xs
xsm
sm
md
lg

“บวรศักดิ์” ถกปฏิรูป กม.พิจารณา 2 ฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.การมีส่วนร่วม-ข้อมูลข่าวสารฯ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ (แฟ้มภาพ)
ประชุม คกก. ที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฏหมาย “บวรศักดิ์” ถกพิจารณากฎหมาย 2 ฉบับ “พ.ร.บ. การมีส่วนร่วมนโยบายสาธารณะ - พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ” เร่งออก กม. ข้อมูลความลับความมั่นคง สัปดาห์หน้าประชุมเร่งด่วนสำคัญ 4 ฉบับ

วันนี้ (26 มิ.ย.) เวลา 16.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิชญะ เครืองาม ประธานคณะกรรมการการประชาสัมพันธ์และรับฟังความเห็น แถลงภายหลังการประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อกำกับการปฏิรูปกฎหมาย ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างกฎหมาย 2 ฉบับ 1. ร่าง พ.ร.บ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการสาธารณะ พ.ศ. .... ที่กำหนดในคำนิยามมาตรา 3 ว่า นโยบายสาธารณะ และกระบวนการนโยบายสาธารณะ หมายถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้งแต่การริเริ่มโครงการ ดำเนินการ และตรวจสอบการดำเนินนโยบายสาธารณะ เปิดโอกาสให้มีภาคประชาชนร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ในการแสดงความเห็นผ่านกลไกทางการเมือง โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้การดำเนินงานของภาครัฐ เป็นไปอย่างโปร่งใส

นายวิชญะ กล่าวอีกว่า กฎหมายที่มีการพิจารณาอีกฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ศ. .... ซึ่งจะทดแทน พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฉบับปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้โดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนจะมีส่วนร่วมในกระบวนการตรวจสอบความโปร่งใสในภาครัฐ เพื่อป้องกันปัญหาการทุจริต และประพฤติมิชอบในภาครัฐ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐตรี เสนอคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาต่อไป

นายวิษญะ กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เร่งรัดกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจเพื่อสังคม รวมถึงการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลเชิงความลับและความมั่นคง

ด้าน นายคำนูณ สิทธิสมาน ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามกฎหมาย ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ กล่าวว่า ในการประชุมสัปดาห์หน้า จะมีการประชุมกฎหมายเร่งด่วนสำคัญ 4 ฉบับ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. การเงินการคลังของรัฐ 2. ร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. .... 3. ร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ 4. ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. .... โดยจะกำหนดมาจากมาตรฐานของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจากเดิมเป็นหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
กำลังโหลดความคิดเห็น