แน่นอนว่าในปีหน้า ปี 2563 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า ที่หลายฝ่ายคาดกันว่าจะต้องมีความเข้มข้นมากกว่าปีนี้ โดยเฉพาะในเรื่องการเมืองที่มั่นใจวาจะต้องขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือดมากกว่าเดิม
สิ่งที่ทำให้เกิดการคาดหมายในลักษณะดังกล่าวมาจากปัจจัยหลักๆไม่กี่อย่าง เช่น ภาวการณ์ของรัฐบาล ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ในภาวะ “เสียงปริ่มน้ำ”นั่นคือ มีเสียงมากกว่าฝ่ายค้านเพียงไม่กี่เสียงเท่านั้น เรียกว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องโหวตในเรื่องสำคัญๆ เป็นต้องลุ้นกันเหงื่อตกแทบทุกครั้งไป และด้วยลักษณะเสียงที่ก้ำกึ่งดังกล่าวก็มีให้เห็นแล้วว่า ฝ่ายรัฐบาลต้องพ่ายแพ้โหวตฝ่ายค้านเมื่อครั้งที่มีการโหวตญัตติศึกษาผลกระทบจากมาตรา 44 และ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และกลายเป็นเหตุให้สภาฯล่ม ถึงสองครั้งมาแล้ว
ขณะเดียวกันในสภาพดังกล่าวมันก็ยังมีความโชคดีของฝ่ายรัฐบาลก็คือ ฝ่ายค้านที่ถูกมองว่า “ไม่มีประสิทธิภาพ”เมื่อเทียบกับยุคที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะด้วยกติกาใหม่ ทำให้เกิดมี ส.ส.หน้าใหม่ พรรคการเมืองใหม่ๆ มากมาย และมีความคิดและพฤติกรรมแปลกๆ เข้ามาในสภาฯจำนวนมาก ส.ส. พวกนี้มาพร้อมกับทัศนคติที่บางครั้งถูกมองว่า “หลุดโลก”ที่สังคมไม่เคยพบเห็นมาก่อน จนทำให้เกิดภาพแปลกๆ ในสภาฯเกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งก็ทำให้ภาพลักษณ์ของทั้งสภาฯ และ ส.ส.ไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับชาวบ้านอย่างที่คาดหวังเอาไว้
ประกอบกับพรรคฝ่ายค้านหลัก อย่างพรรคเพื่อไทย ที่มีสภาพไม่ต่างจาก“พิการ”เนื่องจากบรรดาแกนนำพรรคคนสำคัญล้วนไม่ได้เป็นส.ส. อดเข้าสภาฯ กันเรียบวุธ มันก็ยิ่งทำให้บทบาทการนำในสภาฯ ถดถอยลงไป และเมื่อหัวหน้าพรรคในปัจจุบันคือ "สมพงษ์ อมรวิวัฒน์" ที่ต้องเป็น “ผู้นำฝ่ายค้านฯ”แต่เมื่อพิจารณาจากแบ็กกราวน์ ทางการเมืองก็แทบจะไม่เคยอภิปรายในสภาฯเลย ทำให้บทบาทหลักมาตกอยู่ที่พวก “มวยรอง”ระดับเกรดสอง เกรดสาม มันก็ยิ่งทำให้ “ลำหักลำโค่น”ไม่มี
กลายเป็นว่าบทบาทนำมาตกอยู่ที่พรรคอนาคตใหม่เป็นส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันหากพิจารณากันตามสภาพความเป็นจริง มันก็สามารถเรียกเสียงฮือฮาในช่วงแรกๆ เท่านั้น ไม่สามารถรักษาระดับแบบเดิมเอาไว้ได้ เนื่องจากระยะหลังเริ่มมีเสียงวิจารณ์ในเรื่องบทบาทที่หลายคนมองว่า “ล้ำเส้น”แต่ขณะเดียวกันในมุมของคนที่ชื่นชอบ ก็อีกแบบหนึ่ง
**อย่างไรก็ดี สำหรับพรรคอนาคตใหม่ รวมไปถึงผู้บริหารพรรคที่ไล่เรียงกันไปตั้งแต่"ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" หัวหน้าพรรค ลงไป ยังต้องลุ้นกับหลายคดีหนักๆ ที่ต้องเผชิญตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นไป หลังจากก่อนหน้านี้เขาโดนศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พ้นสภาพ ส.ส.จากคดีถือหุ้นสื่อไปแล้ว
แต่ก็ยังมีอีกสองคดีหนักที่ว่า ก็คือ คดีล้มล้างการปกครองฯ ที่ถูกร้องเอาไว้ และศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะวินิจฉัยใน วันที่ 21 มกราคม และคดีปล่อยเงินกู้ให้กับพรรคจำนวน 191.2 ล้านบาท ที่ศาลฯ แจ้งให้ชี้แจงภายใน 15 วัน ซึ่งทั้งสองคดีดังกล่าว ล้วนสร้างความระทึกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากผลออกมาเป็นลบแล้ว นอกจากบรรดาผู้บริหารพรรคที่เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด จะต้องพ้นจากสภาพ ส.ส. และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองแล้ว ยังอาจจะต้องโดน “ดาบสอง”ตามมาอีก นั่นคือเสี่ยงต่อการติดคุกอีกด้วย นี่แหละถึงได้บอกว่า มันต้องลุ้นกันแบบหายใจไม่ทั่วท้อง เนื่องจากหลายคนฟันธงว่า หนึ่งในสองคดีนี้ต้อง“โดน”สักคดีอะไรประมาณนั้น
**แน่นอนว่า นั่นจะออกมาในแบบบรรยากาศนอกสภาฯ ที่เสี่ยงต่อความวุ่นวายตามมา จากการ “ปลุกระดมมวลชน”ลงถนนจากสาเหตุดังกล่าว
แต่หากโฟกัสเฉพาะในสภาฯ มันก็พอมองออกว่า หากเปรียบเทียบทั้งสองฝ่าย ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านภายใต้สภาพการเมืองในปีหน้าแล้ว ก็พอมองออกมาตั้งแต่ในช่วงปลายปีแล้วว่า ฝ่ายรัฐบาล“เริ่มได้เปรียบ”อีกฝ่ายได้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากการเห็นท่าทีของ 4 ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่ ที่แบะท่าชัดเจนว่าพร้อมร่วมงานกับฝ่ายรัฐบาล และตามมาด้วยกรณี 4 งูเห่า ของพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกขับออกมาพ้นพรรค และปรากฏว่าพวกเขาก็เลื้อยมาทางพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบกับเมื่อการเลือกตั้งซ่อมที่ จังหวัดขอนแก่น เขต 7 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ผ่านมา ผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เสียง ทำให้หากนับจำนวนเสียงฝ่ายรัฐบาลในอนาคตข้างหน้า ถือว่าเป็นกอบเป็นกำไม่น้อย
นอกเหนือจากนี้ พิจารณากันในมุมของผู้นำคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ต้องยอมรับว่า “มีความยืดหยุ่น”ได้มากกว่าเดิม มีความพร้อมสรรพด้านกำลังหนุน ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทั้งมวลชนที่ยังให้การสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่ และที่ผ่านมาถือว่าสามารถบริหารจัดการพรรคร่วมรัฐบาล ที่แม้จะมีถึง 19 พรรค ให้เกิดการขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ดีเกินคาด ยิ่งนับวันเมื่อมีเสียงเข้ามาเพิ่ม ก็ยิ่งทำให้ถูกมองว่ารัฐบาลจะมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าเดิม ตรงกันข้ามกับฝ่ายค้านที่เริ่มถดถอยลงไป
ดังนั้น หากให้ประเมินการเมืองในช่วงปีหน้าตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นไป แม้ว่าจะมีความเข้มข้นกว่าเดิม แต่ยังเชื่อว่ายังอยู่ในเกมที่ฝ่ายรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากปัจจัยหลัก นั่นคือ พรรคร่วมรัฐบาลที่ยังเป็นเอกภาพ และมวลชนส่วนใหญ่ยังให้การสนับสนุน และที่สำคัญยังมั่นใจว่า บรรดาส.ส.ทุกพรรคยังไม่อยากเลือกตั้งใหม่ในช่วงที่เพิ่งเข้ามาเพียงไม่กี่เดือน จึงมั่นใจว่า ยังประคับประคองกันไปได้อีกพักใหญ่นั่นแหละ !!
สิ่งที่ทำให้เกิดการคาดหมายในลักษณะดังกล่าวมาจากปัจจัยหลักๆไม่กี่อย่าง เช่น ภาวการณ์ของรัฐบาล ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อยู่ในภาวะ “เสียงปริ่มน้ำ”นั่นคือ มีเสียงมากกว่าฝ่ายค้านเพียงไม่กี่เสียงเท่านั้น เรียกว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องโหวตในเรื่องสำคัญๆ เป็นต้องลุ้นกันเหงื่อตกแทบทุกครั้งไป และด้วยลักษณะเสียงที่ก้ำกึ่งดังกล่าวก็มีให้เห็นแล้วว่า ฝ่ายรัฐบาลต้องพ่ายแพ้โหวตฝ่ายค้านเมื่อครั้งที่มีการโหวตญัตติศึกษาผลกระทบจากมาตรา 44 และ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และกลายเป็นเหตุให้สภาฯล่ม ถึงสองครั้งมาแล้ว
ขณะเดียวกันในสภาพดังกล่าวมันก็ยังมีความโชคดีของฝ่ายรัฐบาลก็คือ ฝ่ายค้านที่ถูกมองว่า “ไม่มีประสิทธิภาพ”เมื่อเทียบกับยุคที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะด้วยกติกาใหม่ ทำให้เกิดมี ส.ส.หน้าใหม่ พรรคการเมืองใหม่ๆ มากมาย และมีความคิดและพฤติกรรมแปลกๆ เข้ามาในสภาฯจำนวนมาก ส.ส. พวกนี้มาพร้อมกับทัศนคติที่บางครั้งถูกมองว่า “หลุดโลก”ที่สังคมไม่เคยพบเห็นมาก่อน จนทำให้เกิดภาพแปลกๆ ในสภาฯเกิดขึ้นเป็นประจำ ซึ่งก็ทำให้ภาพลักษณ์ของทั้งสภาฯ และ ส.ส.ไม่ได้สร้างความประทับใจให้กับชาวบ้านอย่างที่คาดหวังเอาไว้
ประกอบกับพรรคฝ่ายค้านหลัก อย่างพรรคเพื่อไทย ที่มีสภาพไม่ต่างจาก“พิการ”เนื่องจากบรรดาแกนนำพรรคคนสำคัญล้วนไม่ได้เป็นส.ส. อดเข้าสภาฯ กันเรียบวุธ มันก็ยิ่งทำให้บทบาทการนำในสภาฯ ถดถอยลงไป และเมื่อหัวหน้าพรรคในปัจจุบันคือ "สมพงษ์ อมรวิวัฒน์" ที่ต้องเป็น “ผู้นำฝ่ายค้านฯ”แต่เมื่อพิจารณาจากแบ็กกราวน์ ทางการเมืองก็แทบจะไม่เคยอภิปรายในสภาฯเลย ทำให้บทบาทหลักมาตกอยู่ที่พวก “มวยรอง”ระดับเกรดสอง เกรดสาม มันก็ยิ่งทำให้ “ลำหักลำโค่น”ไม่มี
กลายเป็นว่าบทบาทนำมาตกอยู่ที่พรรคอนาคตใหม่เป็นส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันหากพิจารณากันตามสภาพความเป็นจริง มันก็สามารถเรียกเสียงฮือฮาในช่วงแรกๆ เท่านั้น ไม่สามารถรักษาระดับแบบเดิมเอาไว้ได้ เนื่องจากระยะหลังเริ่มมีเสียงวิจารณ์ในเรื่องบทบาทที่หลายคนมองว่า “ล้ำเส้น”แต่ขณะเดียวกันในมุมของคนที่ชื่นชอบ ก็อีกแบบหนึ่ง
**อย่างไรก็ดี สำหรับพรรคอนาคตใหม่ รวมไปถึงผู้บริหารพรรคที่ไล่เรียงกันไปตั้งแต่"ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" หัวหน้าพรรค ลงไป ยังต้องลุ้นกับหลายคดีหนักๆ ที่ต้องเผชิญตั้งแต่ปีใหม่เป็นต้นไป หลังจากก่อนหน้านี้เขาโดนศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้พ้นสภาพ ส.ส.จากคดีถือหุ้นสื่อไปแล้ว
แต่ก็ยังมีอีกสองคดีหนักที่ว่า ก็คือ คดีล้มล้างการปกครองฯ ที่ถูกร้องเอาไว้ และศาลรัฐธรรมนูญกำลังจะวินิจฉัยใน วันที่ 21 มกราคม และคดีปล่อยเงินกู้ให้กับพรรคจำนวน 191.2 ล้านบาท ที่ศาลฯ แจ้งให้ชี้แจงภายใน 15 วัน ซึ่งทั้งสองคดีดังกล่าว ล้วนสร้างความระทึกใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากผลออกมาเป็นลบแล้ว นอกจากบรรดาผู้บริหารพรรคที่เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด จะต้องพ้นจากสภาพ ส.ส. และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองแล้ว ยังอาจจะต้องโดน “ดาบสอง”ตามมาอีก นั่นคือเสี่ยงต่อการติดคุกอีกด้วย นี่แหละถึงได้บอกว่า มันต้องลุ้นกันแบบหายใจไม่ทั่วท้อง เนื่องจากหลายคนฟันธงว่า หนึ่งในสองคดีนี้ต้อง“โดน”สักคดีอะไรประมาณนั้น
**แน่นอนว่า นั่นจะออกมาในแบบบรรยากาศนอกสภาฯ ที่เสี่ยงต่อความวุ่นวายตามมา จากการ “ปลุกระดมมวลชน”ลงถนนจากสาเหตุดังกล่าว
แต่หากโฟกัสเฉพาะในสภาฯ มันก็พอมองออกว่า หากเปรียบเทียบทั้งสองฝ่าย ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านภายใต้สภาพการเมืองในปีหน้าแล้ว ก็พอมองออกมาตั้งแต่ในช่วงปลายปีแล้วว่า ฝ่ายรัฐบาล“เริ่มได้เปรียบ”อีกฝ่ายได้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากการเห็นท่าทีของ 4 ส.ส.ของพรรคอนาคตใหม่ ที่แบะท่าชัดเจนว่าพร้อมร่วมงานกับฝ่ายรัฐบาล และตามมาด้วยกรณี 4 งูเห่า ของพรรคอนาคตใหม่ ที่ถูกขับออกมาพ้นพรรค และปรากฏว่าพวกเขาก็เลื้อยมาทางพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบกับเมื่อการเลือกตั้งซ่อมที่ จังหวัดขอนแก่น เขต 7 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ที่ผ่านมา ผู้สมัครของพรรคพลังประชารัฐชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นมาอีก 1 เสียง ทำให้หากนับจำนวนเสียงฝ่ายรัฐบาลในอนาคตข้างหน้า ถือว่าเป็นกอบเป็นกำไม่น้อย
นอกเหนือจากนี้ พิจารณากันในมุมของผู้นำคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ต้องยอมรับว่า “มีความยืดหยุ่น”ได้มากกว่าเดิม มีความพร้อมสรรพด้านกำลังหนุน ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ทั้งมวลชนที่ยังให้การสนับสนุนเป็นส่วนใหญ่ และที่ผ่านมาถือว่าสามารถบริหารจัดการพรรคร่วมรัฐบาล ที่แม้จะมีถึง 19 พรรค ให้เกิดการขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ดีเกินคาด ยิ่งนับวันเมื่อมีเสียงเข้ามาเพิ่ม ก็ยิ่งทำให้ถูกมองว่ารัฐบาลจะมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าเดิม ตรงกันข้ามกับฝ่ายค้านที่เริ่มถดถอยลงไป
ดังนั้น หากให้ประเมินการเมืองในช่วงปีหน้าตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นไป แม้ว่าจะมีความเข้มข้นกว่าเดิม แต่ยังเชื่อว่ายังอยู่ในเกมที่ฝ่ายรัฐบาลควบคุมสถานการณ์ได้ เพราะเมื่อพิจารณาจากปัจจัยหลัก นั่นคือ พรรคร่วมรัฐบาลที่ยังเป็นเอกภาพ และมวลชนส่วนใหญ่ยังให้การสนับสนุน และที่สำคัญยังมั่นใจว่า บรรดาส.ส.ทุกพรรคยังไม่อยากเลือกตั้งใหม่ในช่วงที่เพิ่งเข้ามาเพียงไม่กี่เดือน จึงมั่นใจว่า ยังประคับประคองกันไปได้อีกพักใหญ่นั่นแหละ !!