ผู้จัดการรายวัน360-"วีรศักดิ์"ลั่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากต่อในปี 63 ลุยเพิ่มเงินในกระเป๋าให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น ผู้ผลิตสินค้าชุมชน เกษตรกร ตั้งเป้าพัฒนาร้านค้าปลีกรายย่อยเป็นสมาร์ทโชว์ห่วย 3 หมื่นราย ดันสินค้าชุมชน โอทอป เข้าไปจำหน่ายในแพลตฟอร์มออนไลน์และสนามบินเพิ่มขึ้น เร่งขึ้นทะเบียนสินค้า GI เป้าหมาย 18 สินค้าจาก 17 จังหวัด ช่วยเกษตรกร ผู้ประกอบการใช้เอฟทีเอสร้างโอกาสส่งออก ย้ำปี 63 จดธุรกิจง่ายขึ้นอีก ยื่นครั้งเดียวได้ 3 อย่าง ตั้งบริษัท ขึ้นทะเบียนนายจ้าง จดภาษีมูลค่าเพิ่ม
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในปี 2563 ว่า จะเดินหน้าเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น ผู้ผลิตสินค้าชุมชน เกษตรกร โดยใช้กลไกการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพราะหากช่วยให้เศรษฐกิจในระดับฐานรากมีการเติบโต ก็จะช่วยสร้างความกินดี อยู่ดี ให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ และจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ แนวทางการเพิ่มรายได้ จะเดินหน้าผลักดัน “ร้านโชวห่วย” ให้เป็น “สมาร์ทโชวห่วย” โดยที่ผ่านมา ได้เข้าไปช่วยเหลือปรับปรุงร้านค้าให้ทันสมัย จัดหาสินค้าราคาประหยัดให้ ทำการเชื่อมโยงสินค้าชุมชนเข้าไปจำหน่าย นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ และดึงสถาบันการเงินมาช่วยสนับสนุนด้านสินเชื่อ ซึ่งได้ดำเนินการไปพัฒนาไปแล้วกว่า 10,000 ร้านค้าทั่วประเทศ และตั้งเป้าหมายในปี 2563 จะเพิ่มจำนวนเป็น 30,000 รายทั่วประเทศ
ขณะเดียวกัน จะหาทางเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกร รวมถึงนักศึกษา โดยในด้านออนไลน์ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการเร่งขยายช่องทางการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Lazada , Shopee และอี-มาร์เก็ตเพลสอื่นๆ เพิ่มึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่วนด้านออฟไลน์ จะเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสทางการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP Select โดยร่วมกับบริษัท คิง เพาเวอร์ แท็กซ์ฟรี จำกัด คัดเลือกผลิตภัณฑ์ OTOP Select ที่มีศักยภาพขึ้นจำหน่ายในร้านค้าบนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และภูเก็ต ซึ่งที่ผ่านมา มียอดจำหน่ายรวมกว่า 500 ล้านบาท และมั่นใจว่ายอดจำหน่ายจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีแผนขยายร้านค้าไปยังท่าอากาศยานเชียงใหม่ และอู่ตะเภาเพิ่มเติม
ส่วนการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตร และผู้ผลิตสินค้าชุมชน จะผลักดันการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ให้มีจำนวนครบทุกจังหวัด หรือ 1 จังหวัด 1 สินค้า GI ซึ่งขณะนี้กำลังทำใกล้สำเร็จแล้ว และยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ในปี 2563 ให้ได้เพิ่มขึ้นอีก มีเป้าหมาย 18 สินค้าจาก 17 จังหวัด ได้แก่ โอ่งมังกรราชบุรี , ข้าวขาวกอเดียวพิจิตร , ผ้าหม้อห้อมแพร่ , ลูกหยียะรัง ปัตตานี , ส้มโอทองดีบ้านแท่น ชัยภูมิ , กระเทียมศรีสะเกษ , หอมแดงศรีสะเกษ , พริกไทยจันท์ , เงาะทองผาภูมิ กาญจนบุรี , ข้าวหอมมะลิพะเยา , กลองเอกราช อ่างทอง , ข้าวไร่ดอกข่าพังงา , กล้วยตากสังคม หนองคาย, ทุเรียนชะนีเกาะช้าง ตราด , กาแฟดอยป่าแป๋ลำพูน , สับปะรดบึงกาฬ , ส้มจุกจะนะ สงขลา และกล้วยหอมทองปทุม ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมกับการส่งเสริมสินค้า GI ในต่างประเทศ โดยจะนำสินค้า GI จำนวน 5 รายการ ได้แก่ ทุเรียนปราจีนบุรี และมะพร้าวน้ำหอมราชบุรี ไปจด GI ที่จีน เพราะเป็นสินค้าที่ชาวจีนนิยมบริโภค และข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ไปจด GI ที่มาเลเซีย
นอกจากนี้ จะหาทางช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการชุมชน โดยใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้า ซึ่งจะดำเนินการเพิ่มเติม หลังจากปี 2562 ได้ผลักดันผลิตภัณฑ์โคนม โคเนื้อ เจาะตลาดจีน สิงคโปร์ และประเทศเพื่อนบ้านได้แล้ว โดยจะมีการลงพื้นที่ผลักดันสินค้าเกษตรและเกษตรกแปรรูออกสู่ตลาดโลกโดยใช้เอฟทีเอต่อในปี 2563 จะลงพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย เช่น นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ ตาก ชัยภูมิ ระยอง ตราด สงขลา และกระบี่ เป็นต้น
สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน จะลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับท้องถิ่น เพื่อผลักดันให้สินค้าเปิดตัวออกสู่ตลาดต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น และยังจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้มีช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
นายวีรศักดิ์กล่าวว่า ในด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) จะผลักดันให้มีการนำหลักประกันทางธุรกิจมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทางธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยจะเข้าไปช่วยให้ความรู้กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในการปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นหลักประกันในการประเมินขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ยังจะเร่งพัฒนาระบบการให้บริการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อให้มีความง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยกำลังจะเปิดให้บริการการจดทะเบียนธุรกิจแบบทรีอินวัน หรือยื่นครั้งเดียว จดได้ 3 อย่าง ตั้งแต่จดตั้งบริษัท ขึ้นทะเบียนนายจ้างลูกจ้าง และจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจสามารถจดได้ทั้งหมดตั้งแต่การยื่นจดทะเบียนที่หน่วยให้บริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ โดยกำหนดจะให้บริการตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นไป
นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงแผนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในปี 2563 ว่า จะเดินหน้าเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น ผู้ผลิตสินค้าชุมชน เกษตรกร โดยใช้กลไกการทำงานของกระทรวงพาณิชย์ในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง เพราะหากช่วยให้เศรษฐกิจในระดับฐานรากมีการเติบโต ก็จะช่วยสร้างความกินดี อยู่ดี ให้กับประชาชน ผู้ประกอบการ และจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้ แนวทางการเพิ่มรายได้ จะเดินหน้าผลักดัน “ร้านโชวห่วย” ให้เป็น “สมาร์ทโชวห่วย” โดยที่ผ่านมา ได้เข้าไปช่วยเหลือปรับปรุงร้านค้าให้ทันสมัย จัดหาสินค้าราคาประหยัดให้ ทำการเชื่อมโยงสินค้าชุมชนเข้าไปจำหน่าย นำระบบเทคโนโลยีมาใช้ และดึงสถาบันการเงินมาช่วยสนับสนุนด้านสินเชื่อ ซึ่งได้ดำเนินการไปพัฒนาไปแล้วกว่า 10,000 ร้านค้าทั่วประเทศ และตั้งเป้าหมายในปี 2563 จะเพิ่มจำนวนเป็น 30,000 รายทั่วประเทศ
ขณะเดียวกัน จะหาทางเพิ่มช่องทางการจำหน่ายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ให้กับผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน เอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อย เกษตรกร รวมถึงนักศึกษา โดยในด้านออนไลน์ จะผลักดันให้ผู้ประกอบการเร่งขยายช่องทางการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Lazada , Shopee และอี-มาร์เก็ตเพลสอื่นๆ เพิ่มึ้น เพื่อรองรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่วนด้านออฟไลน์ จะเพิ่มมูลค่าและสร้างโอกาสทางการตลาดผลิตภัณฑ์ OTOP Select โดยร่วมกับบริษัท คิง เพาเวอร์ แท็กซ์ฟรี จำกัด คัดเลือกผลิตภัณฑ์ OTOP Select ที่มีศักยภาพขึ้นจำหน่ายในร้านค้าบนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และภูเก็ต ซึ่งที่ผ่านมา มียอดจำหน่ายรวมกว่า 500 ล้านบาท และมั่นใจว่ายอดจำหน่ายจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หลังจากมีแผนขยายร้านค้าไปยังท่าอากาศยานเชียงใหม่ และอู่ตะเภาเพิ่มเติม
ส่วนการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตร และผู้ผลิตสินค้าชุมชน จะผลักดันการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร (GI) ให้มีจำนวนครบทุกจังหวัด หรือ 1 จังหวัด 1 สินค้า GI ซึ่งขณะนี้กำลังทำใกล้สำเร็จแล้ว และยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ในปี 2563 ให้ได้เพิ่มขึ้นอีก มีเป้าหมาย 18 สินค้าจาก 17 จังหวัด ได้แก่ โอ่งมังกรราชบุรี , ข้าวขาวกอเดียวพิจิตร , ผ้าหม้อห้อมแพร่ , ลูกหยียะรัง ปัตตานี , ส้มโอทองดีบ้านแท่น ชัยภูมิ , กระเทียมศรีสะเกษ , หอมแดงศรีสะเกษ , พริกไทยจันท์ , เงาะทองผาภูมิ กาญจนบุรี , ข้าวหอมมะลิพะเยา , กลองเอกราช อ่างทอง , ข้าวไร่ดอกข่าพังงา , กล้วยตากสังคม หนองคาย, ทุเรียนชะนีเกาะช้าง ตราด , กาแฟดอยป่าแป๋ลำพูน , สับปะรดบึงกาฬ , ส้มจุกจะนะ สงขลา และกล้วยหอมทองปทุม ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมกับการส่งเสริมสินค้า GI ในต่างประเทศ โดยจะนำสินค้า GI จำนวน 5 รายการ ได้แก่ ทุเรียนปราจีนบุรี และมะพร้าวน้ำหอมราชบุรี ไปจด GI ที่จีน เพราะเป็นสินค้าที่ชาวจีนนิยมบริโภค และข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง และส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ไปจด GI ที่มาเลเซีย
นอกจากนี้ จะหาทางช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการชุมชน โดยใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้า ซึ่งจะดำเนินการเพิ่มเติม หลังจากปี 2562 ได้ผลักดันผลิตภัณฑ์โคนม โคเนื้อ เจาะตลาดจีน สิงคโปร์ และประเทศเพื่อนบ้านได้แล้ว โดยจะมีการลงพื้นที่ผลักดันสินค้าเกษตรและเกษตรกแปรรูออกสู่ตลาดโลกโดยใช้เอฟทีเอต่อในปี 2563 จะลงพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย เช่น นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ ตาก ชัยภูมิ ระยอง ตราด สงขลา และกระบี่ เป็นต้น
สำหรับการพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน จะลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับท้องถิ่น เพื่อผลักดันให้สินค้าเปิดตัวออกสู่ตลาดต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น และยังจะเข้าไปช่วยเหลือผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้มีช่องทางการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
นายวีรศักดิ์กล่าวว่า ในด้านการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) จะผลักดันให้มีการนำหลักประกันทางธุรกิจมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทางธุรกิจเพิ่มขึ้น โดยจะเข้าไปช่วยให้ความรู้กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในการปลูกต้นไม้ เพื่อเป็นหลักประกันในการประเมินขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ยังจะเร่งพัฒนาระบบการให้บริการจดทะเบียนธุรกิจเพื่อให้มีความง่ายและสะดวกมากขึ้น โดยกำลังจะเปิดให้บริการการจดทะเบียนธุรกิจแบบทรีอินวัน หรือยื่นครั้งเดียว จดได้ 3 อย่าง ตั้งแต่จดตั้งบริษัท ขึ้นทะเบียนนายจ้างลูกจ้าง และจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจสามารถจดได้ทั้งหมดตั้งแต่การยื่นจดทะเบียนที่หน่วยให้บริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ โดยกำหนดจะให้บริการตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นไป