“กรมส่งเสริมสหกรณ์” สานต่อพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯ จัดสอดแทรกกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนแล้วกว่า 504 แห่งทั่วประเทศ ยกเป็นแหล่งเรียนรู้ เสริมทักษะด้านวิชาการ-ปฏิบัติ รวมทั้งความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ให้กับเด็กเล็ก ที่จะนำไปเป็นพื้ฐานในการประกอบอาชีพในอนาคต
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยเนื่องใน “วันกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน” วันที่ 7 มิ.ย.ของทุกปี ว่า จุดเริ่มต้นมาจากแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่เมื่อปี 2534 ที่ทรงรับสั่งให้มีการจัดการเรียนรู้วิชาการสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จากนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ (กรมฯ) จึงได้นำมาขยายผลให้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ และได้ขอพระราชทานน้อมนำวันที่ 7 มิ.ย.เป็นวันกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เป็นประจำทุกปี ตลอดระยะเวลา 27 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกรมฯได้ให้ความสำคัญในการสนองพระราชดำริด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์แก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสหกรณ์ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่เหมาะสมกับนักเรียน และมอบหมายให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำการจัดกิจกรรมสหกรณ์ จวบจนถึงปัจจุบันได้มีการขยายผลการสอนวิชาสหกรณ์ไปยังโรงเรียนในสังกัด สพฐ. โรงเรียนในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) โรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนสอนศาสนาปอเนาะ รวม 504 แห่งทั่วประเทศ
นายพิเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า วิชาสหกรณ์ได้ช่วยปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ความซื่อสัตย์ ความประหยัดและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ตลอดจนเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้แก่นักเรียนทางด้านภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนกับวิชาหลักของโรงเรียน เช่นการสอดแทรกวิชาสหกรณ์เข้ากับวิชาสังคมศาสตร์ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ โดยฝึกให้นักเรียนได้รู้จักการจัดประชุมคณะกรรมการสหกรณ์ การบันทึกรายงานการประชุม การบัญชี การตั้งราคาสินค้า การจ่ายเงินปันผล และเงินเฉลี่ยคืนของกิจกรรมสหกรณ์ เป็นต้น เด็กเล็ก ๆ จะได้คุ้นเคยกับระบบสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นให้รู้จักวางระบบการทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำและร่วมกันแก้ไขปัญหา รู้จักการแบ่งปันและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สอนให้เด็กรู้จักพึ่งตนเอง การรับผิดชอบต่อส่วนรวม กล้าตัดสินใจและแก้ปัญหา และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย
“วิชาสหกรณ์ช่วยพัฒนากิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มโอกาสคนในชุมชนเข้าถึงความรู้การสหกรณ์อีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดความคิดในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการซึมซับหลักและวิธีการของสหกรณ์ต้องสร้างความเข้าใจและฝึกฝนตั้งแต่เป็นของเด็กๆ เมื่อจบการศึกษาในโรงเรียนแล้วไปเรียนต่อที่อื่น หรือออกไปทำมาหากิน สามารถนำความรู้ด้านสหกรณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้”นายพิเชษฐ กล่าว.
นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยเนื่องใน “วันกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน” วันที่ 7 มิ.ย.ของทุกปี ว่า จุดเริ่มต้นมาจากแนวพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่เมื่อปี 2534 ที่ทรงรับสั่งให้มีการจัดการเรียนรู้วิชาการสหกรณ์ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จากนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ (กรมฯ) จึงได้นำมาขยายผลให้แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ และได้ขอพระราชทานน้อมนำวันที่ 7 มิ.ย.เป็นวันกิจกรรมสหกรณ์นักเรียน เป็นประจำทุกปี ตลอดระยะเวลา 27 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกรมฯได้ให้ความสำคัญในการสนองพระราชดำริด้านการส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาสหกรณ์แก่เด็กและเยาวชนอย่างต่อเนื่อง โดยได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาศึกษาเพื่อกำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสหกรณ์ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่เหมาะสมกับนักเรียน และมอบหมายให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปแนะนำการจัดกิจกรรมสหกรณ์ จวบจนถึงปัจจุบันได้มีการขยายผลการสอนวิชาสหกรณ์ไปยังโรงเรียนในสังกัด สพฐ. โรงเรียนในสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) โรงเรียนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนสอนศาสนาปอเนาะ รวม 504 แห่งทั่วประเทศ
นายพิเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า วิชาสหกรณ์ได้ช่วยปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย ความซื่อสัตย์ ความประหยัดและความเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ตลอดจนเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้แก่นักเรียนทางด้านภาษาไทยและคณิตศาสตร์ ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนกับวิชาหลักของโรงเรียน เช่นการสอดแทรกวิชาสหกรณ์เข้ากับวิชาสังคมศาสตร์ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ โดยฝึกให้นักเรียนได้รู้จักการจัดประชุมคณะกรรมการสหกรณ์ การบันทึกรายงานการประชุม การบัญชี การตั้งราคาสินค้า การจ่ายเงินปันผล และเงินเฉลี่ยคืนของกิจกรรมสหกรณ์ เป็นต้น เด็กเล็ก ๆ จะได้คุ้นเคยกับระบบสหกรณ์ ที่มุ่งเน้นให้รู้จักวางระบบการทำงานร่วมกัน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำและร่วมกันแก้ไขปัญหา รู้จักการแบ่งปันและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สอนให้เด็กรู้จักพึ่งตนเอง การรับผิดชอบต่อส่วนรวม กล้าตัดสินใจและแก้ปัญหา และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย
“วิชาสหกรณ์ช่วยพัฒนากิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มโอกาสคนในชุมชนเข้าถึงความรู้การสหกรณ์อีกทางหนึ่ง เพื่อให้เกิดความคิดในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการซึมซับหลักและวิธีการของสหกรณ์ต้องสร้างความเข้าใจและฝึกฝนตั้งแต่เป็นของเด็กๆ เมื่อจบการศึกษาในโรงเรียนแล้วไปเรียนต่อที่อื่น หรือออกไปทำมาหากิน สามารถนำความรู้ด้านสหกรณ์ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้”นายพิเชษฐ กล่าว.