"คมนาคม" เร่งเคลียร์ตัวเลขมูลค่าเสียหายข้อพิพาทคดีทางด่วน เสนอ"ศักดิ์สยาม" ในเดือนธ.ค.นี้ ก่อนสรุปแนวทางเจรจาขยายสัมปทาน BEMขณะที่ มี ทางด่วน 2 สัญญาจะสิ้นสุด ก.พ.63
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแก้ไขข้อพิพาทสัญญาทางด่วน ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEMและบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL)เปิดเผยว่า คณะทำงานฯได้มีการประชุม เมื่อวันที่13 ธ.ค. ในประเด็นมูลค่าความเสียหายกว่า 58,873 ล้านบาท ซึ่งได้สอบถาม กทพ.ถึงรายละเอียดที่มาของตัวเลขดังกล่าวว่ามีการคำนวน วิเคราะห์จากอะไรบ้าง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
ทั้งนี้ได้ให้ กทพ.รวบรวมข้อมูลเอกสาร ชี้แจงต่อคณะทำงานในการประชุม วันที่ 17 ธ.ค. นี้อีกครั้ง ซึ่งคณะทำงานต้องการสรุปตัวเลขค่าถวามเสียหายก่อน ว่าที่ถูกต้องคือเท่าไร รัฐและประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรเพื่ออธิบายกับสังคมได้ จากนั้นจึงจะพิจารณาได้ว่าหากจะต้องชดเชย ด้วยการต่อสัญญาควรเป็นระยะเวลากี่ปี และ จะมีการเจรจากับเอกชนต่อไป
"รมว.คมนาคม กำชับให้พิจารณารายละอียดตัวเลขอย่างรอบคอบและมีเหตุผล มีที่มาที่ไปที่อธิบายได้ ดังนั้นต้องเคลียร์ตัวเลขให้จบก่อน หากยังไม่ทำความเข้าใจเรื่องตัวเลขให้เข้าใจตรงกันไม่ได้ ก็ไปต่อไม่ได้"
ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์ตัวเลขจะยังไม่นำเรื่องทางด่วน ชั้นที่ 2 หรือ Double Deck วงเงินลงทุนประมาณ 32,000 ล้านบาท มารวม โดยจะดูเฉพาะมูลค่าที่เป็นความเสียหายจากข้อพิพาทเรื่องทางแข่งขัน กับการปรับค่าผ่านทางด่วน ซึ่งจะพยายามสรุปข้อมูลภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ หรือหากไม่เรียบร้อยอาจจะต้องประชุมอีกครั้ง เพราะต้องเสนอรายงานข้อมูลทั้งหมดต่อ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ภายในเดือนธ.ค.นี้ เนื่องจากสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 จะสิ้นสุด ในเดือนก.พ.63
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สัญญาทางด่วนที่กำลังจะหมดอายุสัญญาในปี 63 คือ โครงการทางด่วนเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ช่วงดินแดง - ท่าเรือ , บางนา - ท่าเรือ และ ท่าเรือ - ดาวคะนอง ระยะทางรวม 27.1 กม. และโครงการทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) 3 ส่วน ได้แก่ ส่วน A ช่วง ถ.พระราม 9 - ถ.รัชดาภิเษก ระยะทาง 12.4 กม. ส่วน B ช่วงรัชดาภิเษก - บางโคล่ ระยะทาง 9.4 กม. และส่วน C ช่วงถ.รัชดาภิเษก - ถ.แจ้งวัฒนะ ระยะทาง 8 กม. มี บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL)เป็นคู่สัญญาทั้งสองโครงการ โดยทั้งสองโครงการจะหมดอายุสัมปทานในวันที่ 29 ก.พ.63
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาแก้ไขข้อพิพาทสัญญาทางด่วน ระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กับ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEMและบริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL)เปิดเผยว่า คณะทำงานฯได้มีการประชุม เมื่อวันที่13 ธ.ค. ในประเด็นมูลค่าความเสียหายกว่า 58,873 ล้านบาท ซึ่งได้สอบถาม กทพ.ถึงรายละเอียดที่มาของตัวเลขดังกล่าวว่ามีการคำนวน วิเคราะห์จากอะไรบ้าง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง
ทั้งนี้ได้ให้ กทพ.รวบรวมข้อมูลเอกสาร ชี้แจงต่อคณะทำงานในการประชุม วันที่ 17 ธ.ค. นี้อีกครั้ง ซึ่งคณะทำงานต้องการสรุปตัวเลขค่าถวามเสียหายก่อน ว่าที่ถูกต้องคือเท่าไร รัฐและประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรเพื่ออธิบายกับสังคมได้ จากนั้นจึงจะพิจารณาได้ว่าหากจะต้องชดเชย ด้วยการต่อสัญญาควรเป็นระยะเวลากี่ปี และ จะมีการเจรจากับเอกชนต่อไป
"รมว.คมนาคม กำชับให้พิจารณารายละอียดตัวเลขอย่างรอบคอบและมีเหตุผล มีที่มาที่ไปที่อธิบายได้ ดังนั้นต้องเคลียร์ตัวเลขให้จบก่อน หากยังไม่ทำความเข้าใจเรื่องตัวเลขให้เข้าใจตรงกันไม่ได้ ก็ไปต่อไม่ได้"
ทั้งนี้ ในการวิเคราะห์ตัวเลขจะยังไม่นำเรื่องทางด่วน ชั้นที่ 2 หรือ Double Deck วงเงินลงทุนประมาณ 32,000 ล้านบาท มารวม โดยจะดูเฉพาะมูลค่าที่เป็นความเสียหายจากข้อพิพาทเรื่องทางแข่งขัน กับการปรับค่าผ่านทางด่วน ซึ่งจะพยายามสรุปข้อมูลภายในวันที่ 17 ธ.ค.นี้ หรือหากไม่เรียบร้อยอาจจะต้องประชุมอีกครั้ง เพราะต้องเสนอรายงานข้อมูลทั้งหมดต่อ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ภายในเดือนธ.ค.นี้ เนื่องจากสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 2 จะสิ้นสุด ในเดือนก.พ.63
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สัญญาทางด่วนที่กำลังจะหมดอายุสัญญาในปี 63 คือ โครงการทางด่วนเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) ช่วงดินแดง - ท่าเรือ , บางนา - ท่าเรือ และ ท่าเรือ - ดาวคะนอง ระยะทางรวม 27.1 กม. และโครงการทางพิเศษศรีรัช (ระบบทางด่วนขั้นที่ 2) 3 ส่วน ได้แก่ ส่วน A ช่วง ถ.พระราม 9 - ถ.รัชดาภิเษก ระยะทาง 12.4 กม. ส่วน B ช่วงรัชดาภิเษก - บางโคล่ ระยะทาง 9.4 กม. และส่วน C ช่วงถ.รัชดาภิเษก - ถ.แจ้งวัฒนะ ระยะทาง 8 กม. มี บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL)เป็นคู่สัญญาทั้งสองโครงการ โดยทั้งสองโครงการจะหมดอายุสัมปทานในวันที่ 29 ก.พ.63