• สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯพระราชพิธี สถาปนา “สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20”
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล สมเด็จพระราชาคณะถวายศีล จบแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระราชโองการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก จบ สมเด็จพระราชาคณะนำสวดคาถา “สงฆราชฏฺฐปนานุโมทนา” แล้วพระสงฆ์กรรมการมหาเถรสมาคมนำสวด “โส อตฺถลทโธ” แล้วสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเสด็จไปประทับที่อาสน์สงฆ์ พร้อมด้วยกรรมการมหาเถรสมาคม ณ ท่ามกลางสังฆมณฑล ซึ่งมีเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัด
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตแด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และถวายพระสุพรรณบัฏ พระตราตำแหน่ง พัดยศ และเครื่องสมณศักดิ์
พระสงฆ์ในสังฆมณฑลเจริญชัยมงคลคาถา โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ พระสงฆ์ตามพระอารามทั่วราชอาณาจักรซึ่งชุมนุมในพระอุโบสถเจริญชัยมงคลคาถาและย่ำระฆัง
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายเครื่องสมณศักดิ์แด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ในสังฆมณฑลตามลำดับแล้ว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก จบแล้ว สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปประทับ ณ อาสน์สงฆ์กลางพระอุโบสถ พระมหาเถระฝ่ายคณะธรรมยุตและฝ่ายมหานิกาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา ถวายเครื่องสักการะ แด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แล้ว สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จออกจากพระอุโบสถทางพระทวารกลาง ทรงรับเครื่องสักการะของบรรพชิตญวนและจีน ส่วนพระสงฆ์นอกนั้นออกจากพระอุโบสถ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับ
• เปิดพระประวัติ “ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20” แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี พระชนก ชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ พระชนนี้ชื่อนางตาล ประสัตถพงศ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย ทรงเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ต.โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดเนินพลู จนจบชั้น ป.4 ในปี พ.ศ. 2480
ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2483 ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อพ.ศ. 2483 สอบได้นักธรรมชั้นโท พ.ศ. 2484 สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ. 2486 และสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ. 2488
กระทั่งปี พ.ศ. 2490 สามเณรอัมพร ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์
ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จนสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค พ.ศ. 2491 และ เปรียญธรรม 6 ประโยค พ.ศ. 2493
ต่อมาทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จนจบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ และพ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นลำดับที่ 6 และถือเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 3 ของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยพระองค์แรกคือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ สิริวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ที่ 2 คือสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี
พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี ศรีปริยัติวราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ สุนทรธรรมานุนายก วิสุทธิสาธกสาธุกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรวาสนวงศวิวัฒ ศรีปริยัติกิจจานุกิจ ปาพจนวิภูษิตคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2552 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
สำหรับตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ “ออป” ย่อมาจาก
อ. (อัมพร) พระนามของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีแดง วันประสูติ วันอาทิตย์
อ. (อมฺพโร) ฉายาของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีเหลือง หมายถึง สีอาสนะประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช และสีของกาสาวพัสตร์ เป็นสมณคุณ
ป. (ประสัตถพงศ์) นามสกุลของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีฟ้าเทา เป็นสีประจำจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชาติภูมิ
โดยด้านบนประดับด้วยฉัตรขาว 3 ชั้น หมายถึง พระอิสริยยศสมเด็จพระสังฆราช
• ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ทรงเผย พระสังฆราชองค์ใหม่ “ท่านเมตตาใจดีมาก” (ภาพ sangka 3)
วันที่ 8 ก.พ. 2560 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์ภาพและข้อความในอินสตาแกรมส่วนพระองค์ @nichax เป็นภาพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 พร้อมระบุข้อความว่า
“เราได้มีสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีโอกาสกราบท่านอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง เวลาทำบุญให้น้องพุ่ม เพราะอัฐิน้องพุ่มบรรจุอยู่ที่นั่น ...ท่านเมตตาใจดีมาก สาธุ”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 195 มีนาคม 2560 โดย กองบรรณาธิการ)
เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระรัตนตรัย ทรงศีล สมเด็จพระราชาคณะถวายศีล จบแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์ กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อ่านประกาศกระแสพระราชโองการสถาปนา สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก จบ สมเด็จพระราชาคณะนำสวดคาถา “สงฆราชฏฺฐปนานุโมทนา” แล้วพระสงฆ์กรรมการมหาเถรสมาคมนำสวด “โส อตฺถลทโธ” แล้วสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกเสด็จไปประทับที่อาสน์สงฆ์ พร้อมด้วยกรรมการมหาเถรสมาคม ณ ท่ามกลางสังฆมณฑล ซึ่งมีเจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค และเจ้าคณะจังหวัด
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตแด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และถวายพระสุพรรณบัฏ พระตราตำแหน่ง พัดยศ และเครื่องสมณศักดิ์
พระสงฆ์ในสังฆมณฑลเจริญชัยมงคลคาถา โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ พระสงฆ์ตามพระอารามทั่วราชอาณาจักรซึ่งชุมนุมในพระอุโบสถเจริญชัยมงคลคาถาและย่ำระฆัง
เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถวายเครื่องสมณศักดิ์แด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ในสังฆมณฑลตามลำดับแล้ว ทรงหลั่งทักษิโณทก พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก จบแล้ว สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปประทับ ณ อาสน์สงฆ์กลางพระอุโบสถ พระมหาเถระฝ่ายคณะธรรมยุตและฝ่ายมหานิกาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานองคมนตรี นายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลฎีกา ถวายเครื่องสักการะ แด่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก แล้ว สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จออกจากพระอุโบสถทางพระทวารกลาง ทรงรับเครื่องสักการะของบรรพชิตญวนและจีน ส่วนพระสงฆ์นอกนั้นออกจากพระอุโบสถ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับ
• เปิดพระประวัติ “ สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20” แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก มีพระนามเดิมว่า อัมพร ประสัตถพงศ์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2470 ตรงกับแรม 12 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ณ ต.บางป่า อ.เมือง จ.ราชบุรี พระชนก ชื่อ นายนับ ประสัตถพงศ์ พระชนนี้ชื่อนางตาล ประสัตถพงศ์ เป็นบุตรคนที่ 2 จากพี่น้องทั้งหมด 9 คน ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย ทรงเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเทวานุเคราะห์ กองบินน้อยที่ 4 ต.โคกกระเทียม อ.เมือง จ.ลพบุรี จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แล้วมาศึกษาต่อที่โรงเรียนประชาบาลวัดเนินพลู จนจบชั้น ป.4 ในปี พ.ศ. 2480
ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2483 ณ วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดตรีญาติ ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อพ.ศ. 2483 สอบได้นักธรรมชั้นโท พ.ศ. 2484 สอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ. 2486 และสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ. 2488
กระทั่งปี พ.ศ. 2490 สามเณรอัมพร ได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัชฌาย์
ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักเรียนวัดราชบพิธฯ จนสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค พ.ศ. 2491 และ เปรียญธรรม 6 ประโยค พ.ศ. 2493
ต่อมาทรงเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จนจบศาสนศาสตรบัณฑิต เมื่อ พ.ศ. 2500 และได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยพาราณสี (Banaras Hindu University) ประเทศอินเดีย จบการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2512 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี
พ.ศ. 2552 สภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ถวายศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ และพ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาธรรมนิเทศ
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อมฺพรมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 เป็นลำดับที่ 6 และถือเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 3 ของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยพระองค์แรกคือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ สิริวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ที่ 2 คือสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระปริยัติกวี
พ.ศ. 2524 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชสารสุธี ศรีปริยัติวราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2533 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเมธาภรณ์ สุนทรธรรมานุนายก วิสุทธิสาธกสาธุกิจ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2538 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมเมธาภรณ์ สุนทรวาสนวงศวิวัฒ ศรีปริยัติกิจจานุกิจ ปาพจนวิภูษิตคุณาลงกรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2543 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุลสุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูษิต ธรรมนิตยสาทร ศาสนกิจจานุกร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2552 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์ วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
สำหรับตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๒๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ “ออป” ย่อมาจาก
อ. (อัมพร) พระนามของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีแดง วันประสูติ วันอาทิตย์
อ. (อมฺพโร) ฉายาของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีเหลือง หมายถึง สีอาสนะประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช และสีของกาสาวพัสตร์ เป็นสมณคุณ
ป. (ประสัตถพงศ์) นามสกุลของพระองค์ ใช้ตัวอักษรเป็นสีฟ้าเทา เป็นสีประจำจังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นชาติภูมิ
โดยด้านบนประดับด้วยฉัตรขาว 3 ชั้น หมายถึง พระอิสริยยศสมเด็จพระสังฆราช
• ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ทรงเผย พระสังฆราชองค์ใหม่ “ท่านเมตตาใจดีมาก” (ภาพ sangka 3)
วันที่ 8 ก.พ. 2560 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงโพสต์ภาพและข้อความในอินสตาแกรมส่วนพระองค์ @nichax เป็นภาพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 พร้อมระบุข้อความว่า
“เราได้มีสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ใหม่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ เจ้าอาวาสวัดราชบพิธ สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีโอกาสกราบท่านอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง เวลาทำบุญให้น้องพุ่ม เพราะอัฐิน้องพุ่มบรรจุอยู่ที่นั่น ...ท่านเมตตาใจดีมาก สาธุ”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 195 มีนาคม 2560 โดย กองบรรณาธิการ)