ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 658/2551 ลงวันที่ 12 พ.ค.51 ที่ลงโทษปลด นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร ออกจากราชการ กรณีมีความเห็นว่าการพิจารณารับโอนหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอร์เรชัน จำกัด มหาชน ของนายบรรณพจน์ ดามาพงษ์ จากน.ส.ดวงตา วงศ์ภักดี ผู้ถือหุ้นแทน คุณหญิงพจมาน ชินวัตร จำนวน 4.5 ล้านหุ้น มูลค่า 738 ล้านบาท เมื่อปี 40 ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยให้กระทรวงการคลัง คืน สิทธิประโยชน์ที่นายศิโรตม์ พึงได้รับ หากมิได้ถูกลงโทษทางวินัย ตามคำสั่งดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ 29 ธ.ค.49 ซึ่งเป็นวันที่คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
สำหรับคดีนี้ ศาลปกครองกลาง เคยมีคำพิพากษาให้ นายศิโรตม์ ชนะคดีมาแล้ว และกระทรวงการคลังไม่ได้อุทธรณ์ ทำให้คดีถึงที่สุด แต่ ป.ป.ช. ได้ยื่นคำร้อง ขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีแต่ต้น ศาลปกครองสูงสุด จึงมีคำสั่งให้ศาลปกครองกลาง ตั้งองค์คณะพิจารณาคดีใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ ป.ป.ช. เป็นผู้ร้องในคดี อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาในวันนี้ ศาลปกครองกลางยังคงยืนยันว่า นายศิโรตม์ ไม่มีความผิดตามที่ ป.ป.ช. ชี้มูล เนื่องจากการพิจารณาเรื่องยกเว้นภาษีดังกล่าว เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งทั้งสำนักตรวจสอบภาษี และสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร ต่างเห็นตรงกันว่า เป็นการได้รับโอนจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี และเป็นการได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เข้าข่ายได้รับการยกเว้นภาษี อีกทั้งไม่ปรากฏว่า ในเวลานั้นกรมสรรพากรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเรื่องเงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือเงินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาฯ อันจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม มาตรา 42(10) ของประมวลกฎหมายรัษฎากร ไว้อย่างชัดเจน การพิจารณาจึงอยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และผู้มีอำนาจสั่งการ ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายกรณี และในกรณีนี้ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่า นายบรรณพจน์ หรือ คุณหญิงพจมาน ให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่นายศิโรตม์ เพื่อให้มีความเห็นเป็นประโยชน์กับบุคคลทั้งสอง หรือมีพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่านายศิโรตม์ มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบราชการ ที่เข้าข่ายเป็นผู้มีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ดังที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงไปก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ ในคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ยังระบุถึงอำนาจการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงของ ป.ป.ช. ว่า อยู่ในอำนาจของศาลเนื่องจากเป็นฝ่ายตุลาการ ที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เนื่องจากการใช้อำนาจของป.ป.ช. ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงนั้น เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. 2542 ไม่ใช่การใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 223 วรรคสอง แต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังคำพิพากษาเสร็จสิ้น นายศิโรตม์ ซึ่งเดินทางมารับฟังคำพิพากษาด้วยตัวเอง ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ที่ผ่านมาไม่เคยพูด ก็ขอที่จะไม่พูดต่อไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ป.ป.ช. จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ของศาลปกครองกลางต่อไป
สำหรับคดีนี้ ศาลปกครองกลาง เคยมีคำพิพากษาให้ นายศิโรตม์ ชนะคดีมาแล้ว และกระทรวงการคลังไม่ได้อุทธรณ์ ทำให้คดีถึงที่สุด แต่ ป.ป.ช. ได้ยื่นคำร้อง ขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีแต่ต้น ศาลปกครองสูงสุด จึงมีคำสั่งให้ศาลปกครองกลาง ตั้งองค์คณะพิจารณาคดีใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ ป.ป.ช. เป็นผู้ร้องในคดี อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาในวันนี้ ศาลปกครองกลางยังคงยืนยันว่า นายศิโรตม์ ไม่มีความผิดตามที่ ป.ป.ช. ชี้มูล เนื่องจากการพิจารณาเรื่องยกเว้นภาษีดังกล่าว เป็นไปตามลำดับขั้นตอนของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งทั้งสำนักตรวจสอบภาษี และสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร ต่างเห็นตรงกันว่า เป็นการได้รับโอนจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี และเป็นการได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา เข้าข่ายได้รับการยกเว้นภาษี อีกทั้งไม่ปรากฏว่า ในเวลานั้นกรมสรรพากรมีการกำหนดหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติเรื่องเงินที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือเงินที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาฯ อันจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม มาตรา 42(10) ของประมวลกฎหมายรัษฎากร ไว้อย่างชัดเจน การพิจารณาจึงอยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ และผู้มีอำนาจสั่งการ ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายกรณี และในกรณีนี้ก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสดงว่า นายบรรณพจน์ หรือ คุณหญิงพจมาน ให้ผลประโยชน์ตอบแทนแก่นายศิโรตม์ เพื่อให้มีความเห็นเป็นประโยชน์กับบุคคลทั้งสอง หรือมีพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่านายศิโรตม์ มีเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับประโยชน์ที่มิควรได้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเจตนาไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบราชการ ที่เข้าข่ายเป็นผู้มีความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ดังที่ ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงไปก่อนหน้านี้
นอกจากนี้ ในคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ยังระบุถึงอำนาจการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงของ ป.ป.ช. ว่า อยู่ในอำนาจของศาลเนื่องจากเป็นฝ่ายตุลาการ ที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ เนื่องจากการใช้อำนาจของป.ป.ช. ชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรงนั้น เป็นการใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. 2542 ไม่ใช่การใช้อำนาจวินิจฉัยชี้ขาดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 223 วรรคสอง แต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังคำพิพากษาเสร็จสิ้น นายศิโรตม์ ซึ่งเดินทางมารับฟังคำพิพากษาด้วยตัวเอง ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ โดยกล่าวเพียงสั้นๆ ว่า ที่ผ่านมาไม่เคยพูด ก็ขอที่จะไม่พูดต่อไป อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ ป.ป.ช. จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ของศาลปกครองกลางต่อไป