ผู้จัดการรายวัน 360 - "ม็อบชุดดำ" ค้านแบน 3 สารเคมี รวมตัวบุกทำเนียบร้อง "บิ๊กตู่" ให้คกก.สารวัตถุอันตรายยุติการพิจารณาอย่างเร่งด่วน จี้ไล่ "มนัญญา" พ้นรมต. ฟากเครือข่ายเยาวชนหิ้วปิ่นโตกินข้าวหน้า สธ. หนุนแบน 3 สารเคมี วอนปกป้องเด็กและเยาวชนให้เข้าถึงอาหารปลอดภัย หวั่นสารพิษทำลายพัฒนาการ เสี่ยงออทิสติก "มนัญญา" ย้ำทุกอย่างตามกฎหมาย “สุริยะ” ถกแบน 3 สารพิษคงเดิมหรือไม่วันนี้
วานนี้ (26 พ.ย.) ที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ รายงานข่าวแจ้งว่ากลุ่มคัดค้านการแบน 3 สารเคมีอันตราย ประมาณ 2,000 คน ที่นัดหมายสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรปลอดภัย กลุ่มเครือข่ายคนรักแม่กลอง กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรและแนวร่วมผู้ได้รับผลกระทบจากการแบน 3 สารเคมีเกษตร สมาคมไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้าวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย และเกษตรกรกว่า 1,000 คน เดินเท้าไปยังบริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการแบน 3 สารเคมี ถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนมติการแบนสารเคมีดังกล่าว โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมารับหนังสื่อร้องเรียนจากกลุ่มดังกล่าว
โดยได้ออกแถลงการณ์ร่วมสรุปว่า คัดค้านการยกเลิกการใช้พาราควอต คลอร์ไพริฟอสเซต และไกลโฟเซต ในภาคการเกษตร เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการยกเลิกส่งผลกระทบทำให้เกษตรกรจำนวนมากกว่า 2 ล้านครัวเรือน ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ อย่างไรก็ตามจากการที่ผลผลิตในประเทศลดลง 20-30 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ต้นทุนเกษตรกรเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และการยกเลิกการใช้สารทั้งสองชนิดอย่างเร่งรีบและไม่มีมาตรการรองรับ
เนื่องจากเงื่อนไขในการประกาศกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ 387 พ.ศ.2560 อันจะนำไปสู่วิกฤติการขาดแคลนอาหารทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจประเทศมูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท และการจ้างงานในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารจำนวนกว่า 12 ล้านคน ฉะนั้นทางกลุ่มจึงขอให้รัฐบาลดำเนินการยุติการยกเลิกศาลทั้งสามชนิดจนกว่าจะมีผลการศึกษาทบทวนข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถี่ถ้วน
ด้านน.ส.อัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร กลุ่มเครือข่ายคนรักแม่กลอง กล่าวว่า ตนขอเรียกร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยกัน 5 ข้อ 1. เกษตรกรขอใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ในมาตรา 43 (3) ประกอบมาตรา 77 ทวงสิทธิ์ผลการรับฟังความคิดเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่คัดค้านการแบน 3 สาร 2.ขอให้ตระหนักถึงผลกระทบของเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน 3.ขอเรียกร้องให้ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ หยุดปฎิบัติหน้าที่ 4.ขอเรียกร้องให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ตลอดจนข้าราชการในกระทรวงสาธารสุข และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายด้านสารเคมีแห่งชาติ ให้นำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะใบรายงานการตรวจสอบที่ยืนยันว่า ตรวจสารตกค้างของสารทั้ง 3 ชนิด ออกมายืนยัน 5.ขอเรียกร้องให้นักวิชาการแสดงความรับผิดชอบและยืนยันว่างานวิชาการที่ตนวิจัยนั้นมีความถูกต้องตามหลักวิชาการจริง
เครือข่ายเยาวชน หนุนแบน 3 สารพิษ
ขณะเดียวกันนายสุรนาถ แป้นประเสริฐ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง (Active Youth) พร้อมแกนนำเยาวชนหลายเครือข่าย เดินทางมายังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนการแบนสารเคมีทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิด โดยทางเครือข่ายฯ ยังมีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ นำปิ่นโตใส่อาหารมารับประทานร่วมกัน เพื่อสื่อถึงความต้องการอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีให้เด็กเยาวชนเติบโตอย่างปลอดภัย เพราะสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานตกค้างในพืชผักผลไม้ เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคเนื้อเน่า และที่น่าห่วงคือ ส่งผลต่อการเป็นออทิสติกในเด็ก ปัญหาพัฒนาการทางสมองของเด็ก
"เครือข่ายขอแสดงจุดยืนและข้อเสนอต่อกรแบน 3 สารเคมีต่อ สธ.และรัฐบาล ดังนี้ 1.ขอสนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้ายกเลิกการใช้ 3 สารพิษอันตราย ภายในวันที่ 1 ธ.ค. 2562 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ขอให้ยึดมั่นในจุดยืนเพื่อประโยชน์สาธารณะมากกว่าการค้า 2.สนับสนุนให้รัฐบาลดำเนินทุกวิถีทางเพื่อทำให้เด็ก เยาวชน และพลเมืองทุกคนเข้าถึงอาหารปลอดภัย เติบโตภายใต้บริบทสังคมที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งอาหารและสิ่งแวดล้อม 3.เครือข่ายฯ ห่วงใยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมี ซึ่งคือญาติพี่น้องพี่ป้าน้าอาของเรา จึงขอสนับสนุนให้ใช้แนวทางเกษตรกรรมและการผลิตอาหารที่ยั่งยืน เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภค โดยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ และ 4.ขอชื่นชมจุดยืน สธ.ที่ชัดเจนในการปก้องสุขภาพประชาชน และยินดีเข้ามาร่วมในการเฝ้าระวังให้มีระบบอาหารที่ปลอดภัยและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค" นายสุรนาถ กล่าว
น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงข้อสรุปเรื่องการแบน 3 สารพิษ ว่า ขอให้รอมติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายในวันนี้ก่อน แล้วจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย และตามมติของคณะกรรมการที่มีออกมาก่อนหน้านี้ จากนี้ก็ขอให้เป็นเรื่องของทางคณะกรรมการที่จะตัดสินว่าจะออกมาเป็นแบบไหน
"หากจะมีการเปลี่ยนแปลงมติครั้งแรก ในครั้งที่สองมันก็ต้องมีความหนักแน่นว่ามีเหตุผลอะไรที่จะไปลบล้างคำสั่งหรือมติครั้งแรกได้"รมช.เกษตรฯ ระบุ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ว่า เรื่อง 3 สารเคมีทางการเกษตร ก็ยังเป็นไปตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่ประชุมไปเมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็ชัดเจนแล้วว่า ทั้ง 3 สาร จะต้องหยุดใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป
หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนคณะกรรมการดังกล่าวโดยมี รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่าจะมีการเรียกประชุมเมื่อใด และมีมาตรการอย่างไรต่อไป ส่วนข้อเรียกร้องที่จะให้ขยายเวลาจากวันที่ 1 ธ.ค. ออกไป มีการพูดคุยกันหรือไม่นั้น เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของคณะกรรมการฯ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่จะมีการประชุมวันนี้ (27 พ.ย.) จะขอรับฟังข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรก่อน หากเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายคงมติเดิม คือ แบน 3 สารเคมี และมีวิธีการส่งออกสารเคมีทั้ง 3 ก็จะยึดถือข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรป้อนให้ แต่ถ้าหากข้อมูลออกมา เห็นว่าหากแบน 3 สารเคมีแล้วจะมีผลกระทบตามมามาก และทางกรมวิชาการเกษตรเสนอว่าควรให้เลื่อนการแบนออกไปก่อนก็จะรับฟัง ดังนั้น การพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ทางกรมวิชาการเกษตรส่งเข้ามายังคณะกรรมการฯประกอบการตัดสินใจ พร้อมยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือ กับนายอนุทิน
วานนี้ (26 พ.ย.) ที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ รายงานข่าวแจ้งว่ากลุ่มคัดค้านการแบน 3 สารเคมีอันตราย ประมาณ 2,000 คน ที่นัดหมายสวมใส่เสื้อผ้าสีดำ ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรปลอดภัย กลุ่มเครือข่ายคนรักแม่กลอง กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรและแนวร่วมผู้ได้รับผลกระทบจากการแบน 3 สารเคมีเกษตร สมาคมไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้าวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย และเกษตรกรกว่า 1,000 คน เดินเท้าไปยังบริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการแบน 3 สารเคมี ถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทบทวนมติการแบนสารเคมีดังกล่าว โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมารับหนังสื่อร้องเรียนจากกลุ่มดังกล่าว
โดยได้ออกแถลงการณ์ร่วมสรุปว่า คัดค้านการยกเลิกการใช้พาราควอต คลอร์ไพริฟอสเซต และไกลโฟเซต ในภาคการเกษตร เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการยกเลิกส่งผลกระทบทำให้เกษตรกรจำนวนมากกว่า 2 ล้านครัวเรือน ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ อย่างไรก็ตามจากการที่ผลผลิตในประเทศลดลง 20-30 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ต้นทุนเกษตรกรเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า และการยกเลิกการใช้สารทั้งสองชนิดอย่างเร่งรีบและไม่มีมาตรการรองรับ
เนื่องจากเงื่อนไขในการประกาศกระทรวงสาธารณสุขเลขที่ 387 พ.ศ.2560 อันจะนำไปสู่วิกฤติการขาดแคลนอาหารทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจประเทศมูลค่า 1.7 ล้านล้านบาท และการจ้างงานในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารจำนวนกว่า 12 ล้านคน ฉะนั้นทางกลุ่มจึงขอให้รัฐบาลดำเนินการยุติการยกเลิกศาลทั้งสามชนิดจนกว่าจะมีผลการศึกษาทบทวนข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างถี่ถ้วน
ด้านน.ส.อัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร กลุ่มเครือข่ายคนรักแม่กลอง กล่าวว่า ตนขอเรียกร้องไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ ด้วยกัน 5 ข้อ 1. เกษตรกรขอใช้สิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ในมาตรา 43 (3) ประกอบมาตรา 77 ทวงสิทธิ์ผลการรับฟังความคิดเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่คัดค้านการแบน 3 สาร 2.ขอให้ตระหนักถึงผลกระทบของเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน 3.ขอเรียกร้องให้ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ หยุดปฎิบัติหน้าที่ 4.ขอเรียกร้องให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ตลอดจนข้าราชการในกระทรวงสาธารสุข และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนานโยบายด้านสารเคมีแห่งชาติ ให้นำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะใบรายงานการตรวจสอบที่ยืนยันว่า ตรวจสารตกค้างของสารทั้ง 3 ชนิด ออกมายืนยัน 5.ขอเรียกร้องให้นักวิชาการแสดงความรับผิดชอบและยืนยันว่างานวิชาการที่ตนวิจัยนั้นมีความถูกต้องตามหลักวิชาการจริง
เครือข่ายเยาวชน หนุนแบน 3 สารพิษ
ขณะเดียวกันนายสุรนาถ แป้นประเสริฐ ผู้ประสานงานเครือข่ายเยาวชนลดปัจจัยเสี่ยง (Active Youth) พร้อมแกนนำเยาวชนหลายเครือข่าย เดินทางมายังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยื่นหนังสือถึง นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนการแบนสารเคมีทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิด โดยทางเครือข่ายฯ ยังมีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ นำปิ่นโตใส่อาหารมารับประทานร่วมกัน เพื่อสื่อถึงความต้องการอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีให้เด็กเยาวชนเติบโตอย่างปลอดภัย เพราะสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานตกค้างในพืชผักผลไม้ เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคเนื้อเน่า และที่น่าห่วงคือ ส่งผลต่อการเป็นออทิสติกในเด็ก ปัญหาพัฒนาการทางสมองของเด็ก
"เครือข่ายขอแสดงจุดยืนและข้อเสนอต่อกรแบน 3 สารเคมีต่อ สธ.และรัฐบาล ดังนี้ 1.ขอสนับสนุนให้รัฐบาลเดินหน้ายกเลิกการใช้ 3 สารพิษอันตราย ภายในวันที่ 1 ธ.ค. 2562 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ขอให้ยึดมั่นในจุดยืนเพื่อประโยชน์สาธารณะมากกว่าการค้า 2.สนับสนุนให้รัฐบาลดำเนินทุกวิถีทางเพื่อทำให้เด็ก เยาวชน และพลเมืองทุกคนเข้าถึงอาหารปลอดภัย เติบโตภายใต้บริบทสังคมที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งอาหารและสิ่งแวดล้อม 3.เครือข่ายฯ ห่วงใยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมี ซึ่งคือญาติพี่น้องพี่ป้าน้าอาของเรา จึงขอสนับสนุนให้ใช้แนวทางเกษตรกรรมและการผลิตอาหารที่ยั่งยืน เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภค โดยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ และ 4.ขอชื่นชมจุดยืน สธ.ที่ชัดเจนในการปก้องสุขภาพประชาชน และยินดีเข้ามาร่วมในการเฝ้าระวังให้มีระบบอาหารที่ปลอดภัยและเป็นธรรมต่อผู้บริโภค" นายสุรนาถ กล่าว
น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงข้อสรุปเรื่องการแบน 3 สารพิษ ว่า ขอให้รอมติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายในวันนี้ก่อน แล้วจะดำเนินการอย่างไรก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง ทุกอย่างต้องดำเนินการไปตามกฎหมาย และตามมติของคณะกรรมการที่มีออกมาก่อนหน้านี้ จากนี้ก็ขอให้เป็นเรื่องของทางคณะกรรมการที่จะตัดสินว่าจะออกมาเป็นแบบไหน
"หากจะมีการเปลี่ยนแปลงมติครั้งแรก ในครั้งที่สองมันก็ต้องมีความหนักแน่นว่ามีเหตุผลอะไรที่จะไปลบล้างคำสั่งหรือมติครั้งแรกได้"รมช.เกษตรฯ ระบุ
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข ว่า เรื่อง 3 สารเคมีทางการเกษตร ก็ยังเป็นไปตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่ประชุมไปเมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ก็ชัดเจนแล้วว่า ทั้ง 3 สาร จะต้องหยุดใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ เป็นต้นไป
หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนคณะกรรมการดังกล่าวโดยมี รมว.อุตสาหกรรม เป็นประธาน ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่าจะมีการเรียกประชุมเมื่อใด และมีมาตรการอย่างไรต่อไป ส่วนข้อเรียกร้องที่จะให้ขยายเวลาจากวันที่ 1 ธ.ค. ออกไป มีการพูดคุยกันหรือไม่นั้น เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของคณะกรรมการฯ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่จะมีการประชุมวันนี้ (27 พ.ย.) จะขอรับฟังข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรก่อน หากเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายคงมติเดิม คือ แบน 3 สารเคมี และมีวิธีการส่งออกสารเคมีทั้ง 3 ก็จะยึดถือข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรป้อนให้ แต่ถ้าหากข้อมูลออกมา เห็นว่าหากแบน 3 สารเคมีแล้วจะมีผลกระทบตามมามาก และทางกรมวิชาการเกษตรเสนอว่าควรให้เลื่อนการแบนออกไปก่อนก็จะรับฟัง ดังนั้น การพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ทางกรมวิชาการเกษตรส่งเข้ามายังคณะกรรมการฯประกอบการตัดสินใจ พร้อมยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่ได้หารือ กับนายอนุทิน