นายอุดม รัฐอมฤต โฆษกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึง การพิจารณาทบทวน ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยที่ประชุมมีการคุยกันแล้วว่า กรธ. ไม่จำเป็นต้องส่งข้อโต้แย้ง เพื่อให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญร่วม 3 ฝ่าย เพื่อทบทวนอีกครั้ง แม้ กรธ.อาจจะมีข้อทักท้วงว่าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ แต่ก็เป็นเพียงความเห็นเท่านั้น ดังนั้น ควรรอความชัดเจนจากกรณี ที่ 34 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เกี่ยวกับสถานะของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ให้อยู่ต่อจนครบวาระ จะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งจะถือเป็นข้อยุติสำหรับทุกฝ่าย
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ตาม พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศว่า การจะแต่งตั้งบุคคล ไม่มีใครทราบล่วงหน้า เพราะเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี ที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม แต่หากพิจารณาจากความต่อเนื่อง สัดส่วน 1 ใน 3 ของบุคคลจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้รับโอกาสมาทำหน้าที่ต่อ ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จึงคาดการณ์ได้ว่า คณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่จะแต่งตั้งขึ้นนั้น จะเป็นไปอย่างหลากหลาย และเชื่อว่าจะมีอดีตสมาชิก สปช. และ สปท. รวมอยู่ด้วย เพื่อสานงานด้านการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ไม่ว่าจะได้รับการทาบทามหรือไม่ ก็พร้อมทำงาน เพื่อผลักดันการปฏิรูปประเทศต่อไปไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม
นายอลงกรณ์ บอกด้วยว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่กำหนดภาพใหญ่ พิมพ์เขียวการปฏิรูปประเทศ แล้วส่งไม้ผลัดที่สอง ให้กับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ทำแผนการปฏิบัติการปฏิรูป และไม้ผลัดที่สาม คือ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่ต้องสร้างการปฏิรูปให้เกิดเป็นรูปธรรม แม้ว่ามีการกำหนดกระบวนการการติดตามการทำงานปฏิรูปโดยรัฐสภา และมีมาตรการจากเบาไปหาหนัก แต่การปฏิรูปที่ควรจะเป็น ไม่ควรขึ้นอยู่กับการบังคับ แต่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ที่ต้องร่วมมือกันให้การปฏิรูปประเทศสัมฤทธิ์ผล
ด้านนายวันชัย สอนศิริ อดีตสมาชิก สปท. กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการทาบทาม แต่การจะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรี แต่หากได้รับการทาบทาม ก็พร้อมทำงานต่อ ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หรือด้านการเมือง พร้อมมองว่าการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ จะต่างจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เพราะมีการกำหนดอำนาจไว้ในรัฐธรรมนูญ และร่างกฎหมายประกอบ เพราะหากไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอ อาจเข้าข่ายขัด ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ที่เสมือนยักษ์มีกระบอง
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร อดีต รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึงการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ตาม พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศว่า การจะแต่งตั้งบุคคล ไม่มีใครทราบล่วงหน้า เพราะเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี ที่ต้องพิจารณาตามความเหมาะสม แต่หากพิจารณาจากความต่อเนื่อง สัดส่วน 1 ใน 3 ของบุคคลจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้รับโอกาสมาทำหน้าที่ต่อ ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ จึงคาดการณ์ได้ว่า คณะกรรมการปฏิรูปประเทศที่จะแต่งตั้งขึ้นนั้น จะเป็นไปอย่างหลากหลาย และเชื่อว่าจะมีอดีตสมาชิก สปช. และ สปท. รวมอยู่ด้วย เพื่อสานงานด้านการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 ด้าน ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ไม่ว่าจะได้รับการทาบทามหรือไม่ ก็พร้อมทำงาน เพื่อผลักดันการปฏิรูปประเทศต่อไปไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม
นายอลงกรณ์ บอกด้วยว่า สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่ทำหน้าที่กำหนดภาพใหญ่ พิมพ์เขียวการปฏิรูปประเทศ แล้วส่งไม้ผลัดที่สอง ให้กับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ที่ทำแผนการปฏิบัติการปฏิรูป และไม้ผลัดที่สาม คือ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่ต้องสร้างการปฏิรูปให้เกิดเป็นรูปธรรม แม้ว่ามีการกำหนดกระบวนการการติดตามการทำงานปฏิรูปโดยรัฐสภา และมีมาตรการจากเบาไปหาหนัก แต่การปฏิรูปที่ควรจะเป็น ไม่ควรขึ้นอยู่กับการบังคับ แต่เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ที่ต้องร่วมมือกันให้การปฏิรูปประเทศสัมฤทธิ์ผล
ด้านนายวันชัย สอนศิริ อดีตสมาชิก สปท. กล่าวว่า ยังไม่ได้รับการทาบทาม แต่การจะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรี แต่หากได้รับการทาบทาม ก็พร้อมทำงานต่อ ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หรือด้านการเมือง พร้อมมองว่าการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ จะต่างจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ หรือ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เพราะมีการกำหนดอำนาจไว้ในรัฐธรรมนูญ และร่างกฎหมายประกอบ เพราะหากไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการปฏิรูปเสนอ อาจเข้าข่ายขัด ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ที่เสมือนยักษ์มีกระบอง