**แม้ว่าผลการสอบสวนภายในพรรคเพื่อไทย ที่มี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นประธานจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว จากกรณีการโหวตสวนมติพรรคของ 3 ส.ส. อันประกอบด้วย น.ส.พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กรุงเทพมหานคร และ นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี แต่กลับกลายเป็นว่ายังไม่มีบทลงโทษอะไรออกมา หรือให้มีการดำเนินการอย่างไรต่อไปนับจากนี้
ทั้งนี้ มีการระบุที่เป็นรายงานข่าวว่า สิ่งที่พรรคเพื่อไทยทำได้ก็คือ เพียงแค่การจับตามองการทำหน้าที่ของส.ส.พวกนี้อย่างใกล้ชิดเท่านั้น แม้ว่าน้ำหนักที่จะเขม้นจับตามองไปที่ ส.ส.บางคน เช่น นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี มากกว่าใครก็ตาม ขณะที่อีกสองคนที่เหลือ ตามข่าวบอกว่า มีความเข้าใจเหตุผลที่ต้องโหวตสวนมติพรรค เนื่องจากมีเรื่องของคดีความเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะจริง ไม่จริงไม่รู้
อย่างไรก็ดี มาตรการลงโทษในแบบที่ว่าขับออกจากพรรค หรือไม่ส่งลงสมัครรับเลือกตั้งในในสมัยหน้า ก็คงจะไม่เกิดขึ้น โดยอ้างว่าหากทำแบบนั้นก็จะเข้าทางฝ่ายรัฐบาล โดยการไปเพิ่มเสียงให้กับฝ่ายตรงข้าม หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ ลงมติขับ 4 ส.ส.ออกไปจากพรรค จากกรณีโหวตสวนมติพรรคก่อนหน้านี้ ซึ่งก็เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า 4 ส.ส.ดังกล่าวของพรรคอนาคตใหม่ได้ย้ายไปสังกัดพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด
แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องพิจารณากันตามข้อมูลความเป็นจริงก็คือ เมื่อมองตามผลคะแนนของแต่ละคนแล้วย้อนไปถึงการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา เมื่อครั้งยังใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ ที่ปรากฏออกมาว่า คะแนนเลือกตั้งของพวกเขามีมากกว่า หรือสูสีกับคะแนนเลือกพรรค แน่นอนว่าก็ย่อมเข้าใจได้ว่าคนพวกนี้ “ไม่ใช่ตะเกียงไร้น้ำมัน”หรือเป็นพวกที่มา “เกาะ”กระแสพรรคหากินเพียงอย่างเดียว แต่ละคนในพื้นที่มีฐานเสียงสนับสนุนค่อนข้างหนาแน่น
**ดังนั้น หากใช้วิธีลงมติขับออกจากพรรคเหมือนกับที่พรรคอนาคตใหม่ทำกับ 4 ส.ส.ของตัวเองก่อนหน้านี้ นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้ว ตรงกันข้าม กลับไปส่งผลดีไปเพิ่มเสียงให้กับฝ่ายตรงข้ามเสียอีก และในความหมายก็คือ หากทำแบบนั้นเชื่อว่าพรรคเพื่อไทย จะต้องเสี่ยงสูญเสียที่นั่งส.ส.ในพื้นที่ในการเลือกตั้งคราวหน้า และเฉพาะหน้าก็จะไปเพิ่มเสียงให้ฝ่ายรัฐบาล โดยพวกเขายอมรับแล้วว่า เวลานี้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียง “พ้นปริ่มน้ำ”แล้ว
เพราะเมื่อรวมเสียงล่าสุดของ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่เพิ่มเข้ามาอีก 1 เสียงรวมเป็น 5 เสียง เมื่อบวกกับอดีต 4 ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ก็นับเป็น 9-10 เสียงเข้าไปแล้ว นี่ยังไม่พูดถึง 3 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ดังกล่าวที่เพิ่งโหวตหนุนร่าง งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในวาระสาม ที่เพิ่งผ่านไป
อย่างไรก็ดี หากมองให้ลึกลงไปแบบต่อเนื่องไปถึงบรรยากาศภายในพรรคเพื่อไทยเวลานี้ก็ต้องบอกว่า ค่อนข้าง“อึมครึม”เป็นอย่างมาก นั่นบรรยากาศของการแบ่งขั้ว แตกแยกกันค่อนข้างจะชัดเจน ระหว่างกลุ่มของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค และกลุ่มที่สนับสนุนร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานกรรมการด้านกิจกรรมพิเศษ แม้ว่าในความเป็นจริงยังมีอีกหลายคนที่วางตัวกลาง ไม่สังกัดฝ่ายไหนก็ตาม แต่บรรยากาศในลักษณะแบบนี้ต่อไปย่อมไม่เป็นผลดีกับพรรค รวมไปถึงการทำงานการเมืองทั้งในและนอกสภาฯ อย่างแน่นอน
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพรรคเพื่อไทยในเวลานี้ หากติดตามความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องก็ต้องยอมรับว่า สาเหตุหลักมาจากการที่ “ท่อน้ำเลี้ยง”จากคนแดนไกลไม่ไหลมานานหลายปีแล้ว เมื่อท่อน้ำไม่ไหล ความหมายก็คือ “หยุดการลงทุน” เนื่องจากลงทุนไปแล้วไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะเมื่อประเมินดูแล้วไม่ได้เป็นรัฐบาล ไม่ได้คุมอำนาจรัฐ ขณะเดียวกันยังไม่อาจเฟ้นหา“นอมินี”ที่มีศักยภาพเพียงพอหรือที่ไว้ใจได้ หลังจากหมดยุคของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพราะสิ่งที่เห็นเวลานี้ ในพรรคเพื่อไทยยังไม่มีใครที่มีบารมีเพียงพอที่จะก้าวขึ้นมานำพรรคได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะสถานะแต่ละคนไม่ต่างจาก “ลูกน้อง”ของ “นายใหญ่”ทั้งนั้น เมื่อสถานะเป็นแบบเดียวกัน มันก็ทำให้ไม่มีใครฟังใคร ลักษณะที่เห็นในเลานี้ก็คือเป็นลักษณะของการ “จับกลุ่ม”10-20 คน เคลื่อนไหวต่อรองกันเองมากกว่า
ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามคือฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำ แม้ว่าในช่วงแรกๆ อาจจะดูรวนไปบ้าง แต่หลังจากที่มีการส่ง “พี่ใหญ่”หรือ “ลุงป้อม”ลงมาคุมเกมข้างใน มีการเกลี่ยบทบาทกันอย่างค่อนข้างทั่วถึง ทำให้ลดแรงกระเพื่อมลงไปแทบจะเงียบสนิท อีกทั้งยังสามารถดึงเอา ส.ส.จากพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกขับออกมาเข้ามาเพิ่มอีก 1 เสียง รวมไปถึงสามารถบุกไปชนะเลือกตั้งซ่อมที่ขอนแก่นเข้ามาอีก
**ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพแล้วก็ค่อนข้างชัดแล้วว่า ขณะที่ฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำเริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ในทางตรงกันข้ามเมื่อมองไปทางฝากของพรรคเพื่อไทย ที่ถือว่าเคยมีศักยภาพน่าเกรงขาม แต่เวลานี้กลับลดลงเรื่อยๆ เพราะรอยแตกแยกในลักษณะต่างคนอย่างอยู่เห็นได้ชัดเจนขึ้น และเมื่อพิจารณาจากบรรดา“งูเห่า”ที่ว่าแล้ว อีกไม่นานก็จะมีให้เห็นเพิ่มเติมอีก โดยให้จับตาในศึกซักฟอกที่กำลังจะมาถึงนี่แหละ ห้ามกระพริบตา !!
ทั้งนี้ มีการระบุที่เป็นรายงานข่าวว่า สิ่งที่พรรคเพื่อไทยทำได้ก็คือ เพียงแค่การจับตามองการทำหน้าที่ของส.ส.พวกนี้อย่างใกล้ชิดเท่านั้น แม้ว่าน้ำหนักที่จะเขม้นจับตามองไปที่ ส.ส.บางคน เช่น นายขจิต ชัยนิคม ส.ส.อุดรธานี มากกว่าใครก็ตาม ขณะที่อีกสองคนที่เหลือ ตามข่าวบอกว่า มีความเข้าใจเหตุผลที่ต้องโหวตสวนมติพรรค เนื่องจากมีเรื่องของคดีความเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะจริง ไม่จริงไม่รู้
อย่างไรก็ดี มาตรการลงโทษในแบบที่ว่าขับออกจากพรรค หรือไม่ส่งลงสมัครรับเลือกตั้งในในสมัยหน้า ก็คงจะไม่เกิดขึ้น โดยอ้างว่าหากทำแบบนั้นก็จะเข้าทางฝ่ายรัฐบาล โดยการไปเพิ่มเสียงให้กับฝ่ายตรงข้าม หลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ ลงมติขับ 4 ส.ส.ออกไปจากพรรค จากกรณีโหวตสวนมติพรรคก่อนหน้านี้ ซึ่งก็เป็นที่รับรู้กันแล้วว่า 4 ส.ส.ดังกล่าวของพรรคอนาคตใหม่ได้ย้ายไปสังกัดพรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด
แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ต้องพิจารณากันตามข้อมูลความเป็นจริงก็คือ เมื่อมองตามผลคะแนนของแต่ละคนแล้วย้อนไปถึงการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา เมื่อครั้งยังใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ ที่ปรากฏออกมาว่า คะแนนเลือกตั้งของพวกเขามีมากกว่า หรือสูสีกับคะแนนเลือกพรรค แน่นอนว่าก็ย่อมเข้าใจได้ว่าคนพวกนี้ “ไม่ใช่ตะเกียงไร้น้ำมัน”หรือเป็นพวกที่มา “เกาะ”กระแสพรรคหากินเพียงอย่างเดียว แต่ละคนในพื้นที่มีฐานเสียงสนับสนุนค่อนข้างหนาแน่น
**ดังนั้น หากใช้วิธีลงมติขับออกจากพรรคเหมือนกับที่พรรคอนาคตใหม่ทำกับ 4 ส.ส.ของตัวเองก่อนหน้านี้ นอกจากไม่ได้ประโยชน์แล้ว ตรงกันข้าม กลับไปส่งผลดีไปเพิ่มเสียงให้กับฝ่ายตรงข้ามเสียอีก และในความหมายก็คือ หากทำแบบนั้นเชื่อว่าพรรคเพื่อไทย จะต้องเสี่ยงสูญเสียที่นั่งส.ส.ในพื้นที่ในการเลือกตั้งคราวหน้า และเฉพาะหน้าก็จะไปเพิ่มเสียงให้ฝ่ายรัฐบาล โดยพวกเขายอมรับแล้วว่า เวลานี้ฝ่ายรัฐบาลมีเสียง “พ้นปริ่มน้ำ”แล้ว
เพราะเมื่อรวมเสียงล่าสุดของ ส.ส.พรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่เพิ่มเข้ามาอีก 1 เสียงรวมเป็น 5 เสียง เมื่อบวกกับอดีต 4 ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ก็นับเป็น 9-10 เสียงเข้าไปแล้ว นี่ยังไม่พูดถึง 3 ส.ส.พรรคเพื่อไทย ดังกล่าวที่เพิ่งโหวตหนุนร่าง งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ในวาระสาม ที่เพิ่งผ่านไป
อย่างไรก็ดี หากมองให้ลึกลงไปแบบต่อเนื่องไปถึงบรรยากาศภายในพรรคเพื่อไทยเวลานี้ก็ต้องบอกว่า ค่อนข้าง“อึมครึม”เป็นอย่างมาก นั่นบรรยากาศของการแบ่งขั้ว แตกแยกกันค่อนข้างจะชัดเจน ระหว่างกลุ่มของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรค และกลุ่มที่สนับสนุนร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานกรรมการด้านกิจกรรมพิเศษ แม้ว่าในความเป็นจริงยังมีอีกหลายคนที่วางตัวกลาง ไม่สังกัดฝ่ายไหนก็ตาม แต่บรรยากาศในลักษณะแบบนี้ต่อไปย่อมไม่เป็นผลดีกับพรรค รวมไปถึงการทำงานการเมืองทั้งในและนอกสภาฯ อย่างแน่นอน
สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพรรคเพื่อไทยในเวลานี้ หากติดตามความเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องก็ต้องยอมรับว่า สาเหตุหลักมาจากการที่ “ท่อน้ำเลี้ยง”จากคนแดนไกลไม่ไหลมานานหลายปีแล้ว เมื่อท่อน้ำไม่ไหล ความหมายก็คือ “หยุดการลงทุน” เนื่องจากลงทุนไปแล้วไม่คุ้มค่า โดยเฉพาะเมื่อประเมินดูแล้วไม่ได้เป็นรัฐบาล ไม่ได้คุมอำนาจรัฐ ขณะเดียวกันยังไม่อาจเฟ้นหา“นอมินี”ที่มีศักยภาพเพียงพอหรือที่ไว้ใจได้ หลังจากหมดยุคของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพราะสิ่งที่เห็นเวลานี้ ในพรรคเพื่อไทยยังไม่มีใครที่มีบารมีเพียงพอที่จะก้าวขึ้นมานำพรรคได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะสถานะแต่ละคนไม่ต่างจาก “ลูกน้อง”ของ “นายใหญ่”ทั้งนั้น เมื่อสถานะเป็นแบบเดียวกัน มันก็ทำให้ไม่มีใครฟังใคร ลักษณะที่เห็นในเลานี้ก็คือเป็นลักษณะของการ “จับกลุ่ม”10-20 คน เคลื่อนไหวต่อรองกันเองมากกว่า
ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามคือฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำ แม้ว่าในช่วงแรกๆ อาจจะดูรวนไปบ้าง แต่หลังจากที่มีการส่ง “พี่ใหญ่”หรือ “ลุงป้อม”ลงมาคุมเกมข้างใน มีการเกลี่ยบทบาทกันอย่างค่อนข้างทั่วถึง ทำให้ลดแรงกระเพื่อมลงไปแทบจะเงียบสนิท อีกทั้งยังสามารถดึงเอา ส.ส.จากพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกขับออกมาเข้ามาเพิ่มอีก 1 เสียง รวมไปถึงสามารถบุกไปชนะเลือกตั้งซ่อมที่ขอนแก่นเข้ามาอีก
**ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพแล้วก็ค่อนข้างชัดแล้วว่า ขณะที่ฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐ ที่เป็นพรรคแกนนำเริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ในทางตรงกันข้ามเมื่อมองไปทางฝากของพรรคเพื่อไทย ที่ถือว่าเคยมีศักยภาพน่าเกรงขาม แต่เวลานี้กลับลดลงเรื่อยๆ เพราะรอยแตกแยกในลักษณะต่างคนอย่างอยู่เห็นได้ชัดเจนขึ้น และเมื่อพิจารณาจากบรรดา“งูเห่า”ที่ว่าแล้ว อีกไม่นานก็จะมีให้เห็นเพิ่มเติมอีก โดยให้จับตาในศึกซักฟอกที่กำลังจะมาถึงนี่แหละ ห้ามกระพริบตา !!