ผู้จัดการรายวัน 360-หุ้นไทยปิดพุ่งแรง 29.73 จุด ขานรับเจรจาสงความการค้าสหรัฐฯ-จีน มีสัญญาณที่ดี และไทยสามารถผลักดันเจรจา RCEP ได้ข้อยุติ เผยหุ้น "แจส" นำลิ่ว หลังดิ่งฟลอร์ วอลุ่มติดอันดับหนึ่ง ทะลักกว่า 5 พันล้านบาท ขุนคลังระบุ "ไอเอ็มเอฟ" แนะไทยใช้เครื่องมือทั้งการเงิน-การคลัง เข้ามาดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นวิกฤต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (4 พ.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในภาคเช้า จากการที่มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการขานรับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน มีสัญญาณที่ดีขึ้น รวมถึงการประชุมผู้นำอาเซียน ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ได้บรรลุผลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับตัวยืนเหนือระดับ 1,600 จุดอีกครั้ง แตะระดับสูงสุดที่ 1,624.83 จุด ต่ำสุดที่ 1,600.95 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,622.25 จุด เพิ่มขึ้น 29.73 จุด หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1.87% มูลค่าการซื้อขายรวม 64,499.36 ล้านบาท และทำให้มูลค่าตลาดราคาตลาดรวมกลับมายืนหนือ 17 ล้านล้านบาทอีกครั้ง
ทั้งนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 4,636.73 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 169.05 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ 345.59 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ขายสุทธิ 4,460.19 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่ร้อนแรงและถูกจับตามองมากที่สุด คือ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) มีแรงซื้อเข้ามาอย่างคึกคัก หลังจากก่อนหน้าถูกเทขายจนราคาร่วงลงมา ทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีปริมาณซื้อขายหนาแน่นติดอันดับหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดประจำวัน ราคาปิดที่ 4.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.52 บาท หรือ 11.87% มูลค่าการซื้อขาย 5,087.96 ล้านบาท ตามด้วย บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิด 45.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท หรือ 0.55% มูลค่า 2,653.34 ล้านบาท และอันดับ 3 บมจ.กัลฟ์เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ราคาปิด 172.00 บาท เพิ่มขึ้น 9.50 บาท หรือ 5.85% มูลค่า 2,545.20 ล้านบาท
นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับตลาดหุ้นเอเชีย แต่แรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยรับแรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขานรับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีสัญญาณที่ดีขึ้น บวกกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพ สามารถบรรลุข้อตกลง RCEP ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอาเซียน
ขณะที่ปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 6 พ.ย.2562 และผลประกอบการประจำไตรมาส 3/62 ของบริษัทจดทะเบียนที่กำลังทยอยประกาศ ส่วนแนวโน้มวันนี้ (5 พ.ย.) คาดดัชนีตลาดหุ้นยังคงแกว่งตัวไซด์เวย์ออกด้านข้าง มีแนวรับที่ 1,610 จุด และแนวต้าน 1,640 จุด
วันเดียวกันนี้ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้กล่าวภายหลังหารือร่วมกับนางคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และคณะ ว่า ได้ร่วมหารือถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันของโลกและของไทย โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกยังมีความท้าทายจากหลายปัจจัย ทั้งปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และปัญหาการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วส่งผลให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"IMF ใช้คำว่า Synchronized slowdown คือ หลายปัจจัยมารวมกัน มายำกันในช่วงนี้ และดึงเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัว จึงกระทบกับทุกประเทศ และไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น"นายอุตตมกล่าว
อย่างไรก็ตาม IMF ยังมองว่าไทยมีความโชคดีที่เศรษฐกิจมหภาคยังมีความแข็งแกร่ง ทำให้ยังสามารถใช้เครื่องมือทางด้านการเงินและการคลัง เพื่อดูแลเศรษฐกิจในช่วงเวลาเฉพาะหน้านี้ได้ พร้อมแนะนำให้ไทยต้องดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นไปอย่างใกล้ชิด และให้พิจารณาใช้ทุกเครื่องมือที่มีอยู่ดูแลเศรษฐกิจ ทั้งเครื่องมือทางการเงินและเครื่องมือทางการคลัง เพราะไทยมีความสามารถ มีความแข็งแกร่ง ที่จะใช้เครื่องมือดังกล่าวได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (4 พ.ย.) ดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงตั้งแต่เปิดการซื้อขายในภาคเช้า จากการที่มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นการขานรับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน มีสัญญาณที่ดีขึ้น รวมถึงการประชุมผู้นำอาเซียน ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ได้บรรลุผลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
โดยดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับตัวยืนเหนือระดับ 1,600 จุดอีกครั้ง แตะระดับสูงสุดที่ 1,624.83 จุด ต่ำสุดที่ 1,600.95 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 1,622.25 จุด เพิ่มขึ้น 29.73 จุด หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1.87% มูลค่าการซื้อขายรวม 64,499.36 ล้านบาท และทำให้มูลค่าตลาดราคาตลาดรวมกลับมายืนหนือ 17 ล้านล้านบาทอีกครั้ง
ทั้งนี้ นักลงทุนสถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 4,636.73 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 169.05 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศ ขายสุทธิ 345.59 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ขายสุทธิ 4,460.19 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่ร้อนแรงและถูกจับตามองมากที่สุด คือ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) มีแรงซื้อเข้ามาอย่างคึกคัก หลังจากก่อนหน้าถูกเทขายจนราคาร่วงลงมา ทำให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีปริมาณซื้อขายหนาแน่นติดอันดับหุ้นที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุดประจำวัน ราคาปิดที่ 4.90 บาท เพิ่มขึ้น 0.52 บาท หรือ 11.87% มูลค่าการซื้อขาย 5,087.96 ล้านบาท ตามด้วย บมจ.ปตท. (PTT) ราคาปิด 45.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท หรือ 0.55% มูลค่า 2,653.34 ล้านบาท และอันดับ 3 บมจ.กัลฟ์เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) ราคาปิด 172.00 บาท เพิ่มขึ้น 9.50 บาท หรือ 5.85% มูลค่า 2,545.20 ล้านบาท
นายวีระวัฒน์ วิโรจน์โภคา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับตลาดหุ้นเอเชีย แต่แรงกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยรับแรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขานรับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีสัญญาณที่ดีขึ้น บวกกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ไทยเป็นเจ้าภาพ สามารถบรรลุข้อตกลง RCEP ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอาเซียน
ขณะที่ปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด คือ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 6 พ.ย.2562 และผลประกอบการประจำไตรมาส 3/62 ของบริษัทจดทะเบียนที่กำลังทยอยประกาศ ส่วนแนวโน้มวันนี้ (5 พ.ย.) คาดดัชนีตลาดหุ้นยังคงแกว่งตัวไซด์เวย์ออกด้านข้าง มีแนวรับที่ 1,610 จุด และแนวต้าน 1,640 จุด
วันเดียวกันนี้ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ได้กล่าวภายหลังหารือร่วมกับนางคริสตาลินา จอร์จีวา กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และคณะ ว่า ได้ร่วมหารือถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันของโลกและของไทย โดยมองว่าเศรษฐกิจโลกยังมีความท้าทายจากหลายปัจจัย ทั้งปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และปัญหาการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (Brexit) ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วส่งผลให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"IMF ใช้คำว่า Synchronized slowdown คือ หลายปัจจัยมารวมกัน มายำกันในช่วงนี้ และดึงเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัว จึงกระทบกับทุกประเทศ และไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น"นายอุตตมกล่าว
อย่างไรก็ตาม IMF ยังมองว่าไทยมีความโชคดีที่เศรษฐกิจมหภาคยังมีความแข็งแกร่ง ทำให้ยังสามารถใช้เครื่องมือทางด้านการเงินและการคลัง เพื่อดูแลเศรษฐกิจในช่วงเวลาเฉพาะหน้านี้ได้ พร้อมแนะนำให้ไทยต้องดูแลเศรษฐกิจให้ผ่านพ้นไปอย่างใกล้ชิด และให้พิจารณาใช้ทุกเครื่องมือที่มีอยู่ดูแลเศรษฐกิจ ทั้งเครื่องมือทางการเงินและเครื่องมือทางการคลัง เพราะไทยมีความสามารถ มีความแข็งแกร่ง ที่จะใช้เครื่องมือดังกล่าวได้