ผู้จัดการรายวัน360-"สนธิรัตน์" เคลียร์ประเด็นมติ กพช. ล้มนำเข้าแอลเอ็นจี 1.5 ล้านตัน เพื่อประโยชน์โดยรวม ไม่ให้ค่าไฟสูง ลั่น กฟผ. ยังได้สิทธิ์เป็นผู้ค้าและผู้นำเข้ารายที่ 2 คงเดิม พร้อมนำราคาก๊าซคำนวณในสูตร Pool Gas มั่นใจล้มดีลประมูล 1.5 ล้านตัน ไม่นำไปสู่การฟ้องร้อง ยันรักลูกเท่ากัน ขณะที่ สร.กฟผ. จะติดตามใกล้ชิดว่าจะดำเนินการตามที่รับปากหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23ธ.ค.) ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ประมาณ 50 คน นำโดยนายปิยะพงษ์ อนันตสุรกาจ ประธาน สร.กฟผ. ได้เดินทางมายังกระทรวงพลังงาน เพื่อเข้าพบนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน พร้อมยื่นหนังสื่อขอความชัดเจน หลังมติคณะกรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 16ธ.ค.2562 ให้ยกเลิกมติ กพช. เดิมเมื่อวันที่ 31 ก.ค.2560 ที่ให้ กฟผ.เป็น ผู้ค้าและนำเข้า (Shipper) รายใหม่ โดยมีปริมาณนำเข้าแอลเอ็นจีที่ 1.5 ล้านตันต่อปี
นายสนธิรัตน์กล่าวชี้แจงกับ สร.กฟผ. ว่า ขอให้มั่นใจโดยไม่ต้องกังวล เพราะนโยบายของรัฐบาลยังคงให้สิทธิ์เป็น Shipper นำเข้าแอลเอ็นจีรายที่ 2 และได้มอบหมายให้นำเข้าไปคำนวณสูตรในราคาก๊าซเฉลี่ยรวม (Pool Gas) เพื่อให้ค่าไฟของประเทศถูกลง ส่วนที่ กพช. ได้มีมติให้ยกเลิกการนำเข้า 1.5 ล้านตันต่อปีนั้น จะเกิดปัญหา Take or Pay ที่จะกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าให้สูงขึ้นราว 2 สตางค์ต่อหน่วยในอนาคต
"อยากให้มองประโยชน์ประเทศเป็นหลัก เพราะหากนำเข้ามา จะทำให้กระทบกับสัญญาหลัก และเกิด Take or pay ก็จะกระทบค่าไฟด้วย ส่วนกรณีที่เมื่อ กฟผ. ประมูลแล้ว ได้ปิโตรนาส แอลเอ็นจี จากมาเลเซียเสนอมาราคาต่ำสุด จะเกิดการฟ้องร้องเมื่อล้มดีลนี้นั้น ขอให้ กฟผ. อย่าได้กังวล เพราะก่อนหน้านี้ ผมได้พบกับประธานปิโตรนาสฯ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งเขาเข้าใจดี และจะไม่มีการฟ้องร้องแต่อย่างใด จึงขอให้ กฟผ. ไปเจรจาดูข้อกฏหมายก่อนว่าเลื่อนได้ไหม ถ้ายกเลิกได้ ก็จะนำไปสู่การประมูลใหม่ ซึ่งผมยืนยันในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานว่ารักลูกเท่ากันระหว่าง กฟผ. และ บมจ.ปตท."นายสนธิรัตน์กล่าว
สำหรับประเด็นการลงนามสัญญาหลักซื้อขายก๊าซธรรมชาติหรือ Global DCQ ซึ่งเป็นระยะยาว ระหว่าง กฟผ. และบมจ.ปตท.นั้น เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปเจรจาร่วมกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจน ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงพลังงานก็เปิดกว้างให้ กฟผ. สามารถเข้ามาจัดหาแอลเอ็นจีเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าในระยะยาวตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ได้
นายปิยะพงษ์ อนันตสุรกาจ ประธาน สร.กฟผ. กล่าวว่า ได้ทวงถามเหตุผลมติ กพช. วันที่ 16 ธ.ค.2562 ที่ให้ล้มประมูลนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี 1.5ล้านตันต่อปี ในสัญญาการนำเข้าระยะกลาง 8 ปี โดยให้ยกเลิกมติ กพช. วันที่ 31 ก.ค.2560 และ กพช. มีมติใหม่ให้นำเข้าสัญญาSPOT 200,000 ตันเท่านั้น ซึ่งนายสนธิรัตน์ได้ชี้แจงสอดคล้องกับนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานบอร์ด กฟผ. ที่ให้ กฟผ.นำเข้าแอลเอ็นจีได้ในรอบต่อๆ ไป เป็นผู้นำเข้า หรือ Shipper รายที่ 2 ของประเทศ โดยให้นำเข้าเพื่อใช้เองก่อน โดยให้ กฟผ. คำนวณตัวเลขความต้องการใช้ทั้งหมด เพื่อนำเสนอบอร์ด กพช.เดือนก.พ.2563 และราคาเมื่อนำเข้ามาแล้ว ต้องแข่งขันได้ ดังนั้น ราคานำเข้ารอบใหม่จะเป็นราคารวมเฉลี่ยกับราคาอ่าวไทยและเมียนมา หรือ Poll Gas
"กระทรวงพลังงานมีลูกที่เป็นรัฐวิสาหกิจ 2 คน ก็อาจจะรักลูกไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่ กฟผ. เองก็ทำรายได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มองว่าไม่ได้รับความธรรมในเรื่องนี้ ซึ่งก่อนหน้าเคยเข้ามาพบกับนายสนธิรัตน์เพื่อขอชัดเจน แม้จะพอใจกับคำตอบ แต่ สร กฟผ. จะติดตามอย่างต่อเนื่องว่ารัฐมนตรีพลังงานจะทำอย่างที่รับปากหรือไม่ หากทำได้ ต้นทุนราคาก๊าซจะถูกลง และค่าไฟฟ้าภาคประชาชนจะถูกลงด้วย"นายปิยะพงษ์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (23ธ.ค.) ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ประมาณ 50 คน นำโดยนายปิยะพงษ์ อนันตสุรกาจ ประธาน สร.กฟผ. ได้เดินทางมายังกระทรวงพลังงาน เพื่อเข้าพบนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน พร้อมยื่นหนังสื่อขอความชัดเจน หลังมติคณะกรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) วันที่ 16ธ.ค.2562 ให้ยกเลิกมติ กพช. เดิมเมื่อวันที่ 31 ก.ค.2560 ที่ให้ กฟผ.เป็น ผู้ค้าและนำเข้า (Shipper) รายใหม่ โดยมีปริมาณนำเข้าแอลเอ็นจีที่ 1.5 ล้านตันต่อปี
นายสนธิรัตน์กล่าวชี้แจงกับ สร.กฟผ. ว่า ขอให้มั่นใจโดยไม่ต้องกังวล เพราะนโยบายของรัฐบาลยังคงให้สิทธิ์เป็น Shipper นำเข้าแอลเอ็นจีรายที่ 2 และได้มอบหมายให้นำเข้าไปคำนวณสูตรในราคาก๊าซเฉลี่ยรวม (Pool Gas) เพื่อให้ค่าไฟของประเทศถูกลง ส่วนที่ กพช. ได้มีมติให้ยกเลิกการนำเข้า 1.5 ล้านตันต่อปีนั้น จะเกิดปัญหา Take or Pay ที่จะกระทบต่อต้นทุนค่าไฟฟ้าให้สูงขึ้นราว 2 สตางค์ต่อหน่วยในอนาคต
"อยากให้มองประโยชน์ประเทศเป็นหลัก เพราะหากนำเข้ามา จะทำให้กระทบกับสัญญาหลัก และเกิด Take or pay ก็จะกระทบค่าไฟด้วย ส่วนกรณีที่เมื่อ กฟผ. ประมูลแล้ว ได้ปิโตรนาส แอลเอ็นจี จากมาเลเซียเสนอมาราคาต่ำสุด จะเกิดการฟ้องร้องเมื่อล้มดีลนี้นั้น ขอให้ กฟผ. อย่าได้กังวล เพราะก่อนหน้านี้ ผมได้พบกับประธานปิโตรนาสฯ ที่ญี่ปุ่น ซึ่งเขาเข้าใจดี และจะไม่มีการฟ้องร้องแต่อย่างใด จึงขอให้ กฟผ. ไปเจรจาดูข้อกฏหมายก่อนว่าเลื่อนได้ไหม ถ้ายกเลิกได้ ก็จะนำไปสู่การประมูลใหม่ ซึ่งผมยืนยันในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานว่ารักลูกเท่ากันระหว่าง กฟผ. และ บมจ.ปตท."นายสนธิรัตน์กล่าว
สำหรับประเด็นการลงนามสัญญาหลักซื้อขายก๊าซธรรมชาติหรือ Global DCQ ซึ่งเป็นระยะยาว ระหว่าง กฟผ. และบมจ.ปตท.นั้น เป็นเรื่องที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปเจรจาร่วมกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจน ซึ่งในส่วนนี้ กระทรวงพลังงานก็เปิดกว้างให้ กฟผ. สามารถเข้ามาจัดหาแอลเอ็นจีเพื่อป้อนโรงไฟฟ้าในระยะยาวตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ได้
นายปิยะพงษ์ อนันตสุรกาจ ประธาน สร.กฟผ. กล่าวว่า ได้ทวงถามเหตุผลมติ กพช. วันที่ 16 ธ.ค.2562 ที่ให้ล้มประมูลนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว หรือแอลเอ็นจี 1.5ล้านตันต่อปี ในสัญญาการนำเข้าระยะกลาง 8 ปี โดยให้ยกเลิกมติ กพช. วันที่ 31 ก.ค.2560 และ กพช. มีมติใหม่ให้นำเข้าสัญญาSPOT 200,000 ตันเท่านั้น ซึ่งนายสนธิรัตน์ได้ชี้แจงสอดคล้องกับนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน และประธานบอร์ด กฟผ. ที่ให้ กฟผ.นำเข้าแอลเอ็นจีได้ในรอบต่อๆ ไป เป็นผู้นำเข้า หรือ Shipper รายที่ 2 ของประเทศ โดยให้นำเข้าเพื่อใช้เองก่อน โดยให้ กฟผ. คำนวณตัวเลขความต้องการใช้ทั้งหมด เพื่อนำเสนอบอร์ด กพช.เดือนก.พ.2563 และราคาเมื่อนำเข้ามาแล้ว ต้องแข่งขันได้ ดังนั้น ราคานำเข้ารอบใหม่จะเป็นราคารวมเฉลี่ยกับราคาอ่าวไทยและเมียนมา หรือ Poll Gas
"กระทรวงพลังงานมีลูกที่เป็นรัฐวิสาหกิจ 2 คน ก็อาจจะรักลูกไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่ กฟผ. เองก็ทำรายได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ มองว่าไม่ได้รับความธรรมในเรื่องนี้ ซึ่งก่อนหน้าเคยเข้ามาพบกับนายสนธิรัตน์เพื่อขอชัดเจน แม้จะพอใจกับคำตอบ แต่ สร กฟผ. จะติดตามอย่างต่อเนื่องว่ารัฐมนตรีพลังงานจะทำอย่างที่รับปากหรือไม่ หากทำได้ ต้นทุนราคาก๊าซจะถูกลง และค่าไฟฟ้าภาคประชาชนจะถูกลงด้วย"นายปิยะพงษ์กล่าว