"บิ๊กตู่" ขีดเส้นคลอดแผนปฏิรูปใน 8 เดือน ขออย่ารังเกียจ ขรก.ร่วมทีม ยอมรับกก.หน้าเก่าพรึ่บ เผยทาบเยอะแต่ถูกบอกปัด ขอให้คำปรึกษาข้างหลัง ยันใช้เงินไม่สูญเปล่า "ประวิตร" ลั่นคกก.ปฏิรูป 11 ด้าน ไม่ใช่เด็ก "บิ๊กป้อม" ยันคัดเลือกมาอย่างดี ตามผลงาน "วิษณุ"ขู่ หน่วยงานรัฐ ไม่ทำตามแผนปฏิรูป ส่อโดนลงโทษ ระบุเปลี่ยนตัว กก.ปฏิรูปได้ แต่ถ้าเหตุผลไม่พอ ระวังถูกฟ้องกลับ แจงตั้งอดีต สปท.เยอะ เหตุคนดีมีจำกัด ชง ครม.ตั้งกก. ยุทธศาสตร์ชาติ 29 ส.ค.นี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ว่า คณะกรรมการปฏิรูป มีเวลาทำงาน 8 เดือน จริงๆ แล้วไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแต่ที่ผ่านมา สปท. และ สนช. ได้คิดกิจกรรมโดยมีข้อกำหนดว่า ต้องทำ แต่ละกิจกรรมอย่างไร ซึ่งจากนี้ถือเป็นการทำในขั้นที่ 2 เพื่อลงในรายละเอียดว่า ปัญหาข้อบกพร่องอยู่ตรงไหน และข้อกฎหมาย โดยแผนปฏิรูปจะต้องออกมาภายใน 8 เดือน ขณะเดียวกันรัฐบาลจะต้องดำเนินการไปด้วย ไม่เช่นนั้นไม่สอดคล้องกัน และบางอย่างเมื่อปฏิรูปมาแล้ว รัฐบาลอาจจะทำไม่ได้ เพราะบางทีการคิดอย่างเดียวมันง่าย แต่ถ้ามาเจอระบบราชการ คือต้องปรับปรุงแก้ไข ทำได้ยาก ดังนั้นต้องไปด้วยกัน
"ในทุกคณะกรรมการ จะมีหลายส่วน หลายฝ่าย แต่อย่ารังเกียจที่มีข้าราชการอยู่ด้วย ผมเห็นว่าถ้าเป็นนักคิด นักวิชาการอย่างเดียว บางทีในทางปฏิบัติจะเกิดปัญหา เพราะต้องรู้ขั้นตอนของราชการด้วย จึงจำเป็นต้องมีข้าราชการที่เกษียณอายุเข้าไปด้วย เพียงแต่ว่าการทำแผนปฏิรูปให้สอดคล้องกับแผนการทำงานของราชการ ในส่วนของข้าราชการ ก็เสนอมาเพื่อที่จะแก้ไข นำไปสู่สิ่งที่ต้องการ ทั้งนี้ผมได้ให้แนวทางคณะกรรมการปรองดอง ถ้ามีฝ่ายการเมืองอะไรต่างๆ ที่อยากจะมาร่วมและเสนอตัวเข้ามา ก็จะมาพิจารณาก็จะมาพิจารณาใส่เข้าไปอีกที ยังมีตำแหน่งที่ว่างอยู่ ไม่ใช่เฉพาะคณะตรงนี้ ยังมีคณะอนุกรรมการอีกเยอะ ฉะนั้นไปพูดกับนักการเมืองดู ถ้าเขาอยากให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้า ลดความขัดแย้ง มีเจตนาบริสุทธิ์ เขาก็น่าจะร่วมมือตรงนี้ นี่คือ เวทีปรองดองของผมอีกอันนึง ซึ่งผมตั้งใจไว้อย่างนั้น ตอนนี้เขากำลังไปพูดคุยกันต่อ"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า วันนี้ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน การใช้งบประมาณ ก็คงจะมีแค่เบี้ยประชุม ซึ่งได้หารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ซึ่งตามกติกาแล้วก็ไม่มากมายอะไร ก็ขอให้ช่วยระดมความคิดเห็น นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่ไม่เสียเปล่า รัฐบาลต่อไปก็ต้องทำด้วย แต่อย่ามองว่า เราไปตีกรอบมากจนเกินไป มันไม่ใช่ เพียงแต่ตีกรอบให้การทำงานเข้าร่องเข้ารอยเท่านั้นเอง เขาจะทำวิธีไหนก็ว่ามา ขอให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีใครไปจ้องจับผิดอยู่แล้ว
"เราต้องวางพื้นฐานให้ได้ และหลายเรื่องที่รัฐบาลทำมา 3 ปี มันยังไม่เกิด เพราะเป็นการเริ่มลงทุน ก่อสร้าง เป็นต้น แต่มันจะเกิดใน 3-5 ปีต่อไป แต่ถ้าไม่ทำในวันนี้ อีก 5 ปี ก็ไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้น " พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ผู้สื่อถามว่า คณะกรรมการปฏิรูปส่วนใหญ่เป็น สปท.มาก่อน อาจจะทำให้การปฏิรูปไม่ได้ผล หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันไม่มีอะไรใหม่ไปกว่านี้ เรื่องการปฏิรูป พูดกันมาในหลักการหมดแล้ว มี 37 วาระ 188 เรื่อง จากนี้ก็จะนำมาคลี่ดู และลงในรายละเอียด ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำมาเยอะแล้วแต่ยังไม่พอ จึงต้องมีคณะกรรมการปฏิรูปมาทำงานอีก 8 เดือน เพื่อถอดแผน และตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ อย่าไปมองว่าซ้ำซ้อน แต่ขอบอกว่าคนในประเทศไทยมีหลายส่วน ที่มีความคิดดี มีเจตนาบริสุทธิ์ แต่เขาขออยู่เบื้องหลัง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง กรณีที่มีการมองว่ารายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ 11 คณะ มีแต่คนที่มีความสนิทสนมกับรองนายกรัฐมนตรี ว่า การคัดเลือกคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ส่วนใหญ่จะคัดมาจากอดีตสปท. ซึ่งทั้งหมดก็รู้จักกันอยู่แล้ว ทางเราก็จะดูในเรื่องของผลงาน และการทำงานที่ผ่านมา ว่ามีความจริงจังและทุ่มเทให้กับประเทศขนาดไหน
"ที่บอกว่ามีแต่เด็กของบิ๊กป้อมเยอะนั้น ผมถามว่าใครล่ะ ไม่มีแน่นอน เพราะทุกคนเป็นคนทำงาน และมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ" พล.อ.ประวิตร กล่าว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการปฏิรูป มีภารกิจ 3 ประการ คือ 1. การยกร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ภายในระยะเวลา 8 เดือน คาดว่า เม.ย. 61 จะประกาศใช้ได้ 2. การติดตามดูแลหน่วยงานของรัฐว่าได้ปฏิบัติ หรือเดินตามแผนการปฏิรูปหรือไม่ หากพบว่า หน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามสามารถตักเตือนแนะนำได้ ถ้ายังไม่เชื่อฟัง ให้รายงานนายกรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อใช้มาตรการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สามารถกำหนดบทลงโทษต่างๆ หากบทลงโทษนั้นไม่เพียงพอสามารถใช้มาตรการฟ้องสังคมโดยออกประกาศ หรือแจ้งต่อสภา หรือส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ เพราะบทลงโทษต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่ใช่ไปลงโทษ หรือแกล้งใครง่ายๆ และ 3. คณะกรรมการปฏิรูป ต้องลงมือทำเอง เช่น การยกร่างปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบต่างๆ
ขณะนี้คณะกรรมการปฏิรูป สามารถประชุมนัดแรกได้แล้ว แต่จะมีการประชุมร่วมของประธาน คณะกรรมการปฏิรูปทุกคณะก่อน โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะส่งกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 1 คน มาเป็นประธานการประชุม เพื่อตกลงกติกาก่อนที่จะให้แต่ละคณะแยกย้ายไปดำเนินการ และอีก 1 - 2 วันนี้ ตนจะเชิญเลขาธิการคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาหารือ ถึงการเตรียมการต่างๆ
ทั้งนี้ ตามรธน. กำหนดให้แผนปฏิรูปประเทศ ต้องเสร็จภายใน 1 ปี แต่ไม่มีข้อขัดข้องอันใด ที่จะปฏิบัติไปก่อนโดยที่ไม่มีแผนการ นอกจากนี้ ในกฎหมายได้กำหนดว่า จะต้องมีการรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการที่ปรากฏเป็นรูปธรรมทุกปี ตลอดระยะเวลา 5 ปี
นายวิษณุ กล่าวว่า หลังจากนี้ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล สามารถเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในคณะกรรมการปฏิรูปได้ โดยมีเงื่อนไขอยู่ใน พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 แต่ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตามใจชอบ ประเภทที่ให้ออกโดยอ้างเหตุผลเรื่องหย่อนความสามารถ ต้องระวัง เพราะถูกฟ้องมานักต่อนักแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์รายชื่อคณะกรรมการปฏิรูป ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนหน้าเดิมจาก สปท. และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้งสิ้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง แต่ละคณะจะมีสัดส่วนของคนจาก สปท.อยู่ ไม่ใช่คนจากสปท.ทั้งหมด ตอนแต่งตั้งสมาชิก สปช. หรือ สปท. มีความพยายามคัดคนดีเข้ามา เมื่อถึงเวลายุบสองสภานี้ จนตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแล้วจะต้องหาคนดี มันนึกได้อยู่ในแวดวงแค่นี้ แต่ไม่ถึงขนาดเป็นหัวกะทิ เราดูจากการหมั่นเข้าประชุม การทำหน้าที่ รวมถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะคนในคณะกรรมการปฏิรูปคือ คนต้องนั่งลงมือทำงาน ไม่ใช่ฝัน ถ้าคิดว่าจะฝัน ให้ไปอยู่ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
เมื่อถามว่า คณะกรรมการปฏิรูป มีสิทธิ์ได้รับการสรรหาเป็น 250 ส.ว. ชุดแรกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องลาออกจากคณะกรรมการปฏิรูปก่อน แต่ไม่มีเงื่อนไขว่า ต้องลาออกภายในกี่วัน
ส่วนความคืบหน้าการแต่งตั้ง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตาม พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า จะมีการเสนอรายชื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อขอความเห็นชอบ ในวันที่ 29 ส.ค.นี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน ว่า คณะกรรมการปฏิรูป มีเวลาทำงาน 8 เดือน จริงๆ แล้วไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแต่ที่ผ่านมา สปท. และ สนช. ได้คิดกิจกรรมโดยมีข้อกำหนดว่า ต้องทำ แต่ละกิจกรรมอย่างไร ซึ่งจากนี้ถือเป็นการทำในขั้นที่ 2 เพื่อลงในรายละเอียดว่า ปัญหาข้อบกพร่องอยู่ตรงไหน และข้อกฎหมาย โดยแผนปฏิรูปจะต้องออกมาภายใน 8 เดือน ขณะเดียวกันรัฐบาลจะต้องดำเนินการไปด้วย ไม่เช่นนั้นไม่สอดคล้องกัน และบางอย่างเมื่อปฏิรูปมาแล้ว รัฐบาลอาจจะทำไม่ได้ เพราะบางทีการคิดอย่างเดียวมันง่าย แต่ถ้ามาเจอระบบราชการ คือต้องปรับปรุงแก้ไข ทำได้ยาก ดังนั้นต้องไปด้วยกัน
"ในทุกคณะกรรมการ จะมีหลายส่วน หลายฝ่าย แต่อย่ารังเกียจที่มีข้าราชการอยู่ด้วย ผมเห็นว่าถ้าเป็นนักคิด นักวิชาการอย่างเดียว บางทีในทางปฏิบัติจะเกิดปัญหา เพราะต้องรู้ขั้นตอนของราชการด้วย จึงจำเป็นต้องมีข้าราชการที่เกษียณอายุเข้าไปด้วย เพียงแต่ว่าการทำแผนปฏิรูปให้สอดคล้องกับแผนการทำงานของราชการ ในส่วนของข้าราชการ ก็เสนอมาเพื่อที่จะแก้ไข นำไปสู่สิ่งที่ต้องการ ทั้งนี้ผมได้ให้แนวทางคณะกรรมการปรองดอง ถ้ามีฝ่ายการเมืองอะไรต่างๆ ที่อยากจะมาร่วมและเสนอตัวเข้ามา ก็จะมาพิจารณาก็จะมาพิจารณาใส่เข้าไปอีกที ยังมีตำแหน่งที่ว่างอยู่ ไม่ใช่เฉพาะคณะตรงนี้ ยังมีคณะอนุกรรมการอีกเยอะ ฉะนั้นไปพูดกับนักการเมืองดู ถ้าเขาอยากให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้า ลดความขัดแย้ง มีเจตนาบริสุทธิ์ เขาก็น่าจะร่วมมือตรงนี้ นี่คือ เวทีปรองดองของผมอีกอันนึง ซึ่งผมตั้งใจไว้อย่างนั้น ตอนนี้เขากำลังไปพูดคุยกันต่อ"
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า วันนี้ต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน การใช้งบประมาณ ก็คงจะมีแค่เบี้ยประชุม ซึ่งได้หารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ซึ่งตามกติกาแล้วก็ไม่มากมายอะไร ก็ขอให้ช่วยระดมความคิดเห็น นำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่ไม่เสียเปล่า รัฐบาลต่อไปก็ต้องทำด้วย แต่อย่ามองว่า เราไปตีกรอบมากจนเกินไป มันไม่ใช่ เพียงแต่ตีกรอบให้การทำงานเข้าร่องเข้ารอยเท่านั้นเอง เขาจะทำวิธีไหนก็ว่ามา ขอให้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่มีใครไปจ้องจับผิดอยู่แล้ว
"เราต้องวางพื้นฐานให้ได้ และหลายเรื่องที่รัฐบาลทำมา 3 ปี มันยังไม่เกิด เพราะเป็นการเริ่มลงทุน ก่อสร้าง เป็นต้น แต่มันจะเกิดใน 3-5 ปีต่อไป แต่ถ้าไม่ทำในวันนี้ อีก 5 ปี ก็ไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้น " พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
ผู้สื่อถามว่า คณะกรรมการปฏิรูปส่วนใหญ่เป็น สปท.มาก่อน อาจจะทำให้การปฏิรูปไม่ได้ผล หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มันไม่มีอะไรใหม่ไปกว่านี้ เรื่องการปฏิรูป พูดกันมาในหลักการหมดแล้ว มี 37 วาระ 188 เรื่อง จากนี้ก็จะนำมาคลี่ดู และลงในรายละเอียด ซึ่งที่ผ่านมาก็ทำมาเยอะแล้วแต่ยังไม่พอ จึงต้องมีคณะกรรมการปฏิรูปมาทำงานอีก 8 เดือน เพื่อถอดแผน และตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ อย่าไปมองว่าซ้ำซ้อน แต่ขอบอกว่าคนในประเทศไทยมีหลายส่วน ที่มีความคิดดี มีเจตนาบริสุทธิ์ แต่เขาขออยู่เบื้องหลัง
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวถึง กรณีที่มีการมองว่ารายชื่อคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ 11 คณะ มีแต่คนที่มีความสนิทสนมกับรองนายกรัฐมนตรี ว่า การคัดเลือกคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ส่วนใหญ่จะคัดมาจากอดีตสปท. ซึ่งทั้งหมดก็รู้จักกันอยู่แล้ว ทางเราก็จะดูในเรื่องของผลงาน และการทำงานที่ผ่านมา ว่ามีความจริงจังและทุ่มเทให้กับประเทศขนาดไหน
"ที่บอกว่ามีแต่เด็กของบิ๊กป้อมเยอะนั้น ผมถามว่าใครล่ะ ไม่มีแน่นอน เพราะทุกคนเป็นคนทำงาน และมีความตั้งใจจริงในการแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ" พล.อ.ประวิตร กล่าว
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะกรรมการปฏิรูป มีภารกิจ 3 ประการ คือ 1. การยกร่างแผนการปฏิรูปประเทศ ภายในระยะเวลา 8 เดือน คาดว่า เม.ย. 61 จะประกาศใช้ได้ 2. การติดตามดูแลหน่วยงานของรัฐว่าได้ปฏิบัติ หรือเดินตามแผนการปฏิรูปหรือไม่ หากพบว่า หน่วยงานใดไม่ปฏิบัติตามสามารถตักเตือนแนะนำได้ ถ้ายังไม่เชื่อฟัง ให้รายงานนายกรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อใช้มาตรการทางกฎหมายต่อไป ซึ่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สามารถกำหนดบทลงโทษต่างๆ หากบทลงโทษนั้นไม่เพียงพอสามารถใช้มาตรการฟ้องสังคมโดยออกประกาศ หรือแจ้งต่อสภา หรือส่งให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ เพราะบทลงโทษต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่ใช่ไปลงโทษ หรือแกล้งใครง่ายๆ และ 3. คณะกรรมการปฏิรูป ต้องลงมือทำเอง เช่น การยกร่างปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบต่างๆ
ขณะนี้คณะกรรมการปฏิรูป สามารถประชุมนัดแรกได้แล้ว แต่จะมีการประชุมร่วมของประธาน คณะกรรมการปฏิรูปทุกคณะก่อน โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ จะส่งกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 1 คน มาเป็นประธานการประชุม เพื่อตกลงกติกาก่อนที่จะให้แต่ละคณะแยกย้ายไปดำเนินการ และอีก 1 - 2 วันนี้ ตนจะเชิญเลขาธิการคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาหารือ ถึงการเตรียมการต่างๆ
ทั้งนี้ ตามรธน. กำหนดให้แผนปฏิรูปประเทศ ต้องเสร็จภายใน 1 ปี แต่ไม่มีข้อขัดข้องอันใด ที่จะปฏิบัติไปก่อนโดยที่ไม่มีแผนการ นอกจากนี้ ในกฎหมายได้กำหนดว่า จะต้องมีการรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการที่ปรากฏเป็นรูปธรรมทุกปี ตลอดระยะเวลา 5 ปี
นายวิษณุ กล่าวว่า หลังจากนี้ไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล สามารถเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในคณะกรรมการปฏิรูปได้ โดยมีเงื่อนไขอยู่ใน พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 แต่ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตามใจชอบ ประเภทที่ให้ออกโดยอ้างเหตุผลเรื่องหย่อนความสามารถ ต้องระวัง เพราะถูกฟ้องมานักต่อนักแล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์รายชื่อคณะกรรมการปฏิรูป ส่วนใหญ่ล้วนเป็นคนหน้าเดิมจาก สปท. และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ทั้งสิ้น นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่เป็นความจริง แต่ละคณะจะมีสัดส่วนของคนจาก สปท.อยู่ ไม่ใช่คนจากสปท.ทั้งหมด ตอนแต่งตั้งสมาชิก สปช. หรือ สปท. มีความพยายามคัดคนดีเข้ามา เมื่อถึงเวลายุบสองสภานี้ จนตั้งคณะกรรมการปฏิรูปแล้วจะต้องหาคนดี มันนึกได้อยู่ในแวดวงแค่นี้ แต่ไม่ถึงขนาดเป็นหัวกะทิ เราดูจากการหมั่นเข้าประชุม การทำหน้าที่ รวมถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะคนในคณะกรรมการปฏิรูปคือ คนต้องนั่งลงมือทำงาน ไม่ใช่ฝัน ถ้าคิดว่าจะฝัน ให้ไปอยู่ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
เมื่อถามว่า คณะกรรมการปฏิรูป มีสิทธิ์ได้รับการสรรหาเป็น 250 ส.ว. ชุดแรกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องลาออกจากคณะกรรมการปฏิรูปก่อน แต่ไม่มีเงื่อนไขว่า ต้องลาออกภายในกี่วัน
ส่วนความคืบหน้าการแต่งตั้ง คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตาม พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 นั้น นายวิษณุ กล่าวว่า จะมีการเสนอรายชื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อขอความเห็นชอบ ในวันที่ 29 ส.ค.นี้