ผู้จัดการรายวัน 360 - "หมอธีระวัฒน์" เร่งรวบรวมรายชื่อแพทย์ พยาบาล เภสัชกร หนุนแบน 3 สารเคมี เดินหน้าเกษตรกรรมยั่งยืน ยื่น "บิ๊กตู่" 19 ธ.ค.นี้ แจงไม่ได้กดดัน แค่สะท้อนให้รับรู้ ลั่นไม่เอาสารเคมีทดแทน
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนกำลังรวบรวมรายชื่อแพทย์ ขณะที่สภาเภสัชกรรมก็กำลังรวบรวมรายชื่อเภสัชกร และสภาการพยาบาลรวบรวมรายชื่อพยาบาล เพื่อสนับสนุนการแบนสารเคมีอันตราย คือ พาราตวอต คลอร์ไพรีฟอส และ ไกลโฟเสต รวมถึงไม่เอาสารทดแทนอย่างสารกลูโฟซิเนตด้วย แต่สนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ โดยจะเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายในวันที่ 19 ธ.ค. 2562 ซึ่งสามารถร่วมลงชื่อได้ทาง https://forms.gle/SEgLKuEnror4ydxc6
การรวบรวมรายชื่อเสนอครั้งนี้ คงไม่ได้เป็นการกดดันอะไร แต่อยากจะให้นายกฯ ตระหนักว่า คนที่ดูแลประชาชน มีอาชีพด้านสุขภาพ เรากังวลเรื่องนี้ เราก็ท้อเหมือนกัน เพราะเราอยู่ในฝ่ายสถานะตั้งรับเสมอ
"การที่ฝั่งสาธารณสุขบอกอยากให้แบนสารเคมีทั้ง 3 ตัว อาจมีคนเข้าใจผิดว่า เราไปเข้าข้างหาสารเคมีตัวอื่นมาทดแทน ซึ่งก็มีชื่อปรากฏออกมาว่า คือ สารกลูโฟซิเนต ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ เราไม่เคยเสนอสารเคมีตัวใดๆ แต่เป็นเรื่องกรมวิชาการเกษตรพูดขึ้นมาเอง แต่ขอยืนยันว่า เราไม่ต้องการสารทดแทนที่เป็นสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะต้องเดินหน้าไปสู่เกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืน " ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรก็รับทราบมาตรการพวกนี้ แต่อาจจะติดด้วยประเด็นอะไรต่างๆ เลยไม่ได้ส่งเสริมเผยแพร่ ถ้าพูดถึงการใช้สารเคมีทดแทน ขณะนี้ไทยมีสารเคมีที่ยังใช้อยู่อย่างน้อย 155 ตัว ซึ่งก็อันตรายไม่ต่างกัน และอยู่ในลิสต์ของสหภาพยุโรป ซึ่งก็เริ่มแบนไปแล้ว แต่ก็พบว่าผลผลิตไม่ได้น้อยลง แต่มากขึ้น โดยใช้เวลา 2-7 ปี
เมื่อถามว่า แม้จะยื่นรายชื่อ แต่สุดท้ายการแบนก็ขึ้นกับมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า เราก็ไม่ได้หวังอะไรมาก เพียงแต่อยากสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกมากกว่า ที่เราทำมา 2 ปี 8 เดือน ผลก็กลับไปกลับมา ซึ่งจริงๆ 3 ตัวนี้ร้ายแรงที่สุด
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งที่ทำได้ขณะนี้ คือ 1.การใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 ซึ่งรวมถึงเกษตรกรด้วย หากมีการรายงานว่า รับผลกระทบ ก็ใช้กฎหมายดังกล่าวในการเข้าดำเนินการ ดังนั้น สธ.ต้องเร่งตรวจสอบและเฝ้าระวังคนที่รับผลกระทบทางสุขภาพที่เจ็บป่วย 2.พยายามผลักดันให้มีผลิตผลทางอาหารที่สะอาดปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่แค่ รพ.อย่างเดียว ต้องปลูกฝังให้เกษตรกรพยายามคำนึงความปลอดภัยของตัวเองและผู้บริโภค 3.การผลักดันให้มีการติดฉลากว่า ผลิตผลเหล่านี้ที่นำมาขาย นำมาจากแหล่งไหน แปลงใช้สารเคมีหรือไม่ ซึ่งส่งไปถึงองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว น่าจะสำเร็จ เหมือนการติดป้ายติดฉลาก พืชตัดแต่งพันธุกรรม และ 4.ผู้บริโภคสามารถเลือกได้เอง ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัย 9 แห่ง ทำชุดตรวจประเมิน 3 กลุ่ม คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และสารเคมีฆ่าแมลงทั้งหมด ให้ผลแม่นยำรวดเร็วใน 10 นาที ก็สามารถนำไปใช้ทดสอบเวลาซื้อผิตผลทั้งในตลาด หรือแหล่งขายแหล่งปลูกได้ภายในปีหน้าก็เป็นทางออกทางเลือกให้ผู้บริโภค
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนกำลังรวบรวมรายชื่อแพทย์ ขณะที่สภาเภสัชกรรมก็กำลังรวบรวมรายชื่อเภสัชกร และสภาการพยาบาลรวบรวมรายชื่อพยาบาล เพื่อสนับสนุนการแบนสารเคมีอันตราย คือ พาราตวอต คลอร์ไพรีฟอส และ ไกลโฟเสต รวมถึงไม่เอาสารทดแทนอย่างสารกลูโฟซิเนตด้วย แต่สนับสนุนกระบวนการเกษตรอินทรีย์ โดยจะเสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ภายในวันที่ 19 ธ.ค. 2562 ซึ่งสามารถร่วมลงชื่อได้ทาง https://forms.gle/SEgLKuEnror4ydxc6
การรวบรวมรายชื่อเสนอครั้งนี้ คงไม่ได้เป็นการกดดันอะไร แต่อยากจะให้นายกฯ ตระหนักว่า คนที่ดูแลประชาชน มีอาชีพด้านสุขภาพ เรากังวลเรื่องนี้ เราก็ท้อเหมือนกัน เพราะเราอยู่ในฝ่ายสถานะตั้งรับเสมอ
"การที่ฝั่งสาธารณสุขบอกอยากให้แบนสารเคมีทั้ง 3 ตัว อาจมีคนเข้าใจผิดว่า เราไปเข้าข้างหาสารเคมีตัวอื่นมาทดแทน ซึ่งก็มีชื่อปรากฏออกมาว่า คือ สารกลูโฟซิเนต ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่ เราไม่เคยเสนอสารเคมีตัวใดๆ แต่เป็นเรื่องกรมวิชาการเกษตรพูดขึ้นมาเอง แต่ขอยืนยันว่า เราไม่ต้องการสารทดแทนที่เป็นสารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะต้องเดินหน้าไปสู่เกษตรอินทรีย์และเกษตรกรรมยั่งยืน " ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรก็รับทราบมาตรการพวกนี้ แต่อาจจะติดด้วยประเด็นอะไรต่างๆ เลยไม่ได้ส่งเสริมเผยแพร่ ถ้าพูดถึงการใช้สารเคมีทดแทน ขณะนี้ไทยมีสารเคมีที่ยังใช้อยู่อย่างน้อย 155 ตัว ซึ่งก็อันตรายไม่ต่างกัน และอยู่ในลิสต์ของสหภาพยุโรป ซึ่งก็เริ่มแบนไปแล้ว แต่ก็พบว่าผลผลิตไม่ได้น้อยลง แต่มากขึ้น โดยใช้เวลา 2-7 ปี
เมื่อถามว่า แม้จะยื่นรายชื่อ แต่สุดท้ายการแบนก็ขึ้นกับมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า เราก็ไม่ได้หวังอะไรมาก เพียงแต่อยากสะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกมากกว่า ที่เราทำมา 2 ปี 8 เดือน ผลก็กลับไปกลับมา ซึ่งจริงๆ 3 ตัวนี้ร้ายแรงที่สุด
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า สิ่งที่ทำได้ขณะนี้ คือ 1.การใช้ พ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 ซึ่งรวมถึงเกษตรกรด้วย หากมีการรายงานว่า รับผลกระทบ ก็ใช้กฎหมายดังกล่าวในการเข้าดำเนินการ ดังนั้น สธ.ต้องเร่งตรวจสอบและเฝ้าระวังคนที่รับผลกระทบทางสุขภาพที่เจ็บป่วย 2.พยายามผลักดันให้มีผลิตผลทางอาหารที่สะอาดปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่แค่ รพ.อย่างเดียว ต้องปลูกฝังให้เกษตรกรพยายามคำนึงความปลอดภัยของตัวเองและผู้บริโภค 3.การผลักดันให้มีการติดฉลากว่า ผลิตผลเหล่านี้ที่นำมาขาย นำมาจากแหล่งไหน แปลงใช้สารเคมีหรือไม่ ซึ่งส่งไปถึงองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว น่าจะสำเร็จ เหมือนการติดป้ายติดฉลาก พืชตัดแต่งพันธุกรรม และ 4.ผู้บริโภคสามารถเลือกได้เอง ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัย 9 แห่ง ทำชุดตรวจประเมิน 3 กลุ่ม คือ พาราควอต ไกลโฟเซต และสารเคมีฆ่าแมลงทั้งหมด ให้ผลแม่นยำรวดเร็วใน 10 นาที ก็สามารถนำไปใช้ทดสอบเวลาซื้อผิตผลทั้งในตลาด หรือแหล่งขายแหล่งปลูกได้ภายในปีหน้าก็เป็นทางออกทางเลือกให้ผู้บริโภค