"บิ๊กป้อม" ร้องโอ๊ย ก่อนชิ่งหลบตอบคำถามนาฬิกาหรู 10 เรือนที่ไม่ได้แจ้งบัญชีทรัพย์ต่อป.ป.ช. ขณะที่เพจดังยังเปิดภาพเรือนที่ 11 ต่อ ยี่ห้อ Rolex หน้าปัด 2 สีทำจากทอง 18 K ที่มาจากทองคำเหลือง 18 K และ Stainless Steel ราคาเรือนละ 554,000 บาท ด้านองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน เปิดปมทุจริต 10 ประเด็นที่คนไทยต้องจับตามอง
วานนี้ (27 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก CSI LA ได้เผยแพร่ภาพนาฬิกาหรูเรือนที่ 11 ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยี่ห้อ Rolex รุ่น Daytona Grey Chronograph Steel And Yellow Gold Mens Watch หน้าปัดสี 2 สี ที่มาจากทองคำเหลือง 18 K และ Stainless Steel ราคาเบาๆ เรือนละ 554,000 บาท ซึ่ง พล.อ.ประวิตร สวมใส่ในวันที่ 16 มกราคม 2560 ขณะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ที่กระทรวงแรงงาน
ขณะที่พล.อ.ประวิตร ยังคงปฏิเสธกระแสข่าวกรณีส่งหนังสือไปชี้แจงต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องแหวนและนาฬิกาหรู ระหว่างเดินทางไปประชุมสภากลาโหม นัดสุดท้ายของปี 2560 เพียงแต่อุทาน "โอ้ย" ก่อนขึ้นรถออกไป เมื่อถูกสื่อมวลชนถามเรื่องนาฬิกาหรูที่มีอยู่มากกว่า 10 เรือน
ด้านองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้รายงานผลการจัดอันดับ 10 ประเด็นคอร์รัปชันในสังคมไทย และเปิดพื้นที่ให้พลังสังคมได้ร่วมแชร์ ความคิดเห็นและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในประเด็นต่างๆ เพื่อนำเสนอรัฐบาลในการร่วมแก้ไขปัญหาต่อไป ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม 60 - 15 มกราคม 2561 ประกอบด้วย 1. การทุจริตที่เกี่ยวกับคนใกล้ชิดรัฐบาล ในการแสดงบัญชีทรัพย์สินของรัฐมนตรีตามกฎหมาย ป.ป.ช. (กรณีแหวนและนาฬิกาหรู) การซื้อเครื่องตรวจจับความเร็วรถยนต์แบบมือถือ
2. ส่วยภูเก็ต ซึ่งส่วยและสินบนยังเป็นปัญหารุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ 3. คดีเงินทอนวัด ที่เงียบและไม่คืบหน้า โดยมีอัตราสินบนแต่ละครั้งมากถึงร้อยละ 85 อีกทั้งมีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นพระชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการสำนักพระพุทธศาสนา (พศ.) จำนวนมาก 4. คดีสินบนโรลล์รอยส์ การทุจริตข้ามชาติที่เกี่ยวโยงกับรัฐวิสาหกิจชั้นนำ อย่างการบินไทย ปตท. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5.คดีทุจริตสวนปาล์มน้ำมันของ ปตท.ที่ประเทศอินโดนีเซีย จากการขาดทุนที่ประมาณว่ามากกว่าสองหมื่นล้านบาทจากการนำเงินไปลงทุนในโครงการสวนปาล์มที่อินโดนีเซียของ ปตท. เชื่อว่าจะมีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นนักการเมืองระดับชาติผู้กุมอำนาจเบื้องหลังรัฐวิสาหกิจแห่งนี้อย่างยาวนานร่วมกับอดีตผู้บริหารระดับสูง ปัจจุบันยังไม่มีการระบุตัวคนโกงหรือความคืบหน้าของคดี
6.การปฏิรูปตำรวจยังอึมครึม ตำรวจเป็นหน่วยราชการอันดับต้นๆ ที่ถูกระบุว่ามีการคอร์รัปชันมาก ทำให้ความยุติธรรมในสังคมถูกบิดเบือน 7.อภิสิทธิ์ชนกับการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม ข่าวการหลบหนีหรือไม่ถูกนำตัวขึ้นศาลดำเนินคดีของนักการเมืองและคนโกงที่ร่ำรวยหรือมีอิทธิพล เพราะสามารถติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อแลกกับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือบางรายถ้าต้องติดคุกก็สามารถซื้อหาอภิสิทธิ์ได้
8.กฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ เนื่องจาก ป.ป.ช.เป็นองค์กรหลักในการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่ความมีประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการใช้อำนาจยังเป็นเรื่องที่ถูกตั้งคำถามจากสังคมตลอดมา โดยในการแก้ไขกฎหมายครั้งล่าสุดนี้ก็ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับบทบาทอำนาจและวิธีปฏิบัติงานที่ลดความเข้มข้นลงหลายประเด็น รวมทั้งการแก้ไขบทเฉพาะกาลเพื่อต่ออายุการดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
9.รัฐธรรมนูญ มาตรา 63 มาตรานี้เป็นหัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ที่กำหนดให้รัฐต้องให้การสนับสนุนประชาชนในการรวมตัวกันต่อต้านคอร์รัปชันโดยได้รับการปกป้องจากรัฐ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลมอบหมายให้ ป.ป.ท. ไปดำเนินการร่างกฎหมายขึ้นมาฉบับหนึ่ง แต่เมื่อร่างเสร็จแล้วกลับไม่ใช้ หากแต่ให้นำหลักการทำนองเดียวกันไปเขียนเพิ่มเติมไว้ในกฎหมาย ป.ป.ช. จำนวน 4 มาตรา และเขียนเพิ่มเติมในกฎหมาย ป.ป.ท. อีก 8 มาตรา ซึ่งวิธีการนี้นอกจากจะไม่เข้มข้นครอบคลุมเมื่อเทียบกับการมีกฎหมายเฉพาะแล้ว ยังอาจเป็นวิธีการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 278 ได้
10.กฎหมายปราบโกงที่หายไป อนาคตที่ไม่ชัดเจนของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ 2540 เดิม) และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งๆ ที่กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชนะคอร์รัปชันที่ได้รับการเห็นชอบจาก สปช.และ สปท. รวมทั้งอยู่ในแผนของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศฯ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่รู้ว่าเรื่องไปถึงไหน รัฐบาลจะสนับสนุนจริงจังหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
วานนี้ (27 ธ.ค.) เฟซบุ๊ก CSI LA ได้เผยแพร่ภาพนาฬิกาหรูเรือนที่ 11 ของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยี่ห้อ Rolex รุ่น Daytona Grey Chronograph Steel And Yellow Gold Mens Watch หน้าปัดสี 2 สี ที่มาจากทองคำเหลือง 18 K และ Stainless Steel ราคาเบาๆ เรือนละ 554,000 บาท ซึ่ง พล.อ.ประวิตร สวมใส่ในวันที่ 16 มกราคม 2560 ขณะเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ที่กระทรวงแรงงาน
ขณะที่พล.อ.ประวิตร ยังคงปฏิเสธกระแสข่าวกรณีส่งหนังสือไปชี้แจงต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องแหวนและนาฬิกาหรู ระหว่างเดินทางไปประชุมสภากลาโหม นัดสุดท้ายของปี 2560 เพียงแต่อุทาน "โอ้ย" ก่อนขึ้นรถออกไป เมื่อถูกสื่อมวลชนถามเรื่องนาฬิกาหรูที่มีอยู่มากกว่า 10 เรือน
ด้านองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ได้รายงานผลการจัดอันดับ 10 ประเด็นคอร์รัปชันในสังคมไทย และเปิดพื้นที่ให้พลังสังคมได้ร่วมแชร์ ความคิดเห็นและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในประเด็นต่างๆ เพื่อนำเสนอรัฐบาลในการร่วมแก้ไขปัญหาต่อไป ระหว่างวันที่ 18 ธันวาคม 60 - 15 มกราคม 2561 ประกอบด้วย 1. การทุจริตที่เกี่ยวกับคนใกล้ชิดรัฐบาล ในการแสดงบัญชีทรัพย์สินของรัฐมนตรีตามกฎหมาย ป.ป.ช. (กรณีแหวนและนาฬิกาหรู) การซื้อเครื่องตรวจจับความเร็วรถยนต์แบบมือถือ
2. ส่วยภูเก็ต ซึ่งส่วยและสินบนยังเป็นปัญหารุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ 3. คดีเงินทอนวัด ที่เงียบและไม่คืบหน้า โดยมีอัตราสินบนแต่ละครั้งมากถึงร้อยละ 85 อีกทั้งมีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นพระชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการสำนักพระพุทธศาสนา (พศ.) จำนวนมาก 4. คดีสินบนโรลล์รอยส์ การทุจริตข้ามชาติที่เกี่ยวโยงกับรัฐวิสาหกิจชั้นนำ อย่างการบินไทย ปตท. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
5.คดีทุจริตสวนปาล์มน้ำมันของ ปตท.ที่ประเทศอินโดนีเซีย จากการขาดทุนที่ประมาณว่ามากกว่าสองหมื่นล้านบาทจากการนำเงินไปลงทุนในโครงการสวนปาล์มที่อินโดนีเซียของ ปตท. เชื่อว่าจะมีผู้เกี่ยวข้องที่เป็นนักการเมืองระดับชาติผู้กุมอำนาจเบื้องหลังรัฐวิสาหกิจแห่งนี้อย่างยาวนานร่วมกับอดีตผู้บริหารระดับสูง ปัจจุบันยังไม่มีการระบุตัวคนโกงหรือความคืบหน้าของคดี
6.การปฏิรูปตำรวจยังอึมครึม ตำรวจเป็นหน่วยราชการอันดับต้นๆ ที่ถูกระบุว่ามีการคอร์รัปชันมาก ทำให้ความยุติธรรมในสังคมถูกบิดเบือน 7.อภิสิทธิ์ชนกับการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม ข่าวการหลบหนีหรือไม่ถูกนำตัวขึ้นศาลดำเนินคดีของนักการเมืองและคนโกงที่ร่ำรวยหรือมีอิทธิพล เพราะสามารถติดสินบนเจ้าหน้าที่เพื่อแลกกับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือบางรายถ้าต้องติดคุกก็สามารถซื้อหาอภิสิทธิ์ได้
8.กฎหมาย ป.ป.ช.ฉบับใหม่ เนื่องจาก ป.ป.ช.เป็นองค์กรหลักในการต่อต้านคอร์รัปชัน แต่ความมีประสิทธิภาพและความเป็นธรรมในการใช้อำนาจยังเป็นเรื่องที่ถูกตั้งคำถามจากสังคมตลอดมา โดยในการแก้ไขกฎหมายครั้งล่าสุดนี้ก็ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับบทบาทอำนาจและวิธีปฏิบัติงานที่ลดความเข้มข้นลงหลายประเด็น รวมทั้งการแก้ไขบทเฉพาะกาลเพื่อต่ออายุการดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
9.รัฐธรรมนูญ มาตรา 63 มาตรานี้เป็นหัวใจของรัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง ที่กำหนดให้รัฐต้องให้การสนับสนุนประชาชนในการรวมตัวกันต่อต้านคอร์รัปชันโดยได้รับการปกป้องจากรัฐ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลมอบหมายให้ ป.ป.ท. ไปดำเนินการร่างกฎหมายขึ้นมาฉบับหนึ่ง แต่เมื่อร่างเสร็จแล้วกลับไม่ใช้ หากแต่ให้นำหลักการทำนองเดียวกันไปเขียนเพิ่มเติมไว้ในกฎหมาย ป.ป.ช. จำนวน 4 มาตรา และเขียนเพิ่มเติมในกฎหมาย ป.ป.ท. อีก 8 มาตรา ซึ่งวิธีการนี้นอกจากจะไม่เข้มข้นครอบคลุมเมื่อเทียบกับการมีกฎหมายเฉพาะแล้ว ยังอาจเป็นวิธีการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 278 ได้
10.กฎหมายปราบโกงที่หายไป อนาคตที่ไม่ชัดเจนของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ (พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ 2540 เดิม) และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ทั้งๆ ที่กฎหมายนี้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเอาชนะคอร์รัปชันที่ได้รับการเห็นชอบจาก สปช.และ สปท. รวมทั้งอยู่ในแผนของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศฯ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่รู้ว่าเรื่องไปถึงไหน รัฐบาลจะสนับสนุนจริงจังหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป