ผู้จัดการรายวัน 360 - ราชกิจจานิเบกษา ประกาศจัดเก็บ'สารพิษอันตราย' ผู้มีไว้ในครอบครองต้องแจ้งภายใน 15 วัน สธ.รายงาน ครม.เกษตรกรเจ็บป่วยจาก 3 สารพิษ 10,000 รายต่อปี เห็นควรยุติใช้ทันที "บิ๊กตู่" กำชับฯ ก.เกษตรฯ เร่งทำความเข้าใจเกษตรกร “สุริยะ”รอฟังผลประชาพิจารณ์ถึงผลกระทบและแนวนทางแก้ไขทั้งระบบ องค์การหนุนแบนสารเคมีเกษตร 686 องค์กร จัดเวทีหาทางเลือกเกษตรกรรมไทย หลังแบน 3 สารพิษ
วานนี้ (19พ.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 1511/2562 เรื่อง การดำเนินการกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกคำสั่งไว้ ได้แก่ ข้อที่ 1 วัตถุอันตรายตามคำสั่งนี้ วัตถุอันตรายไกลโฟเซต ไกลโฟเซต -เซสควิโซเดียม ไกลโฟเซต –โซเดียม ไกลโฟเซต –ไดแอมโมเนียม ไกลโฟเซต –ไตรมีเซียมไกลโฟเซต -โพแทสเซียม ไกลโฟเซต –โมโนเอทิลแอมโมเนียม ไกลโฟเซต –โมโนแอมโมเนียม ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียมคลอร์ไพริฟอส คลอร์ไพริฟอส –เมทิล พาราควอต พาราควอตไดคลอไรด์และพาราควอตไดคลอไรด์ [บิส (เมทิลซัลเฟต)] ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ข้อที่ 2. ให้วัตถุอันตราย ตามข้อ 1 ต้องแจ้งปริมาณที่มีไว้ในครอบครอง ภายใน 15 วัน และให้ผู้ครอบครอง ส่งมอบวัตถุอันตรายดังกล่าว ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แจ้งปริมาณการครอบครอง โดยคำสั่งนี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.62 เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 29 ต.ค. พ.ศ.62
เกษตรกรป่วยจาก3สารพิษ1หมื่นรายต่อปี
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ ได้รับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมตลอดทั้งการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน [กรณีกรมวิชาการเกษตรดำเนินการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย พาราควอต ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่รอผลการพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่อาจจะประกาศห้ามใช้] ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบ
นางนฤมล กล่าวว่า โดยมีสัดส่วนของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจะเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชยังมีแนวโน้มสูงขึ้นและสถานการณ์เจ็บป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชที่รายงานสถานการณ์โรค จากหน่วยบริการทั่วประเทศ ในช่วงปี 2558 – 2562 พบว่า มีอุบัติการณ์ระหว่าง 8.9 – 17.12 รายต่อประชากรแสนราย หรือ ประชาชน 10,000 รายต่อปี ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์ประวัติการเจ็บป่วยโดยละเอียดพบว่า ในช่วงเดือนก.ย.ของทุกปีมักจะเจ็บป่วยจากการฉีดพ่นพาราควอต และจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาที่มีการฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าในไร่อ้อยหรือในนาข้าว แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาฆ่าหญ้าทางการเกษตรมีผลต่อการเจ็บป่วยของประชาชน ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า การใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด ก่อให้เกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมตามพ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกัน และควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ จึงเห็นควรยุติการใช้สารเคมีทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิดทันที
'บิ๊กตู่'จี้ทำความเข้าใจเกษตรกร หลังแบน 3 สารพิษ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงการแบน 3 สารพิษ ให้มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 ธ.ค.นี้ ว่า ต่อไปก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องของการทำความเข้าใจ ซึ่งวันนี้ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับผู้ส่งออกและนำเข้าสารเคมี รวมทั้งทำความเข้าใจกับเกษตรกร และประชาชนว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไรในเรื่องนี้ ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้
“สุริยะ”รอฟังผลประชาพิจารณ์ฯ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย กล่าวว่า ได้สั่งการให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมสอบถามไปยังกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดก่อนให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำประชาพิจารณ์ และยกร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับสารเคมีทางการเกษตร 3ชนิด ซึ่งจะมีผลให้ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก และมีไว้ครอบครอง คาดว่ากรมวิชาการเกษตรจะส่งเรื่องกลับมาภายใน 1-2 วันนี้ หลังจากนั้นจะเรียกประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดใหม่
องค์การหนุนแบนสารเคมีเกษตร 686 องค์กร
วานนี้ (19พ.ย.) ที่ห้องศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ชั้น 2 ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์กรุงเทพฯ มูลนิธิชีววิถี ร่วมกับเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร จัดสัมมนาเวที “เกษตรกรรมไทยหลังมติแบน พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส”
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ. มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า มาตรการการยกเลิกใช้ 3 สารเคมีนั้น เรามีทางเลือกให้เกษตรกรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในกลุ่มพืชเศรษฐกิจ 6 ชนิดอย่างแน่นอน ซึ่งการทำเกษตรกรรมวิถีอินทรีย์ จะช่วยตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้รัฐบาลต้องยืนยัน แบน 3 สารเคมีตามระยะเวลาที่กำหนด
น.ส.ทัศนีย์ วีระกันต์ ผู้ประสานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า เรามีข้อเสนอเรียกร้องไปยังรัฐบาลในการกำหนดมาตรการสู่การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ คือ 1.มาตรการทางการเงิน 2. มาตรการทางภาษี และ 3.กำหนดมาตรการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เช่น จัดตั้ง พรบ.ควบคุมสารเคมี โดยให้แยกออกจาก พรบ.วัตถุอันตราย และจัดตั้ง พรบ.สนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน
วานนี้ (19พ.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 1511/2562 เรื่อง การดำเนินการกับวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 ที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ออกคำสั่งไว้ ได้แก่ ข้อที่ 1 วัตถุอันตรายตามคำสั่งนี้ วัตถุอันตรายไกลโฟเซต ไกลโฟเซต -เซสควิโซเดียม ไกลโฟเซต –โซเดียม ไกลโฟเซต –ไดแอมโมเนียม ไกลโฟเซต –ไตรมีเซียมไกลโฟเซต -โพแทสเซียม ไกลโฟเซต –โมโนเอทิลแอมโมเนียม ไกลโฟเซต –โมโนแอมโมเนียม ไกลโฟเซต-ไอโซโพรพิลแอมโมเนียมคลอร์ไพริฟอส คลอร์ไพริฟอส –เมทิล พาราควอต พาราควอตไดคลอไรด์และพาราควอตไดคลอไรด์ [บิส (เมทิลซัลเฟต)] ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ออกตามความในมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ข้อที่ 2. ให้วัตถุอันตราย ตามข้อ 1 ต้องแจ้งปริมาณที่มีไว้ในครอบครอง ภายใน 15 วัน และให้ผู้ครอบครอง ส่งมอบวัตถุอันตรายดังกล่าว ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่แจ้งปริมาณการครอบครอง โดยคำสั่งนี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.62 เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 29 ต.ค. พ.ศ.62
เกษตรกรป่วยจาก3สารพิษ1หมื่นรายต่อปี
นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ ได้รับทราบรายงานสรุปผลการพิจารณาข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนรวมตลอดทั้งการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใดๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน [กรณีกรมวิชาการเกษตรดำเนินการต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย พาราควอต ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่รอผลการพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่อาจจะประกาศห้ามใช้] ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบ
นางนฤมล กล่าวว่า โดยมีสัดส่วนของเกษตรกรที่มีความเสี่ยงจะเจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชยังมีแนวโน้มสูงขึ้นและสถานการณ์เจ็บป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชที่รายงานสถานการณ์โรค จากหน่วยบริการทั่วประเทศ ในช่วงปี 2558 – 2562 พบว่า มีอุบัติการณ์ระหว่าง 8.9 – 17.12 รายต่อประชากรแสนราย หรือ ประชาชน 10,000 รายต่อปี ซึ่งเมื่อทำการวิเคราะห์ประวัติการเจ็บป่วยโดยละเอียดพบว่า ในช่วงเดือนก.ย.ของทุกปีมักจะเจ็บป่วยจากการฉีดพ่นพาราควอต และจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า มีการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาที่มีการฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าในไร่อ้อยหรือในนาข้าว แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาฆ่าหญ้าทางการเกษตรมีผลต่อการเจ็บป่วยของประชาชน ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่า การใช้วัตถุอันตรายทั้ง 3 ชนิด ก่อให้เกิดโรคจากสิ่งแวดล้อมตามพ.ร.บ.ควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 จึงมีความจำเป็นที่จะต้องป้องกัน และควบคุมโรคจากสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับมลพิษ จึงเห็นควรยุติการใช้สารเคมีทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิดทันที
'บิ๊กตู่'จี้ทำความเข้าใจเกษตรกร หลังแบน 3 สารพิษ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมครม. ถึงการแบน 3 สารพิษ ให้มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 ธ.ค.นี้ ว่า ต่อไปก็เป็นขั้นตอนของการดำเนินการ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป โดยเฉพาะในเรื่องของการทำความเข้าใจ ซึ่งวันนี้ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้หารือกับผู้ส่งออกและนำเข้าสารเคมี รวมทั้งทำความเข้าใจกับเกษตรกร และประชาชนว่าจะแก้ปัญหากันอย่างไรในเรื่องนี้ ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้
“สุริยะ”รอฟังผลประชาพิจารณ์ฯ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย กล่าวว่า ได้สั่งการให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมสอบถามไปยังกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดก่อนให้กรมวิชาการเกษตรจัดทำประชาพิจารณ์ และยกร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับสารเคมีทางการเกษตร 3ชนิด ซึ่งจะมีผลให้ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก และมีไว้ครอบครอง คาดว่ากรมวิชาการเกษตรจะส่งเรื่องกลับมาภายใน 1-2 วันนี้ หลังจากนั้นจะเรียกประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายชุดใหม่
องค์การหนุนแบนสารเคมีเกษตร 686 องค์กร
วานนี้ (19พ.ย.) ที่ห้องศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ชั้น 2 ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์กรุงเทพฯ มูลนิธิชีววิถี ร่วมกับเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร จัดสัมมนาเวที “เกษตรกรรมไทยหลังมติแบน พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส”
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผอ. มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่า มาตรการการยกเลิกใช้ 3 สารเคมีนั้น เรามีทางเลือกให้เกษตรกรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะในกลุ่มพืชเศรษฐกิจ 6 ชนิดอย่างแน่นอน ซึ่งการทำเกษตรกรรมวิถีอินทรีย์ จะช่วยตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้รัฐบาลต้องยืนยัน แบน 3 สารเคมีตามระยะเวลาที่กำหนด
น.ส.ทัศนีย์ วีระกันต์ ผู้ประสานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า เรามีข้อเสนอเรียกร้องไปยังรัฐบาลในการกำหนดมาตรการสู่การเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้ คือ 1.มาตรการทางการเงิน 2. มาตรการทางภาษี และ 3.กำหนดมาตรการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เช่น จัดตั้ง พรบ.ควบคุมสารเคมี โดยให้แยกออกจาก พรบ.วัตถุอันตราย และจัดตั้ง พรบ.สนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน