**เห็นตัวเลข ส.ส.ฝ่ายค้านที่โหวตหนุนองค์ประชุมในวันโหวตล้มญัตติการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการกระทำของประกาศและคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีจำนวนถึง 10 คน โดยแยกเป็นรายพรรค จะเห็นเป็นตัวเลขที่น่าสนใจ ดังนี้ จากพรรคเพื่อไทย 3 คน พรรคอนาคตใหม่ 2-3 คน พรรคเศรษฐกิจใหม่ 4 คน และพรรคประชาชาติ 1 คน
ที่ผ่านมาเสียงสนับสนุนของฝ่ายรัฐบาลที่สามารถโหวตได้ตามปกติ จะมีอยู่ประมาณ ไม่เกิน 254 เสียง แต่เมื่อหักเสียงของประธานสภาฯ ที่มักจะงดออกเสียงรวมไปถึง ส.ส.อาวุโสบางคนที่มีปัญหาสุขภาพ ก็รวมแล้วไม่เกิน 248-250 เสียงเท่านั้น ขณะที่ฝ่ายค้านก็ราวๆ 246 เสียง เป็นตัวเลขที่ห่างกันแบบฉิวเฉียด ยิ่งกว่าปริ่มน้ำ
เพราะสามารถ “จม”เรือได้ตลอดเวลา หากมีการเผลอเรอเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นตอนที่แพ้โหวต ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้มาตรา 44 ให้กับพรรคฝ่ายค้าน รวมไปถึงการวอล์กเอาต์ของฝ่ายค้านทำให้สภาล่มมาแล้วถึง 2 ครั้ง
ดังนั้น ด้วยภาพรวมดังกล่าวจึงถือว่ารัฐบาลผสมภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ค่อยมีเสถียรภาพที่มั่นคงนัก
**ขณะเดียวกันเมื่อรัฐบาลมีเสียงสนับสนุนจากหลายพรรค และมีเสียงมากกว่าฝ่ายค้านเสียงไม่ถึง 5 เสียงดังกล่าว แน่นอนว่าย่อมมีการต่อรองภายในตลอดเวลา เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าทุกเสียงย่อมมีความหมาย และอย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็นบรรดา ส.ส.พรรคเล็กๆ ที่มีเสียงเพียงแค่ 1 เสียงจะเคลื่อนไหวต่อรองอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคแกนนำคือพรรคพลังประชารัฐ รวมไปถึงแกนหลักในรัฐบาลอย่างพวก “3ป.”ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ก็รับรู้ถึงจุดอ่อนข้อนี้ดี แต่เมื่อการเมืองในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังมี “เดดล็อก”แบ่งเป็นสองขั้ว รวมทั้งด้วยผลของจำนวนส.ส.ของพรรคสองขั้วหลัก คือพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ต่างก็มีคะแนนเสียงที่ก้ำกึ่งกัน ทำให้การ“จับขั้ว”การเมืองตั้งรัฐบาลในช่วงแรกจึงมีข้อจำกัด
แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งข้อจำกัดดังกล่าวเริ่มคลี่คลายลงไปเรื่อยๆ เมื่อมีแนวโน้มว่ารัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะอยู่ได้นานอีกพักใหญ่ ซึ่งจะด้วยองค์ประกอบทางด้านอำนาจรัฐที่คำยันอยู่อย่างเหนียวแน่นก็ตาม และด้วยเหตุผลและปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกนักการเมืองก็คือ ไม่มีใครอยากเป็นฝ่ายค้าน แทบทั้งหมดอยากอยู่ฝ่ายรัฐบาลหรือเป็นรัฐบาล ซึ่งเป็นธรรมชาติของพวกนักการเมืองเมืองไทยมาช้านานแล้ว
ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งจากฝั่งแกนนำรัฐบาล ก็มีรายงานข่าวมาตลอดเวลาเช่นเดียวกันว่า มีการเคลื่อนไหวทาบทามส.ส.จากพรรคฝ่ายค้านมาร่วมสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งอาจจะมีแบบหลายรูปแบบ เช่น แรกๆอาจจะเป็นแบบ“เฉพาะกิจ”หรือเป็น “จ็อบๆ”สำหรับการโหวตในญัตติ หรือในร่าง พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณ เป็นต้น
**แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากรายการ“เฉพาะกิจ” มาในระยะหลังก็จะเริ่มเห็นเป็นลักษณะสนับสนุน “แบบถาวร”มากขึ้น แม้ว่าจะมีหลายเหตุผลในการอธิบาย แต่ส.ส.ในพรรคฝ่ายค้าน ที่ว่านั้นก็ถูกเรียกว่า “งูเห่า”นั่นแหละ บางพรรคอาจเป็นเพราะมีปัญหาภายใน จนทำให้เกิดความอึดอัดเป็นทุนเดิมในเรื่องแนวทางของพรรคที่ต่อเนื่องมาจากการเมืองท้องถิ่น ขึ้นมาจนถึงระดับชาติ ในเรื่องการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นต้น จนทำให้เกิดความขัดแย้งสะสม หรือบางพรรคก็มีปัญหาเรื่อง “ท่อน้ำเลี้ยง”อุดตัน เนื่องจากเจ้าของพรรคไม่ยอมลงทุน หลังจากเห็นว่าไม่ได้ควบคุมอำนาจรัฐ
แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ท่าทีของของบรรดา “งูเห่า”จากพรรคฝ่ายค้านเหล่านี้ที่เวลานี้เริ่มเห็นจำนวนชัดเจนแล้วไม่น้อยกว่า 10 เสียง ขณะที่มีรายงานข่าวในจำนวนจริงน่าจะมีมากกว่านี้ หรือจำนวนราวไม่ต่ำกว่า 20 เสียง ที่พร้อมลงมติให้ฝ่ายรัฐบาลเมื่อถึงคราวจำเป็น เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาใน วาระ 2-3 รวมทั้งญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะมาถึงในต้นปีหน้า ซึ่งล่าสุดที่มีความเคลื่อนไหวชัดเจนที่สุดในลักษณะแบะท่าพร้อมเข้าร่วมรัฐบาลแล้วก็คือพรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่มีเสียงทั้งหมด 5 เสียง หันมาสนับสนุนรัฐบาลแล้วไม่ต่ำกว่า 4 เสียง
แต่ขณะเดียวกัน อีกด้านในทางการเมืองก็ส่งผลกระทบไปได้ทั้งสองมุม นั่นคือ ในมุมของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน แน่นอนว่า สำหรับฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะสำหรับแกนนำรัฐบาลเมื่อมี ส.ส.ฝ่ายค้านหันมาสนับสนุนเพิ่มขึ้นก็ย่อมมีผลดีกับเสถียรภาพที่จะมีความมั่นคงขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดอำนาจการต่อรองจากบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลลงไปได้ในระดับหนึ่ง
อีกด้านหนึ่งในพรรคร่วมฝ่ายค้านที่เวลานี้เริ่มเกิดความปั่นป่วนภายใน อย่างน้อยก็เกิดความระแวง มีความขัดแย้งกันเริ่มรุนแรงมากขึ้น และที่น่าจับตาก็คือ เมื่อพรรคเศรษฐกิจใหม่มีแนวโน้มย้ายข้าง มันก็ย่อมส่งผลต่อเอกภาพภายในของพรรคร่วมฝ่ายค้านในแบบที่เรียกว่า“ทางใครทางมัน”
**ดังนั้นหากให้สรุปนาทีนี้ การย้ายข้างของพรรคเศรษฐกิจใหม่ เข้าร่วมรัฐบาล มันก็เหมือนกับการทลายกำแพงสองขั้วการเมือง จะสร้างความปั่นป่วนให้กับพรรคฝ่ายค้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปริมาณงูเห่า ที่คาดว่าอีกไม่นานจะเปิดหน้าให้เห็นแบบชัดเจน ไม่แคร์กันอีกต่อไป !!
ที่ผ่านมาเสียงสนับสนุนของฝ่ายรัฐบาลที่สามารถโหวตได้ตามปกติ จะมีอยู่ประมาณ ไม่เกิน 254 เสียง แต่เมื่อหักเสียงของประธานสภาฯ ที่มักจะงดออกเสียงรวมไปถึง ส.ส.อาวุโสบางคนที่มีปัญหาสุขภาพ ก็รวมแล้วไม่เกิน 248-250 เสียงเท่านั้น ขณะที่ฝ่ายค้านก็ราวๆ 246 เสียง เป็นตัวเลขที่ห่างกันแบบฉิวเฉียด ยิ่งกว่าปริ่มน้ำ
เพราะสามารถ “จม”เรือได้ตลอดเวลา หากมีการเผลอเรอเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นตอนที่แพ้โหวต ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการใช้มาตรา 44 ให้กับพรรคฝ่ายค้าน รวมไปถึงการวอล์กเอาต์ของฝ่ายค้านทำให้สภาล่มมาแล้วถึง 2 ครั้ง
ดังนั้น ด้วยภาพรวมดังกล่าวจึงถือว่ารัฐบาลผสมภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ค่อยมีเสถียรภาพที่มั่นคงนัก
**ขณะเดียวกันเมื่อรัฐบาลมีเสียงสนับสนุนจากหลายพรรค และมีเสียงมากกว่าฝ่ายค้านเสียงไม่ถึง 5 เสียงดังกล่าว แน่นอนว่าย่อมมีการต่อรองภายในตลอดเวลา เพราะอย่างที่รู้กันดีว่าทุกเสียงย่อมมีความหมาย และอย่าได้แปลกใจที่จะได้เห็นบรรดา ส.ส.พรรคเล็กๆ ที่มีเสียงเพียงแค่ 1 เสียงจะเคลื่อนไหวต่อรองอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคแกนนำคือพรรคพลังประชารัฐ รวมไปถึงแกนหลักในรัฐบาลอย่างพวก “3ป.”ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ก็รับรู้ถึงจุดอ่อนข้อนี้ดี แต่เมื่อการเมืองในช่วงการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังมี “เดดล็อก”แบ่งเป็นสองขั้ว รวมทั้งด้วยผลของจำนวนส.ส.ของพรรคสองขั้วหลัก คือพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย ต่างก็มีคะแนนเสียงที่ก้ำกึ่งกัน ทำให้การ“จับขั้ว”การเมืองตั้งรัฐบาลในช่วงแรกจึงมีข้อจำกัด
แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งข้อจำกัดดังกล่าวเริ่มคลี่คลายลงไปเรื่อยๆ เมื่อมีแนวโน้มว่ารัฐบาลที่นำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะอยู่ได้นานอีกพักใหญ่ ซึ่งจะด้วยองค์ประกอบทางด้านอำนาจรัฐที่คำยันอยู่อย่างเหนียวแน่นก็ตาม และด้วยเหตุผลและปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกนักการเมืองก็คือ ไม่มีใครอยากเป็นฝ่ายค้าน แทบทั้งหมดอยากอยู่ฝ่ายรัฐบาลหรือเป็นรัฐบาล ซึ่งเป็นธรรมชาติของพวกนักการเมืองเมืองไทยมาช้านานแล้ว
ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งจากฝั่งแกนนำรัฐบาล ก็มีรายงานข่าวมาตลอดเวลาเช่นเดียวกันว่า มีการเคลื่อนไหวทาบทามส.ส.จากพรรคฝ่ายค้านมาร่วมสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งอาจจะมีแบบหลายรูปแบบ เช่น แรกๆอาจจะเป็นแบบ“เฉพาะกิจ”หรือเป็น “จ็อบๆ”สำหรับการโหวตในญัตติ หรือในร่าง พระราชบัญญัติที่สำคัญ เช่น ร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณ เป็นต้น
**แต่เมื่อเวลาผ่านไป จากรายการ“เฉพาะกิจ” มาในระยะหลังก็จะเริ่มเห็นเป็นลักษณะสนับสนุน “แบบถาวร”มากขึ้น แม้ว่าจะมีหลายเหตุผลในการอธิบาย แต่ส.ส.ในพรรคฝ่ายค้าน ที่ว่านั้นก็ถูกเรียกว่า “งูเห่า”นั่นแหละ บางพรรคอาจเป็นเพราะมีปัญหาภายใน จนทำให้เกิดความอึดอัดเป็นทุนเดิมในเรื่องแนวทางของพรรคที่ต่อเนื่องมาจากการเมืองท้องถิ่น ขึ้นมาจนถึงระดับชาติ ในเรื่องการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นต้น จนทำให้เกิดความขัดแย้งสะสม หรือบางพรรคก็มีปัญหาเรื่อง “ท่อน้ำเลี้ยง”อุดตัน เนื่องจากเจ้าของพรรคไม่ยอมลงทุน หลังจากเห็นว่าไม่ได้ควบคุมอำนาจรัฐ
แต่จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ท่าทีของของบรรดา “งูเห่า”จากพรรคฝ่ายค้านเหล่านี้ที่เวลานี้เริ่มเห็นจำนวนชัดเจนแล้วไม่น้อยกว่า 10 เสียง ขณะที่มีรายงานข่าวในจำนวนจริงน่าจะมีมากกว่านี้ หรือจำนวนราวไม่ต่ำกว่า 20 เสียง ที่พร้อมลงมติให้ฝ่ายรัฐบาลเมื่อถึงคราวจำเป็น เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 63 ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาใน วาระ 2-3 รวมทั้งญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะมาถึงในต้นปีหน้า ซึ่งล่าสุดที่มีความเคลื่อนไหวชัดเจนที่สุดในลักษณะแบะท่าพร้อมเข้าร่วมรัฐบาลแล้วก็คือพรรคเศรษฐกิจใหม่ ที่มีเสียงทั้งหมด 5 เสียง หันมาสนับสนุนรัฐบาลแล้วไม่ต่ำกว่า 4 เสียง
แต่ขณะเดียวกัน อีกด้านในทางการเมืองก็ส่งผลกระทบไปได้ทั้งสองมุม นั่นคือ ในมุมของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน แน่นอนว่า สำหรับฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะสำหรับแกนนำรัฐบาลเมื่อมี ส.ส.ฝ่ายค้านหันมาสนับสนุนเพิ่มขึ้นก็ย่อมมีผลดีกับเสถียรภาพที่จะมีความมั่นคงขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดอำนาจการต่อรองจากบรรดาพรรคร่วมรัฐบาลลงไปได้ในระดับหนึ่ง
อีกด้านหนึ่งในพรรคร่วมฝ่ายค้านที่เวลานี้เริ่มเกิดความปั่นป่วนภายใน อย่างน้อยก็เกิดความระแวง มีความขัดแย้งกันเริ่มรุนแรงมากขึ้น และที่น่าจับตาก็คือ เมื่อพรรคเศรษฐกิจใหม่มีแนวโน้มย้ายข้าง มันก็ย่อมส่งผลต่อเอกภาพภายในของพรรคร่วมฝ่ายค้านในแบบที่เรียกว่า“ทางใครทางมัน”
**ดังนั้นหากให้สรุปนาทีนี้ การย้ายข้างของพรรคเศรษฐกิจใหม่ เข้าร่วมรัฐบาล มันก็เหมือนกับการทลายกำแพงสองขั้วการเมือง จะสร้างความปั่นป่วนให้กับพรรคฝ่ายค้านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากปริมาณงูเห่า ที่คาดว่าอีกไม่นานจะเปิดหน้าให้เห็นแบบชัดเจน ไม่แคร์กันอีกต่อไป !!