ผู้จัดการรายวัน 360 - กรมควบคุมโรค ย้ำไทยยังไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อ "ไวรัสนิปาห์" แต่ยังเฝ้าระวังทั้งในและนอกประเทศ เน้นเลี่ยงสัมผัสค้างคาวผลไม้ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำชาวสวนน้ำตาลใช้ผ้าปิดภาชนะ-ดอกมะพร้าว ลดสัตว์นำโรคมากินจนปนเปื้อนเชื้อ พร้อมต้มให้เดือดก่อนรับประทาน พบผู้ป่วยในอินเดียและศรีลังการวม 16 ราย รอผลยืนยันอีก 12 ราย รวมทั้งหมด 28 ราย และเสียชีวิตแล้ว 14 ราย ระบุอัตราความเสี่ยงป่วยมีโอกาสตายสูงถึง 80%
วานนี้ (2 มิ.ย.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึง กรณีที่มีข้อมูลชาวสวนไทย โดยเฉพาะสวนน้ำตาลมีความเสี่ยงของต่อการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ ที่กำลังระบาดอยู่ในอินเดียและศรีลังกา ว่า ในประเทศไทยยังคงต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งเฝ้าระวังประเทศที่มีการระบาดและภายในประเทศไทยด้วย เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์มีพาหะนำโรคคือค้างคาวผลไม้ที่พบในไทยด้วย แต่ ขอให้ประชาชนตระหนักและป้องกันตนเอง แต่อย่าตระหนกตกใจ
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวจากค้างคาวผลไม้ หรือสัตว์อื่นๆ จะขึ้นอยู่กับการสัมผัสใกล้ชิดของพาหะนำโรค เช่น เลือด มูลของสัตว์ หรือน้ำลาย หากประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อในสารคัดหลั่งต่างๆ จะสามารถลดโอกาสต่อการเกิดโรคได้มาก ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำผู้ที่ทำอาชีพเก็บน้ำตาลว่า การลดการปนเปื้อนจากสัตว์ที่จะมากินน้ำตาลด้วยการมีสิ่งปกคลุมที่ปากภาชนะและดอกมะพร้าว เช่น ผ้า หรือ แพไม้ไผ่ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อได้ และก่อนรับประทานต้องมีการต้มให้เดือดก่อน เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคอื่นๆด้วย
นพ.สุวรรณชัย กล่าวยืนยันว่า าขณะนี้ไทยยังไม่มีผู้ป่วยโรคดังกล่าว แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ เนื่องจากพบค้างคาวผลไม้ที่พบในไทยมีความคล้ายคลึงกับที่อินเดีย ขณะนี้ก็ยังไม่พบการติดต่อจากสัตว์สู่คนในไทยแต่อย่างใด
"ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสในระยะใกล้ชิดกับค้างคาวและสารคัดหลั่งของสัตว์พาหะนำโรค ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ และสุกร ม้า แมว แพะ แกะที่รับเชื้อมาจากค้างคาวผลไม้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ที่อาจปนเปื้อนน้ำลาย มูลสัตว์หรือปัสสาวะของค้างคาวกินผลไม้ ไม่รับประทานผลไม้ที่ตกอยู่กับพื้น โดยเฉพาะที่มีรอยกัดแทะ และห้ามรับประทานเนื้อค้างคาว"
สำหรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ ในประเทศอินเดียและศรีลังกา ล่าสุดพบผู้ป่วยยืนยันแล้ว 16 ราย ผู้ต้องสงสัยและรอผลยืนยันอีก 12 รายรวม 28 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 14 ราย โดยขณะนี้มีความเสี่ยงต่อการป่วยตายสูงถึงร้อยละ 80 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
วานนี้ (2 มิ.ย.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึง กรณีที่มีข้อมูลชาวสวนไทย โดยเฉพาะสวนน้ำตาลมีความเสี่ยงของต่อการติดเชื้อไวรัสนิปาห์ ที่กำลังระบาดอยู่ในอินเดียและศรีลังกา ว่า ในประเทศไทยยังคงต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งเฝ้าระวังประเทศที่มีการระบาดและภายในประเทศไทยด้วย เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์มีพาหะนำโรคคือค้างคาวผลไม้ที่พบในไทยด้วย แต่ ขอให้ประชาชนตระหนักและป้องกันตนเอง แต่อย่าตระหนกตกใจ
นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวจากค้างคาวผลไม้ หรือสัตว์อื่นๆ จะขึ้นอยู่กับการสัมผัสใกล้ชิดของพาหะนำโรค เช่น เลือด มูลของสัตว์ หรือน้ำลาย หากประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อในสารคัดหลั่งต่างๆ จะสามารถลดโอกาสต่อการเกิดโรคได้มาก ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำผู้ที่ทำอาชีพเก็บน้ำตาลว่า การลดการปนเปื้อนจากสัตว์ที่จะมากินน้ำตาลด้วยการมีสิ่งปกคลุมที่ปากภาชนะและดอกมะพร้าว เช่น ผ้า หรือ แพไม้ไผ่ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อได้ และก่อนรับประทานต้องมีการต้มให้เดือดก่อน เพื่อเป็นการทำลายเชื้อโรคอื่นๆด้วย
นพ.สุวรรณชัย กล่าวยืนยันว่า าขณะนี้ไทยยังไม่มีผู้ป่วยโรคดังกล่าว แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ เนื่องจากพบค้างคาวผลไม้ที่พบในไทยมีความคล้ายคลึงกับที่อินเดีย ขณะนี้ก็ยังไม่พบการติดต่อจากสัตว์สู่คนในไทยแต่อย่างใด
"ขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการสัมผัสในระยะใกล้ชิดกับค้างคาวและสารคัดหลั่งของสัตว์พาหะนำโรค ได้แก่ ค้างคาวผลไม้ และสุกร ม้า แมว แพะ แกะที่รับเชื้อมาจากค้างคาวผลไม้ รวมถึงหลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ที่อาจปนเปื้อนน้ำลาย มูลสัตว์หรือปัสสาวะของค้างคาวกินผลไม้ ไม่รับประทานผลไม้ที่ตกอยู่กับพื้น โดยเฉพาะที่มีรอยกัดแทะ และห้ามรับประทานเนื้อค้างคาว"
สำหรับสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ ในประเทศอินเดียและศรีลังกา ล่าสุดพบผู้ป่วยยืนยันแล้ว 16 ราย ผู้ต้องสงสัยและรอผลยืนยันอีก 12 รายรวม 28 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 14 ราย โดยขณะนี้มีความเสี่ยงต่อการป่วยตายสูงถึงร้อยละ 80 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422