"อุตตม" เตรียมเร่งเครื่องโครงการยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหนุนเอสเอ็มอี หันใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เดือนมี.ค.นี้ เพื่อรองรับค่าแรงปรับขึ้น และการขาดแคลนแรงงานในอนาคต ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ ดึง เอสเอ็มอี 300-500 รายเข้าร่วม โดยทำงานร่วมกับ CoRE วางระบบให้ครบวงจร พร้อมดึงสถาบันในต่างประเทศ เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น รัสเซีย เข้าร่วมหนุน
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค.นี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งขับเคลื่อนโครงการการยกระดับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยโดยมีเป้าหมายสิ้นปีนี้ที่จะให้เอสเอ็มอี ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการประมาณ 300-500 ราย
"ขณะนี้เอสเอ็มอี มีความจำเป็นจะต้องปรับตัว เพื่อรองรับค่าแรงขั้นต่ำที่จะสูงขึ้น และแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานที่จะมากขึ้นในอนาคต เราจึงถือโอกาสนี้เร่งออกโครงการนี้มาเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือ Productivity ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ ที่ทางกรมส่งเสริมอุตาหกรรม (กสอ.) จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งขณะนี้กระทรวงฯ ได้ของบประมาณกลางปีเพิ่มเติมในการสนับสนุนอีกส่วนหนึ่งด้วย" นายอุตตม กล่าว
สำหรับการดำเนินงานจะร่วมมือตั้งแต่การให้ ส.อ.ท. และสภาหอฯทั่วประเทศ คัดเลือกเอสเอ็มอีในพื้นที่ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมติมาใช้งาน รวมไปถึงกลุ่มที่ควรจะรับรู้เบื้องต้น เพื่อที่จะดำเนินการในอนาคตที่จำเป็นจะต้องผ่านการฝึกอบรม และเสริมทักษะความรู้ให้ โดย กสอ. จะทำงานร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย (CoRE) ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐและเอกชน โดยเฉพาะ 8 หน่วยงานด้านวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศ ได้แก่ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.ขอนแก่น และ ม.เชียงใหม่ โดยทีม CORE จะทำงานประสานกับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ICT)หรือ ศูนย์ส่งเสริมอตสาหกรรมภาคของ กสอ.
" ศูนย์ความเป็นเลิศ ฯ เราร่วมมือกันทั้งรัฐและเอกชน และขณะนี้เราก็กำลังเชิญสถาบันจากต่างประเทศทั้งจากสหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น และล่าสุดรัสเซีย ที่เดินทางมาดูลู่ทางการลงทุนในระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่จะเข้ามาร่วมมือในการสนับสนุนการใช้ระบบอัตโนมัติให้กับเอสเอ็มอี มากขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนนำเอาระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้และยังสามารถเชื่อมโยงในการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้กับเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการสนับสนุนเงินทุนให้กับเอสเอ็มอี ต่างๆ โดยจะทำงานแบบครบวงจรให้มากขึ้น" นายอุตตม กล่าว
นายสมชาย หาญหิรัญ รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้เอสเอ็มอี มีความตื่นตัวที่จะปรับธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น โดยกระทรวงฯเองมีนโยบายที่จะเข้าไปสนับสนุนในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มุ่งเน้นการหาเครื่องมือในการส่งเสริมให้เอสเอ็มอีเข้าถึงบรรจุภัณฑ์ โดยหาความร่วมมือบริษัทต่างๆ ที่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนาดต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานเนื่องจากเอสเอ็มอี มีความต้องการบรรจุภัณฑ์ในปริมาณต่ำ ทำให้บริษัทส่วนใหญ่จะไม่รับทำ ซึ่งขณะนี้กำลังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น
นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในเดือนมี.ค.นี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งขับเคลื่อนโครงการการยกระดับการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยโดยมีเป้าหมายสิ้นปีนี้ที่จะให้เอสเอ็มอี ทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการประมาณ 300-500 ราย
"ขณะนี้เอสเอ็มอี มีความจำเป็นจะต้องปรับตัว เพื่อรองรับค่าแรงขั้นต่ำที่จะสูงขึ้น และแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานที่จะมากขึ้นในอนาคต เราจึงถือโอกาสนี้เร่งออกโครงการนี้มาเพื่อเพิ่มผลผลิต หรือ Productivity ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ ที่ทางกรมส่งเสริมอุตาหกรรม (กสอ.) จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องซึ่งขณะนี้กระทรวงฯ ได้ของบประมาณกลางปีเพิ่มเติมในการสนับสนุนอีกส่วนหนึ่งด้วย" นายอุตตม กล่าว
สำหรับการดำเนินงานจะร่วมมือตั้งแต่การให้ ส.อ.ท. และสภาหอฯทั่วประเทศ คัดเลือกเอสเอ็มอีในพื้นที่ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนมาใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมติมาใช้งาน รวมไปถึงกลุ่มที่ควรจะรับรู้เบื้องต้น เพื่อที่จะดำเนินการในอนาคตที่จำเป็นจะต้องผ่านการฝึกอบรม และเสริมทักษะความรู้ให้ โดย กสอ. จะทำงานร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย (CoRE) ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างรัฐและเอกชน โดยเฉพาะ 8 หน่วยงานด้านวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศ ได้แก่ สถาบันไทย-เยอรมัน สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ม.ขอนแก่น และ ม.เชียงใหม่ โดยทีม CORE จะทำงานประสานกับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ICT)หรือ ศูนย์ส่งเสริมอตสาหกรรมภาคของ กสอ.
" ศูนย์ความเป็นเลิศ ฯ เราร่วมมือกันทั้งรัฐและเอกชน และขณะนี้เราก็กำลังเชิญสถาบันจากต่างประเทศทั้งจากสหรัฐอมริกา ญี่ปุ่น และล่าสุดรัสเซีย ที่เดินทางมาดูลู่ทางการลงทุนในระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่จะเข้ามาร่วมมือในการสนับสนุนการใช้ระบบอัตโนมัติให้กับเอสเอ็มอี มากขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนนำเอาระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้และยังสามารถเชื่อมโยงในการสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้กับเอสเอ็มอี ภายใต้โครงการสนับสนุนเงินทุนให้กับเอสเอ็มอี ต่างๆ โดยจะทำงานแบบครบวงจรให้มากขึ้น" นายอุตตม กล่าว
นายสมชาย หาญหิรัญ รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ขณะนี้เอสเอ็มอี มีความตื่นตัวที่จะปรับธุรกิจเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น โดยกระทรวงฯเองมีนโยบายที่จะเข้าไปสนับสนุนในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้มุ่งเน้นการหาเครื่องมือในการส่งเสริมให้เอสเอ็มอีเข้าถึงบรรจุภัณฑ์ โดยหาความร่วมมือบริษัทต่างๆ ที่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขนาดต่างๆ ที่เป็นมาตรฐานเนื่องจากเอสเอ็มอี มีความต้องการบรรจุภัณฑ์ในปริมาณต่ำ ทำให้บริษัทส่วนใหญ่จะไม่รับทำ ซึ่งขณะนี้กำลังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น