“ศาล รธน.” คุมเข้มอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ปมกู้เงิน “ธนาธร” 191.2 ล้าน เผย กกต.ยกหลักความโปร่งใสรายได้ ป้องกันนิติกรรมอำพราง เปิด 3 แนวทางวินิจฉัย ออกหน้าไหนก็อ่วม หากยุบ กก.บห. ถูกตัดสิทธิสมัคร 10 ปี เจอซ้ำดำเนินคดีอาญา ถ้าไม่ยุบส่งเรื่องกลับ กกต. “ธนาธร” ตะแบงกู้เงินไม่ผิด นัดสาวกร่วมลุ้นที่พรรค ด้าน “เพื่อไทย” จัดทัพ 18 ขุนพลถล่มซักฟอกรัฐบาล ชู “ยุทธพงศ์” ชำแหละ “ประยุทธ์”
จากกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ นัดออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตามมาตรา 72 ประกอบมาตรา 92 วรรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 จากกรณีพรรคอนาคตใหม่ กู้ยืมเงินจาก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จำนวน 191.2 ล้านบาท ในวันที่ 21 ก.พ.นี้ เวลา 15.00 น.นั้น
วานนี้ (20 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดเตรียมสถานที่ และวางมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยรอบแนวเขตของศาลฯ โดยแบ่งออกเป็นโซนสำหรับสื่อมวลชนและประชาชนที่จะมาให้กำลังใจหรือติดตามรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยคดี และวางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบจาก สน.ทุ่งสองห้อง และ กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 คอยดูแลในเรื่องความปลอดภัย แม้ทางแกนนำพรรคอนาคตใหม่ยืนยันไม่เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยก็ตาม แต่เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นที่สนใจของสังคมจึงได้มีการเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยเบื้องต้นไว้ประมาณ 1 กองร้อย หรือ 150 คน
กกต.ยกหลักความโปร่งใสรายได้
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงขั้นตอนในวันที่ 21 ก.พ.ด้วยว่า ก่อนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคดีนี้ ในเวลา 15.00 น. ช่วงเช้าทางคณะตุลาการ จะมีการประชุมแถลงด้วยวาจา และลงมติ พร้อมจัดทำคำวินิจฉัย ซึ่งตลอดเวลาการประชุมพิจารณา และก่อนออกนั่งบัลลังก์ ทางศาลฯ จะมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์บริเวณโดยรอบสำนักงาน เพื่อป้องกันไม่ให้คำวินิจฉัยรั่วไหลออกไปก่อน
มีรายงานว่า ในการยื่นคำชี้แจงของ กกต.ต่อศาลฯนั้น กกต.ได้ให้ข้อมูลว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 62 กำหนดที่มารายได้ของพรรคการเมืองไว้ 7 ประเภท เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการทางการเมืองตามอุดมการณ์ ไม่มีประเภทรายได้อื่นที่เปิดช่องให้พรรคการเมืองสามารถกู้ยืมเงินมาดำเนินกิจการได้ ประเภทของรายได้ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของนิติบุคคลตามกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งจะต่างจากนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น หากไม่ใช่เงินรายได้ที่กำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมืองแล้ว แม้จะเป็นเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็อาจเป็นเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพรรคการเมือง
เปิด 3 แนวทางวินิจฉัยคดี
สำหรับแนวทางคำวินิจฉัยของศาลฯ ในคดีนี้ คาดว่ามี 3 แนวทาง ด้วยกัน คือ 1.ศาลเห็นว่าพรรคไม่มีความผิดตาม มาตรา 72 ให้ยกคำร้อง, 2. ศาลฯ เห็นว่ามีความผิด ตัดสินยุบพรรค เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ 10 ปี ตามแนวคำวินิจฉัยที่ศาลฯได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งถ้าเป็นแนวทางนี้ กกต.ก็จะมีการดำเนินคดีอาญาตามหลังด้วย
และ 3. ศาลฯ เห็นว่ามีความผิด แต่เป็นความผิดตาม มาตรา 62 มาตรา 66 พ.ร.ป.พรรคการเมือง เท่านั้น ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลฯ จะพิจารณา จึงยกคำร้องยุบพรรค ซึ่งหากเป็นแนวทางนี้ เรื่องดังกล่าวก็จะวนกลับมาที่ กกต. จะต้องเป็นผู้พิจารณาดำเนินการตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด 2561 เพื่อที่จะดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 124 ที่กำหนดเอาผิด ผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมือง มีมูลค่าเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้นั้น 5 ปี และ มาตรา 125 ที่กำหนดเอาผิดพรรคการเมืองที่รับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด มีมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1 ล้านบาท และให้ศาลฯ สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น 5 ปี และให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดส่วนที่เกินมูลค่าที่กฎหมายกำหนดไว้ 10 ล้านบาท ตกเป็นของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง รวมทั้งอาจมีการดำเนินคดี ในกรณีที่พรรคมีการนำเงินรายได้ของพรรคที่ได้จากการระดมทุน การรับบริจาค ขายของที่ระลึก ซึ่งกฎหมายกำหนดห้ามนำไปใช้เพื่อการอื่นใด นอกจากการดำเนินงานของพรรคการเมือง ตามมาตรา 87 ไปใช้หนี้เงินกู้ให้กับ นายธนาธร โดย มาตรา 132 กำหนดโทษไว้ หากหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และเหรัญญิกพรรค ผู้ใดนำเงิน หรือยินยอมให้บุคคลนำเงิน ทรัพย์สินของพรรคไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือบุคคลอื่น หรือ นำไปใช้เพื่อการอื่น อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 87 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี ปรับ ตั้งแต่ 1 แสน- 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งการเอาผิดทางอาญานั้นจะต้องต่อสู้ในศาลถึง 3 ศาล
"ธนาธร" ยืนกรานกู้เงินไม่ผิด
วานนี้ (20 ก.พ.) เพจเฟซบุ๊ก “Thanathorn Juangroongruangkit-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์คลิป พร้อมข้อความต่อเนื่อง ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ในหัวข้อ “1 วันก่อนการอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่คดีเงินกู้” โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า “หากย้อนเวลากลับไปได้ หากเราถูกกีดกันทุกวิถีทางในการในระดมทุนเหมือนที่ผ่านมา และหากจำเป็นต้องกู้ เราก็จะทำเช่นเดิม จะกู้เงินอย่างเปิดเผย และตรวจสอบได้เหมือนเดิม จะยืนหยัดยืนยันในหลักการที่ถูกต้อง แม้จะต้องแลกมาด้วยชีวิตก็ตาม”
ทั้งนี้นายธนาธรัยงได้เชิญชวนผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ ด้วยว่า “วันศุกร์ที่ 21 ก.พ.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำวินิจฉัยคดีเงินกู้ ขอผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความอยุติธรรม มาร่วมฟังคำวินิจฉัย และแสดงพลัง ที่สำนักงานใหญ่พรรคอนาคตใหม่ เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป”
อนค.ร่วมซักฟอกได้แม้ถูกยุบ
วันเดียวกัน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านขอเวลาในการอภิปราย 50 กว่าชั่วโมง ว่า ตกลงในหลักการไว้ ในวันที่ 24 -27 ก.พ. ซึ่งเดิมจะจบวันที่ 26 ก.พ. แต่ในวันที่ 24 ก.พ. ฝ่ายรัฐบาลขอเลื่อนไปเริ่มในช่วงบ่าย ฝ่ายค้านจึงขอขยายเวลาออกไปวันที่ 27 ก.พ. ครึ่งวัน แต่ยังไม่แน่อาจจะมากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น อยู่ที่จำนวนผู้อภิปรายและการอภิปรายว่าใช้เวลาเท่าไร ซึ่งยังไม่ได้ตกลงกันว่า จะใช้วิธีคิดเวลา หรือจำนวนคน ส่วนการการอภิปรายรัฐมนตรี ก็ยังไม่ได้ลกลงกันว่า จะอภิปรายรวมทั้งหมด หรือจะอภิปรายที่ละคน ทั้งนี้ก่อนวันอภิปรายก็จะต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายหารือกัน เมื่อได้ข้อยุติอย่างไรก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น
เมื่อถามว่าในกรณีส.ส.พรรคอนาคตใหม่ หากพรรคถูกยุบ ส.ส.มีสิทธิ์อภิปรายฯ หรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เรื่องคำวินิจฉัยเป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนกรณี ส.ส.ไม่สังกัดพรรคโดยหลักการ สามารถอภิปรายได้ ในสภาฯใครอภิปรายก็ได้ และไม่ได้มีอะไรห้าม เพราะเป็นเรื่องของฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาล
พท.จัด 18 ขุนพลถล่มรัฐบาล
ขณะที่ฝ่ายค้านในส่วนของพรรคเพื่อไทย ได้การประชุมร่วมกันเพื่อซักซ้อมแนวทางการอภิปรายฯ โดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค เป็นประธาน ก่อนที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรค จะเปิดเผยว่า ผู้อภิปรายในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยมีทั้งสิ้น 18 คน โดยหลังจากที่ นายสมพงษ์ กล่าวเปิดญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้น นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม จะขึ้นอภิปรายเป็นคนแรก โดยใช้ข้อมูลของ คณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจการพิเศษพรรค ซึ่งจะอภิปรายไปตามข้อเท็จจริง ตามความผิดในญัตติ มีทั้งเรื่องการบริหารผิดพลาด ฉ้อฉล ช่วยเหลือพวกพ้อง ปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริต ซึ่งไม่สามารถไว้วางใจให้ พล.อ.ประยุทธ์ บริหารประเทศต่อไปได้
นายสุทิน กล่าวว่า ครั้งนี้เราใช้ผู้อภิปรายไม่มาก ไม่เหมือนอดีต ที่ใช้ซูเปอร์สตาร์ 5-6 คน อภิปรายคนละ 2-3 ชั่วโมง โดยครั้งนี้จะทำงานเป็นทีมเวิร์ก ตัดเนื้อหาออกมาเป็นส่วนๆ ไม่ลากยาว เพื่อให้ไม่น่าเบื่อ ผู้อภิปรายทั้ง 18 คน จะใช้เวลาคนละ 20 นาที ถึง 1 ชม. ทั้งนี้มีไม่น้อยกว่า 6 กรณีที่สามารถยื่นต่อป.ป.ช. หรือยื่นดำเนินคดีอาญาได้
จากกรณีที่ ศาลรัฐธรรมนูญ นัดออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยในคดีที่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคอนาคตใหม่ ตามมาตรา 72 ประกอบมาตรา 92 วรรรคหนึ่ง (3) แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 จากกรณีพรรคอนาคตใหม่ กู้ยืมเงินจาก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จำนวน 191.2 ล้านบาท ในวันที่ 21 ก.พ.นี้ เวลา 15.00 น.นั้น
วานนี้ (20 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีการจัดเตรียมสถานที่ และวางมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยรอบแนวเขตของศาลฯ โดยแบ่งออกเป็นโซนสำหรับสื่อมวลชนและประชาชนที่จะมาให้กำลังใจหรือติดตามรับฟังการอ่านคำวินิจฉัยคดี และวางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบจาก สน.ทุ่งสองห้อง และ กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 คอยดูแลในเรื่องความปลอดภัย แม้ทางแกนนำพรรคอนาคตใหม่ยืนยันไม่เดินทางมารับฟังคำวินิจฉัยก็ตาม แต่เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นที่สนใจของสังคมจึงได้มีการเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยเบื้องต้นไว้ประมาณ 1 กองร้อย หรือ 150 คน
กกต.ยกหลักความโปร่งใสรายได้
ผู้สื่อข่าวรายงานถึงขั้นตอนในวันที่ 21 ก.พ.ด้วยว่า ก่อนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยคดีนี้ ในเวลา 15.00 น. ช่วงเช้าทางคณะตุลาการ จะมีการประชุมแถลงด้วยวาจา และลงมติ พร้อมจัดทำคำวินิจฉัย ซึ่งตลอดเวลาการประชุมพิจารณา และก่อนออกนั่งบัลลังก์ ทางศาลฯ จะมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์บริเวณโดยรอบสำนักงาน เพื่อป้องกันไม่ให้คำวินิจฉัยรั่วไหลออกไปก่อน
มีรายงานว่า ในการยื่นคำชี้แจงของ กกต.ต่อศาลฯนั้น กกต.ได้ให้ข้อมูลว่า พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 62 กำหนดที่มารายได้ของพรรคการเมืองไว้ 7 ประเภท เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการทางการเมืองตามอุดมการณ์ ไม่มีประเภทรายได้อื่นที่เปิดช่องให้พรรคการเมืองสามารถกู้ยืมเงินมาดำเนินกิจการได้ ประเภทของรายได้ดังกล่าว จึงเป็นสิ่งที่แสดงลักษณะเฉพาะของนิติบุคคลตามกฎหมายพรรคการเมือง ซึ่งจะต่างจากนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น หากไม่ใช่เงินรายได้ที่กำหนดไว้ในกฎหมายพรรคการเมืองแล้ว แม้จะเป็นเงินที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ก็อาจเป็นเงินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายพรรคการเมือง
เปิด 3 แนวทางวินิจฉัยคดี
สำหรับแนวทางคำวินิจฉัยของศาลฯ ในคดีนี้ คาดว่ามี 3 แนวทาง ด้วยกัน คือ 1.ศาลเห็นว่าพรรคไม่มีความผิดตาม มาตรา 72 ให้ยกคำร้อง, 2. ศาลฯ เห็นว่ามีความผิด ตัดสินยุบพรรค เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ 10 ปี ตามแนวคำวินิจฉัยที่ศาลฯได้เคยวินิจฉัยไว้ในคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ ซึ่งถ้าเป็นแนวทางนี้ กกต.ก็จะมีการดำเนินคดีอาญาตามหลังด้วย
และ 3. ศาลฯ เห็นว่ามีความผิด แต่เป็นความผิดตาม มาตรา 62 มาตรา 66 พ.ร.ป.พรรคการเมือง เท่านั้น ไม่อยู่ในอำนาจที่ศาลฯ จะพิจารณา จึงยกคำร้องยุบพรรค ซึ่งหากเป็นแนวทางนี้ เรื่องดังกล่าวก็จะวนกลับมาที่ กกต. จะต้องเป็นผู้พิจารณาดำเนินการตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยการสืบสวน ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาด 2561 เพื่อที่จะดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 124 ที่กำหนดเอาผิด ผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมือง มีมูลค่าเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อปี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้นั้น 5 ปี และ มาตรา 125 ที่กำหนดเอาผิดพรรคการเมืองที่รับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด มีมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกิน 1 ล้านบาท และให้ศาลฯ สั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น 5 ปี และให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดส่วนที่เกินมูลค่าที่กฎหมายกำหนดไว้ 10 ล้านบาท ตกเป็นของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง รวมทั้งอาจมีการดำเนินคดี ในกรณีที่พรรคมีการนำเงินรายได้ของพรรคที่ได้จากการระดมทุน การรับบริจาค ขายของที่ระลึก ซึ่งกฎหมายกำหนดห้ามนำไปใช้เพื่อการอื่นใด นอกจากการดำเนินงานของพรรคการเมือง ตามมาตรา 87 ไปใช้หนี้เงินกู้ให้กับ นายธนาธร โดย มาตรา 132 กำหนดโทษไว้ หากหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และเหรัญญิกพรรค ผู้ใดนำเงิน หรือยินยอมให้บุคคลนำเงิน ทรัพย์สินของพรรคไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือบุคคลอื่น หรือ นำไปใช้เพื่อการอื่น อันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 87 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5-10 ปี ปรับ ตั้งแต่ 1 แสน- 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งการเอาผิดทางอาญานั้นจะต้องต่อสู้ในศาลถึง 3 ศาล
"ธนาธร" ยืนกรานกู้เงินไม่ผิด
วานนี้ (20 ก.พ.) เพจเฟซบุ๊ก “Thanathorn Juangroongruangkit-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์คลิป พร้อมข้อความต่อเนื่อง ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคอนาคตใหม่ ในหัวข้อ “1 วันก่อนการอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่คดีเงินกู้” โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งระบุว่า “หากย้อนเวลากลับไปได้ หากเราถูกกีดกันทุกวิถีทางในการในระดมทุนเหมือนที่ผ่านมา และหากจำเป็นต้องกู้ เราก็จะทำเช่นเดิม จะกู้เงินอย่างเปิดเผย และตรวจสอบได้เหมือนเดิม จะยืนหยัดยืนยันในหลักการที่ถูกต้อง แม้จะต้องแลกมาด้วยชีวิตก็ตาม”
ทั้งนี้นายธนาธรัยงได้เชิญชวนผู้สนับสนุนพรรคอนาคตใหม่ ด้วยว่า “วันศุกร์ที่ 21 ก.พ.นี้ ศาลรัฐธรรมนูญ จะอ่านคำวินิจฉัยคดีเงินกู้ ขอผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความอยุติธรรม มาร่วมฟังคำวินิจฉัย และแสดงพลัง ที่สำนักงานใหญ่พรรคอนาคตใหม่ เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป”
อนค.ร่วมซักฟอกได้แม้ถูกยุบ
วันเดียวกัน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านขอเวลาในการอภิปราย 50 กว่าชั่วโมง ว่า ตกลงในหลักการไว้ ในวันที่ 24 -27 ก.พ. ซึ่งเดิมจะจบวันที่ 26 ก.พ. แต่ในวันที่ 24 ก.พ. ฝ่ายรัฐบาลขอเลื่อนไปเริ่มในช่วงบ่าย ฝ่ายค้านจึงขอขยายเวลาออกไปวันที่ 27 ก.พ. ครึ่งวัน แต่ยังไม่แน่อาจจะมากกว่านั้นหรือน้อยกว่านั้น อยู่ที่จำนวนผู้อภิปรายและการอภิปรายว่าใช้เวลาเท่าไร ซึ่งยังไม่ได้ตกลงกันว่า จะใช้วิธีคิดเวลา หรือจำนวนคน ส่วนการการอภิปรายรัฐมนตรี ก็ยังไม่ได้ลกลงกันว่า จะอภิปรายรวมทั้งหมด หรือจะอภิปรายที่ละคน ทั้งนี้ก่อนวันอภิปรายก็จะต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายหารือกัน เมื่อได้ข้อยุติอย่างไรก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น
เมื่อถามว่าในกรณีส.ส.พรรคอนาคตใหม่ หากพรรคถูกยุบ ส.ส.มีสิทธิ์อภิปรายฯ หรือไม่ นายชวน กล่าวว่า เรื่องคำวินิจฉัยเป็นเรื่องของศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนกรณี ส.ส.ไม่สังกัดพรรคโดยหลักการ สามารถอภิปรายได้ ในสภาฯใครอภิปรายก็ได้ และไม่ได้มีอะไรห้าม เพราะเป็นเรื่องของฝ่ายค้านตรวจสอบรัฐบาล
พท.จัด 18 ขุนพลถล่มรัฐบาล
ขณะที่ฝ่ายค้านในส่วนของพรรคเพื่อไทย ได้การประชุมร่วมกันเพื่อซักซ้อมแนวทางการอภิปรายฯ โดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรค เป็นประธาน ก่อนที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรค จะเปิดเผยว่า ผู้อภิปรายในสัดส่วนของพรรคเพื่อไทยมีทั้งสิ้น 18 คน โดยหลังจากที่ นายสมพงษ์ กล่าวเปิดญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจเสร็จสิ้น นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม จะขึ้นอภิปรายเป็นคนแรก โดยใช้ข้อมูลของ คณะกรรมการกิจการพิเศษพรรคเพื่อไทย ที่นำโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานคณะกรรมการกิจการพิเศษพรรค ซึ่งจะอภิปรายไปตามข้อเท็จจริง ตามความผิดในญัตติ มีทั้งเรื่องการบริหารผิดพลาด ฉ้อฉล ช่วยเหลือพวกพ้อง ปล่อยปะละเลยให้มีการทุจริต ซึ่งไม่สามารถไว้วางใจให้ พล.อ.ประยุทธ์ บริหารประเทศต่อไปได้
นายสุทิน กล่าวว่า ครั้งนี้เราใช้ผู้อภิปรายไม่มาก ไม่เหมือนอดีต ที่ใช้ซูเปอร์สตาร์ 5-6 คน อภิปรายคนละ 2-3 ชั่วโมง โดยครั้งนี้จะทำงานเป็นทีมเวิร์ก ตัดเนื้อหาออกมาเป็นส่วนๆ ไม่ลากยาว เพื่อให้ไม่น่าเบื่อ ผู้อภิปรายทั้ง 18 คน จะใช้เวลาคนละ 20 นาที ถึง 1 ชม. ทั้งนี้มีไม่น้อยกว่า 6 กรณีที่สามารถยื่นต่อป.ป.ช. หรือยื่นดำเนินคดีอาญาได้