**ก็ต้องบอกว่าสำหรับพรรคประชาธิปัตย์เวลานี้ ถือว่ากำลังอยู่ในอาการสับสน มึนงง ยังหาจุดที่พอดีไม่เจอ ทั้งที่น่าจะถึงเวลาที่จะต้องหันมาทบ ทวนตัวเอง หลังจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาออกมาน่าผิดหวัง หรือแบบที่เรียกวา“ช็อก”กันเลยทีเดียว เพราะเวลานี้ประชาธิปัตย์กลายมาเป็นพรรคขนาดกลางค่อนไปทางเกือบเป็นพรรคขนาดเล็กเข้าไปทุกที
ที่ผ่านมาหากบอกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงเลือกตั้งมีแนวทางนำพรรค“ผิดพลาด” ซึ่งคนละเรื่องกับ“อุดมการณ์”และไม่ได้ไปชี้ว่าถูก หรือผิด แต่เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาอย่างที่เห็น มันก็ย่อมเป็นคำตอบชัดเจนแล้วว่า“ผิดพลาด”และเขาก็แสดงสปิริตทำตามคำพูด นั่นคือต้องลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และลาออกจากส.ส.อีกด้วย ทั้งที่ตำแหน่งหลังนั้นไม่จำเป็นต้องลาออกก็ได้ แต่ก็ต้องถือว่าน่าชื่นชม
แม้ว่าจะไม่ต้องการ“ฟื้นฝอย” แต่ในช่วงที่ผ่านมายังมีสมาชิกพรรคคนสำคัญ และบางคนที่เป็นส.ส. ก็ได้ทยอยลาออกไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันภาพที่แสดงให้เห็นในเวลาเดียวกันก็คือ“ความไม่มีเอกภาพ”ภายในพรรค จนทำให้เป็นที่จับตามองจากแกนนำในรัฐบาล พร้อมทั้งส่งสัญญาณให้ ส.ส.บางคนของพรรค หยุดการเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลของตัวเองได้แล้ว
แม้ว่าสภาพภายในพรรคประชาธิปัตย์ ที่สำหรับคอการเมืองย่อมเข้าใจดีว่า“เป็นแบบนี้”มานานแล้ว นั่นคือเต็มไปด้วย“นักพูด”นักอภิปราย กว่าจะลงมติได้ในแต่ละเรื่องก็ต้องมีการอภิปรายยกเหตุผลชี้แจง หรือหักล้างกันแบบยาวนาน อีกทั้งเป็นภาพที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของพรรค แต่อาจจะมีในลักษณะของการ “ชี้นำ”จากผู้อาวุโสในพรรค และมีลักษณะบริหารจัดการภายในที่เป็นเอกลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์มาช้านาน
ส่วนคนข้างนอกจะชอบหรือไม่ชอบมากกว่ากัน ก็ว่ากันไป ซึ่งก็ต้องสะท้อนผ่านการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็ย่อมสรุปได้ในระดับสำคัญแล้วว่า ชาวบ้านเขามองพรรคประชาธิปัตย์แบบไหน ขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางของพรรคใหม่ หรือไม่หากต้องการกลับมาเป็นพรรคที่ได้รับความนิยม อย่างน้อยก็ให้คงสภาพเหมือนกับที่ผ่านๆมาในการเลือกตั้งคราวหน้า
ที่ผ่านมาหากนับมาจนถึง นายกรณ์ จาติกวนิช ที่ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คนล่าสุด แล้วยังมีหลายคนที่ทยอยเดินออกไป เช่น นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม และ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และยังไม่นับรายเล็กรายน้อยที่เดินจากไปก่อนหน้านี้หลายราย
**แน่นอนว่า คำพูดที่หลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ชอบพูดอยู่เสมอก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งมายาวนานกว่า 70 ปี ย่อมต้องมีคนเดินเข้าเดินออกเป็นเรื่องปกติธรรมดา อาจจะใช่ แต่การที่คนระดับที่ถือว่า“บิ๊กเนม”เป็นคีย์แมนคนสำคัญของพรรค ทยอยเดินออกมาเป็นว่าเล่น มันก็ย่อมกระทบต่อทั้งสมาชิกพรรค และคนที่สนับสนุนพรรคข้างนอก
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องมองกันแบบทำความเข้าใจก็คือ บุคคลดังกล่าวที่ลาออกไป แทบทั้งหมดก็โยกย้ายไปอยู่อีกพรรคการเมืองหนึ่ง เช่น กรณีของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในกรณีขุดคุ้ยการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ตัดสินใจไปอยู่กับพรรครวมพลังประชาชาติไทย หรือกรณีของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ลาออกจากสมาชิกพรรค และสิ้นสภาพส.ส.ไปด้วย
แม้ว่าโดยนิตินัย จะยังไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด แต่โดยพฤตินัยแล้วถือว่าทำงานให้กับรัฐบาล ให้กับ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในด้านกฎหมาย และล่าสุดก็ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาล และพรรคพลังประชารัฐ ให้เขาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะไม่ย้ายเข้าสังกัดพรรคใหม่ในทันทีทันใด เนื่องจากอาจถูกมองแบบไม่งาม แต่ด้วยบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับ ถือว่าพวกเขา “แฮปปี้”กับบทบาทใหม่
สำหรับกรณีของ กรณ์ จาติกวนิช ที่เป็นรายล่าสุด แม้ว่าตามรายงานข่าวยังไม่ชัดเจนว่า ไปทางไหน ระหว่างการตั้งพรรคใหม่ การเตรียมลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือแม้กระทั่งเข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเตรียมเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรี ภายหลังจากมีการปรับคณะรัฐมนตรี เมื่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้ว แต่จากการโพสต์ข้อความของเขา ก็บอกชัดเจนแล้วว่า “ยังทำงานการเมือง” ต่อไป ตามความต้องการของพี่น้องประชาชน ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมา ถือว่าเป็นไปได้ทุกทาง
**แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ ทำไมบุคคลสำคัญของพรรคอย่างคนพวกนี้ถึงได้เดินออกมา เพราะจะว่าไปแล้วแต่ละคนถือว่าอยู่กับพรรคการเมืองนี้มาอย่างยาวนาน นับสิบปีขึ้นไปทั้งสิ้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการแบบนี้ นอกเหนือจากว่ามีความอึดอัดใจอย่างมาก หรือมองไม่เห็นอนาคตว่าจะเดินไปทิศทางไหน
ดังนั้น เมื่อคนระดับ “บิ๊กเนม”ดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่คิดว่าจะตัดสินใจเดินออกมาแบบนี้ มันก็ทำให้เกิดคำถามว่า บรรยากาศในพรรคเวลานี้มัน “คุมกันไม่อยู่”หรือไม่มีเอกภาพ จนแกนนำรัฐบาล อย่าง“บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ “ผู้จัดการรัฐบาล”ต้องออกมาสะกิดให้หัวหน้าพรรคคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เร่งจัดการปัญหาภายในให้เรียบร้อยโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับเสถียรภาพรัฐบาล
เพราะภาพที่ออกมาให้เห็นระหว่างงานเลี้ยงปีใหม่ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มี นายกรณ์ จาติกวนิช ไปร่วมงาน และเปิดเผยให้รู้กันว่าได้ลาออกจากพรรค และยังมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาที่ปรึกษาของพรรคไปร่วม รวมทั้งส.ส.ที่รับรู้กันว่าเป็นส.ส.ในกลุ่มเดียวกัน ขณะที่ไม่ปรากฏ นายจุรินทร์ ไปร่วมงานแต่อย่างใด
** ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นมันก็เป็นภาพอธิบายได้ชัดเจนว่า พรรคประชาธิปัตย์ยังมีปัญหาแตกแยกภายในที่คุกรุ่น โดยเฉพาะนับตั้งแต่การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคที่ผ่านมา ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงแข่งขันกับ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม จนเกิดปัญหาบานปลายเหมือนกับยังมองหน้ากันไม่ติด แบ่งฝักฝ่ายฝังรากลึก และเมื่อพิจารณาจากสภาพที่เห็นในพรรควันนี้ ก็น่าเชื่อว่าอีกไม่นานจะต้องมีคนอื่นเดินออกมาอีก แน่นอน !!
ที่ผ่านมาหากบอกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงเลือกตั้งมีแนวทางนำพรรค“ผิดพลาด” ซึ่งคนละเรื่องกับ“อุดมการณ์”และไม่ได้ไปชี้ว่าถูก หรือผิด แต่เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาอย่างที่เห็น มันก็ย่อมเป็นคำตอบชัดเจนแล้วว่า“ผิดพลาด”และเขาก็แสดงสปิริตทำตามคำพูด นั่นคือต้องลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค และลาออกจากส.ส.อีกด้วย ทั้งที่ตำแหน่งหลังนั้นไม่จำเป็นต้องลาออกก็ได้ แต่ก็ต้องถือว่าน่าชื่นชม
แม้ว่าจะไม่ต้องการ“ฟื้นฝอย” แต่ในช่วงที่ผ่านมายังมีสมาชิกพรรคคนสำคัญ และบางคนที่เป็นส.ส. ก็ได้ทยอยลาออกไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันภาพที่แสดงให้เห็นในเวลาเดียวกันก็คือ“ความไม่มีเอกภาพ”ภายในพรรค จนทำให้เป็นที่จับตามองจากแกนนำในรัฐบาล พร้อมทั้งส่งสัญญาณให้ ส.ส.บางคนของพรรค หยุดการเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลของตัวเองได้แล้ว
แม้ว่าสภาพภายในพรรคประชาธิปัตย์ ที่สำหรับคอการเมืองย่อมเข้าใจดีว่า“เป็นแบบนี้”มานานแล้ว นั่นคือเต็มไปด้วย“นักพูด”นักอภิปราย กว่าจะลงมติได้ในแต่ละเรื่องก็ต้องมีการอภิปรายยกเหตุผลชี้แจง หรือหักล้างกันแบบยาวนาน อีกทั้งเป็นภาพที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของพรรค แต่อาจจะมีในลักษณะของการ “ชี้นำ”จากผู้อาวุโสในพรรค และมีลักษณะบริหารจัดการภายในที่เป็นเอกลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์มาช้านาน
ส่วนคนข้างนอกจะชอบหรือไม่ชอบมากกว่ากัน ก็ว่ากันไป ซึ่งก็ต้องสะท้อนผ่านการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็ย่อมสรุปได้ในระดับสำคัญแล้วว่า ชาวบ้านเขามองพรรคประชาธิปัตย์แบบไหน ขณะเดียวกันก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางของพรรคใหม่ หรือไม่หากต้องการกลับมาเป็นพรรคที่ได้รับความนิยม อย่างน้อยก็ให้คงสภาพเหมือนกับที่ผ่านๆมาในการเลือกตั้งคราวหน้า
ที่ผ่านมาหากนับมาจนถึง นายกรณ์ จาติกวนิช ที่ได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คนล่าสุด แล้วยังมีหลายคนที่ทยอยเดินออกไป เช่น นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม และ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และยังไม่นับรายเล็กรายน้อยที่เดินจากไปก่อนหน้านี้หลายราย
**แน่นอนว่า คำพูดที่หลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ชอบพูดอยู่เสมอก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ก่อตั้งมายาวนานกว่า 70 ปี ย่อมต้องมีคนเดินเข้าเดินออกเป็นเรื่องปกติธรรมดา อาจจะใช่ แต่การที่คนระดับที่ถือว่า“บิ๊กเนม”เป็นคีย์แมนคนสำคัญของพรรค ทยอยเดินออกมาเป็นว่าเล่น มันก็ย่อมกระทบต่อทั้งสมาชิกพรรค และคนที่สนับสนุนพรรคข้างนอก
อย่างไรก็ดี สิ่งที่ต้องมองกันแบบทำความเข้าใจก็คือ บุคคลดังกล่าวที่ลาออกไป แทบทั้งหมดก็โยกย้ายไปอยู่อีกพรรคการเมืองหนึ่ง เช่น กรณีของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในกรณีขุดคุ้ยการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ตัดสินใจไปอยู่กับพรรครวมพลังประชาชาติไทย หรือกรณีของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ลาออกจากสมาชิกพรรค และสิ้นสภาพส.ส.ไปด้วย
แม้ว่าโดยนิตินัย จะยังไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด แต่โดยพฤตินัยแล้วถือว่าทำงานให้กับรัฐบาล ให้กับ “บิ๊กตู่”พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในด้านกฎหมาย และล่าสุดก็ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาล และพรรคพลังประชารัฐ ให้เขาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ว่าจะไม่ย้ายเข้าสังกัดพรรคใหม่ในทันทีทันใด เนื่องจากอาจถูกมองแบบไม่งาม แต่ด้วยบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับ ถือว่าพวกเขา “แฮปปี้”กับบทบาทใหม่
สำหรับกรณีของ กรณ์ จาติกวนิช ที่เป็นรายล่าสุด แม้ว่าตามรายงานข่าวยังไม่ชัดเจนว่า ไปทางไหน ระหว่างการตั้งพรรคใหม่ การเตรียมลงสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือแม้กระทั่งเข้าสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และเตรียมเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรี ภายหลังจากมีการปรับคณะรัฐมนตรี เมื่อการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลผ่านพ้นไปแล้ว แต่จากการโพสต์ข้อความของเขา ก็บอกชัดเจนแล้วว่า “ยังทำงานการเมือง” ต่อไป ตามความต้องการของพี่น้องประชาชน ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมา ถือว่าเป็นไปได้ทุกทาง
**แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ ทำไมบุคคลสำคัญของพรรคอย่างคนพวกนี้ถึงได้เดินออกมา เพราะจะว่าไปแล้วแต่ละคนถือว่าอยู่กับพรรคการเมืองนี้มาอย่างยาวนาน นับสิบปีขึ้นไปทั้งสิ้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการแบบนี้ นอกเหนือจากว่ามีความอึดอัดใจอย่างมาก หรือมองไม่เห็นอนาคตว่าจะเดินไปทิศทางไหน
ดังนั้น เมื่อคนระดับ “บิ๊กเนม”ดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ไม่คิดว่าจะตัดสินใจเดินออกมาแบบนี้ มันก็ทำให้เกิดคำถามว่า บรรยากาศในพรรคเวลานี้มัน “คุมกันไม่อยู่”หรือไม่มีเอกภาพ จนแกนนำรัฐบาล อย่าง“บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ “ผู้จัดการรัฐบาล”ต้องออกมาสะกิดให้หัวหน้าพรรคคือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เร่งจัดการปัญหาภายในให้เรียบร้อยโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับเสถียรภาพรัฐบาล
เพราะภาพที่ออกมาให้เห็นระหว่างงานเลี้ยงปีใหม่ของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มี นายกรณ์ จาติกวนิช ไปร่วมงาน และเปิดเผยให้รู้กันว่าได้ลาออกจากพรรค และยังมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาที่ปรึกษาของพรรคไปร่วม รวมทั้งส.ส.ที่รับรู้กันว่าเป็นส.ส.ในกลุ่มเดียวกัน ขณะที่ไม่ปรากฏ นายจุรินทร์ ไปร่วมงานแต่อย่างใด
** ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นมันก็เป็นภาพอธิบายได้ชัดเจนว่า พรรคประชาธิปัตย์ยังมีปัญหาแตกแยกภายในที่คุกรุ่น โดยเฉพาะนับตั้งแต่การเลือกตั้งหัวหน้าพรรคที่ผ่านมา ซึ่งต่อเนื่องมาตั้งแต่ตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงแข่งขันกับ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม จนเกิดปัญหาบานปลายเหมือนกับยังมองหน้ากันไม่ติด แบ่งฝักฝ่ายฝังรากลึก และเมื่อพิจารณาจากสภาพที่เห็นในพรรควันนี้ ก็น่าเชื่อว่าอีกไม่นานจะต้องมีคนอื่นเดินออกมาอีก แน่นอน !!