ผู้จัดการรายวัน360- “สมคิด” มอบนโยบาย”สกพอ.”เร่งประสานทุกส่วนขับเคลื่อนอีอีซีให้เป็นไปตามเป้าหมายจี้สรุป 5 โครงสร้างพื้นฐานให้ได้เอกชนภายในไตรมาสแรกและเห็นเม็ดเงินทยอยลงทุนในปีนี้ มุ่งสรุปเมืองใหม่อัจฉริยะฉะเชิงเทราต้องให้เห็นปีนี้สู่เมืองการเงินโดยทั้งหมดมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากควบคู่ไปด้วยเพื่อเป้าหมายลดผู้มีรายได้น้อยใน 3 จ.อีอีซีให้หมดใน 3 ปี “คณิศ”เผยปี ’62 ลงทุนจริงในอีอีซีทะลุ 4 แสนล้าน ลั่นปีนี้ไม่น้อยกว่า 3 แสนล้านบาทดันจีดีพี 1.5%
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมมอบนโยบายการดำเนินงานโครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ปี 2563 ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ว่า ได้มอบหมายให้เร่งรัดการลงทุนในพื้นที่อีอีซีให้เป็นไปตามแผนงานโดยเฉพาะ 5 โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเห็นเม็ดเงินลงทุนในไตรมาส 4 ปีนี้ และเน้นเป็นพิเศษที่จะให้เห็นโครงการเมืองใหม่อัจฉริยะของอีอีซี ที่จ.ฉะเชิงทราชัดเจนในปีนี้และเหนือสิ่งอื่นใดการขับเคลื่อนอีอีซีทั้งหมดต้องให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่จลดจำนวนผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่อีอีซี (ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี) ให้หมดภายใน 3 ปี
“5 โครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานจะได้รายชื่อเอกชนชนะประมูลครบในไตรมาส 1 และเม็ดเงินลงทุน 6.5 แสนล้านบาทที่วางเป้าหมาย 5 ปีก็น่าจะทยอยเข้ามาในปีนี้ให้ได้ก่อนเบื้องต้นก็จะได้แสนกว่าล้านบาท"นายสมคิดกล่าว
สำหรับเมืองใหม่อัจฉริยะ จ.ฉะเชิงเทรา นายกรัฐมนตรีเองต้องการให้เร่งดำเนินการเพื่อที่จะรองรับการพัฒนาโดยต้องการให้เห็นเมืองใหม่อัจฉริยะ(สมาร์ทซิตี้)ที่จ.ฉะเชิงเทราที่ดำเนินการโดยอีอีซีโดยต้องการเห็นกรอบการทำงานภายในไตรมาสแรกและให้เห็นร่างเงื่อนไขสัญญาซึ่งจะเป็นรูปแบบการลงทุนแบบ PPP อย่างก็ตามสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาอีอีซีทั้หงมดจะต้องมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากโดยมีเป้าหมายยกระดับรายได้ให้กับชุมชนใน 3 จังหวัดอีอีซีให้หลุดพ้นผู้มีรายได้น้อยภายใน 3 ปี
“การสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือเศรษฐกิจฐานรากให้กับ 3 จังหวัดอีอีซี(ฉะเชิงเทรา ระยองชลบุรี) โดยนำเอาการท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) โดยทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ที่ต้องดึงเอกชนช่วยพัฒนาด้วยเช่น เกษตรแปรรูปและการท่องเที่ยวเมืองรอง รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับโรงไฟฟ้าชุมชนของกระทรวงพลังงาน ขณะเดียวกันจะเร่งบมจ.ปตท.ให้ดำเนินการโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก(EFC )ให้เกิดให้ได้ในพื้นที่ระยอง และทำให้ปตท.นั้นมียุทธศาสตร์ที่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือชุมชนให้มากขึ้น และยังมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ไปพิจารณาทำแผนพื้นที่อื่นๆเช่น ภาคใต้(SEC ) และภาคเหนือ (NEC ) ด้วย" นายสมคิดกล่าว
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสกพอ. กล่าวว่า ปี 2562 ที่ผ่านมามีการลงทุนจริงในพื้นที่อีอีซี ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล รวม 404,982 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นลงทุนในนิคมฯ 323,506 ล้านบาท นอกนิคมฯ 68,134 ล้านบาทรวมเป็น 391,640 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินลงทุนของภาคเอกชน ที่เหลือเป็นเงินลงทุนของรัฐอีก 13,342 ล้านบาทและคาดว่าในปี 2563 จะมีเม็ดเงินลงทุนในอีอีซีรวมไม่น้อยไปกว่า 3 00,000 ล้านบาทที่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นจีดีพี 1.5%
“โครงสร้างพื้นฐานเฉพาะปี 2563 เราคาดหวังว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจริงได้ราวกว่า แสนล้านบาทที่เหลือก็เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล และพบว่าในปี 2560-62 มีมูลค่าการลงทุนจริงในพื้นที่อีอีซีทั้งจากรัฐและเอกชนใน 12 อุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลรวม 1.2 ล้านล้านบาท” นายคณิศกล่าว
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมมอบนโยบายการดำเนินงานโครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ปี 2563 ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ว่า ได้มอบหมายให้เร่งรัดการลงทุนในพื้นที่อีอีซีให้เป็นไปตามแผนงานโดยเฉพาะ 5 โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องเห็นเม็ดเงินลงทุนในไตรมาส 4 ปีนี้ และเน้นเป็นพิเศษที่จะให้เห็นโครงการเมืองใหม่อัจฉริยะของอีอีซี ที่จ.ฉะเชิงทราชัดเจนในปีนี้และเหนือสิ่งอื่นใดการขับเคลื่อนอีอีซีทั้งหมดต้องให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่จลดจำนวนผู้มีรายได้น้อยในพื้นที่อีอีซี (ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี) ให้หมดภายใน 3 ปี
“5 โครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 สนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานจะได้รายชื่อเอกชนชนะประมูลครบในไตรมาส 1 และเม็ดเงินลงทุน 6.5 แสนล้านบาทที่วางเป้าหมาย 5 ปีก็น่าจะทยอยเข้ามาในปีนี้ให้ได้ก่อนเบื้องต้นก็จะได้แสนกว่าล้านบาท"นายสมคิดกล่าว
สำหรับเมืองใหม่อัจฉริยะ จ.ฉะเชิงเทรา นายกรัฐมนตรีเองต้องการให้เร่งดำเนินการเพื่อที่จะรองรับการพัฒนาโดยต้องการให้เห็นเมืองใหม่อัจฉริยะ(สมาร์ทซิตี้)ที่จ.ฉะเชิงเทราที่ดำเนินการโดยอีอีซีโดยต้องการเห็นกรอบการทำงานภายในไตรมาสแรกและให้เห็นร่างเงื่อนไขสัญญาซึ่งจะเป็นรูปแบบการลงทุนแบบ PPP อย่างก็ตามสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาอีอีซีทั้หงมดจะต้องมุ่งเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากโดยมีเป้าหมายยกระดับรายได้ให้กับชุมชนใน 3 จังหวัดอีอีซีให้หลุดพ้นผู้มีรายได้น้อยภายใน 3 ปี
“การสร้างรายได้ให้กับชุมชนหรือเศรษฐกิจฐานรากให้กับ 3 จังหวัดอีอีซี(ฉะเชิงเทรา ระยองชลบุรี) โดยนำเอาการท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี) โดยทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ที่ต้องดึงเอกชนช่วยพัฒนาด้วยเช่น เกษตรแปรรูปและการท่องเที่ยวเมืองรอง รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับโรงไฟฟ้าชุมชนของกระทรวงพลังงาน ขณะเดียวกันจะเร่งบมจ.ปตท.ให้ดำเนินการโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก(EFC )ให้เกิดให้ได้ในพื้นที่ระยอง และทำให้ปตท.นั้นมียุทธศาสตร์ที่จะต้องเข้ามาช่วยเหลือชุมชนให้มากขึ้น และยังมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ไปพิจารณาทำแผนพื้นที่อื่นๆเช่น ภาคใต้(SEC ) และภาคเหนือ (NEC ) ด้วย" นายสมคิดกล่าว
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสกพอ. กล่าวว่า ปี 2562 ที่ผ่านมามีการลงทุนจริงในพื้นที่อีอีซี ทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล รวม 404,982 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นลงทุนในนิคมฯ 323,506 ล้านบาท นอกนิคมฯ 68,134 ล้านบาทรวมเป็น 391,640 ล้านบาทซึ่งเป็นเงินลงทุนของภาคเอกชน ที่เหลือเป็นเงินลงทุนของรัฐอีก 13,342 ล้านบาทและคาดว่าในปี 2563 จะมีเม็ดเงินลงทุนในอีอีซีรวมไม่น้อยไปกว่า 3 00,000 ล้านบาทที่จะมีส่วนช่วยกระตุ้นจีดีพี 1.5%
“โครงสร้างพื้นฐานเฉพาะปี 2563 เราคาดหวังว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนจริงได้ราวกว่า แสนล้านบาทที่เหลือก็เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายและอุตสาหกรรมบริการดิจิทัล และพบว่าในปี 2560-62 มีมูลค่าการลงทุนจริงในพื้นที่อีอีซีทั้งจากรัฐและเอกชนใน 12 อุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมบริการดิจิทัลรวม 1.2 ล้านล้านบาท” นายคณิศกล่าว