วานนี้ (23ก.ค.) สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดเวทีราชดำเนินเสวนา "2 ปีสปท.สังคมได้อะไรจากการปฏิรูป" โดยวิทยากรจาก 4 ฝ่าย ประกอบด้วย นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีวิทยาลัยนวตกรรมสังคม ม.รังสิต นายนิกร จำนง ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และอดีตสปท. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ อดีต รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ร่วมเสวนา
นายนิกร กล่าวในฐานะอดีต สปท.ว่า ในโครงสร้างของสปท.พบว่าเป็นระบบราชการล้วนๆ ราว 200 คน ทำให้เป็นตัวกำหนดงานสปท. ที่ออกมา ในขณะที่งานของสปท. จะเป็นเรื่องรายงานล้วนๆ เหมือนที่ปรึกษานายกฯ ทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องการรวบรวมการเสนอความเห็น ซึ่งงานที่สปท. ทำมาทั้งหมดจะมีการสรุปรายงานเป็นหนังสือในวันที่ 31 ก.ค.นี้ เพื่อแจกจ่ายหน่วยราชการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องปฏิรูปราชการประจำ ส่วนเรื่องปฏิรูปที่เป็นเรื่องหักดิบไปเลย มีน้อยมาก เพราะวิธีคิดของระบบราชการ ไม่กล้าคิดเลย
"คิดว่าประโยชน์ของสปท. สำหรับคสช. แล้วเป็นเหมือนกันชน หรือเป็นหินไว้โยนถามทาง เป็นหมากทางการเมืองที่มีประโยชน์ ยกตัวอย่างเรื่องปฏิรูปสื่อ หรือเรื่องเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พอถูกกดันหนักรัฐบาลก็ไม่เอาข้อเสนอของสปท."นายนิกร กล่าว และว่า สปท. จะไปต่อโดยในรธน. กำหนดไว้ จะต้องมีปฏิรูป 11 ด้านใน 5 ปี ซึ่งกรรมการปฏิรูป น่าจะมาจากสปท. 7 คน
นายชวลิต กล่าวว่า ตนมีข้อสังเกตว่า หน้าที่ของ สปท. แค่เสนอแนะ แต่งานทั้งหมดยังขาดการจัดลำดับความสำคัญ สปท.ไม่ได้จัดลำดับหัวใจของปัญหาหลัก และปัญหารอง โดยเฉพาะการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจไม่ได้เป็นขอประชาชนอย่างแท้จริง ก็ส่งผลให้เกิดระบบรัฐราชการขึ้นมา เพราะภายหลังการรัฐประหาร ได้เกิดรัฐราชการจะมาคลุมทุกอย่าง จึงมีคำถามว่า ในโลกปัจจุบันจะให้รัฐราชการมาขับเคลื่อนประเทศได้หรือไม่ ทั้งที่ระบบรัฐราชการ ทำให้เราขาดการแข่งขันที่มีคุณภาพในเวทีโลก ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเรื่องนี้จะมีต่อไป เพราะมีลายลักษณ์อักษรในรธน. และกฎหมายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะมีข้าราชการประจำเป็นผู้กำหนดเป็นส่วนใหญ่
"ขณะนี้ภาคเอกชนไม่มีการลงทุน มีแต่รัฐบาลลงทุนขาเดียว จึงเป็นสิ่งที่มองว่า ระบบรัฐราชการเดินไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ เราจะค่อยๆ เหมือนกบอยู่ในหม้อที่ถูกต้ม แรกๆไม่รู้สึกร้อน แต่เมื่อรู้ตัว กบก็จะกระโดดไม่ไหวแล้ว" นายชวลิต กล่าว
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ขอเสนอแนวคิดในนามนักกฎหมายอิสระ ซึ่งตนมองว่าจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องมีสปท. เลยก็ได้ แต่นายกฯมามือเปล่า จึงวางโครงสร้าง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจของคสช. แต่การคิดทั้งหมดยังอยู่ที่ คสช.เป็นหลัก
"ประชาธิปไตยเหมือนต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ไม่ได้เติบโตงอกงามบนดินได้ทุกชนิด ประชาธิปไตยก็เช่นกัน ไม่ได้เติบโตในทุกประเทศ เห็นว่าประเทศไทยกำลังเป็นรัฐรูปแบบกึ่งประชาธิปไตยมากกว่า ซึ่งเราจะต้องเดินในแนวนี้อีก 20 ปีข้างหน้า เหมือนรัฐไทย เป็นรถเบนซ์แต่เอาเครื่องไปใส่รถไถนาแบบเดินตาม โดยรูปแบบที่วางไว้ต่อไปนั้น ในอนาคตข้างหน้าไม่ใช่ประชาธิปไตยที่เราเห็น เพราะถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
นายสุริยะใส กล่าวว่า สปท.ก็เป็นเหมือนคลองเล็กๆ แต่แม่น้ำ 4 สายที่เหลือ เป็นแม่น้ำ เป็นมหาสมุทรทั้งนั้น หากย้อนไปที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีข้อเสนอที่ดีๆทั้งนั้น เมื่อมีสปท.ก็เหมือนว่าจะเป็นการตั้งต้นที่จะต้องขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ และเร่งด่วนแต่ก็พบว่ามีขีดจำกัดที่ซ้อนอยู่ คือวิธีคิดของระบบราชการเป็นปัญหาการปฏิรูปมาโดยตลอด
"หากจะประเมินสปท. ต้องบอกว่า 2 ปีที่ผ่านมา คือรัฐราชการ อำนาจการกำกับการปฏิรูปที่แท้จริงต่อไปน่าจะอยู่ที่ป.ย.ป. หรือแม่น้ำสายที่ 6 หรือเป็น ครม.ส่วนหน้า จึงอยากให้สมาคมนักข่าวฯ ประเมิน 1 ปี ปยป. บ้างว่าเป็นย่างไร"
นายสุริยะใส กล่าวว่าแนวโน้มทิศทางการปฏิรูปพุ่งเป้าไปที่การกระชับอำนาจราชการส่วนกลาง และสะท้อนวงจรความไม่ไว้วางใจนักการเมือง ซึ่งนักการเมืองก็ไม่ไว้วางใจทหาร ทหารไม่ไว้วางใจประชาชน เราจะจัดการวงจรไม่ไว้วางใจได้อย่างไร เพราะเป็นเงื่อนปมสำคัญที่ทำให้ความแตกแยกยังคงอยู่ และถ้าเปลี่ยนวงจรนี้ไม่ได้ การเลือกตั้งก็ไม่ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ ซึ่งตนเป็นห่วงว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะทำให้แขนขาของระบบราชการแข็งแกร่ง ซึ่งวิธีคิดของราชการกับการตื่นตัวของสังคม ยังส่วนทางกัน
"พรรคการเมืองจะชูธงเพื่อสร้างแรงส่งการปฏิรูปได้หรือไม่ อย่างไร ถ้าพรรคการเมืองไม่ตั้งเรื่อง ก็จะทำงานได้ยากขึ้น มีความจำเป็นที่พรรคการเมือง ต้องส่งสัญญาณเพื่อช่วงชิงอำนาจในการปฏิรูป นอกจากนี้กระแสการปฏิรูปที่เกิดจากภาคประชาชน ซึ่งเป็นกระแสบวกกับการเมืองไทย ถ้ามีการปล่อยปละละเลย เราจะไม่มีทางออกให้ประเทศในตรงนี้ ดังนั้นโจทย์จึงมาอยู่ที่พรรคการเมือง ว่าจะตั้งต้นเรื่องปฏิรูปอย่างไร เพราะเรื่องปรองดองที่ดีที่สุดคือ ทำเรื่อปฏิรูปให้เป็นจริงและเร็วที่สุด" นายสุริยะใส กล่าว
นายนิกร กล่าวในฐานะอดีต สปท.ว่า ในโครงสร้างของสปท.พบว่าเป็นระบบราชการล้วนๆ ราว 200 คน ทำให้เป็นตัวกำหนดงานสปท. ที่ออกมา ในขณะที่งานของสปท. จะเป็นเรื่องรายงานล้วนๆ เหมือนที่ปรึกษานายกฯ ทำให้ทุกอย่างเป็นเรื่องการรวบรวมการเสนอความเห็น ซึ่งงานที่สปท. ทำมาทั้งหมดจะมีการสรุปรายงานเป็นหนังสือในวันที่ 31 ก.ค.นี้ เพื่อแจกจ่ายหน่วยราชการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องปฏิรูปราชการประจำ ส่วนเรื่องปฏิรูปที่เป็นเรื่องหักดิบไปเลย มีน้อยมาก เพราะวิธีคิดของระบบราชการ ไม่กล้าคิดเลย
"คิดว่าประโยชน์ของสปท. สำหรับคสช. แล้วเป็นเหมือนกันชน หรือเป็นหินไว้โยนถามทาง เป็นหมากทางการเมืองที่มีประโยชน์ ยกตัวอย่างเรื่องปฏิรูปสื่อ หรือเรื่องเลือกตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พอถูกกดันหนักรัฐบาลก็ไม่เอาข้อเสนอของสปท."นายนิกร กล่าว และว่า สปท. จะไปต่อโดยในรธน. กำหนดไว้ จะต้องมีปฏิรูป 11 ด้านใน 5 ปี ซึ่งกรรมการปฏิรูป น่าจะมาจากสปท. 7 คน
นายชวลิต กล่าวว่า ตนมีข้อสังเกตว่า หน้าที่ของ สปท. แค่เสนอแนะ แต่งานทั้งหมดยังขาดการจัดลำดับความสำคัญ สปท.ไม่ได้จัดลำดับหัวใจของปัญหาหลัก และปัญหารอง โดยเฉพาะการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจไม่ได้เป็นขอประชาชนอย่างแท้จริง ก็ส่งผลให้เกิดระบบรัฐราชการขึ้นมา เพราะภายหลังการรัฐประหาร ได้เกิดรัฐราชการจะมาคลุมทุกอย่าง จึงมีคำถามว่า ในโลกปัจจุบันจะให้รัฐราชการมาขับเคลื่อนประเทศได้หรือไม่ ทั้งที่ระบบรัฐราชการ ทำให้เราขาดการแข่งขันที่มีคุณภาพในเวทีโลก ตั้งแต่คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเรื่องนี้จะมีต่อไป เพราะมีลายลักษณ์อักษรในรธน. และกฎหมายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพราะมีข้าราชการประจำเป็นผู้กำหนดเป็นส่วนใหญ่
"ขณะนี้ภาคเอกชนไม่มีการลงทุน มีแต่รัฐบาลลงทุนขาเดียว จึงเป็นสิ่งที่มองว่า ระบบรัฐราชการเดินไปไม่ได้ในโลกปัจจุบัน ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ เราจะค่อยๆ เหมือนกบอยู่ในหม้อที่ถูกต้ม แรกๆไม่รู้สึกร้อน แต่เมื่อรู้ตัว กบก็จะกระโดดไม่ไหวแล้ว" นายชวลิต กล่าว
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ขอเสนอแนวคิดในนามนักกฎหมายอิสระ ซึ่งตนมองว่าจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องมีสปท. เลยก็ได้ แต่นายกฯมามือเปล่า จึงวางโครงสร้าง เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับอำนาจของคสช. แต่การคิดทั้งหมดยังอยู่ที่ คสช.เป็นหลัก
"ประชาธิปไตยเหมือนต้นไม้ ซึ่งต้นไม้ไม่ได้เติบโตงอกงามบนดินได้ทุกชนิด ประชาธิปไตยก็เช่นกัน ไม่ได้เติบโตในทุกประเทศ เห็นว่าประเทศไทยกำลังเป็นรัฐรูปแบบกึ่งประชาธิปไตยมากกว่า ซึ่งเราจะต้องเดินในแนวนี้อีก 20 ปีข้างหน้า เหมือนรัฐไทย เป็นรถเบนซ์แต่เอาเครื่องไปใส่รถไถนาแบบเดินตาม โดยรูปแบบที่วางไว้ต่อไปนั้น ในอนาคตข้างหน้าไม่ใช่ประชาธิปไตยที่เราเห็น เพราะถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญ และกฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
นายสุริยะใส กล่าวว่า สปท.ก็เป็นเหมือนคลองเล็กๆ แต่แม่น้ำ 4 สายที่เหลือ เป็นแม่น้ำ เป็นมหาสมุทรทั้งนั้น หากย้อนไปที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) มีข้อเสนอที่ดีๆทั้งนั้น เมื่อมีสปท.ก็เหมือนว่าจะเป็นการตั้งต้นที่จะต้องขับเคลื่อนประเด็นสำคัญ และเร่งด่วนแต่ก็พบว่ามีขีดจำกัดที่ซ้อนอยู่ คือวิธีคิดของระบบราชการเป็นปัญหาการปฏิรูปมาโดยตลอด
"หากจะประเมินสปท. ต้องบอกว่า 2 ปีที่ผ่านมา คือรัฐราชการ อำนาจการกำกับการปฏิรูปที่แท้จริงต่อไปน่าจะอยู่ที่ป.ย.ป. หรือแม่น้ำสายที่ 6 หรือเป็น ครม.ส่วนหน้า จึงอยากให้สมาคมนักข่าวฯ ประเมิน 1 ปี ปยป. บ้างว่าเป็นย่างไร"
นายสุริยะใส กล่าวว่าแนวโน้มทิศทางการปฏิรูปพุ่งเป้าไปที่การกระชับอำนาจราชการส่วนกลาง และสะท้อนวงจรความไม่ไว้วางใจนักการเมือง ซึ่งนักการเมืองก็ไม่ไว้วางใจทหาร ทหารไม่ไว้วางใจประชาชน เราจะจัดการวงจรไม่ไว้วางใจได้อย่างไร เพราะเป็นเงื่อนปมสำคัญที่ทำให้ความแตกแยกยังคงอยู่ และถ้าเปลี่ยนวงจรนี้ไม่ได้ การเลือกตั้งก็ไม่ทำให้ทุกอย่างดีขึ้นได้ ซึ่งตนเป็นห่วงว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะทำให้แขนขาของระบบราชการแข็งแกร่ง ซึ่งวิธีคิดของราชการกับการตื่นตัวของสังคม ยังส่วนทางกัน
"พรรคการเมืองจะชูธงเพื่อสร้างแรงส่งการปฏิรูปได้หรือไม่ อย่างไร ถ้าพรรคการเมืองไม่ตั้งเรื่อง ก็จะทำงานได้ยากขึ้น มีความจำเป็นที่พรรคการเมือง ต้องส่งสัญญาณเพื่อช่วงชิงอำนาจในการปฏิรูป นอกจากนี้กระแสการปฏิรูปที่เกิดจากภาคประชาชน ซึ่งเป็นกระแสบวกกับการเมืองไทย ถ้ามีการปล่อยปละละเลย เราจะไม่มีทางออกให้ประเทศในตรงนี้ ดังนั้นโจทย์จึงมาอยู่ที่พรรคการเมือง ว่าจะตั้งต้นเรื่องปฏิรูปอย่างไร เพราะเรื่องปรองดองที่ดีที่สุดคือ ทำเรื่อปฏิรูปให้เป็นจริงและเร็วที่สุด" นายสุริยะใส กล่าว