ข่าวปนคน คนปนข่าว
**จับตาศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯรถไฟคึก 2 คนใน “ศิริพงศ์-จเร”ปะทะ 2 คนนอก "นิรุต-พีรกันต์" งานนี้เดิมพันคุมขุมทรัพย์ระบบราง "เมกะโปรเจกต์" หลายแสนล้าน! ใครจะมา วัดใจการเมือง !
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังอยู่ระหว่างสรรหาตำแหน่ง "ผู้ว่าการ" หลังเปิดรับสมัครมาตั้งแต่ วันที่ 28 พ.ย.62 จนถึงวันที่ 27 ธ.ค.62 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีผู้ยื่นใบสมัครจำนวน 4 คน ได้แก่ ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการ รฟท. (กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ) , จเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการ รฟท. (กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ) ซึ่งสองคนนี้ถือเป็น "ลูกหม้อ" ของรฟท.
ทั้ง"ศิริพงษ์" และ "จเร" จะต้องลงชิงชัย กับ 2คนนอก คือ "นิรุฒ มณีพันธ์" อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายพัฒนาทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ "พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา" อดีต กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ ผู้อำนวยการฝ่ายขนส่งทางอากาศของ สายการบินไทยแอร์เอเชีย
ว่ากันว่า ศึกชิงเก้าอึ้ผู้ว่าฯรฟท.ครั้งนี้ ระหว่างคนใน 2 คน และคนนอก 2คน มีข้อดี-ข้อเสีย คนละอย่าง ไม่ได้เสียเปรียบได้เปรียบกันมาก โดย "ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์" และ "จเร รุ่งฐานีย" คนรฟท. เองรู้จักกันดี ถือว่าเป็นผู้บริหารที่เติบโตมาตามสายงานมีความรู้ความสามารถ และ ที่สำคัญ รู้ปัญหาของ รฟท.เป็นอย่างดี
ส่วนคนนอก 2 คน "นิรุฒ มณีพันธ์" ลาออกจากรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายพัฒนาทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย ช่วง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นรมว.คมนาคม "พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา" อดีต ซีอีโอ แอร์พอร์ตลิงก์ บริษัทลูก รฟท. และอดีตผู้อำนวยการด้านขนส่งของสายการบินไทยแอร์เอเซีย จัดว่าเป็นผู้มีประสบการณ์กับภาคขนส่งเป็นอย่างดี
แว่วว่า เมือผู้สมัครเผยโฉมออกมา ก็วิเคราะห์กันในวงใน กระแสข่าวให้น้ำหนักไปที่ "คนนอก" ค่อนข้างมาแรงกว่า เพราะมีขั้วอำนาจฝ่ายการเมืองหนุน แต่ก็ประมาท "คนใน" ไม่ได้เช่นกัน เพราะหากคนในสามารถประสานนโยบายกับฝ่ายการเมืองได้ ก็ยังมีสิทธิ์ลุ้นเช่นกัน
แน่นอนว่า ผู้ว่าฯ คนใหม่จะต้องเข้ามาขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลกำลังเร่งแผนลงทุนโดยเฉพาะด้านระบบราง เพราะ มีอีกหลายโปรเจกต์ ที่ยังคงค้างอีกมาก
ขั้นตอนต่อจากนี้ คณะกรรมคัดเลือกจะเริ่มตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครทั้ง 4 รายทันที หลังหยุดเทศกาลปีใหม่ จากนั้นอีก 1 สัปดาห์ จะเรียกผู้สมัครที่ผ่านการตรวจสอบมาสัมภาษณ์ตามกระบวนการ โดยคาดว่าจะได้รายชื่อผู้ว่าฯ รฟท. คนใหม่ได้ไม่เกินเดือนก.พ.นี้
สำหรับตำแหน่ง ผู้ว่าฯรฟท.ในปัจจุบัน มี "วรวุฒิ มาลา" รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 61 หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 10/2560 ปลด "วุฒิชาติ กัลยาณมิตร" ออกจากตำแหน่งไป ซึ่งในปี 2563 นี้ "วรวุฒิ" จะมีอายุถึงเกณฑ์เกษียณอายุราชการพอดี
เดิมพันเก้าอี้ผู้ว่าฯรฟท. จึงมาพร้อมกับการเข้ามาบริหารจัดการ "เมกะโปรเจกต์" ที่มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท !
งานนี้ต้องวัดใจฝ่ายการเมือง จะเลือกคนแบบไหนที่ตอบโจทย์ เข้าใจ และไปกันได้ เพื่อนำ รฟท.ขับเคลื่อนไปข้างหน้า
ม้าเหล็กยุคใหม่จะเป็นอย่างไร โปรดติดตาม.
** "ธนาธร" อ้อนสาวก..ปีหน้าร่วมกันสู้ต่อ ..."เต้น" ณัฐวุฒิ อดเป็นห่วงไม่ได้ บอกยุบอนาคตใหม่ลุ้นให้รอดยาก เตือนถ้าคิดลงถนน ก็ขอให้ดูชะตากรรม นปช. เป็นตัวอย่าง
เข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นอกจากเดินสายไปพบปะประชาชนที่โน่น ที่นี่แล้ว ก็ไม่ลืมที่จะโพสต์ข้อความ อวยพรปีใหม่ ไปยังสาวกที่ติดตามทางโซเชียลฯ พร้อมปลุกให้มาร่วมกันต่อสู้ในปี 2563 เพื่อประชาธิปไตย...
..."ระหว่างปีที่ผ่านมา มีเรื่องราวสวยงามมากมายให้จดจำ มีข้อผิดพลาดมากมายให้เรียนรู้ มีความสำเร็จหลายอย่างให้ภูมิใจ และมีกำลังใจมากมายที่ต้องขอบคุณ น้ำทุกขวด ดอกไม้ทุกดอก ที่คุณตระเตรียมให้พวกเราทุกครั้งที่เราจัดกิจกรรม รอยยิ้ม และการโบกไม้โบกมือที่คุณส่งให้เมื่อสายตาเราพบกัน ... ภาพสีน้ำมันที่คุณวาด, ดาวที่คุณพับ, จดหมายที่คุณเขียน, ของขวัญที่คุณเตรียม, ผ้าขาวม้าที่คุณพันรอบเอวเรา ทุกการกดชื่นชม , กดแบ่งปัน และข้อเขียนสนับสนุนในทุกช่องทางโซเชียลฯ...
"สู้ๆ นะครับ", "อย่ายอมแพ้นะคะ" หรือกำลังใจที่คุณมอบให้เราตลอดการเดินทาง บนรถไฟ ที่สำนักงานพรรค หรือระหว่างรอเครื่องบิน หรือที่ปั๊มน้ำมัน เราขอบคุณและซาบซึ้งกับทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณมอบให้เรา มันบ่งบอกว่า นี่ไม่ใช่ปีแห่งการต่อสู้ของเราคนเดียว แต่ยังมีอีกมากมายที่พร้อมสู้ และเดินไปกับเรา
ในปี 2563 เช่นกัน เราหวังว่าจะได้เรียนรู้ และเติบโตไปด้วยกัน จนกว่าเราจะลบรอยน้ำตาของผู้ทุกข์ตรม จนกว่าเราจะได้มาซึ่งประชาธิปไตย
...แน่นอนว่า เส้นทางการต่อสู้ของ"ธนาธร" และพรรคอนาคตใหม่ ในปีหน้า ที่อ้างถึงประชาธิปไตยนั้น โดยเนื้อแท้แล้ว คือการชักชวนให้ออกมาร่วมกันต่อสู้เรื่อง "ยุบพรรค" โดยถ้ามีการยุบพรรคจริง ตัวเขาและกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเจอโทษอาญาด้วย !!
ในมุมมองของ "เต้น" ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำ นปช. ที่มีประสบการณ์ในการระดมมวลชนลงถนน ก็เห็นถึงสถานการณ์ทางการเมืองในปีหน้า ที่เกี่ยวเนื่องกับพรรคอนาคตใหม่เช่นกัน จึงได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลฯ ในหัวข้อ "ควรเดินอย่างไร อนาคตใหม่จ่อถูกยุบ?" เพื่อเป็นการเตือนสติ "ธนาธร" และพลพรรคอนาคตใหม่...
... สถานการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ มาถึงตรงนี้ต้องบอกว่า มีหลายด่านเหลือเกิน ที่เตรียมการจะยุบพรรค...ถ้าคิดเป็นบวกก็ง่าย ศาลฯวินิจฉัยไม่ยุบ พรรคก็เดินหน้าต่อไป ... แต่ถ้าคิดโดยอิงกับความเป็นจริงแล้ว คิดเป็นบวกยากครับ !!
วันนี้จึงเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของแกนนำ และสมาชิกพรรค ที่จะต้องประเมินสถานการณ์กันให้ชัด แล้วเตรียมตัวให้พร้อม ที่จะเผชิญกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น... ในทัศนะผมคิดว่า ประเมินสถานการณ์ให้แย่ที่สุด แล้วเตรียมรับมือจากตรงนั้น ก็ไม่มีอะไรเสียหาย
ว่ากันตามสูตร ก็ต้องมีพรรคเตรียมไว้สำหรับรองรับส.ส.ที่จะต้องเดินต่อ
1. ตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ ถ้าจะเอาสูตรนี้ ก็ต้องให้คนไปเดินกระบวนการจัดตั้ง ในขั้นตอนของ กกต.ไว้แล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ทันกับกรอบระยะเวลา แล้วเดินหน้าได้ทันที 2. ไปเจรจากับพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว ที่สามารถร่วมอุดมการณ์ ร่วมแนวทางกันได้ เพื่อโอนย้ายถ่ายเทสมาชิก แล้วทำหน้าที่ในสภาฯ ต่อไป
แต่ทั้ง 2 อย่างนี้ ยังเป็นโจทย์ข้อง่าย ถ้าเทียบกับคดีอาญา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นลูกพ่วงตามมา หลังจากการวินิจฉัยคดียุบพรรค... ตรงนี้ คือสิ่งที่พรรคอนาคตใหม่ ต้องคิดวิเคราะห์ แล้วก็แยกแยะสถานการณ์ให้ครบถ้วน รอบด้าน
สิ่งที่อยากจะฝากบอก ก็คือ... ต้องเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แล้วศึกษาให้เข้าใจว่าพรรคการเมืองอย่างไทยรักไทย หรือ พลังประชาชน เมื่อถูกยุบ เขามีอะไรต้องคิด ต้องทำบ้าง
ถ้าตัดสินใจจะลงถนน ก็ต้องเข้าใจว่า"อนาคตใหม่"ไม่ได้มีที่พึ่งเป็นกองทัพเหมือนพันธมิตรฯ หรือ กปปส. นอกจากนี้ต้องศึกษาชะตากรรมของ นปช. โดยละเอียดว่า ความบอบช้ำ สูญเสีย ทั้งหลายมันเกิดขึ้นจากอะไร ต้องป้องกัน แก้ไข และพยายามอย่างสุดชีวิต ในการรักษาทุกชีวิต ที่จะออกมาต่อสู้ด้วยกัน
... ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ แต่สำหรับพรรคอนาคตใหม่ มาถึงวันนี้ อะไรก็ไม่ง่ายทั้งนั้น และนี่ไม่ได้หมายความว่า ผมจะไปยุยงส่งเสริมให้พาผู้คนออกมาเดินขบวน แต่เคารพในการตัดสินใจของแกนนำพรรคอนาคตใหม่
"เต้น" ทิ้งท้ายไว้ด้วยความห่วงใยว่า ... บทละครเรื่องเดิมเอามาฉายซ้ำ ถ้าจะให้ไม่จบแบบเดิม ก็ต้องเรียนรู้จุดจบของครั้งที่ผ่านๆ มา...
ความระหว่างบรรทัด ที่”เต้น” ต้องออกมาเตือนในครั้งนี้ คือ ถ้า”ธนาธร” จะพาประชาชนลงถนน สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรกคือ ความบอบช้ำ สูญเสีย และการรักษาทุกชีวิต ที่จะออกมาร่วมต่อสู้ด้วยกัน
ตามไทม์ไลน์แล้ว วันที่ 21 ม.ค. 63 เป็นวันที่ "ธนาธร"และพลพรรคอนาคตใหม่ ต้องลุ้นระทึก เพราะเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสิน "ยุบพรรค" หรือไม่ จากข้อหาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ก็ต้องติดตามกันว่า อนาคตใหม่ จะ"ร้องเฮ" หรือ"ร้องไห้" และคงได้เห็นกันว่า การลงถนนจะเกิดขึ้นตามมาในเร็ววัน หรือไม่ !?
รูป - ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ - จเร รุ่งฐานีย- นิรุฒ มณีพันธ์- พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา
-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ - ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
**จับตาศึกชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯรถไฟคึก 2 คนใน “ศิริพงศ์-จเร”ปะทะ 2 คนนอก "นิรุต-พีรกันต์" งานนี้เดิมพันคุมขุมทรัพย์ระบบราง "เมกะโปรเจกต์" หลายแสนล้าน! ใครจะมา วัดใจการเมือง !
การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังอยู่ระหว่างสรรหาตำแหน่ง "ผู้ว่าการ" หลังเปิดรับสมัครมาตั้งแต่ วันที่ 28 พ.ย.62 จนถึงวันที่ 27 ธ.ค.62 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีผู้ยื่นใบสมัครจำนวน 4 คน ได้แก่ ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ รองผู้ว่าการ รฟท. (กลุ่มธุรกิจการซ่อมบำรุงรถจักรและล้อเลื่อน ) , จเร รุ่งฐานีย รองผู้ว่าการ รฟท. (กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ) ซึ่งสองคนนี้ถือเป็น "ลูกหม้อ" ของรฟท.
ทั้ง"ศิริพงษ์" และ "จเร" จะต้องลงชิงชัย กับ 2คนนอก คือ "นิรุฒ มณีพันธ์" อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายพัฒนาทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ "พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา" อดีต กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ ผู้อำนวยการฝ่ายขนส่งทางอากาศของ สายการบินไทยแอร์เอเชีย
ว่ากันว่า ศึกชิงเก้าอึ้ผู้ว่าฯรฟท.ครั้งนี้ ระหว่างคนใน 2 คน และคนนอก 2คน มีข้อดี-ข้อเสีย คนละอย่าง ไม่ได้เสียเปรียบได้เปรียบกันมาก โดย "ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์" และ "จเร รุ่งฐานีย" คนรฟท. เองรู้จักกันดี ถือว่าเป็นผู้บริหารที่เติบโตมาตามสายงานมีความรู้ความสามารถ และ ที่สำคัญ รู้ปัญหาของ รฟท.เป็นอย่างดี
ส่วนคนนอก 2 คน "นิรุฒ มณีพันธ์" ลาออกจากรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายพัฒนาทรัพยากรบุคคลและกำกับกิจกรรมองค์กร บริษัท การบินไทย ช่วง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็นรมว.คมนาคม "พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา" อดีต ซีอีโอ แอร์พอร์ตลิงก์ บริษัทลูก รฟท. และอดีตผู้อำนวยการด้านขนส่งของสายการบินไทยแอร์เอเซีย จัดว่าเป็นผู้มีประสบการณ์กับภาคขนส่งเป็นอย่างดี
แว่วว่า เมือผู้สมัครเผยโฉมออกมา ก็วิเคราะห์กันในวงใน กระแสข่าวให้น้ำหนักไปที่ "คนนอก" ค่อนข้างมาแรงกว่า เพราะมีขั้วอำนาจฝ่ายการเมืองหนุน แต่ก็ประมาท "คนใน" ไม่ได้เช่นกัน เพราะหากคนในสามารถประสานนโยบายกับฝ่ายการเมืองได้ ก็ยังมีสิทธิ์ลุ้นเช่นกัน
แน่นอนว่า ผู้ว่าฯ คนใหม่จะต้องเข้ามาขับเคลื่อนงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐบาลกำลังเร่งแผนลงทุนโดยเฉพาะด้านระบบราง เพราะ มีอีกหลายโปรเจกต์ ที่ยังคงค้างอีกมาก
ขั้นตอนต่อจากนี้ คณะกรรมคัดเลือกจะเริ่มตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครทั้ง 4 รายทันที หลังหยุดเทศกาลปีใหม่ จากนั้นอีก 1 สัปดาห์ จะเรียกผู้สมัครที่ผ่านการตรวจสอบมาสัมภาษณ์ตามกระบวนการ โดยคาดว่าจะได้รายชื่อผู้ว่าฯ รฟท. คนใหม่ได้ไม่เกินเดือนก.พ.นี้
สำหรับตำแหน่ง ผู้ว่าฯรฟท.ในปัจจุบัน มี "วรวุฒิ มาลา" รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค. 61 หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 10/2560 ปลด "วุฒิชาติ กัลยาณมิตร" ออกจากตำแหน่งไป ซึ่งในปี 2563 นี้ "วรวุฒิ" จะมีอายุถึงเกณฑ์เกษียณอายุราชการพอดี
เดิมพันเก้าอี้ผู้ว่าฯรฟท. จึงมาพร้อมกับการเข้ามาบริหารจัดการ "เมกะโปรเจกต์" ที่มีมูลค่าการลงทุนหลายแสนล้านบาท !
งานนี้ต้องวัดใจฝ่ายการเมือง จะเลือกคนแบบไหนที่ตอบโจทย์ เข้าใจ และไปกันได้ เพื่อนำ รฟท.ขับเคลื่อนไปข้างหน้า
ม้าเหล็กยุคใหม่จะเป็นอย่างไร โปรดติดตาม.
** "ธนาธร" อ้อนสาวก..ปีหน้าร่วมกันสู้ต่อ ..."เต้น" ณัฐวุฒิ อดเป็นห่วงไม่ได้ บอกยุบอนาคตใหม่ลุ้นให้รอดยาก เตือนถ้าคิดลงถนน ก็ขอให้ดูชะตากรรม นปช. เป็นตัวอย่าง
เข้าสู่ช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นอกจากเดินสายไปพบปะประชาชนที่โน่น ที่นี่แล้ว ก็ไม่ลืมที่จะโพสต์ข้อความ อวยพรปีใหม่ ไปยังสาวกที่ติดตามทางโซเชียลฯ พร้อมปลุกให้มาร่วมกันต่อสู้ในปี 2563 เพื่อประชาธิปไตย...
..."ระหว่างปีที่ผ่านมา มีเรื่องราวสวยงามมากมายให้จดจำ มีข้อผิดพลาดมากมายให้เรียนรู้ มีความสำเร็จหลายอย่างให้ภูมิใจ และมีกำลังใจมากมายที่ต้องขอบคุณ น้ำทุกขวด ดอกไม้ทุกดอก ที่คุณตระเตรียมให้พวกเราทุกครั้งที่เราจัดกิจกรรม รอยยิ้ม และการโบกไม้โบกมือที่คุณส่งให้เมื่อสายตาเราพบกัน ... ภาพสีน้ำมันที่คุณวาด, ดาวที่คุณพับ, จดหมายที่คุณเขียน, ของขวัญที่คุณเตรียม, ผ้าขาวม้าที่คุณพันรอบเอวเรา ทุกการกดชื่นชม , กดแบ่งปัน และข้อเขียนสนับสนุนในทุกช่องทางโซเชียลฯ...
"สู้ๆ นะครับ", "อย่ายอมแพ้นะคะ" หรือกำลังใจที่คุณมอบให้เราตลอดการเดินทาง บนรถไฟ ที่สำนักงานพรรค หรือระหว่างรอเครื่องบิน หรือที่ปั๊มน้ำมัน เราขอบคุณและซาบซึ้งกับทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณมอบให้เรา มันบ่งบอกว่า นี่ไม่ใช่ปีแห่งการต่อสู้ของเราคนเดียว แต่ยังมีอีกมากมายที่พร้อมสู้ และเดินไปกับเรา
ในปี 2563 เช่นกัน เราหวังว่าจะได้เรียนรู้ และเติบโตไปด้วยกัน จนกว่าเราจะลบรอยน้ำตาของผู้ทุกข์ตรม จนกว่าเราจะได้มาซึ่งประชาธิปไตย
...แน่นอนว่า เส้นทางการต่อสู้ของ"ธนาธร" และพรรคอนาคตใหม่ ในปีหน้า ที่อ้างถึงประชาธิปไตยนั้น โดยเนื้อแท้แล้ว คือการชักชวนให้ออกมาร่วมกันต่อสู้เรื่อง "ยุบพรรค" โดยถ้ามีการยุบพรรคจริง ตัวเขาและกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเจอโทษอาญาด้วย !!
ในมุมมองของ "เต้น" ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตแกนนำ นปช. ที่มีประสบการณ์ในการระดมมวลชนลงถนน ก็เห็นถึงสถานการณ์ทางการเมืองในปีหน้า ที่เกี่ยวเนื่องกับพรรคอนาคตใหม่เช่นกัน จึงได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลฯ ในหัวข้อ "ควรเดินอย่างไร อนาคตใหม่จ่อถูกยุบ?" เพื่อเป็นการเตือนสติ "ธนาธร" และพลพรรคอนาคตใหม่...
... สถานการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ มาถึงตรงนี้ต้องบอกว่า มีหลายด่านเหลือเกิน ที่เตรียมการจะยุบพรรค...ถ้าคิดเป็นบวกก็ง่าย ศาลฯวินิจฉัยไม่ยุบ พรรคก็เดินหน้าต่อไป ... แต่ถ้าคิดโดยอิงกับความเป็นจริงแล้ว คิดเป็นบวกยากครับ !!
วันนี้จึงเป็นโจทย์ข้อใหญ่ของแกนนำ และสมาชิกพรรค ที่จะต้องประเมินสถานการณ์กันให้ชัด แล้วเตรียมตัวให้พร้อม ที่จะเผชิญกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น... ในทัศนะผมคิดว่า ประเมินสถานการณ์ให้แย่ที่สุด แล้วเตรียมรับมือจากตรงนั้น ก็ไม่มีอะไรเสียหาย
ว่ากันตามสูตร ก็ต้องมีพรรคเตรียมไว้สำหรับรองรับส.ส.ที่จะต้องเดินต่อ
1. ตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ ถ้าจะเอาสูตรนี้ ก็ต้องให้คนไปเดินกระบวนการจัดตั้ง ในขั้นตอนของ กกต.ไว้แล้วก่อนหน้านี้ เพื่อให้ทันกับกรอบระยะเวลา แล้วเดินหน้าได้ทันที 2. ไปเจรจากับพรรคการเมืองที่มีอยู่แล้ว ที่สามารถร่วมอุดมการณ์ ร่วมแนวทางกันได้ เพื่อโอนย้ายถ่ายเทสมาชิก แล้วทำหน้าที่ในสภาฯ ต่อไป
แต่ทั้ง 2 อย่างนี้ ยังเป็นโจทย์ข้อง่าย ถ้าเทียบกับคดีอาญา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นลูกพ่วงตามมา หลังจากการวินิจฉัยคดียุบพรรค... ตรงนี้ คือสิ่งที่พรรคอนาคตใหม่ ต้องคิดวิเคราะห์ แล้วก็แยกแยะสถานการณ์ให้ครบถ้วน รอบด้าน
สิ่งที่อยากจะฝากบอก ก็คือ... ต้องเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แล้วศึกษาให้เข้าใจว่าพรรคการเมืองอย่างไทยรักไทย หรือ พลังประชาชน เมื่อถูกยุบ เขามีอะไรต้องคิด ต้องทำบ้าง
ถ้าตัดสินใจจะลงถนน ก็ต้องเข้าใจว่า"อนาคตใหม่"ไม่ได้มีที่พึ่งเป็นกองทัพเหมือนพันธมิตรฯ หรือ กปปส. นอกจากนี้ต้องศึกษาชะตากรรมของ นปช. โดยละเอียดว่า ความบอบช้ำ สูญเสีย ทั้งหลายมันเกิดขึ้นจากอะไร ต้องป้องกัน แก้ไข และพยายามอย่างสุดชีวิต ในการรักษาทุกชีวิต ที่จะออกมาต่อสู้ด้วยกัน
... ไม่ใช่เรื่องง่ายครับ แต่สำหรับพรรคอนาคตใหม่ มาถึงวันนี้ อะไรก็ไม่ง่ายทั้งนั้น และนี่ไม่ได้หมายความว่า ผมจะไปยุยงส่งเสริมให้พาผู้คนออกมาเดินขบวน แต่เคารพในการตัดสินใจของแกนนำพรรคอนาคตใหม่
"เต้น" ทิ้งท้ายไว้ด้วยความห่วงใยว่า ... บทละครเรื่องเดิมเอามาฉายซ้ำ ถ้าจะให้ไม่จบแบบเดิม ก็ต้องเรียนรู้จุดจบของครั้งที่ผ่านๆ มา...
ความระหว่างบรรทัด ที่”เต้น” ต้องออกมาเตือนในครั้งนี้ คือ ถ้า”ธนาธร” จะพาประชาชนลงถนน สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรกคือ ความบอบช้ำ สูญเสีย และการรักษาทุกชีวิต ที่จะออกมาร่วมต่อสู้ด้วยกัน
ตามไทม์ไลน์แล้ว วันที่ 21 ม.ค. 63 เป็นวันที่ "ธนาธร"และพลพรรคอนาคตใหม่ ต้องลุ้นระทึก เพราะเป็นวันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสิน "ยุบพรรค" หรือไม่ จากข้อหาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ก็ต้องติดตามกันว่า อนาคตใหม่ จะ"ร้องเฮ" หรือ"ร้องไห้" และคงได้เห็นกันว่า การลงถนนจะเกิดขึ้นตามมาในเร็ววัน หรือไม่ !?
รูป - ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ - จเร รุ่งฐานีย- นิรุฒ มณีพันธ์- พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา
-ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ - ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ