"วิษณุ" เผย"บิ๊กตู่" ทูลเกล้าฯกฎหมายลูกแล้ว 2 ฉบับ แย้มตั้งเพิ่มคกก.ปฏิรูปด้านศก.-สังคม ประชุมประธานคณะปฏิรูป11 ด้าน 30 ส.ค.นี้ ยัน รัฐบาลใหม่เปลี่ยนยุทธศาสตร์ได้ ตามโลกาภิวัตน์ ปชป.ชี้ คสช.-รัฐบาล ต้องจริงใจปฏิรูป เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ด้านกสม. นัดถก อังคารนี้ ปมถูก สนช.เซตซีโร ก่อนสรุปส่งความเห็นแย้ง ตั้งกมธ. 3 ฝ่าย หรือไม่
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.ได้ทูลเกล้าฯกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไปแล้ว 2 ฉบับ คือ 1. ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ... 2. ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. .... ส่วน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ... ยังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เนื่องจากยังมีปัญหาด้านการพิมพ์เล็กน้อย ขณะที่ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังไม่ส่งมาที่รัฐบาล ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำกฎหมายลูกของ กรธ. และ สนช.ไม่ถือว่าล่าช้า
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ที่ยังเหลือโควตาสามารถตั้งเพิ่มเติมได้ว่า ไม่ทราบว่า บรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.นี้ จะได้รับการแต่งตั้งเข้ามา หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายกฯ แต่ส่วนตัวไม่คิดว่าจะมี เพราะถ้าจะตั้งจริง ก็สามารถตั้งได้เลย ไม่ต้องรอเกษียณ อีกทั้ง ผบ.เหล่าทัพ ต่างเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ชาติโดยตำแหน่งอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการปฏิรูปด้านอื่นๆ ที่สามารถแต่งเพิ่มเติมได้ตามความเห็นของ คณะกรรมการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องนั้น มีความเป็นไปได้ ที่จะตั้งเพิ่มในด้านเศรษฐกิจ สังคม เพราะด้านนี้มีประเด็นที่สามารถแตกแยกย่อยได้อีกมาก
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา ได้เชิญเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มาหารือ เพื่อเตรียมการประชุมประธานคณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน เพื่อตกลงกติกาก่อนที่แต่ละคณะจะแยกย้ายไปทำงาน คาดว่าจะสามารถประชุมได้ในวันที่ 30 ส.ค.นี้ โดยที่ประชุมจะมีกรรมการยุทธศาสตร์ 1 คน เป็นประธาน
"การดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปประเทศจะเป็นแผนตามกฎหมาย ซึ่งผูกพันไปอีก 5 ปี เพราะการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ผ่านมา ไม่มีผลผูกพันกับใครทั้งนั้น เป็นเพียงการประสานร่วมกับรัฐบาล ดังนั้นคณะกรรมการปฏิรูป จึงสำคัญกว่า เพราะอำนาจเด็ดขาดอยู่ที่กรรมการชุดนี้ ในกฎหมายเขียนไว้เลยว่าให้คณะกรรมการปฏิรูปเอาแผนการของ สปช. และ สปท. มาใช้เป็นกรอบ เพื่อต่อยอดออกไป คณะกรรมการปฏิรูปนี้เป็นสภาที่ปฏิบัติ ไม่ใช่สภาที่เสนอแนะอย่างสปท. และสปช. ฉะนั้นใครที่ออกมาให้ความเห็นว่า ตั้งคณะกรรมการกันเยอะเหลือเกิน ตรงนี้ก็เพราะรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บังคับให้ตั้ง" นายวิษณุกล่าว
ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่า แผนปฏิรูปฯ และยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งผูกพันระยะยาวนั้นจะไม่สอดคล้องกับโลกโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ยืนยันว่าไม่มีปัญหา เพราะพ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ระบุไว้แล้วว่าหากนโยบายของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถปรับปรุงแก้ไขยุทธศาสตร์ชาติได้ เพียงแต่ให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขตามกระบวนการที่ถูกต้อง โดยเปิดรับฟังความเห็นของประชาชน ผ่านการพิจารณาที่ประชุมสภาฯ เป็นต้น
ทั้งนี้ รัฐบาลใหม่ ไม่จำเป็นต้องยึดตามเป้าหมายยุทธศาสตร์เดิม แต่สามารถกำหนดเป้าหมายใหม่ได้ เพื่อให้ดีกว่าเดิม และวิธีการไปสู่เป้าหมาย คณะกรรมการยุทธศาสตร์ จะไม่ยุ่ง แต่ปล่อยให้รัฐบาลได้คิดวิธีของตัวอง เช่น ถ้ายุทธศาสตร์ชาติระบุให้ช่วยเหลือชาวนา วิธีการจะเป็นจำนำข้าว ประกันราคาข้าว หรือรับซื้อ ก็ให้รัฐบาลแต่ละชุดคิดเอง ไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า ผลพลอยได้จากการตั้งคณะกรรมการปฏิรูป คือการยับยั้งรัฐบาลเสียงข้างมากที่จะทำนโยบายประชานิยม ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง รัฐบาลไม่มีความตั้งใจอย่างนั้น นโยบายประชานิยมรัฐธรรมนูญได้ยับยั้งไว้แล้ว ทั้งยัง มี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสนช.ที่ระบุว่า โครงการที่เข้าข่ายประชานิยม ต้องบอกถึงแหล่งรายได้ที่จะนำมาใช้ นอกจากนี้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ยังกำหนดว่า ในช่วงหาเสียงซึ่งจะมีการประกาศว่าจะทำอะไรก็ตาม หากเป็นเรื่องใหม่ จะต้องบอกด้วยว่าใช้งบฯ จากที่ใด เช่น นโยบายให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ถ้าจะมีการขึ้นภาษี แต่ไม่บอกประชาชน ตรงนี้ไม่ได้
**ต้องเปิดโอกาสให้ปชช.มีส่วนร่วม
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปว่า ประชาชนอยากเห็นผลงานการปฏิรูปที่เป็นชิ้นเป็นอัน สามารถทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น และเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประสบผลสำเร็จ ควรมีการดำเนินการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดวิสัยทัศน์ และหลักการของการปฏิรูปทุกด้านที่ชัดเจน เพื่อให้มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน อันจะทำให้การปฏิรูปสัมฤทธิ์ผลเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าไม่มีวิสัยทัศน์ และหลักการที่ชัดเจน การปฏิรูปก็จะสะเปะ สะปะ อาจมีเพียงข้อเสนอให้ปรับเปลี่ยนเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลจากการปฏิรูปอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ควรเปิดโอกาสให้มีกลไกที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูป เพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกับการปฏิรูป จะทำให้เกิดความร่วมมือช่วยกันผลักดันให้การปฏิรูปสำเร็จ อีกทั้งผู้มีอำนาจทั้ง คสช. และรัฐบาล ควรมีความจริงใจที่จะนำข้อเสนอไปปฏิรูปให้เกิดผลจริง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา แทบไม่มีการปฏิรูปให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง หากผู้มีอำนาจในบ้านเมืองมีความตั้งใจที่จะปฏิรูปอย่างแท้จริง ก็เชื่อว่าน่าจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามที่ทุกฝ่ายคาดหวังได้ในที่สุด
**กสม.นัดถกปมถุกเซตซีโร
นายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึง กรณีที่ประชุมสนช. มีมติ เซตซีโร กสม. ว่า การประชุมกสม. ในวันอังคารที่ 22 ส.ค.นี้ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือต่อที่ประชุม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. ที่ผ่านการพิจารณาของ สนช. โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกสม. ว่ามีเรื่องใดที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงานของกสม. หรือไม่
ทั้งนี้ หากที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นควรให้เสนอความเห็นกลับไปยัง สนช. เพื่อเข้าสู่กระบวนการตั้ง กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย ระหว่าง สนช. กรธ. และ กสม. ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานองค์กรอิสระ ต้องไปเข้าร่วม ตนก็พร้อมทำหน้าที่ตรงส่วนนี้ โดยไม่มีความกดดันใดๆ ทั้งสิ้น
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.ได้ทูลเกล้าฯกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไปแล้ว 2 ฉบับ คือ 1. ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ... 2. ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. .... ส่วน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. ... ยังไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เนื่องจากยังมีปัญหาด้านการพิมพ์เล็กน้อย ขณะที่ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน ทางสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังไม่ส่งมาที่รัฐบาล ทั้งนี้ กระบวนการจัดทำกฎหมายลูกของ กรธ. และ สนช.ไม่ถือว่าล่าช้า
นายวิษณุ ยังกล่าวถึง คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ที่ยังเหลือโควตาสามารถตั้งเพิ่มเติมได้ว่า ไม่ทราบว่า บรรดาผู้บัญชาการเหล่าทัพ ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย.นี้ จะได้รับการแต่งตั้งเข้ามา หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของนายกฯ แต่ส่วนตัวไม่คิดว่าจะมี เพราะถ้าจะตั้งจริง ก็สามารถตั้งได้เลย ไม่ต้องรอเกษียณ อีกทั้ง ผบ.เหล่าทัพ ต่างเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ชาติโดยตำแหน่งอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการปฏิรูปด้านอื่นๆ ที่สามารถแต่งเพิ่มเติมได้ตามความเห็นของ คณะกรรมการปฏิรูปที่เกี่ยวข้องนั้น มีความเป็นไปได้ ที่จะตั้งเพิ่มในด้านเศรษฐกิจ สังคม เพราะด้านนี้มีประเด็นที่สามารถแตกแยกย่อยได้อีกมาก
นายวิษณุ กล่าวด้วยว่า เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา ได้เชิญเลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ มาหารือ เพื่อเตรียมการประชุมประธานคณะกรรมการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน เพื่อตกลงกติกาก่อนที่แต่ละคณะจะแยกย้ายไปทำงาน คาดว่าจะสามารถประชุมได้ในวันที่ 30 ส.ค.นี้ โดยที่ประชุมจะมีกรรมการยุทธศาสตร์ 1 คน เป็นประธาน
"การดำเนินการจัดทำแผนปฏิรูปประเทศจะเป็นแผนตามกฎหมาย ซึ่งผูกพันไปอีก 5 ปี เพราะการทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่ผ่านมา ไม่มีผลผูกพันกับใครทั้งนั้น เป็นเพียงการประสานร่วมกับรัฐบาล ดังนั้นคณะกรรมการปฏิรูป จึงสำคัญกว่า เพราะอำนาจเด็ดขาดอยู่ที่กรรมการชุดนี้ ในกฎหมายเขียนไว้เลยว่าให้คณะกรรมการปฏิรูปเอาแผนการของ สปช. และ สปท. มาใช้เป็นกรอบ เพื่อต่อยอดออกไป คณะกรรมการปฏิรูปนี้เป็นสภาที่ปฏิบัติ ไม่ใช่สภาที่เสนอแนะอย่างสปท. และสปช. ฉะนั้นใครที่ออกมาให้ความเห็นว่า ตั้งคณะกรรมการกันเยอะเหลือเกิน ตรงนี้ก็เพราะรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง บังคับให้ตั้ง" นายวิษณุกล่าว
ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่า แผนปฏิรูปฯ และยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งผูกพันระยะยาวนั้นจะไม่สอดคล้องกับโลกโลกาภิวัตน์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น ยืนยันว่าไม่มีปัญหา เพราะพ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ชาติ ระบุไว้แล้วว่าหากนโยบายของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถปรับปรุงแก้ไขยุทธศาสตร์ชาติได้ เพียงแต่ให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขตามกระบวนการที่ถูกต้อง โดยเปิดรับฟังความเห็นของประชาชน ผ่านการพิจารณาที่ประชุมสภาฯ เป็นต้น
ทั้งนี้ รัฐบาลใหม่ ไม่จำเป็นต้องยึดตามเป้าหมายยุทธศาสตร์เดิม แต่สามารถกำหนดเป้าหมายใหม่ได้ เพื่อให้ดีกว่าเดิม และวิธีการไปสู่เป้าหมาย คณะกรรมการยุทธศาสตร์ จะไม่ยุ่ง แต่ปล่อยให้รัฐบาลได้คิดวิธีของตัวอง เช่น ถ้ายุทธศาสตร์ชาติระบุให้ช่วยเหลือชาวนา วิธีการจะเป็นจำนำข้าว ประกันราคาข้าว หรือรับซื้อ ก็ให้รัฐบาลแต่ละชุดคิดเอง ไม่มีปัญหา
เมื่อถามว่า ผลพลอยได้จากการตั้งคณะกรรมการปฏิรูป คือการยับยั้งรัฐบาลเสียงข้างมากที่จะทำนโยบายประชานิยม ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง รัฐบาลไม่มีความตั้งใจอย่างนั้น นโยบายประชานิยมรัฐธรรมนูญได้ยับยั้งไว้แล้ว ทั้งยัง มี พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสนช.ที่ระบุว่า โครงการที่เข้าข่ายประชานิยม ต้องบอกถึงแหล่งรายได้ที่จะนำมาใช้ นอกจากนี้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ยังกำหนดว่า ในช่วงหาเสียงซึ่งจะมีการประกาศว่าจะทำอะไรก็ตาม หากเป็นเรื่องใหม่ จะต้องบอกด้วยว่าใช้งบฯ จากที่ใด เช่น นโยบายให้ประชาชนกินดีอยู่ดี ถ้าจะมีการขึ้นภาษี แต่ไม่บอกประชาชน ตรงนี้ไม่ได้
**ต้องเปิดโอกาสให้ปชช.มีส่วนร่วม
ด้านนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง การทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปว่า ประชาชนอยากเห็นผลงานการปฏิรูปที่เป็นชิ้นเป็นอัน สามารถทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น และเพื่อให้การทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประสบผลสำเร็จ ควรมีการดำเนินการของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดวิสัยทัศน์ และหลักการของการปฏิรูปทุกด้านที่ชัดเจน เพื่อให้มีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน อันจะทำให้การปฏิรูปสัมฤทธิ์ผลเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ถ้าไม่มีวิสัยทัศน์ และหลักการที่ชัดเจน การปฏิรูปก็จะสะเปะ สะปะ อาจมีเพียงข้อเสนอให้ปรับเปลี่ยนเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลจากการปฏิรูปอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ควรเปิดโอกาสให้มีกลไกที่ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูป เพื่อให้ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกับการปฏิรูป จะทำให้เกิดความร่วมมือช่วยกันผลักดันให้การปฏิรูปสำเร็จ อีกทั้งผู้มีอำนาจทั้ง คสช. และรัฐบาล ควรมีความจริงใจที่จะนำข้อเสนอไปปฏิรูปให้เกิดผลจริง เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา แทบไม่มีการปฏิรูปให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง หากผู้มีอำนาจในบ้านเมืองมีความตั้งใจที่จะปฏิรูปอย่างแท้จริง ก็เชื่อว่าน่าจะทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติตามที่ทุกฝ่ายคาดหวังได้ในที่สุด
**กสม.นัดถกปมถุกเซตซีโร
นายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึง กรณีที่ประชุมสนช. มีมติ เซตซีโร กสม. ว่า การประชุมกสม. ในวันอังคารที่ 22 ส.ค.นี้ ตนจะนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือต่อที่ประชุม ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยกสม. ที่ผ่านการพิจารณาของ สนช. โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกสม. ว่ามีเรื่องใดที่เป็นปัญหาต่อการปฏิบัติงานของกสม. หรือไม่
ทั้งนี้ หากที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นควรให้เสนอความเห็นกลับไปยัง สนช. เพื่อเข้าสู่กระบวนการตั้ง กมธ.ร่วม 3 ฝ่าย ระหว่าง สนช. กรธ. และ กสม. ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประธานองค์กรอิสระ ต้องไปเข้าร่วม ตนก็พร้อมทำหน้าที่ตรงส่วนนี้ โดยไม่มีความกดดันใดๆ ทั้งสิ้น