่องเดิม ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย มาพูดแทน เช่นเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ปรากฏว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ลุกขึ้นชี้แจงได้อย่างฉะฉาน และลงรายละเอียดได้ถึงจุดทศนิยม ราวกับรู้ว่าจะถูกอภิปรายเรื่องอะไร ทั้งที่ไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อนในประเด็นนี้
อย่างไรก็ดี หลังจากที่ นายยุทธพงศ์ ลุกขึ้นอภิปรายได้เพียง 40 นาที จากเวลาที่ขอไว้ 2 ชม. ทำให้ส.ส.เพื่อไทยส่วนใหญ่ รวมไปถึงส.ส.ประชาธิปัตย์ กลุ่มที่ไม่นิยม พล.อ.ประยุทธ์ ต่างส่ายหน้า เดินออกนอกห้องประชุม จับกลุ่มพูดคุยถึงการทำหน้าที่ของ นายยุทธพงศ์ และคณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย ที่มีร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นประธาน ที่ก่อนหน้านี้เคยมีกระแสข่าวในเชิงว่าได้เจรจากับแกนนำรัฐบาลเพื่อให้ออมมือในการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้
"ผิดหวังการทำหน้าที่ของส.ส.โจ้ (ชื่อเล่นของนายยุทธพงศ์) มืออภิปราย เขาไม่อภิปรายกันแบบนี้ ไม่รู้แกนนำพรรคไปเชื่อมือได้อย่างไร เรื่องบางเรื่องที่ควรพูด กลับไม่พูด" ส.ส.เพื่อไทย รายหนึ่งปรารภ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าขณะที่ทีมวอร์รูมพรรคเพื่อไทย ที่ส่วนใหญ่เป็น คณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ที่ติดตามสถานการณ์การอภิปรายในห้องประชุม 301 ภายในอาคารรัฐสภา ซึ่งมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยร่วมอยู่ด้วย ได้หารือเพื่อปรับแผนการอภิปราย ทั้งในส่วนของผู้ที่จะอภิปราย และข้อมูลที่ยังไม่ได้ใช้ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท ฟิลลิปมอร์ริส ในเรื่องคดีภาษีบุหรี่ หรือเหตุการณ์ความสูญเสียที่จ.นครราชสีมา ที่ต้องการโจมตีพล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะรมว.กลาโหม เกี่ยวกับความหละหลวมภายในกองทัพ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สภาฯเคยมีการเสนอกระทู้ถาม และญัตติอภิปราย แต่พล.อ.ประยุทธ์ ลี่ยงไม่เข้ามาตอบคำถาม
ทั้งนี้ ทางวอร์รูมของคุณหญิงสุดารัตน์ เตรียมให้ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. และนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน ที่เตรียมอภิปรายในประเด็นอื่น ต้องปรับข้อมูลหลักที่เตรียมอภิปราย และ มาเสริมข้อมูลชุดที่ นายยุทธพงศ์ ไม่ได้พูดมามาอภิปรายแทนในเวลาที่เหลือ
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดข้อมูลหลักที่ นายยุทธพงศ์ และทีมกิจการพิเศษพยายามโหมโรงมาตลอดบางเรื่อง ไม่มีการพูดถึง กลับนำเรื่องเดิม ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย มาพูดแทน เช่นเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่ปรากฏว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ลุกขึ้นชี้แจงได้อย่างฉะฉาน และลงรายละเอียดได้ถึงจุดทศนิยม ราวกับรู้ว่าจะถูกอภิปรายเรื่องอะไร ทั้งที่ไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อนในประเด็นนี้