สถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่าง “สหรัฐฯ-อิหร่าน” ผ่อนคลายลง หลังประธานาธิบดี “โดนัลด์ ทรัมป์” อ้าง “เตหะราน” ดูเย็นลง ไม่จำเป็นต้องใช้แสนยานุภาพทหารแก้แค้นถูกถล่ม 2 ฐานทัพในอิรัก ปรับแผนแซงก์ชัน ศก.ตอบโต้ แต่ยังยืนยันความชอบธรรมสังหาร “โซไลมานี” ขณะที่ “รบ.เตหะราน” ยังนิ่ง ด้าน “ฝ่ายค้านไทย” ใช้เวทีงบประมาณฯ สับ "ดอน" รู้ล่วงหน้าสหรัฐฯ โจมตีนายพลอิหร่าน ชักศึกเข้าบ้าน ควรปรับออกจาก ครม.
เมื่อวันที่ 8 ม.ค. (ตามเวลาท้องถิ่นประเทศสหรัฐอเมริกา) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้แถลงการณ์ผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลกระบุว่า ไม่มีพลเมืองอเมริกันได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของอิหร่านด้วยขีปนาวุธ 16 ลูกต่อฐานทัพของสหรัฐฯ 2 แห่งในอิรัก เมื่อช่วงเช้าตรู่วันเดียวกัน และแม้ว่าสหรัฐฯจะมีกองทัพที่มีแสนยานุภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะใช้อาวุธเหล่านั้นเพื่อตอบโต้อิหร่าน พร้อมระบุด้วยว่า เตหะรานมีท่าทีสงบลง ซึ่งถือเป็นผลดีสำหรับทุกฝ่าย และบอกไปยังผู้นำและประชาชนอิหร่านว่า อยากเห็นอิหร่านมีอนาคตที่ดี มีสันติภาพ และทำงานร่วมกับสหประชาติด้วยดี
ทั้งนี้ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ส่งสัญญาณตอบโต้ด้วยการแซงก์ชันทางเศรษฐกิจระลอกใหม่ทันที เพื่อตอบโต้ความก้าวร้าวของอิหร่าน โดยเรียกร้องให้ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี จีน รัสเซีย รวมถึง NATO เข้ามาร่วมกดดันอิหร่าน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และย้ำด้วยว่าสหรัฐฯไม่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลางอีกต่อไป
นอกจากนี้แถลงการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นการเรียกร้องสันติภาพ แต่ทรัมป์ประกาศว่า จะไม่ยอมให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์เด็ดขาด ในขณะที่เป็นผู้นำสหรัฐฯ
ส่วนกรณีที่สหรัฐฯปลิดชีพ นายพลกาเซ็ม โซไลมานี ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ของอิหร่าน เมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ผู้นำสหรัฐฯยืนยันว่า เป็นมาตรการจัดการกับบุคคลที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในตะวันออกกลาง และอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารชาวอเมริกัน รวมถึงการบุกสถานทูตสหรัฐฯในอิรัก
“โซไลมานีถือเป็นผู้ก่อการร้าย ที่สมควรถูกปลิดชีพมานานแล้ว” ทรัมป์ ระบุยืนกราน
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังแถลงการณ์ของผู้นำสหรัฐฯ ทำให้สถานการณ์การเผชิญหน้าที่ดูเหมือนไร้การควบคุมกลับผ่อนคลายลง ขณะเดียวกัน รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ ให้สัมภาษณ์ในรายการซีบีเอส อีฟนิ่ง นิวส์ว่า ได้รับข้อมูลข่าวกรองว่า อิหร่านส่งข้อความให้กองกำลังที่สวามิภักดิ์ระงับการโจมตีผลประโยชน์หรือพลเมืองอเมริกัน
ทางด้านอิหร่านยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการปราศรัยของทรัมป์ ทว่า ก่อนหน้านั้น อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านที่ก่อนหน้านี้ให้คำมั่นว่า จะล้างแค้นให้โซไลมานี ปราศรัยต่อประชาชนโดยระบุว่า การโจมตีฐานทัพอากาศเอน อัล-อาซัดและฐานทัพอีกแห่งของสหรัฐฯ ในอิรัก เป็นการตบหน้าวอชิงตัน พร้อมส่งสัญญาณว่า การโจมตียังไม่จบเพียงเท่านั้น
ขณะที่ มาจิด ตักต์ ราวานชี เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำสหประชาชาติ ได้ส่งจดหมายถึงอันโตนิโอ กูเตียเรส เลขาธิการยูเอ็น ยืนยันว่า การโจมตีของอิหร่านมีความแม่นยำและพุ่งเป้าหมายที่ผลประโยชน์ทางทหารเท่านั้น จึงไม่ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อพลเรือนและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณนั้นแต่อย่างใด
“อิหร่านยังคงมุ่งมั่นในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่ต้องการให้สถานการณ์ลุกลามกลายเป็นสงคราม” ราวานซี ระบุ
อีกด้าน วานนี้ (9 ม.ค.) ที่รัฐสภาไทย มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 วาระที่ 2 และ 3 โดยในช่วงมาตรา 10 งบฯรายจ่ายของกระทรวงการต่างประเทศ วงเงิน 5,134 ล้านบาท ส.ส.ฝ่ายค้านหลายราย อาทิ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ได้อภิปรายว่าไม่สามารถไว้วางใจให้ นายดอน ปรมัติวินัย รมว.ต่างประเทศ ให้ใช้งบฯปฏิบัติภารกิจได้ เนื่องจากไม่มีวุฒิภาวะ กรณีระบุว่า รับทราบสัญญาณล่วงหน้าก่อน 1 วัน ที่สหรัฐฯ จะโจมตีนายพลระดับสูงของอิหร่าน ซึ่งเสี่ยงที่จะดึงประเทศไทยเข้าสู่ความขัดแย้ง
“รมว.การต่างประเทศ จึงไม่สมควรปฏิบัติหน้าที่ และหากไม่ลาออก นายกฯ ก็ควรพิจารณาปรับออกจากครม.” นายจุลพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ จึงเตือนสมาชิกขอให้อภิปรายเรื่องงบประมาณ ส่วนพฤติกรรมของรัฐมนตรี ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง แต่อย่าถึงขั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เมื่อวันที่ 8 ม.ค. (ตามเวลาท้องถิ่นประเทศสหรัฐอเมริกา) นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้แถลงการณ์ผ่านการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วโลกระบุว่า ไม่มีพลเมืองอเมริกันได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีของอิหร่านด้วยขีปนาวุธ 16 ลูกต่อฐานทัพของสหรัฐฯ 2 แห่งในอิรัก เมื่อช่วงเช้าตรู่วันเดียวกัน และแม้ว่าสหรัฐฯจะมีกองทัพที่มีแสนยานุภาพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะใช้อาวุธเหล่านั้นเพื่อตอบโต้อิหร่าน พร้อมระบุด้วยว่า เตหะรานมีท่าทีสงบลง ซึ่งถือเป็นผลดีสำหรับทุกฝ่าย และบอกไปยังผู้นำและประชาชนอิหร่านว่า อยากเห็นอิหร่านมีอนาคตที่ดี มีสันติภาพ และทำงานร่วมกับสหประชาติด้วยดี
ทั้งนี้ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ส่งสัญญาณตอบโต้ด้วยการแซงก์ชันทางเศรษฐกิจระลอกใหม่ทันที เพื่อตอบโต้ความก้าวร้าวของอิหร่าน โดยเรียกร้องให้ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี จีน รัสเซีย รวมถึง NATO เข้ามาร่วมกดดันอิหร่าน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และย้ำด้วยว่าสหรัฐฯไม่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำมันจากตะวันออกกลางอีกต่อไป
นอกจากนี้แถลงการณ์ที่ดูเหมือนจะเป็นการเรียกร้องสันติภาพ แต่ทรัมป์ประกาศว่า จะไม่ยอมให้อิหร่านมีอาวุธนิวเคลียร์เด็ดขาด ในขณะที่เป็นผู้นำสหรัฐฯ
ส่วนกรณีที่สหรัฐฯปลิดชีพ นายพลกาเซ็ม โซไลมานี ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษคุดส์ของอิหร่าน เมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมานั้น ผู้นำสหรัฐฯยืนยันว่า เป็นมาตรการจัดการกับบุคคลที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในตะวันออกกลาง และอยู่เบื้องหลังการลอบสังหารชาวอเมริกัน รวมถึงการบุกสถานทูตสหรัฐฯในอิรัก
“โซไลมานีถือเป็นผู้ก่อการร้าย ที่สมควรถูกปลิดชีพมานานแล้ว” ทรัมป์ ระบุยืนกราน
รายงานข่าวแจ้งว่า หลังแถลงการณ์ของผู้นำสหรัฐฯ ทำให้สถานการณ์การเผชิญหน้าที่ดูเหมือนไร้การควบคุมกลับผ่อนคลายลง ขณะเดียวกัน รองประธานาธิบดีไมค์ เพนซ์ ให้สัมภาษณ์ในรายการซีบีเอส อีฟนิ่ง นิวส์ว่า ได้รับข้อมูลข่าวกรองว่า อิหร่านส่งข้อความให้กองกำลังที่สวามิภักดิ์ระงับการโจมตีผลประโยชน์หรือพลเมืองอเมริกัน
ทางด้านอิหร่านยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการปราศรัยของทรัมป์ ทว่า ก่อนหน้านั้น อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านที่ก่อนหน้านี้ให้คำมั่นว่า จะล้างแค้นให้โซไลมานี ปราศรัยต่อประชาชนโดยระบุว่า การโจมตีฐานทัพอากาศเอน อัล-อาซัดและฐานทัพอีกแห่งของสหรัฐฯ ในอิรัก เป็นการตบหน้าวอชิงตัน พร้อมส่งสัญญาณว่า การโจมตียังไม่จบเพียงเท่านั้น
ขณะที่ มาจิด ตักต์ ราวานชี เอกอัครราชทูตอิหร่านประจำสหประชาชาติ ได้ส่งจดหมายถึงอันโตนิโอ กูเตียเรส เลขาธิการยูเอ็น ยืนยันว่า การโจมตีของอิหร่านมีความแม่นยำและพุ่งเป้าหมายที่ผลประโยชน์ทางทหารเท่านั้น จึงไม่ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อพลเรือนและทรัพย์สินของประชาชนในบริเวณนั้นแต่อย่างใด
“อิหร่านยังคงมุ่งมั่นในการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่ต้องการให้สถานการณ์ลุกลามกลายเป็นสงคราม” ราวานซี ระบุ
อีกด้าน วานนี้ (9 ม.ค.) ที่รัฐสภาไทย มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 วาระที่ 2 และ 3 โดยในช่วงมาตรา 10 งบฯรายจ่ายของกระทรวงการต่างประเทศ วงเงิน 5,134 ล้านบาท ส.ส.ฝ่ายค้านหลายราย อาทิ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ได้อภิปรายว่าไม่สามารถไว้วางใจให้ นายดอน ปรมัติวินัย รมว.ต่างประเทศ ให้ใช้งบฯปฏิบัติภารกิจได้ เนื่องจากไม่มีวุฒิภาวะ กรณีระบุว่า รับทราบสัญญาณล่วงหน้าก่อน 1 วัน ที่สหรัฐฯ จะโจมตีนายพลระดับสูงของอิหร่าน ซึ่งเสี่ยงที่จะดึงประเทศไทยเข้าสู่ความขัดแย้ง
“รมว.การต่างประเทศ จึงไม่สมควรปฏิบัติหน้าที่ และหากไม่ลาออก นายกฯ ก็ควรพิจารณาปรับออกจากครม.” นายจุลพันธ์ กล่าว
ทั้งนี้ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ จึงเตือนสมาชิกขอให้อภิปรายเรื่องงบประมาณ ส่วนพฤติกรรมของรัฐมนตรี ก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง แต่อย่าถึงขั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจ