xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ปรับโครงสร้างสารพัดบอร์ด"บัวแก้ว" ยุบ4คงไว้49คณะเฉพาะ"กมธ.ร่วมคู่เจรจา"

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -เมื่อปลายปีที่แล้ว"กระทรวงการต่างประเทศ" เพิ่งมีการปรับโครงสร้าง คณะกรรมการชุดต่างๆ ที่แต่งตั้งโดยมติครม.ในหลายยุคหลายสมัย จำนวน 53 คณะ

โดยชุดแรก ได้ยกเลิกคณะกรรมการฯ 2 คณะ ประกอบด้วย "คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ" และ "คณะกรรมการร่วมด้านการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย)"

ต่อมากระทรวงการต่างประเทศ ได้ดำเนินการทบทวนความจำเป็นเหมาะสม ในการขอให้คงอยู่ ของคณะกรรมการฯ 51 คณะ ที่เหลือ โดยกำหนดไว้ว่าจะ"ยกเลิก" เฉพาะคณะกรรมการที่ไม่มีการประชุมเลย หรือที่มีการจัดประชุมเพียง 1-2 ครั้ง ในรอบ 3 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ. 2559-2562)

นอกจาก คณะกรรมการที่ขอยกเลิก 2 คณะข้างต้นแล้ว ยังรวมไปถึงคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งที่จะมีการพิจารณาใหม่ เพื่อดำเนินการทบทวน

ดังนั้น เมื่อต้นปี กระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอปรับโครงสร้างเพิ่มเติม มีการ"ยกเลิก" คณะกรรมการเพิ่มเติมอีก 2 คณะ ได้แก่ "คณะกรรมการเพื่อพิจารณาการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเกี่ยวกับการก่อการร้ายระหว่างประเทศ" และ "คณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ" เนื่องจากทั้ง 2 คณะ สามารถใช้กลไกของ คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ แทน

ขณะเดียวกันได้ยืนยัน "การคงอยู่ของคณะกรรมการ" ที่ครม.ได้มีมติเมื่อวันที่ 7 ต.ค.62 จำนวน 49 คณะ โดยได้"ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่" ของคณะกรรมการ 2 คณะ ได้แก่ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ "คณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่นๆ และองค์การต่างประเทศ" และ "คณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ"

ล่าสุด เมื่อกลางเดือนนี้ "กระทรวงการต่างประเทศ" ปรับโครงสร้าง เป็นรอบที่สอง

คณะกรรมการที่ให้คงไว้ (กลุ่มภารกิจทวิภาคี) 35 คณะ เพื่อให้เป็นไปตานพันธกรณีกับประเทศคู่เจรจา ซึ่งกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายจัดตั้งคณะกรรมการภายในประเทศขึ้น เพื่อเป็นกลไกในการขยายความร่วมมือทวิภาคีในส่วนที่เกี่ยวข้อง

ได้แก่ คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการไทย-จีน (คกร. ไทย-จีน ฝ่ายไทย) คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย- บังกลาเทศ คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย)

คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมอทวิภาคีไทย-พิลิปปินส์ (ฝ่ายไทย) คณะกรรมาธิการร่วมไทย-เมียนมา คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-มาเลเซีย คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-ลาว (ฝ่ายไทย)

คณะกรรมาธิการร่วมไทย-อินโดนีเซีย คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทย สำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือไทย-อินเดีย คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทย สำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-เนปาล คณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-เมียนมา (ฝ่ายไทย) คณะกรรมการฝ่ายไทยคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ประจำปี 2562

คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ไทย-ศรีลังกา คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-เวียดนาม (ฝ่ายไทย) คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมทางเศรษฐกิจไทย-ปากีสถาน

คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงระหว่าง รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐกาตาร์

คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (ฝ่ายไทย) คณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย-เยอรมนี คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทยกับบรูไนดารุสซาลาม คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วนมือทวิภาคีไทย-รัสเซีย คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ออสเตรเลีย คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ไทย-นิวซีแลนด์ คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจ การค้า และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแหงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐเคนยา คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจ พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิชาการ เกษตรกรรม และวิทยาศาสตร์ ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงว่าด้วย ความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรบาห์เรน คณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ไทย-ตุรกี

คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน คณะกรรมการจัดทำหลักเขตแดนร่วมระหว่างไทย-มาเลเซีย (ฝ่ายไทย)

คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือ ทวิภาคีระหว่างไทยกับยูเครน คณะกรรมาธิการร่วมฝ่ายไทยเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัฐบาลแห่ง ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน

ขณะที่ อีก 5 คณะกรรมการ ที่ให้คงไว้ (กลุ่มภารกิจพหุภาคี) เพื่อเป็น กลไกในการกำหนดท่าทีของประเทศไทยในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระดับพหุภาคี ซึ่งอาจมีผลผูกพันกับรัฐบาลไทย

โดยแบ่งเป็น คณะกรรมการที่ให้คงไว้โดย "ไม่ปรับปรุงรายละเอียด" 4 คณะ ได้แก่

"คณะกรรมการความร่วมมือไทย-สหภาพยุโรป คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ของไทยต่อประเด็นทะเลจีนใต้ และ คณะกรรมการเอกสิทธิและความคุ้มกันสำหรับองค์การระหว่างประเทศและการประชุมระหว่างประเทศภาครัฐในประเทศไทย"

ยังมี "คณะกรรมการที่ให้คงไว้โดย "ปรับปรุงรายละเอียดอำนาจหน้าที่" จำนวน 1 คณะ คือ คณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และองค์การต่างประเทศ

สำหรับ คณะกรรมการที่ขอเสนอให้คงไว้ (กลุ่มภารกิจงานด้านอื่นๆ) 9 คณะ เนื่องจากบางคณะกรรมการยังคงมีภารกิจที่ไม่แล้วเสร็จ หรือไม่มีภารกิจที่ต้องมีการจัดประชุมแต่ยังมีความจำเป็น ที่จะต้องคงอยู่หากมีการเรียกใช้ในกรณีฉุกเฉิน โดยแบ่งเป็น คณะกรรมการที่คงไว้โดยไม่ปรับปรุงรายละเอียด จำนวน 8 คณะ ได้แก่

"คณะกรรมการกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทย คณะกรรมการประสานงานช่วยเหลือคนไทยและประเทศที่ประสบภัยพิบัติในภาวะฉุกเฉิน คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่าง ๆ คณะกรรมการหมู่ประจำชาติไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศในระดับชาติ คณะกรรมการร่วมเพื่อพิจารณาการจัดทำการตรวจลงตราเดียว (Joint Committee on ACMECS Single Visa) คณะกรรมการแปลเอกสารในคดีตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 และคณะกรรมการเพื่อวิเคราะห์คำพิพากษาและแนวทางการดำเนินการ"

สุดท้าย ในการปรับโครงสร้าง เป็นคณะกรรมการที่ให้คงไว้โดยปรับปรุงรายละเอียดองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ จำนวน 1 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศ

การปรับโครงสร้างคณะกรรมการชุดต่างๆ ครั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ หวังว่า การคงอยู่ในคณะกรรมการอีก 49 คณะ นั้น จะเป็นประโยชน์ในการกำหนดท่าทีเพื่อดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ทั้งในระบทวิภาคและพหุภาคี

ตลอดจนจะสามารถพิจารณาและเสนอแนะแนวทางหรือแนวนโยบายต่อรัฐบาล ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมายระหว่างประเทศ พันธกรณี หรือบรรทัดฐานระหว่างประเทศ และอนุสัญญาต่างๆ อีกทั้งเป็นการดำเนินการตามคามตกลงระหว่างไทย กับประเทศคู่เจรจา โดยจะต้องคำนึงถึงบริบทของโลก.




กำลังโหลดความคิดเห็น