หากนับจากวันนี้ (วันที่ 20 กุมภาพันธ์) ก็เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นที่จะถึงกำหนดวันอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ระบุเอาไว้ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป แต่ถ้าถามว่ามีชาวบ้านสักกี่คนที่ตั้งตารอ หรือว่าสนใจแบบจดจ่อให้ถึงวันอภิปรายไวๆ ก็ต้องบอกว่ามีน้อยยิ่งกว่าน้อย แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีผลสำรวจของหลายสำนัก ที่ระบุความเห็นออกมาในแบบต้องการความคาดหวังของชาวบ้านออกมาหลายแง่มุมก็ตาม แต่นั่นก็เป็นเพียงจำนวนไม่กี่คนเท่านั้น
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากบรรยากาศในเวลานี้ก็ต้องบอกว่า“เงียบมาก”เงียบจนแทบไม่รู้ว่ามีใครบ้างที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ รวมไปถึงมีน้อยคนนัก ที่จะรู้ว่าฝ่ายค้านจะอภิปรายเรื่องอะไรบ้างในลักษณะที่เป็นการสร้างกระแส สร้างอารมณ์ร่วม
อย่างไรก็ดี เพื่อทบทวนความจำก็ต้องนำเสนอรายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจจำนวน 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
**แม้ว่าตามกลยุทธ์อาจจะมองว่าฝ่ายค้านจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้เป็นความลับมากที่สุด จะรอเปิดทีเด็ดในวันอภิปรายกันเลยทีเดียว แต่อย่างน้อยฝ่ายค้านก็ต้องเปิดเผยเรื่อง หรือสาเหตุ หรือประเด็นที่จะ “ซักฟอก”ว่าเป็นเรื่องใดหรือมีสาเหตุมาจากอะไร หรือมีการทุจริตแบบไหน
ที่ผ่านมาทางพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ก็มีความพยายามโหมโรง มีการตั้งทีม“ติวเข้ม”ให้กับบรรดา “ขุนพล”ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้อภิปรายมาเป็นระยะ อย่างที่รับรู้กันมาตลอดว่า หัวหน้าทีมติวเข้มดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการประชุมทั้งที่พรรคเพื่อไทย และที่บ้านพักส่วนตัวของร.ต.อ.เฉลิม ในย่านบางบอน มาเป็นระยะ
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องพิจารณาส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องราวที่จะอภิปรายหรือ ซักฟอกฝ่ายรัฐบาล เป็นเรื่องเก่า หรือไม่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่ผ่านมานาน ไม่ค่อยได้รับรู้ข้อมูลมากนักหรือไม่ เพราะล่าสุดแม้ว่าขุนพลของพรรคเพื่อไทยที่รับหน้าที่ในการอภิปราย คือ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม จะแถลงล่าสุดเมื่อสองสามวันก่อนว่า เป็นเรื่องความไม่ชอบมาพากลในการให้เช่าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รวมไปถึงความไม่ชอบมาพากลของการใช้ดินของโรงงานยาสูบในบริเวณนั้น ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าสัวรายหนึ่ง
**แม้ว่านาทีนี้ยังไม่รู้ว่าฝ่ายค้านจะมีข้อมูลเด็ดมากน้อยแค่ไหน ตามที่ฝ่ายค้านได้โหมโรงประโคมเอาไว้หรือไม่ เพราะอ้างว่าจะถึงขั้นทำให้ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม "ตบะแตก" ทนไม่ได้ต้องลาออกไปก็ได้ แต่อีกด้านหนึ่งเมื่อสำรวจปฏิริยาของชาวบ้านกลับพบว่ารู้สึก “เฉยๆ”ไม่ได้แสดงท่าทีอยากรู้อยากเห็น หรือกระเหี้ยนกระหือรืออยากฟังเรื่องอภิปรายของฝ่ายค้านแต่อย่างใด
หรืออีกเรื่องที่คาดว่าฝ่ายค้านจะนำมาอภิปรายรัฐมนตรีต่างประเทศ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในกรณีกล่าวหาว่าสำแดงเท็จ และเลี่ยงภาษีนำเข้าบุหรี่ของบริษัทฟิลิป มอร์ริส ซึ่งจะว่าไปแล้วเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องเก่าที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ในช่วงเวลานั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เคยนำเรื่องนี้มาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในยุคนั้นมาแล้ว แต่กลายเป็นว่าเขายังขุดเอาเรื่องนี้มาฉายซ้ำอีกครั้ง โดยหยิบเอาเรื่องราวหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวหาว่า มีความพยายามช่วยเหลือบริษัทดังกล่าว ก็ว่ากันไป
แต่ปัญหาก็คือ แม้จะเป็นเรื่องที่อาจจะกล่าวหาว่ามีความไม่ชอบมาพากล แต่คำถามก็คือ มันไกลตัวและเข้ายาก อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่ย้อนยุคมานาน ไม่มีใครสนใจ ซึ่งจะให้สนใจก็ต้องฟื้นฝอยอธิบายกันนาน และปัญหาก็คือ แล้วใครจะรับหน้าที่อธิบายให้ชาวบ้านมีอารมณ์และเข้าใจ เพราะตัว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เจ้าของเรื่องไม่ได้เป็นคนอภิปรายเอง เพราะไม่ได้เป็นส.ส. ทำได้เพียงแค่คน“ติวข้อสอบ”ให้เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศและหัวข้อต่างๆ ที่ฝ่ายค้านกำหนดหรือพยายามขุดคุ้ยมาอภิปรายซักฟอกฝ่ายรัฐบาล โดยพุ่งเป้ามาที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหลักก็ตาม แต่เมื่อมองจากหัวข้อ หรือประเด็นที่นำมานั้นต้องบอกตามตรงว่ามันยังไม่ได้ “อารมณ์ร่วม”เพราะมันไกลเกินไป ไกลจนเข้าใจยาก ยากจนบางทีเหมือนกับว่าเป็นการ “ขู่กรรโชก”ฝ่ายเอกชนบางกลุ่มเพื่อหวังผลบางอย่างหรือเปล่า
อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากรายชื่อ “ขุนพล”ของฝ่ายค้านที่เรียงหน้าขึ้นเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ ก็ต้องบอกว่า“โนเนม”มาก และมือไม่ถึง เพราะหากเป็นหน้าเก่าก็ล้วนเคยเห็นมาแล้วว่าฝีมือเป็นแบบไหน ส่วนที่เป็นหน้าใหม่ที่ผ่านมาผลงานในสภาฯ ก็ยังไม่มีผลงานเข้าตาเลย
**งานนี้ถืงได้บอกว่าบรรยากาศน่าจะกร่อย !!
ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากบรรยากาศในเวลานี้ก็ต้องบอกว่า“เงียบมาก”เงียบจนแทบไม่รู้ว่ามีใครบ้างที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ รวมไปถึงมีน้อยคนนัก ที่จะรู้ว่าฝ่ายค้านจะอภิปรายเรื่องอะไรบ้างในลักษณะที่เป็นการสร้างกระแส สร้างอารมณ์ร่วม
อย่างไรก็ดี เพื่อทบทวนความจำก็ต้องนำเสนอรายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกฝ่ายค้านยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจจำนวน 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
**แม้ว่าตามกลยุทธ์อาจจะมองว่าฝ่ายค้านจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจไว้เป็นความลับมากที่สุด จะรอเปิดทีเด็ดในวันอภิปรายกันเลยทีเดียว แต่อย่างน้อยฝ่ายค้านก็ต้องเปิดเผยเรื่อง หรือสาเหตุ หรือประเด็นที่จะ “ซักฟอก”ว่าเป็นเรื่องใดหรือมีสาเหตุมาจากอะไร หรือมีการทุจริตแบบไหน
ที่ผ่านมาทางพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ ก็มีความพยายามโหมโรง มีการตั้งทีม“ติวเข้ม”ให้กับบรรดา “ขุนพล”ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้อภิปรายมาเป็นระยะ อย่างที่รับรู้กันมาตลอดว่า หัวหน้าทีมติวเข้มดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็น ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจ ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการประชุมทั้งที่พรรคเพื่อไทย และที่บ้านพักส่วนตัวของร.ต.อ.เฉลิม ในย่านบางบอน มาเป็นระยะ
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องพิจารณาส่วนหนึ่งอาจเป็นเรื่องราวที่จะอภิปรายหรือ ซักฟอกฝ่ายรัฐบาล เป็นเรื่องเก่า หรือไม่น่าสนใจ เพราะเป็นเรื่องที่ผ่านมานาน ไม่ค่อยได้รับรู้ข้อมูลมากนักหรือไม่ เพราะล่าสุดแม้ว่าขุนพลของพรรคเพื่อไทยที่รับหน้าที่ในการอภิปราย คือ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม จะแถลงล่าสุดเมื่อสองสามวันก่อนว่า เป็นเรื่องความไม่ชอบมาพากลในการให้เช่าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ รวมไปถึงความไม่ชอบมาพากลของการใช้ดินของโรงงานยาสูบในบริเวณนั้น ว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าสัวรายหนึ่ง
**แม้ว่านาทีนี้ยังไม่รู้ว่าฝ่ายค้านจะมีข้อมูลเด็ดมากน้อยแค่ไหน ตามที่ฝ่ายค้านได้โหมโรงประโคมเอาไว้หรือไม่ เพราะอ้างว่าจะถึงขั้นทำให้ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม "ตบะแตก" ทนไม่ได้ต้องลาออกไปก็ได้ แต่อีกด้านหนึ่งเมื่อสำรวจปฏิริยาของชาวบ้านกลับพบว่ารู้สึก “เฉยๆ”ไม่ได้แสดงท่าทีอยากรู้อยากเห็น หรือกระเหี้ยนกระหือรืออยากฟังเรื่องอภิปรายของฝ่ายค้านแต่อย่างใด
หรืออีกเรื่องที่คาดว่าฝ่ายค้านจะนำมาอภิปรายรัฐมนตรีต่างประเทศ นายดอน ปรมัตถ์วินัย ในกรณีกล่าวหาว่าสำแดงเท็จ และเลี่ยงภาษีนำเข้าบุหรี่ของบริษัทฟิลิป มอร์ริส ซึ่งจะว่าไปแล้วเรื่องดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องเก่าที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2554 ที่ในช่วงเวลานั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เคยนำเรื่องนี้มาอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในยุคนั้นมาแล้ว แต่กลายเป็นว่าเขายังขุดเอาเรื่องนี้มาฉายซ้ำอีกครั้ง โดยหยิบเอาเรื่องราวหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวหาว่า มีความพยายามช่วยเหลือบริษัทดังกล่าว ก็ว่ากันไป
แต่ปัญหาก็คือ แม้จะเป็นเรื่องที่อาจจะกล่าวหาว่ามีความไม่ชอบมาพากล แต่คำถามก็คือ มันไกลตัวและเข้ายาก อีกทั้งยังเป็นเรื่องที่ย้อนยุคมานาน ไม่มีใครสนใจ ซึ่งจะให้สนใจก็ต้องฟื้นฝอยอธิบายกันนาน และปัญหาก็คือ แล้วใครจะรับหน้าที่อธิบายให้ชาวบ้านมีอารมณ์และเข้าใจ เพราะตัว ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เจ้าของเรื่องไม่ได้เป็นคนอภิปรายเอง เพราะไม่ได้เป็นส.ส. ทำได้เพียงแค่คน“ติวข้อสอบ”ให้เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากบรรยากาศและหัวข้อต่างๆ ที่ฝ่ายค้านกำหนดหรือพยายามขุดคุ้ยมาอภิปรายซักฟอกฝ่ายรัฐบาล โดยพุ่งเป้ามาที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหลักก็ตาม แต่เมื่อมองจากหัวข้อ หรือประเด็นที่นำมานั้นต้องบอกตามตรงว่ามันยังไม่ได้ “อารมณ์ร่วม”เพราะมันไกลเกินไป ไกลจนเข้าใจยาก ยากจนบางทีเหมือนกับว่าเป็นการ “ขู่กรรโชก”ฝ่ายเอกชนบางกลุ่มเพื่อหวังผลบางอย่างหรือเปล่า
อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากรายชื่อ “ขุนพล”ของฝ่ายค้านที่เรียงหน้าขึ้นเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ ก็ต้องบอกว่า“โนเนม”มาก และมือไม่ถึง เพราะหากเป็นหน้าเก่าก็ล้วนเคยเห็นมาแล้วว่าฝีมือเป็นแบบไหน ส่วนที่เป็นหน้าใหม่ที่ผ่านมาผลงานในสภาฯ ก็ยังไม่มีผลงานเข้าตาเลย
**งานนี้ถืงได้บอกว่าบรรยากาศน่าจะกร่อย !!