สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดให้แสดงความคิดเห็น แก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ โดยให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง กรรมการ มส. หรือถอดถอนเจ้าคณะใหญ่ และเจ้าคณะภาค ตามพระราชดําริเห็นสมควร
วันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (www.krisdika.go.th)ได้เผยแพร่ประกาศ การเปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โดยระบุว่า ตามที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.61 รับหลักการให้มีการจัดทําร่างกฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในประเด็นเกี่ยวกับมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะองค์กรปกครองคณะสงฆ์นั้น เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 77 ของรธน. และมติ ครม. วันที่ 4 เม.ย.60 ประกอบกับมติ ครม. วันที่ 19 มิ.ย.61 ดังกล่าว จึงเปิดรับฟังความเห็น ประกอบการจัดทําร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นเวลา 7 วัน ดังนี้
สภาพปัญหา มส. ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานกรรมการ สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และพระราชาคณะอีกไม่เกิน 12 รูป ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และมีวาระ 2 ปี แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่า สมเด็จพระราชาคณะซึ่งเป็นกรรมการโดยตําแหน่ง มักเป็นผู้เจริญพรรษายุกาล จึงชราภาพ และอาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ทําให้ไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้สม่ำเสมอ บางครั้งจําเป็นต้องลาการประชุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เหตุอย่างเดียวกันอาจเกิดได้ แม้กับกรรมการอื่น ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง นอกจากนั้น กรรมการบางรูปในขณะนี้ ต้องคดีอาญา หรือมีข้อกล่าวหาจนต้องพ้นจากตําแหน่ง จึงไม่ตั้งอยู่ในที่ศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ทั้งที่องค์กรนี้ จะต้องเป็นหลักในการปกครองคณะสงฆ์ และก่อให้เกิดการปฏิรูป หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังฆมณฑล
จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขที่มา และองค์ประกอบของ มส. เสียใหม่ เพื่อให้ได้พระภิกษุผู้มีพรรษาอันสมควร มีจริยวัตรที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ มาเป็นกรรมการ และผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลําดับชั้นต่างๆ ตลอดจนชักนําให้เกิดการปฏิรูป หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์และการจัดระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับวัดและวัตรปฏิบัติของพระภิกษุให้เรียบร้อย ดีงาม ตามพระธรรมวินัย กฎหมายของบ้านเมือง ความคาดหมายของพุทธศาสนิกชน และจารีตประเพณีอันดีงามของชาติ
หลักการใหม่ ให้ยกเลิกองค์ประกอบกรรมการ มส. โดยตําแหน่ง ทั้งนี้ ยังคงให้มีกรรมการอื่นนอกจากประธานกรรมการในจํานวนเท่าเดิม (20 รูป) แต่ถวายพระมหากษัตริย์ ให้ทรงแต่งตั้งจากพระภิกษุผู้มีพรรษาอันสมควร และมีจริยวัตรที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ และทรงมีพระราชโองการ ให้กรรมการดังกล่าวพ้นจากตําแหน่งได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ หลักเดียวกันนี้ ใช้กับการแต่งตั้ง และถอดถอนเจ้าคณะใหญ่ และเจ้าคณะภาคด้วย ตามที่มีพระราชดําริเห็นสมควร ให้กรรมการ มส. ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่กฎหมายคณะสงฆ์ที่แก้ไข เพิ่มเติมใหม่ใช้บังคับ ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปจนกว่าจะทรงแต่งตั้งกรรมการ มส. ขึ้นใหม่ตามกฎหมายนี้
จึงขอเชิญพระภิกษุ และบุคคลทั่วไป แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการตามประเด็นดังกล่าวเข้ามาได้ทางเว็บไซต์ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง วันที่ 27 มิ.ย.61
ทั้งนี้ มีรายงานว่าหลังจากสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับฟังความคิดเห็นแล้ว จะทำการสรุปร่างเพื่อส่งสนช.พิจารณาในสัปดาห์นี้ และคาดว่า สนช. จะพิจารณา 3 วาระรวด
วันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (www.krisdika.go.th)ได้เผยแพร่ประกาศ การเปิดรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 โดยระบุว่า ตามที่ ครม. มีมติเมื่อวันที่ 19 มิ.ย.61 รับหลักการให้มีการจัดทําร่างกฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ในประเด็นเกี่ยวกับมหาเถรสมาคม (มส.) ในฐานะองค์กรปกครองคณะสงฆ์นั้น เพื่อให้เป็นไปตาม มาตรา 77 ของรธน. และมติ ครม. วันที่ 4 เม.ย.60 ประกอบกับมติ ครม. วันที่ 19 มิ.ย.61 ดังกล่าว จึงเปิดรับฟังความเห็น ประกอบการจัดทําร่างกฎหมายดังกล่าว เป็นเวลา 7 วัน ดังนี้
สภาพปัญหา มส. ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ประกอบด้วย สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานกรรมการ สมเด็จพระราชาคณะทุกรูป เป็นกรรมการโดยตําแหน่ง และพระราชาคณะอีกไม่เกิน 12 รูป ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง เป็นกรรมการ และมีวาระ 2 ปี แต่ในทางปฏิบัติปรากฏว่า สมเด็จพระราชาคณะซึ่งเป็นกรรมการโดยตําแหน่ง มักเป็นผู้เจริญพรรษายุกาล จึงชราภาพ และอาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพ ทําให้ไม่อาจเข้าร่วมประชุมได้สม่ำเสมอ บางครั้งจําเป็นต้องลาการประชุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เหตุอย่างเดียวกันอาจเกิดได้ แม้กับกรรมการอื่น ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้ง นอกจากนั้น กรรมการบางรูปในขณะนี้ ต้องคดีอาญา หรือมีข้อกล่าวหาจนต้องพ้นจากตําแหน่ง จึงไม่ตั้งอยู่ในที่ศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชน ทั้งที่องค์กรนี้ จะต้องเป็นหลักในการปกครองคณะสงฆ์ และก่อให้เกิดการปฏิรูป หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในสังฆมณฑล
จึงสมควรปรับปรุงแก้ไขที่มา และองค์ประกอบของ มส. เสียใหม่ เพื่อให้ได้พระภิกษุผู้มีพรรษาอันสมควร มีจริยวัตรที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ มาเป็นกรรมการ และผู้ปกครองคณะสงฆ์ในลําดับชั้นต่างๆ ตลอดจนชักนําให้เกิดการปฏิรูป หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์และการจัดระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับวัดและวัตรปฏิบัติของพระภิกษุให้เรียบร้อย ดีงาม ตามพระธรรมวินัย กฎหมายของบ้านเมือง ความคาดหมายของพุทธศาสนิกชน และจารีตประเพณีอันดีงามของชาติ
หลักการใหม่ ให้ยกเลิกองค์ประกอบกรรมการ มส. โดยตําแหน่ง ทั้งนี้ ยังคงให้มีกรรมการอื่นนอกจากประธานกรรมการในจํานวนเท่าเดิม (20 รูป) แต่ถวายพระมหากษัตริย์ ให้ทรงแต่งตั้งจากพระภิกษุผู้มีพรรษาอันสมควร และมีจริยวัตรที่เหมาะสมแก่การปกครองคณะสงฆ์ และทรงมีพระราชโองการ ให้กรรมการดังกล่าวพ้นจากตําแหน่งได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ หลักเดียวกันนี้ ใช้กับการแต่งตั้ง และถอดถอนเจ้าคณะใหญ่ และเจ้าคณะภาคด้วย ตามที่มีพระราชดําริเห็นสมควร ให้กรรมการ มส. ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่กฎหมายคณะสงฆ์ที่แก้ไข เพิ่มเติมใหม่ใช้บังคับ ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปจนกว่าจะทรงแต่งตั้งกรรมการ มส. ขึ้นใหม่ตามกฎหมายนี้
จึงขอเชิญพระภิกษุ และบุคคลทั่วไป แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการตามประเด็นดังกล่าวเข้ามาได้ทางเว็บไซต์ สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา www.krisdika.go.th ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง วันที่ 27 มิ.ย.61
ทั้งนี้ มีรายงานว่าหลังจากสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับฟังความคิดเห็นแล้ว จะทำการสรุปร่างเพื่อส่งสนช.พิจารณาในสัปดาห์นี้ และคาดว่า สนช. จะพิจารณา 3 วาระรวด