ผู้จัดการรายวัน360-กกร. เตรียมหารือ 6 พ.ย.นี้ ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยโค้งสุดท้าย ส.อ.ท. ยอมรับห่วงค่าเงินบาทซ้ำเติมส่งออกที่เผชิญสงครามการค้า และยังถูกตัดสิทธิ GSP หวัง กนง. มีมติลดดอกเบี้ยลงอย่างน้อย 0.25% เพื่อประคองเศรษฐกิจและลดแรงกดดันค่าบาทไม่ให้หลุด 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 6 พ.ย.2562 ภาคเอกชนคาดหวังว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงขั้นต่ำ 0.25% จากระดับ 1.50% ในปัจจุบัน เพื่อประคองเศรษฐกิจและลดแรงกดดันจากภาะค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากกว่านี้ เนื่องจากต้องยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังอยู่ในช่วงชะลอตัว จึงต้องการให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม
“ก่อนหน้านี้ ส.อ.ท.และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เคยเสนอให้มีการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปแล้ว ซึ่งถือว่าลดช้าไป แต่ก็หวังว่า กนง. ครั้งนี้ จะลดลงอีก ซึ่งอาจจะไม่ได้ช่วยให้บาทอ่อนค่าได้มากนัก แต่อย่างน้อย ก็จะดูแลเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อรวมกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทยอยออกมาช่วงท้ายปี ทั้งชิมช้อปใช้ การกระตุ้นท่องเที่ยว ภาคอสังหาริมทรัพย์ ก็จะทำให้สถานการณ์ภาพรวมดีขึ้นบ้าง”นายสุพันธุ์กล่าว
นายสุพันธุ์กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย วันที่ 6 พ.ย.2562 จะหารือถึงภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทิศทางการส่งออกของไทยท่ามกลางปัจจัยสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงกรณีล่าสุดที่สหรัฐฯ เตรียมระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับสินค้าไทย 573 รายการ ที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออกไทย และสิ่งที่กังวลอย่างมาก คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าแตะ 30-30.25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ที่จะกดดันการส่งออกของไทยให้ต่ำลงได้อีก
“เรากังวล หากบาทหลุดระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ก็จะยิ่งน่าห่วงมากขึ้น เพราะค่าเงินบาท นับตั้งแต่ต้นปีมา 10 เดือนนี้ มีการแข็งค่ากว่า 6% ทำให้ขีดความสามารถในการส่งออกของไทย เมื่อเทียบกับคู่แข่ง สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้น ทำให้กำไรลดลงมาก ขณะที่ค่าเงินของประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ล้วนมีค่าเงินที่มีทิศทางอ่อนค่าลง เราจึงมีหลายปัจจัยที่ซ้ำเติมการส่งออกมาก”นายสุพันธุ์กล่าว
แหล่งข่าวจาก กกร. กล่าวว่า เอกชนมีความกังวลต่อค่าเงินบาทมากกว่าการที่ไทยจะถูกตัด GSP เพราะผลกระทบมีมากกว่า โดย 10 เดือนนับตั้งแต่ต้นปี ค่าเงินบาทที่แข็งค่าไปราว 6-7% ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยหายไปกว่า 6 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็พยุงเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก จึงเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ควรหามาตรการดูแลค่าเงินบาทมากขึ้น
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า คาดว่ากนง. วันที่ 6 พ.ย.2562 จะมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว จึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเชื่อว่าจะไม่ทำให้ค่าเงินบาทหลุดระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 6 พ.ย.2562 ภาคเอกชนคาดหวังว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงขั้นต่ำ 0.25% จากระดับ 1.50% ในปัจจุบัน เพื่อประคองเศรษฐกิจและลดแรงกดดันจากภาะค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากกว่านี้ เนื่องจากต้องยอมรับว่าภาวะเศรษฐกิจไทยปีนี้ ยังอยู่ในช่วงชะลอตัว จึงต้องการให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวม
“ก่อนหน้านี้ ส.อ.ท.และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เคยเสนอให้มีการพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปแล้ว ซึ่งถือว่าลดช้าไป แต่ก็หวังว่า กนง. ครั้งนี้ จะลดลงอีก ซึ่งอาจจะไม่ได้ช่วยให้บาทอ่อนค่าได้มากนัก แต่อย่างน้อย ก็จะดูแลเศรษฐกิจโดยรวม เมื่อรวมกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลทยอยออกมาช่วงท้ายปี ทั้งชิมช้อปใช้ การกระตุ้นท่องเที่ยว ภาคอสังหาริมทรัพย์ ก็จะทำให้สถานการณ์ภาพรวมดีขึ้นบ้าง”นายสุพันธุ์กล่าว
นายสุพันธุ์กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย วันที่ 6 พ.ย.2562 จะหารือถึงภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทิศทางการส่งออกของไทยท่ามกลางปัจจัยสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงกรณีล่าสุดที่สหรัฐฯ เตรียมระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับสินค้าไทย 573 รายการ ที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออกไทย และสิ่งที่กังวลอย่างมาก คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าแตะ 30-30.25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ที่จะกดดันการส่งออกของไทยให้ต่ำลงได้อีก
“เรากังวล หากบาทหลุดระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ก็จะยิ่งน่าห่วงมากขึ้น เพราะค่าเงินบาท นับตั้งแต่ต้นปีมา 10 เดือนนี้ มีการแข็งค่ากว่า 6% ทำให้ขีดความสามารถในการส่งออกของไทย เมื่อเทียบกับคู่แข่ง สินค้าไทยมีราคาสูงขึ้น ทำให้กำไรลดลงมาก ขณะที่ค่าเงินของประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ล้วนมีค่าเงินที่มีทิศทางอ่อนค่าลง เราจึงมีหลายปัจจัยที่ซ้ำเติมการส่งออกมาก”นายสุพันธุ์กล่าว
แหล่งข่าวจาก กกร. กล่าวว่า เอกชนมีความกังวลต่อค่าเงินบาทมากกว่าการที่ไทยจะถูกตัด GSP เพราะผลกระทบมีมากกว่า โดย 10 เดือนนับตั้งแต่ต้นปี ค่าเงินบาทที่แข็งค่าไปราว 6-7% ทำให้มูลค่าการส่งออกของไทยหายไปกว่า 6 หมื่นล้านบาทเลยทีเดียว แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็พยุงเศรษฐกิจได้ไม่มากนัก จึงเห็นว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ควรหามาตรการดูแลค่าเงินบาทมากขึ้น
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า คาดว่ากนง. วันที่ 6 พ.ย.2562 จะมีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว จึงจำเป็นต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจ และเชื่อว่าจะไม่ทำให้ค่าเงินบาทหลุดระดับ 30 บาทต่อเหรียญสหรัฐ