จากกรณีที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) เตรียมเชิญกกต. มาหารือในวันนี้ (19 มิ.ย.) เกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ผ่านการพิจารณาของ สนช. โดยเฉพาะประเด็น ไพรมารีโหวต ว่าจะมีปัญหาในปฏิบัติหรือไม่นั้น ทางกกต.ได้รับการประสานเป็นการภายในจากกรธ. แล้ว เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.ที่ผ่านมา และได้แจ้งกลับไปว่า ในวันที่ 19 มิ.ย. ทางกกต.ไม่สะดวก เนื่องจากด้านกิจการพรรคการเมืองติดภารกิจ จัดประชุมคณะทำงานจัดทำร่างระเบียบ หรือประกาศตาม ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งมีการเชิญตัวแทนพรรคการเมือง มาหารือ เพื่อขอความเห็นว่า ร่างระเบียบที่ กกต.ยกร่างขึ้น และต้องออกตาม ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองเห็นว่าจะมีปัญหาในทางปฏิบัติอย่างไร อีกทั้งการจะนำประเด็นที่ กกต.เห็นว่าเป็นปัญหาต่อ ร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง ไปหารือกับ กรธ. ก็ต้องรายงาน และขอมติจากที่ประชุมกกต. ในวันที่ 20 มิ.ย.ก่อน ซึ่งเบื้องต้นเห็นว่าส่วนที่จะเกิดปัญหา มี 5-6 ประเด็น ดังนั้นการจะไปหารือกับ กรธ. น่าจะเป็นวันพุธที่ 21 มิ.ย. ซึ่งก็ได้มีการแจ้งกับผู้ประสานงานของกรธ.ไปแล้ว
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนที่หนึ่ง กล่าวถึง กรณีพรรคการเมืองกังวลว่า ระบบไพรมารีโหวต อาจเกิดความขัดแย้ง ในการคัดเลือกผู้สมัคร หรือทาบทามผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ จะเกิดระบบเครือญาติ และกลุ่มทุนครอบงำพรรคนั้น ความจริง สิ่งที่กังวลทั้ง 4 ประการ คือปัญหาที่เกิดในทุกพรรคฯ จากอดีตถึงปัจจุบันอยู่แล้ว ไม่ใช่จะเกิดขึ้นเพราะระบบไพรมารี่ ในทางตรงข้าม ระบบไพรมารี กลับจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่แท้จริง
"ผมเป็นคนเสนอให้นำระบบไพรมารีมาใช้ เป็นเครื่องมือการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่เป็นรองหัวหน้าพรรค โดยทดลองระบบไพรมารี ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อ 5 ปีที่แล้ว มั่นใจว่า ถ้านำมาใช้จะเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน จึงได้เสนอให้บรรจุในแผนปฏิรูปการเมืองของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตั้งแต่ปลายปี 2557 สืบต่อมาจนถึงยุคของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และเห็นด้วยที่ สนช.บัญญัติไว้ใน พ.ร.ป.พรรคการเมือง" นายอลงกรณ์ กล่าว
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สปท. กล่าวว่า หากต้องการปฏิรูปก็ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง หากต้องการทำเพื่อประโยชน์ประชาชนและบ้านเมือง ก็ต้องให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนเข้าสู่การเลือกตั้ง จึงต้องกล้าลดอำนาจคณะกรรมการบริหารพรรค และผลประโยชน์ของกลุ่มการเมือง โดยให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกในพื้นที่ต่างๆ มีอำนาจ และมีส่วนร่วมมากขึ้น ก็จะทำให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชน ไม่เป็นพรรคของนายทุน หรือกลุ่มอิทธิพล
"แค่นี้ก็ยังรับกันไม่ได้ หากมีการเลือกตั้งแล้วจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลได้อย่างไร แล้วการเลือกตั้ง จะได้ประโยชน์อะไร หากไม่ยอมปฏิรูป หรือไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นอย่างแท้จริง" นายเสรี กล่าว
นายสุริยะใส กตะศิลา ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ได้กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับ ระบบไพรมารีโหวต ในร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง เพราะเป็นหลักการสำคัญในการทำให้พรรคการเมืองคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิก และ ลดอิทธิพลการครอบงำของกลุ่มทุนในพรรค แต่ในระยะแรกเริ่มอาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่บ้าง เพราะเป็นเรื่องใหม่ ที่พรรคการเมืองไม่คุ้นชิน แต่ในระยะยาวถือว่าจะเป็นผลดี ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปพรรคการเมือง ทำให้พรรคเป็นสถาบันที่ยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น
"ถึงเวลาแล้วที่นักการเมืองต้องปรับตัวออกจากความเคยชินเก่าๆ ถึงเวลาเลือกตั้งก็วิ่งเต้นหอบเงินแลกกับการลงสมัครเขตนั้น เขตนี้ และขออยู่บัญชีลำดับต้นๆ การปฎิรูปการเมืองมีราคาที่ทุกคนต้องจ่าย ต้องปรับตัว เสียสละกันบ้าง โดยเฉพาะนักการเมืองยิ่งต้องเสียสละมากกว่าคนอื่น" นายสุริยะใส กล่าว
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนที่หนึ่ง กล่าวถึง กรณีพรรคการเมืองกังวลว่า ระบบไพรมารีโหวต อาจเกิดความขัดแย้ง ในการคัดเลือกผู้สมัคร หรือทาบทามผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ จะเกิดระบบเครือญาติ และกลุ่มทุนครอบงำพรรคนั้น ความจริง สิ่งที่กังวลทั้ง 4 ประการ คือปัญหาที่เกิดในทุกพรรคฯ จากอดีตถึงปัจจุบันอยู่แล้ว ไม่ใช่จะเกิดขึ้นเพราะระบบไพรมารี่ ในทางตรงข้าม ระบบไพรมารี กลับจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทำให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่แท้จริง
"ผมเป็นคนเสนอให้นำระบบไพรมารีมาใช้ เป็นเครื่องมือการปฏิรูปพรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่เป็นรองหัวหน้าพรรค โดยทดลองระบบไพรมารี ที่จังหวัดอยุธยา เมื่อ 5 ปีที่แล้ว มั่นใจว่า ถ้านำมาใช้จะเกิดการพัฒนาเปลี่ยนแปลงพรรคการเมืองไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน จึงได้เสนอให้บรรจุในแผนปฏิรูปการเมืองของสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตั้งแต่ปลายปี 2557 สืบต่อมาจนถึงยุคของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ และเห็นด้วยที่ สนช.บัญญัติไว้ใน พ.ร.ป.พรรคการเมือง" นายอลงกรณ์ กล่าว
นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการเมือง สปท. กล่าวว่า หากต้องการปฏิรูปก็ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง หากต้องการทำเพื่อประโยชน์ประชาชนและบ้านเมือง ก็ต้องให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการเลือกตัวแทนเข้าสู่การเลือกตั้ง จึงต้องกล้าลดอำนาจคณะกรรมการบริหารพรรค และผลประโยชน์ของกลุ่มการเมือง โดยให้ประชาชนที่เป็นสมาชิกในพื้นที่ต่างๆ มีอำนาจ และมีส่วนร่วมมากขึ้น ก็จะทำให้พรรคการเมืองเป็นของประชาชน ไม่เป็นพรรคของนายทุน หรือกลุ่มอิทธิพล
"แค่นี้ก็ยังรับกันไม่ได้ หากมีการเลือกตั้งแล้วจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลได้อย่างไร แล้วการเลือกตั้ง จะได้ประโยชน์อะไร หากไม่ยอมปฏิรูป หรือไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมืองมากขึ้นอย่างแท้จริง" นายเสรี กล่าว
นายสุริยะใส กตะศิลา ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) ได้กล่าวแสดงความเห็นด้วยกับ ระบบไพรมารีโหวต ในร่าง พ.ร.ป.พรรคการเมือง เพราะเป็นหลักการสำคัญในการทำให้พรรคการเมืองคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิก และ ลดอิทธิพลการครอบงำของกลุ่มทุนในพรรค แต่ในระยะแรกเริ่มอาจจะมีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่บ้าง เพราะเป็นเรื่องใหม่ ที่พรรคการเมืองไม่คุ้นชิน แต่ในระยะยาวถือว่าจะเป็นผลดี ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปพรรคการเมือง ทำให้พรรคเป็นสถาบันที่ยึดโยงกับประชาชนมากขึ้น
"ถึงเวลาแล้วที่นักการเมืองต้องปรับตัวออกจากความเคยชินเก่าๆ ถึงเวลาเลือกตั้งก็วิ่งเต้นหอบเงินแลกกับการลงสมัครเขตนั้น เขตนี้ และขออยู่บัญชีลำดับต้นๆ การปฎิรูปการเมืองมีราคาที่ทุกคนต้องจ่าย ต้องปรับตัว เสียสละกันบ้าง โดยเฉพาะนักการเมืองยิ่งต้องเสียสละมากกว่าคนอื่น" นายสุริยะใส กล่าว