"กุลิศ" ประเดิมถก “คณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม” นัดแรก ดันตั้งคณะทำงานย่อยรื้อโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่น 28 พ.ย.นี้ ด้านภาคประชาชน นำโดย"รสนา" เสนอรัฐหั่นภาษีสรรพสามิตน้ำมันโดยเฉพาะดีเซลลง 3 บาทต่อลิตร พร้อมปรับโครงสร้างราคาหน้าโรงกลั่น หวังลดราคาขายปลีกน้ำมัน มอบให้เป็นของขวัญปีใหม่ เชื่อลดรายจ่ายคนไทยทั่วถึง กระตุ้น ศก.ดีกว่าชิม ช้อป ใช้
วานนี้ (21 พ.ย.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม เปิดเผยหลังการประชุมคณะทำงานฯนัดแรก หลังจาก นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ได้ลงนามแต่งตั้งเมื่อ 20 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ได้มีการหารือถึงแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันซึ่งประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษีสรรพสามิต ค่าการตลาด ฯลฯ โดยเบื้องต้นมีข้อสรุปร่วมกันที่จะตั้งคณะทำงานย่อย เพื่อหารือราคาหน้าโรงกลั่นก่อน ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ส่วนจะสามารถนำไปสู่การลดราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศได้หรือไม่ ยังต้องหาข้อยุติร่วมกัน
"คณะทำงานชุดใหญ่ 39 คน มีเป้าหมายร่วมกันในการก้าวข้ามปัญหาข้อโต้แย้ง และความเห็นต่างด้านพลังงาน และจากหารือครั้งนี้ หลายเรื่องมีรายละเอียดต้องคุยกันมาก จึงสรุปที่จะตั้งคณะทำงานย่อย 20 คน มาดูรายละเอียดในประเด็นต่างๆ โดยมี รมว.พลังงาน หรือปลัดฯพลังงานเป็นประธาน" นายกุลิศ กล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้แทนภาคประชาชนในคณะทำงานฯ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ภาคประชาชนได้สนับสนุนให้รัฐปรับโครงสร้างราคาเพื่อลดราคาจำหน่ายให้กับพี่น้องประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง และในมุมองของภาคประชาชนต้องการเห็นรัฐได้ข้อสรุปที่จะนำไปสู่การลดราคาขายปลีกน้ำมัน เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน โดยเฉพาะการหารือในคณะทำงานด้านราคาหน้าโรงกลั่น ควรได้ข้อยุติในวันที่ 28 พ.ย.นี้ทันที
สำหรับแนวทางที่ภาคประชาชนเสนอปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่สำคัญคือ การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลงมา โดยเฉพาะดีเซล ที่เก็บจากปัจจุบัน ประมาณ 6 บาทต่อลิตร ให้เหลือเพียง 3 บาทต่อลิตร ซึ่งเห็นว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำเงิน 1.6 แสนล้านบาท ไปใช้ในมาตรการชิม ช้อป ใช้ ที่ช่วยเหลือคนได้เพียง 5 ล้านคน แต่หากราคาน้ำมันลดลง จะทำให้คนในประเทศได้รับประโยชน์เป็นวงกว้าง สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันรัฐมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ในปี 2561 จำนวน 2.23 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นเงินที่สูงมาก
"โครงสร้างราคาน้ำมันเกี่ยวข้องหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งที่ต้องดูนอกจากภาษีฯ คือ ราคาหน้าโรงกลั่นที่เราเห็นว่า วันนี้เราอิงราคาที่สิงคโปร์ ซึ่งควรอ้างอิงราคาส่งออกที่ไทยมากกว่า เพราะเป็นราคาที่แท้จริง หากปรับส่วนนี้จะลดราคาขายปลีกได้ถึง 1 บาทต่อลิตร เช่นเดียวกับค่าการตลาดน้ำมัน ที่เห็นว่าไม่ควรเกิน 1.50 บาทต่อลิตร จากปัจจุบันเฉลี่ย 1.80 บาทต่อลิตร เป็นต้น" น.ส.รสนา กล่าว
สำหรับประเด็นที่ภาคประชาชนต้องการให้รัฐมีการแก้ไขนอกเหนือจากการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน รวมไปถึงการส่งเสริมเอทานอล และไบโอดีเซล ที่จะส่งผลดีต่อเกษตรกรในประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งปาล์ม อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น
ด้าน นางบุญยืน ศิริธรรม หนึ่งในผู้แทนคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ภาคประชาชน กล่าวว่า คณะทำงานมีข้อตกลงร่วมกันที่จะให้คณะทำงานย่อยที่ตั้งขึ้นมา ต้องแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในทุกครั้งที่มีการประชุม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ทั้งนี้ หากการประชุมในลักษณะคณะทำงานดังกล่าว สามารถคลี่คลายปัญหาโครงสร้างราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม โดยที่แต่ละฝ่ายยอมรับกันได้ ก็น่าจะใช้เวทีดังกล่าวแก้ปัญหาเรื่องพลังงานอื่นๆด้วยในอนาคต
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่า ประเด็นที่จะหารือร่วมกันแบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ 1. โครงสร้างราคาน้ำมัน และ 2.โครงสร้างราคาก๊าซ ซึ่งมีองค์ประกอบในการหารือ ประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษี การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และค่าการตลาด โดยเรื่องแรกที่จะมีการหารือร่วมกัน คือ ประเด็นราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งจะประชุมในวันที่ 28 พ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
วานนี้ (21 พ.ย.) นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม เปิดเผยหลังการประชุมคณะทำงานฯนัดแรก หลังจาก นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ได้ลงนามแต่งตั้งเมื่อ 20 พ.ย.ที่ผ่านมาว่า ได้มีการหารือถึงแนวทางการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันซึ่งประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษีสรรพสามิต ค่าการตลาด ฯลฯ โดยเบื้องต้นมีข้อสรุปร่วมกันที่จะตั้งคณะทำงานย่อย เพื่อหารือราคาหน้าโรงกลั่นก่อน ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ ส่วนจะสามารถนำไปสู่การลดราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศได้หรือไม่ ยังต้องหาข้อยุติร่วมกัน
"คณะทำงานชุดใหญ่ 39 คน มีเป้าหมายร่วมกันในการก้าวข้ามปัญหาข้อโต้แย้ง และความเห็นต่างด้านพลังงาน และจากหารือครั้งนี้ หลายเรื่องมีรายละเอียดต้องคุยกันมาก จึงสรุปที่จะตั้งคณะทำงานย่อย 20 คน มาดูรายละเอียดในประเด็นต่างๆ โดยมี รมว.พลังงาน หรือปลัดฯพลังงานเป็นประธาน" นายกุลิศ กล่าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ผู้แทนภาคประชาชนในคณะทำงานฯ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ภาคประชาชนได้สนับสนุนให้รัฐปรับโครงสร้างราคาเพื่อลดราคาจำหน่ายให้กับพี่น้องประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง และในมุมองของภาคประชาชนต้องการเห็นรัฐได้ข้อสรุปที่จะนำไปสู่การลดราคาขายปลีกน้ำมัน เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน โดยเฉพาะการหารือในคณะทำงานด้านราคาหน้าโรงกลั่น ควรได้ข้อยุติในวันที่ 28 พ.ย.นี้ทันที
สำหรับแนวทางที่ภาคประชาชนเสนอปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่สำคัญคือ การปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันลงมา โดยเฉพาะดีเซล ที่เก็บจากปัจจุบัน ประมาณ 6 บาทต่อลิตร ให้เหลือเพียง 3 บาทต่อลิตร ซึ่งเห็นว่าเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการนำเงิน 1.6 แสนล้านบาท ไปใช้ในมาตรการชิม ช้อป ใช้ ที่ช่วยเหลือคนได้เพียง 5 ล้านคน แต่หากราคาน้ำมันลดลง จะทำให้คนในประเทศได้รับประโยชน์เป็นวงกว้าง สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันรัฐมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ในปี 2561 จำนวน 2.23 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นเงินที่สูงมาก
"โครงสร้างราคาน้ำมันเกี่ยวข้องหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งที่ต้องดูนอกจากภาษีฯ คือ ราคาหน้าโรงกลั่นที่เราเห็นว่า วันนี้เราอิงราคาที่สิงคโปร์ ซึ่งควรอ้างอิงราคาส่งออกที่ไทยมากกว่า เพราะเป็นราคาที่แท้จริง หากปรับส่วนนี้จะลดราคาขายปลีกได้ถึง 1 บาทต่อลิตร เช่นเดียวกับค่าการตลาดน้ำมัน ที่เห็นว่าไม่ควรเกิน 1.50 บาทต่อลิตร จากปัจจุบันเฉลี่ย 1.80 บาทต่อลิตร เป็นต้น" น.ส.รสนา กล่าว
สำหรับประเด็นที่ภาคประชาชนต้องการให้รัฐมีการแก้ไขนอกเหนือจากการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน ซึ่งยังเกี่ยวข้องกับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน รวมไปถึงการส่งเสริมเอทานอล และไบโอดีเซล ที่จะส่งผลดีต่อเกษตรกรในประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งปาล์ม อ้อย และมันสำปะหลัง เป็นต้น
ด้าน นางบุญยืน ศิริธรรม หนึ่งในผู้แทนคณะทำงานเพื่อพลังงานที่เป็นธรรม ภาคประชาชน กล่าวว่า คณะทำงานมีข้อตกลงร่วมกันที่จะให้คณะทำงานย่อยที่ตั้งขึ้นมา ต้องแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในทุกครั้งที่มีการประชุม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ทั้งนี้ หากการประชุมในลักษณะคณะทำงานดังกล่าว สามารถคลี่คลายปัญหาโครงสร้างราคาพลังงานที่ไม่เป็นธรรม โดยที่แต่ละฝ่ายยอมรับกันได้ ก็น่าจะใช้เวทีดังกล่าวแก้ปัญหาเรื่องพลังงานอื่นๆด้วยในอนาคต
นายวัชระ กรรณิการ์ โฆษกกระทรวงพลังงาน ในฐานะคณะทำงานฯ กล่าวว่า ประเด็นที่จะหารือร่วมกันแบ่งเป็น 2 เรื่องหลัก คือ 1. โครงสร้างราคาน้ำมัน และ 2.โครงสร้างราคาก๊าซ ซึ่งมีองค์ประกอบในการหารือ ประกอบด้วย ราคาหน้าโรงกลั่น ภาษี การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนอนุรักษ์พลังงาน และค่าการตลาด โดยเรื่องแรกที่จะมีการหารือร่วมกัน คือ ประเด็นราคาหน้าโรงกลั่น ซึ่งจะประชุมในวันที่ 28 พ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.