"วิษณุ" ปัดได้งบฯลับเดือนละล้าน ยันรัฐบาลไหนก็ไม่มี แจงเป็น “งบภูมิภาค” ให้รองนายกฯทุกคนจัดสรรลงท้องถิ่น “ปชป.” เสนอควบรวม “ก.ท่องเที่ยว-วัฒนธรรม” แยก “กีฬา” ต่างหาก “ฝ่ายค้าน” โวย พอช.สร้างบ้านมั่นคง ผลักภาระดอกเบี้ยให้ประชาชน
จากกรณีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 วาระที่ 2-3 ซึ่ง นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายขอลดงบประมาณกระทรวงกลาโหม พร้อมตั้งคำถามถึง การจัดสรรงบลับในกระทรวงให้กับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ที่ดูแลงานด้านกฎหมาย และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ เดือนละ 1 ล้านบาท นั้น
วานนี้ (9 ม.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ไม่เคยมีงบฯลับ นอกจากงบฯที่จัดให้รองนายกฯทุกท่าน ที่ไปดูแลพื้นที่ที่กำกับดูแล ซึ่งเรียกว่างบฯภูมิภาคพื้นที่ และไม่ได้มอบให้ตัวบุคคล เป็นงบฯที่ตั้งไว้ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ เพียงแต่ในพื้นที่ต้องการก็จะแจ้งมา จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการ โดยรองนายกฯ แต่ละท่าน จะจัดสรรให้ตามที่จังหวัดร้องขอมา และส่งเรื่องไปที่สำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นต้องให้ผู้ตรวจราชการไปดูในพื้นที่ถึงความจำเป็น โดยประสานกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ และหากในจังหวัดสมทบให้ครึ่งหนึ่ง ทางรองนายกฯ จะจัดสรรอีกครึ่งหนึ่ง ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่จำเป็น ถ้าไปรองบฯปกติ บางทีก็ล่าช้า จึงต้องใช้งบฯ ส่วนนี้แทน โดยห้ามใช้ผิดประเภท เช่นนำไปดูงาน เป็นต้น
"ยืนยันที่ระบุว่าให้เป็นเงินเดือน เดือนละ 1 ล้านบาทนั้นไม่เป็นความจริง ไม่เคยมีตั้งแต่ไหนแต่ไร รัฐบาลไหนก็ไม่เคยมี สักบาทนึงก็ไม่มี" นายวิษณุ กล่าว
“เทพไท” แนะแยกตั้ง ก.กีฬา
วันเดียวกัน มีการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 เป็นวันที่ 2 โดยในมาตรา 11 งบฯกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา วงเงิน 3,551 ล้านบาท นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอขอปรับลดลง 10% ของยอดงบฯ ด้วยเหตุผลการจัดงบฯ ไม่มีแผนงานรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งมรดกโลก แม้ว่ากระทรวงการท่องเที่ยวฯได้รับงบฯ เพียง 3,551 ล้านบาท นับว่าน้อยมาก ถ้าเปรียบภารกิจของกระทรวงใน 2 ด้าน คือ การท่องเที่ยว และด้านการกีฬา ซึ่งเป็นกระทรวงเดียวที่มีลักษณะงาน และภารกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงได้เสนอให้มีการแบ่งแยกกระทรวง หรือจัดตั้งกระทรวงใหม่ โดยเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรมควบรวมกับการท่องเที่ยว เป็นกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และตั้งเป็นกระทรวงการกีฬาขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อจะได้ให้การบริหารงานกระทรวงนั้นๆ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามภาระกิจของกระทรวงอย่างแท้จริง จึงขอเสนอให้รัฐบาลชุดนี้ นำไปพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมใหม่
โวย พอช.ซุกดอกเบี้ยให้ ปชช.แบก
ต่อมาในมาตรา 12 งบฯรายจ่ายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วงเงิน 17,898 ล้านบาท โดยนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กมธ.เสียงข้างน้อย อภิปรายเสนอปรับลดงบฯ ร้อยละ 15 โดย ตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติในการตั้งวงเงิน โดยเทียบกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปี 61 จำนวน 8.38 ล้านคน วงเงิน 66,407 ล้านบาท ซึ่งพบว่าสูงกว่างบฯทั้งกระทรวงที่เสนอในปี 63 หลายเท่าตัว และยังมีกรณีเด็กผู้มีสิทธิ แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ ตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กว่า 5 แสนคน รวมวงเงิน 4,563 ล้านบาท
ขณะที่ นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย อภิปรายตั้งข้อสังเกตถึงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และมีพันธกิจให้การช่วยเหลือเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อให้กับองค์กรชุมชน เพื่อทำบ้านมั่นคง แต่กลับทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี และบุคลากรที่เข้าไปดำเนินการ ยังไม่ค่อยมีความพร้อมเข้าไปดูแล สร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับประชาชน โดยปีนี้ จะดำเนินการบ้านมั่นคงริมคลองเปรมประชากร วงเงิน 900 กว่าล้านบาท แต่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ตอบรับ เพราะไม่อยากแบกรับภาระหนี้สินที่อยู่อาศัยใหม่
จากกรณีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 วาระที่ 2-3 ซึ่ง นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ได้อภิปรายขอลดงบประมาณกระทรวงกลาโหม พร้อมตั้งคำถามถึง การจัดสรรงบลับในกระทรวงให้กับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ที่ดูแลงานด้านกฎหมาย และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ เดือนละ 1 ล้านบาท นั้น
วานนี้ (9 ม.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า ไม่เคยมีงบฯลับ นอกจากงบฯที่จัดให้รองนายกฯทุกท่าน ที่ไปดูแลพื้นที่ที่กำกับดูแล ซึ่งเรียกว่างบฯภูมิภาคพื้นที่ และไม่ได้มอบให้ตัวบุคคล เป็นงบฯที่ตั้งไว้ อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ เพียงแต่ในพื้นที่ต้องการก็จะแจ้งมา จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการ โดยรองนายกฯ แต่ละท่าน จะจัดสรรให้ตามที่จังหวัดร้องขอมา และส่งเรื่องไปที่สำนักนายกรัฐมนตรี จากนั้นต้องให้ผู้ตรวจราชการไปดูในพื้นที่ถึงความจำเป็น โดยประสานกับทางผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ และหากในจังหวัดสมทบให้ครึ่งหนึ่ง ทางรองนายกฯ จะจัดสรรอีกครึ่งหนึ่ง ซึ่งโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่จำเป็น ถ้าไปรองบฯปกติ บางทีก็ล่าช้า จึงต้องใช้งบฯ ส่วนนี้แทน โดยห้ามใช้ผิดประเภท เช่นนำไปดูงาน เป็นต้น
"ยืนยันที่ระบุว่าให้เป็นเงินเดือน เดือนละ 1 ล้านบาทนั้นไม่เป็นความจริง ไม่เคยมีตั้งแต่ไหนแต่ไร รัฐบาลไหนก็ไม่เคยมี สักบาทนึงก็ไม่มี" นายวิษณุ กล่าว
“เทพไท” แนะแยกตั้ง ก.กีฬา
วันเดียวกัน มีการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ 2563 เป็นวันที่ 2 โดยในมาตรา 11 งบฯกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา วงเงิน 3,551 ล้านบาท นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอขอปรับลดลง 10% ของยอดงบฯ ด้วยเหตุผลการจัดงบฯ ไม่มีแผนงานรองรับการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งมรดกโลก แม้ว่ากระทรวงการท่องเที่ยวฯได้รับงบฯ เพียง 3,551 ล้านบาท นับว่าน้อยมาก ถ้าเปรียบภารกิจของกระทรวงใน 2 ด้าน คือ การท่องเที่ยว และด้านการกีฬา ซึ่งเป็นกระทรวงเดียวที่มีลักษณะงาน และภารกิจที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงได้เสนอให้มีการแบ่งแยกกระทรวง หรือจัดตั้งกระทรวงใหม่ โดยเสนอให้กระทรวงวัฒนธรรมควบรวมกับการท่องเที่ยว เป็นกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว และตั้งเป็นกระทรวงการกีฬาขึ้นมาเป็นการเฉพาะ เพื่อจะได้ให้การบริหารงานกระทรวงนั้นๆ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามภาระกิจของกระทรวงอย่างแท้จริง จึงขอเสนอให้รัฐบาลชุดนี้ นำไปพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมใหม่
โวย พอช.ซุกดอกเบี้ยให้ ปชช.แบก
ต่อมาในมาตรา 12 งบฯรายจ่ายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วงเงิน 17,898 ล้านบาท โดยนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กมธ.เสียงข้างน้อย อภิปรายเสนอปรับลดงบฯ ร้อยละ 15 โดย ตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติในการตั้งวงเงิน โดยเทียบกับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปี 61 จำนวน 8.38 ล้านคน วงเงิน 66,407 ล้านบาท ซึ่งพบว่าสูงกว่างบฯทั้งกระทรวงที่เสนอในปี 63 หลายเท่าตัว และยังมีกรณีเด็กผู้มีสิทธิ แต่ยังไม่ได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ ตามโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด กว่า 5 แสนคน รวมวงเงิน 4,563 ล้านบาท
ขณะที่ นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย อภิปรายตั้งข้อสังเกตถึงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับผู้มีรายได้น้อย โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย และมีพันธกิจให้การช่วยเหลือเกี่ยวกับการเงินและสินเชื่อให้กับองค์กรชุมชน เพื่อทำบ้านมั่นคง แต่กลับทำให้ประชาชนต้องแบกรับภาระในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี และบุคลากรที่เข้าไปดำเนินการ ยังไม่ค่อยมีความพร้อมเข้าไปดูแล สร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจให้กับประชาชน โดยปีนี้ จะดำเนินการบ้านมั่นคงริมคลองเปรมประชากร วงเงิน 900 กว่าล้านบาท แต่ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้ตอบรับ เพราะไม่อยากแบกรับภาระหนี้สินที่อยู่อาศัยใหม่