ผู้จัดการรายวัน360-“ศักดิ์สยาม”ดันปรับแผนฟื้นฟู ขสมก. เร่งสรุปเสนอบอร์ดในก.พ.ก่อนชงครม.ทบทวนมติเดิม ยันรูปแบบ เช่ารถวิ่ง ค่าโดยสาร 30 บาททั้งวันเหมาะสม ผุดแผนเจรจารถร่วมฯ โอนใบอนุญาต รับจ้างขสมก.วิ่ง เพื่อใช้โมเดลค่าตั๋ว 30 บาท
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ว่า แผนฟื้นฟูใหม่ มีการปรับปรุงเส้นทางเดินรถ ลดการวิ่งทับซ้อน ต่อเชื่อมระบบขนส่งอื่น เป็นรถปรับอากาศใช้พลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดค่าโดยสารที่ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน โดยจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปสรุปรวมกับแผนฯเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทบทวนมติเดิมเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 62 โดยให้ขสมก.จะต้องทำแผนนำไปสู่การปฏิบัติ (Action Plan) เพื่อให้เกิดผลรูปธรรม100% และกรอบเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนด้วย
โดยแผนปรับปรุงใหม่ มีการปรับเรื่องการจัดหารถจากซื้อและเช่า เป็นการเช่าบริการตามระยะทาง ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ส่วนเรื่องอื่นๆ ยังยึดตามแผนฟื้นฟูเดิม คือ บุคลากร โครงสร้างองค์กร การพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งโดยรวมแผนฟื้นฟูใหม่จะประหยัดงบจากภาครัฐได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ได้เน้นย้ำการทำงานให้มีธรรมาภิบาล ซึ่งในการกำหนด TOR จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายรับรู้และเปิดการแข่งขันเสรี เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
ส่วนผู้ประกอบการเอกชน จะต้องปรับปรุงการให้บริการตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์จึงจะได้รับใบอนุญาตจาก กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เช่น รถใหม่ มีระบบ GPSเป็นต้น ส่วนค่าโดยสาร จัดเก็บตามกรอบที่ คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง อนุมัติ คือ 15,20,25 บาท ซึ่งอาจจะเป็นคนละโครงสร้างกับ ขสมก.ที่เป็นรูปแบบตั๋วรายวัน (ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว) ในราคา 30 บาทต่อวัน ดังนั้นหาก เอกชนเข้ามารjวมเดินรถกับ ขสมก.ภายใต้มาตรฐานบริการและค่าโดยสารเดียวกัน จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นภาคสมัครใจ ไม่บังคับ เพราะถือว่าบริการของเอกชนเป็นทางเลือกของประชาชน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เอกชนจะให้ความร่วมมือ เพราะกลไกการตลาด ประชาชนจะเป็นผู้เลือกใช้บริการ
นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก.กล่าวว่า จะเร่งสรุปความเห็นและการปรับปรุงแผนฟื้นฟู เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด) ขสมก.ได้ในเดือนก.พ. ซึ่งแผนฟื้นฟูเดิม จะมีค่าใช้จ่ายจัดหารถใหม่ 14,111.959 ล้านบาท ค่าเช่ารถ 7,098.384 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย Early Retirement 6,004 ล้านบาท แผนปรับปรุง มีค่า Early Retirement 6,004 ล้านบาท ค่าอุดหนุบริการเชิงสังคม(PSO) ปีละ 10,000 ล้านบาท (5 ปี ๆละ 2,000 ล้านบาท ) โดยจะไม่มีค่าใช้จ่ายจัดหารถ ซึ่งลงทุนลดลง 16,004 ล้านบาท
ปัจจุบัน ขสมก. มีต้นทุน 50.25 บาท/กม. หากเปลี่ยนจากซื้อรถ เป็นจ่ายค่าเช่าตามระยะทางที่วิ่งให้บริการจริง (บาท/กม.) จะมีความยืดหยุ่นและลดต้นทุนได้ โดยจะเป็นรถไฟฟ้า(EV) รถNGV และ รถไฮบริด และจัดเก็บค่าโดยสารในรูปแบบตั๋วรายวัน (ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว) ในราคา 30 บาทต่อวัน ส่วนการใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ จะทำให้ลดภาระในการบริหารเงินสด ซึ่งแต่ละปีมีค่าใช้จ่ายประมาณ 200 ล้านบาท
“ค่าโดยสาร ที่ขสมก.เก็บ 30 บาทตลอดทั้งวัน แต่รถร่วมฯเก็บ 15,20,25 บาทเพื่อให้เป็นโมเดลเดียวกัน ขสมก.พร้อมเจรจากับเอกชนในการจ้างเอกชนวิ่ง โดยต้องหารือกับ ขบ. เพื่อโอนใบอนุญาตให้ขสมก.บริหาร”
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การปรับปรุงแผนฟื้นฟูกิจการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ว่า แผนฟื้นฟูใหม่ มีการปรับปรุงเส้นทางเดินรถ ลดการวิ่งทับซ้อน ต่อเชื่อมระบบขนส่งอื่น เป็นรถปรับอากาศใช้พลังงานเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กำหนดค่าโดยสารที่ช่วยลดค่าครองชีพประชาชน โดยจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปสรุปรวมกับแผนฯเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทบทวนมติเดิมเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 62 โดยให้ขสมก.จะต้องทำแผนนำไปสู่การปฏิบัติ (Action Plan) เพื่อให้เกิดผลรูปธรรม100% และกรอบเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนด้วย
โดยแผนปรับปรุงใหม่ มีการปรับเรื่องการจัดหารถจากซื้อและเช่า เป็นการเช่าบริการตามระยะทาง ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับภาวะปัจจุบัน ส่วนเรื่องอื่นๆ ยังยึดตามแผนฟื้นฟูเดิม คือ บุคลากร โครงสร้างองค์กร การพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งโดยรวมแผนฟื้นฟูใหม่จะประหยัดงบจากภาครัฐได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ได้เน้นย้ำการทำงานให้มีธรรมาภิบาล ซึ่งในการกำหนด TOR จะต้องประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายรับรู้และเปิดการแข่งขันเสรี เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากที่สุด
ส่วนผู้ประกอบการเอกชน จะต้องปรับปรุงการให้บริการตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์จึงจะได้รับใบอนุญาตจาก กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เช่น รถใหม่ มีระบบ GPSเป็นต้น ส่วนค่าโดยสาร จัดเก็บตามกรอบที่ คณะกรรมการขนส่งทางบกกลาง อนุมัติ คือ 15,20,25 บาท ซึ่งอาจจะเป็นคนละโครงสร้างกับ ขสมก.ที่เป็นรูปแบบตั๋วรายวัน (ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว) ในราคา 30 บาทต่อวัน ดังนั้นหาก เอกชนเข้ามารjวมเดินรถกับ ขสมก.ภายใต้มาตรฐานบริการและค่าโดยสารเดียวกัน จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์มากขึ้น ซึ่งจะเป็นภาคสมัครใจ ไม่บังคับ เพราะถือว่าบริการของเอกชนเป็นทางเลือกของประชาชน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า เอกชนจะให้ความร่วมมือ เพราะกลไกการตลาด ประชาชนจะเป็นผู้เลือกใช้บริการ
นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก.กล่าวว่า จะเร่งสรุปความเห็นและการปรับปรุงแผนฟื้นฟู เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด) ขสมก.ได้ในเดือนก.พ. ซึ่งแผนฟื้นฟูเดิม จะมีค่าใช้จ่ายจัดหารถใหม่ 14,111.959 ล้านบาท ค่าเช่ารถ 7,098.384 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย Early Retirement 6,004 ล้านบาท แผนปรับปรุง มีค่า Early Retirement 6,004 ล้านบาท ค่าอุดหนุบริการเชิงสังคม(PSO) ปีละ 10,000 ล้านบาท (5 ปี ๆละ 2,000 ล้านบาท ) โดยจะไม่มีค่าใช้จ่ายจัดหารถ ซึ่งลงทุนลดลง 16,004 ล้านบาท
ปัจจุบัน ขสมก. มีต้นทุน 50.25 บาท/กม. หากเปลี่ยนจากซื้อรถ เป็นจ่ายค่าเช่าตามระยะทางที่วิ่งให้บริการจริง (บาท/กม.) จะมีความยืดหยุ่นและลดต้นทุนได้ โดยจะเป็นรถไฟฟ้า(EV) รถNGV และ รถไฮบริด และจัดเก็บค่าโดยสารในรูปแบบตั๋วรายวัน (ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว) ในราคา 30 บาทต่อวัน ส่วนการใช้ระบบเก็บเงินอัตโนมัติ จะทำให้ลดภาระในการบริหารเงินสด ซึ่งแต่ละปีมีค่าใช้จ่ายประมาณ 200 ล้านบาท
“ค่าโดยสาร ที่ขสมก.เก็บ 30 บาทตลอดทั้งวัน แต่รถร่วมฯเก็บ 15,20,25 บาทเพื่อให้เป็นโมเดลเดียวกัน ขสมก.พร้อมเจรจากับเอกชนในการจ้างเอกชนวิ่ง โดยต้องหารือกับ ขบ. เพื่อโอนใบอนุญาตให้ขสมก.บริหาร”