"สนธิรัตน์" เตรียมหารือ"คลัง" พิจารณางบประมาณเพิ่มจำนวนร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ตั้งเป้าอยากได้มากถึง 1 แสนร้าน จากปัจจุบันที่มี 4 หมื่นร้าน หวังช่วยลดค่าครองชีพให้คนไทยครอบคลุมทั้งประเทศ แถมยังเป็นการช่วยร้านโชห่วยรายเล็กให้มีโอกาสค้าขายและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ จะหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าธงฟ้าประชารัฐจากปัจจุบันที่มี 4 หมื่นร้านค้า และคาดว่าจะมีการติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDC)ได้ครบภายในเดือนเม.ย.61นี้ จึงต้องการผลักดันให้เพิ่มจำนวนร้านให้มีมากขึ้น เพราะจำนวน 4 หมื่นร้านที่มีอยู่ ถือว่ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทางกระทรวงฯ เห็นว่าน่าจะเพิ่มจำนวนร้านค้าได้มากกว่านี้อีก อย่างน้อยอยากได้ถึง 1 แสนร้าน เพราะยังมีร้านโชห่วยให้ความความสนใจเข้าร่วมโครงการอีกเป็นจำนวนมาก
"การมีร้านค้าธงฟ้าประชารัฐมาก ก็จะยิ่งช่วยลดค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยได้มาก ส่วนจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง ที่จะพิจารณางบประมาณสนับสนุนในการติดตั้งเครื่องรูดบัตร และได้รายงานเรื่องนี้ให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อรับทราบแล้ว" นายสนธิรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มจำนวนร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ จะทำให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนผู้มีรายได้น้อย มีทางเลือกในการซื้อสินค้าราคาถูกได้ง่ายขึ้น เพราะร้านค้าจะกระจายครอบคลุมมากขึ้นทั่วประเทศ และยังช่วยให้ร้านค้าปลีกรายย่อย ร้านค้าชุมชน ที่เป็นร้านขนาดเล็ก มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น จากการที่ได้รับการติดตั้งเครื่องรูดบัตร และมีคนนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาใช้รูดซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ถือเป็นแผนของกระทรวงฯ ที่ต้องการเพิ่มการดูแลร้านโชห่วยรายเล็กๆให้มีโอกาสค้าขาย ให้มีโอกาสพัฒนาได้ด้วย
สำหรับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ที่เข้าร่วมโครงการแล้ว ขณะนี้กระทรวงฯ กำลังเข้าไปช่วยเหลือและพัฒนาให้เป็นร้านโชห่วยไฮบริด ที่สามารถทำธุรกิจผ่านทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มยอดขาย และมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นแล้วยังมีแผนที่จะนำสินค้าธงฟ้าเข้าไปจำหน่ายเพิ่มจำนวนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่สินค้ากลุ่มเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ข้าวสาร น้ำมันพืช แต่จะมีสินค้าใหม่ๆที่ราคาถูกกว่าท้องตลาดเข้าไปวางจำหน่าย รวมถึงสินค้าจากผู้ประกอบการ SMEs สินค้าชุมชน สินค้าโอทอป เพื่อช่วยผู้ผลิตได้มีที่จำหน่ายสินค้าด้วย
ส่วนการดูแลราคาอาหารปรุงสำเร็จ จะมีการติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าในกลุ่มอาหารอย่างใกล้ชิด โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีการเอารัดเอาเปรียบเกิดขึ้น และยังมีแผนที่จะใช้ร้านหนูณิชย์พาชิม เป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารปรุงสำเร็จราคาถูกให้กับประชาชนอย่างจริงจัง แทนที่จะมาตั้งเป้าว่า จะเพิ่มจำนวนร้านค้าเท่านั้นเท่านี้ แต่จะผลักดันให้ร้านที่มีอยู่เดิม เป็นทางเลือกให้กับประชาชนได้จริงๆ สามารถเข้าถึงได้จริง
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่ากระทรวงพาณิชย์ จะหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าธงฟ้าประชารัฐจากปัจจุบันที่มี 4 หมื่นร้านค้า และคาดว่าจะมีการติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDC)ได้ครบภายในเดือนเม.ย.61นี้ จึงต้องการผลักดันให้เพิ่มจำนวนร้านให้มีมากขึ้น เพราะจำนวน 4 หมื่นร้านที่มีอยู่ ถือว่ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทางกระทรวงฯ เห็นว่าน่าจะเพิ่มจำนวนร้านค้าได้มากกว่านี้อีก อย่างน้อยอยากได้ถึง 1 แสนร้าน เพราะยังมีร้านโชห่วยให้ความความสนใจเข้าร่วมโครงการอีกเป็นจำนวนมาก
"การมีร้านค้าธงฟ้าประชารัฐมาก ก็จะยิ่งช่วยลดค่าครองชีพให้กับผู้มีรายได้น้อยได้มาก ส่วนจะทำได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง ที่จะพิจารณางบประมาณสนับสนุนในการติดตั้งเครื่องรูดบัตร และได้รายงานเรื่องนี้ให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อรับทราบแล้ว" นายสนธิรัตน์ กล่าว
ทั้งนี้ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มจำนวนร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ จะทำให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และประชาชนผู้มีรายได้น้อย มีทางเลือกในการซื้อสินค้าราคาถูกได้ง่ายขึ้น เพราะร้านค้าจะกระจายครอบคลุมมากขึ้นทั่วประเทศ และยังช่วยให้ร้านค้าปลีกรายย่อย ร้านค้าชุมชน ที่เป็นร้านขนาดเล็ก มีโอกาสขายสินค้าได้มากขึ้น จากการที่ได้รับการติดตั้งเครื่องรูดบัตร และมีคนนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมาใช้รูดซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น ถือเป็นแผนของกระทรวงฯ ที่ต้องการเพิ่มการดูแลร้านโชห่วยรายเล็กๆให้มีโอกาสค้าขาย ให้มีโอกาสพัฒนาได้ด้วย
สำหรับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ที่เข้าร่วมโครงการแล้ว ขณะนี้กระทรวงฯ กำลังเข้าไปช่วยเหลือและพัฒนาให้เป็นร้านโชห่วยไฮบริด ที่สามารถทำธุรกิจผ่านทางออนไลน์ เพื่อเพิ่มยอดขาย และมีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้นแล้วยังมีแผนที่จะนำสินค้าธงฟ้าเข้าไปจำหน่ายเพิ่มจำนวนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ไม่ใช่แค่สินค้ากลุ่มเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ข้าวสาร น้ำมันพืช แต่จะมีสินค้าใหม่ๆที่ราคาถูกกว่าท้องตลาดเข้าไปวางจำหน่าย รวมถึงสินค้าจากผู้ประกอบการ SMEs สินค้าชุมชน สินค้าโอทอป เพื่อช่วยผู้ผลิตได้มีที่จำหน่ายสินค้าด้วย
ส่วนการดูแลราคาอาหารปรุงสำเร็จ จะมีการติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าในกลุ่มอาหารอย่างใกล้ชิด โดยจะใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบว่ามีการเอารัดเอาเปรียบเกิดขึ้น และยังมีแผนที่จะใช้ร้านหนูณิชย์พาชิม เป็นทางเลือกในการบริโภคอาหารปรุงสำเร็จราคาถูกให้กับประชาชนอย่างจริงจัง แทนที่จะมาตั้งเป้าว่า จะเพิ่มจำนวนร้านค้าเท่านั้นเท่านี้ แต่จะผลักดันให้ร้านที่มีอยู่เดิม เป็นทางเลือกให้กับประชาชนได้จริงๆ สามารถเข้าถึงได้จริง