ศาลอ่านคำพิพากษาคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ที่จำเลยเป็นข้าราชการและกลุ่มพลเรือนรวม 103 คน "พล.ท.มนัส คงแป้น" อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทบ. ทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ฯ และมีส่วนร่วมเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งที่เป็นเจ้าพนักงาน จึงต้องระวางโทษ 2 เท่าของความผิด ส่วน "โกโต้ง" อดีตนายกอบจ.สตูล ก็เจอโทษเป็น 2 เท่าเช่นกัน
เมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (19ก.ค.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง หรือ เสี่ยโต้ง อดีตนายกอบจ.สตูล , พล.ท.มนัส คงแป้น อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และกลุ่มข้าราชการกับพลเรือน เป็นจำเลย 11 สำนวน รวม 103 คน ว่า ภายหลังที่แผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา สืบพยานจำเลยนัดสุดท้าย เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมาแล้ว กรณีเมื่อระหว่างต้นเดือน ม.ค.54 - 1 พ.ค.58 ต่อเนื่องกัน มีขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ชักชวนหลอกผู้เสียหายชาวโรฮีนจา หรือโรฮิงญา จากประเทศบังกลาเทศ และสาธารณรัฐสหภาพพม่า จำนวน 80 คน เพื่อมาทำงาน โดยมีการชักชวนว่า จะพาเดินทางมายังประเทศไทย แล้วจะส่งไปประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะได้รับเงินค่าตอบแทนสูงถึง 60,000 บาท โดยลักลอบขนผู้เสียหายจากกลางทะเล ทั้งในเขตน่านน้ำต่างประเทศ และประเทศไทย ขณะที่ผู้เสียหายซึ่งถูกหลอกมานั้นบางรายอายุไม่เกิน 15 ปี และหากมีการขัดขืน จะถูกใช้กำลังบังคับจากผู้คุมที่มีอาวุธปืน มีด ไม้ และแส้ และหากพบว่าผู้เสียหายคนใดมีเบอร์โทรศัพท์ญาติมา ก็จะเก็บเบอร์โทรศัพท์ไว้ เพื่อใช้เรียกค่าไถ่ พร้อมกับทรมานผู้เสียหายจนส่งเสียงร้องได้ยินเข้าไปในโทรศัพท์ เพื่อให้ญาติส่งเงินมาเรียกค่าไถ่ด้วย
ส่วนการลำเลียงผู้เสียหาย จะพาไปขึ้นฝั่งที่ จ.ระนอง ผ่านจ.สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และพัทลุง เพื่อไปยัง อ.ปาร์ดังเบซาร์ จ.สงขลา แล้วพาผู้เสียหายเดินเท้าไปยังเทือกเขาแก้ว เข้าแคมป์ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่อย่างแออัด ถูกบังคับให้นอนสลับหัวเท้า และมีการทรมานเพื่อเรียกค่าไถ่ หากไม่มีญาติมาไถ่ตัว ก็จะขายผู้เสียหายรายละ 60,000-70,000 บาท ซึ่งระหว่างการควบคุมตัวนั้น มีการจำกัดอาหาร และน้ำดื่ม ส่งผลมีผู้เสียหายหลายรายเสียชีวิต โจทก์จึงขอให้ศาลลงโทษ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2546 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ. 2490 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199, 270, 309, 312, 312 ทวิ, 312 ตรี, 313, 320, 371
สำหรับคดีค้ามนุษย์โรฮีนจานั้น พนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายบรรจง หรือ จง ปองพล จำเลยที่ 1 , นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง อดีตนายก อบจ.สตูล จำเลยที่ 29 , พล.ท.มนัส คงแป้น อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก จำเลยที่ 54 กับพวก ซึ่งเป็นข้าราชการและพลเรือน เป็นจำเลยที่ 1-88 ที่ซึ่งอัยการได้ทยอยฟ้องจำเลย ตั้งแต่เดือน ก.ค. 58 ในความผิด 16 ข้อหา
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เบิกตัวจำเลยทั้งหมด มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อมาฟังคำพิพากษา ขณะที่ญาติและบุคคลใกล้ชิดต่างมาร่วมฟังคำพิพากษาจำนวนมาก
ศาลได้อ่านพิเคราะห์ถึงความผิดของ นายปัจจุบัน หรือ โกโต้ง อังโชติพันธุ์ จำเลยที่ 29 ซึ่งฝ่ายโจทก์ มีชาวโรฮีนจา ผู้เสียหาย เบิกความว่า ได้ยินคนแวดล้อมของจำเลยที่ 29 เรียกจำเลยว่าเป็น “บิ๊กบอส”ทำให้เป็นจุดสนใจแก่พยานในการจดจำ โดยจำเลยที่ 29 ทำหน้าที่รับแรงงานชาวโรฮีนจาจากทะเล มาขึ้นฝั่งที่ จ.สตูล ก่อนนำแรงงานทั้งหมดไปพักไว้แคมป์คนงาน เพื่อรอเวลาส่งตัวแรงงานหมดไปประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แรงงานเสียชีวิต โกโต้ง จะเป็นคนนำผ้ามาให้ห่อศพ แล้วนำไปฝังดิน
ขณะที่ยังมีพยานอื่นระบุว่า รับรู้จากสามีว่า หากติดขัดปัญหาในการขนส่งต้องเจรจา“บิ๊กบอส”ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขนส่งแรงงานได้ โดยในชั้นสอบสวน พยานดังกล่าว สามารถชี้ยืนยันตัวว่า “บิ๊กบอส”คือ จำเลยที่ 29 ส่วนข้อต่อสู้ของ จำเลยที่ 29 ก็ไม่มีน้ำหนักที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ โดยจำเลยที่ 29 ขนชาวโรฮีนจา ผ่าน จ.สตูล ขึ้นเทือกเขาแก้ว ก่อนส่งไปยังประเทศปลายทาง การกระทำของจำเลยที่ 29 จึงเป็นความผิดฐานเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันค้ามนุษย์เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี , ร่วมกันค้ามนุษย์เด็กอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี , ร่วมกันค้ามนุษย์อายุเกินกว่า 18 ปี , ร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปกระทำผิดค้ามนุษย์ , สมคบกัน 2 คนขึ้นไป เพื่อค้ามนุษย์ , ร่วมกันนำพาชาวต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร และ ให้ที่พักพิงชาวต่างด้าว ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าพนักงานที่ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่าของความผิดนั้น
สำหรับพล.ท.มนัส คงแป้น จำเลยที่ 54 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนแยกที่ 1 ระนอง นั้น ศาลเห็นว่าในช่วงที่มีการพบแรงงานเมียร์มา และบังคลาเทศ ซึ่งเป็นชาวโรฮีนจา ทางการได้มีนโยบายผลักดังกลุ่มแรงงานเหล่านี้ออกจากนอกประเทศ ซึ่งระหว่างที่ พล.ท.มนัส ดำรงตำแหน่ง ผอ.กอ.รมน. ตำรวจสามารถจับกุมแรงงานต่างด้าวได้ 200 กว่าคน ซึ่งจะต้องทำการผลักดัน โดยส่งลงเรือลอยลำน่านน้ำสากล เพราะทั้งประเทศเมียนมา และบังคลาเทศ ไม่ยอมรับว่าบุคลดังกล่าวเป็นพลเมืองของตน แต่จากพยานหลักฐานโจทก์ พบว่า เมื่อมีการควบคุมแรงงานดังกล่าวแล้วได้ส่งให้จำเลยที่ 54 เพื่อผลักดันตามขั้นตอน แต่ขณะเดียวกัน โจทก์ก็มีแรงงานโรฮีนจา ผู้เสียหายที่ถูกจับกุมช่วงดังกล่าว ให้การว่า เคยถูกจับกุมแล้ว แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือกลับมาเข้าแคมป์เทือกเขาแก้ว ซึ่งรับฟังได้ว่าแม้จะให้มีการผลักดันแรงงานออกน่านน้ำ ตามแผนพิทักษ์อันดามัน 1 แต่แรงงานก็สามารถกลับมาได้ โดยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจากรายงานประวัติรับราชการของ พล.ท.มนัส พบว่า ได้เป็น ผอ.กอ.รมน. , ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกชุมพร (ผบ.จทบ.ชุมพร) และ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 จ.สงขลา ช่วงระหว่าง ต.ค.53 ถึง ธ.ค.57 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลาที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว มีความเชื่อมโยงในการผลักดันแรงงานโรฮีนจาออกนอกประเทศ ขณะที่ในการค้นบ้านพัก นางอรปภา จันทร์พ่วง จำเลยที่ 65 และ นางสาวศิริพร หรือแมว อุดมฤกษ์ จำเลยที่ 82 ก็พบหลักฐานเกี่ยวสลิปการโอนเงิน ซึ่งเชื่อมโยงบัญชี พล.ท.มนัส จำเลยที่ 54 ซึ่งพยานหลักฐานโจทก์ ปรากฏว่า มีการรับโอนเงิน ถึง 65 ครั้ง รวม 14,850,000 บาท โดยเป็นการโอนช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค.55 ถึง 61 ครั้ง เป็นเงิน 13,800,000 บาทเศษ และในช่วง เดือน ส.ค. 56 อีก 2 ครั้ง เป็นเงิน 1 ล้านบาทเศษ แม้ พล.ท.มนัส จำเลยที่ 54 จะต่อสู้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่ได้จากการพนันวัวชน, ซื้อขายวัวและเป็นเงินสนับสนุนจากเอกชนในการผลักดันแรงงานโรฮีนจานั้น จำเลยกลับไม่มีพยานหลักฐานเป็นเอกสารชัดเจน ขณะที่การผลักดันแรงงานรัฐ ก็มีงบประมาณสนับสนุนอยู่ จึงเชื่อได้ว่าเงินที่ได้รับโอนบัญชีของจำเลยที่ 54 เป็นผลประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับขบวนการค้ามนุษย์ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลผู้กระทำความผิดในการค้ามนุษย์ ไม่ให้ถูกจับกุม การกระทำนั้นจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันสมคบกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ฯ และมีส่วนร่วมเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งจำเลยที่ 54 เป็นเจ้าพนักงานจึงต้องระวางโทษ 2 เท่า ของความผิดนั้น
เมื่อเวลา 08.30 น. วานนี้ (19ก.ค.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีค้ามนุษย์โรฮีนจา ที่พนักงานอัยการยื่นฟ้อง นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง หรือ เสี่ยโต้ง อดีตนายกอบจ.สตูล , พล.ท.มนัส คงแป้น อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก และกลุ่มข้าราชการกับพลเรือน เป็นจำเลย 11 สำนวน รวม 103 คน ว่า ภายหลังที่แผนกคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา สืบพยานจำเลยนัดสุดท้าย เมื่อวันที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมาแล้ว กรณีเมื่อระหว่างต้นเดือน ม.ค.54 - 1 พ.ค.58 ต่อเนื่องกัน มีขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ชักชวนหลอกผู้เสียหายชาวโรฮีนจา หรือโรฮิงญา จากประเทศบังกลาเทศ และสาธารณรัฐสหภาพพม่า จำนวน 80 คน เพื่อมาทำงาน โดยมีการชักชวนว่า จะพาเดินทางมายังประเทศไทย แล้วจะส่งไปประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะได้รับเงินค่าตอบแทนสูงถึง 60,000 บาท โดยลักลอบขนผู้เสียหายจากกลางทะเล ทั้งในเขตน่านน้ำต่างประเทศ และประเทศไทย ขณะที่ผู้เสียหายซึ่งถูกหลอกมานั้นบางรายอายุไม่เกิน 15 ปี และหากมีการขัดขืน จะถูกใช้กำลังบังคับจากผู้คุมที่มีอาวุธปืน มีด ไม้ และแส้ และหากพบว่าผู้เสียหายคนใดมีเบอร์โทรศัพท์ญาติมา ก็จะเก็บเบอร์โทรศัพท์ไว้ เพื่อใช้เรียกค่าไถ่ พร้อมกับทรมานผู้เสียหายจนส่งเสียงร้องได้ยินเข้าไปในโทรศัพท์ เพื่อให้ญาติส่งเงินมาเรียกค่าไถ่ด้วย
ส่วนการลำเลียงผู้เสียหาย จะพาไปขึ้นฝั่งที่ จ.ระนอง ผ่านจ.สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และพัทลุง เพื่อไปยัง อ.ปาร์ดังเบซาร์ จ.สงขลา แล้วพาผู้เสียหายเดินเท้าไปยังเทือกเขาแก้ว เข้าแคมป์ซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่อย่างแออัด ถูกบังคับให้นอนสลับหัวเท้า และมีการทรมานเพื่อเรียกค่าไถ่ หากไม่มีญาติมาไถ่ตัว ก็จะขายผู้เสียหายรายละ 60,000-70,000 บาท ซึ่งระหว่างการควบคุมตัวนั้น มีการจำกัดอาหาร และน้ำดื่ม ส่งผลมีผู้เสียหายหลายรายเสียชีวิต โจทก์จึงขอให้ศาลลงโทษ ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2546 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พ.ร.บ.อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ พ.ศ. 2490 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 199, 270, 309, 312, 312 ทวิ, 312 ตรี, 313, 320, 371
สำหรับคดีค้ามนุษย์โรฮีนจานั้น พนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายบรรจง หรือ จง ปองพล จำเลยที่ 1 , นายปัจจุบัน อังโชติพันธุ์ หรือ โกโต้ง อดีตนายก อบจ.สตูล จำเลยที่ 29 , พล.ท.มนัส คงแป้น อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก จำเลยที่ 54 กับพวก ซึ่งเป็นข้าราชการและพลเรือน เป็นจำเลยที่ 1-88 ที่ซึ่งอัยการได้ทยอยฟ้องจำเลย ตั้งแต่เดือน ก.ค. 58 ในความผิด 16 ข้อหา
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้เบิกตัวจำเลยทั้งหมด มาจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อมาฟังคำพิพากษา ขณะที่ญาติและบุคคลใกล้ชิดต่างมาร่วมฟังคำพิพากษาจำนวนมาก
ศาลได้อ่านพิเคราะห์ถึงความผิดของ นายปัจจุบัน หรือ โกโต้ง อังโชติพันธุ์ จำเลยที่ 29 ซึ่งฝ่ายโจทก์ มีชาวโรฮีนจา ผู้เสียหาย เบิกความว่า ได้ยินคนแวดล้อมของจำเลยที่ 29 เรียกจำเลยว่าเป็น “บิ๊กบอส”ทำให้เป็นจุดสนใจแก่พยานในการจดจำ โดยจำเลยที่ 29 ทำหน้าที่รับแรงงานชาวโรฮีนจาจากทะเล มาขึ้นฝั่งที่ จ.สตูล ก่อนนำแรงงานทั้งหมดไปพักไว้แคมป์คนงาน เพื่อรอเวลาส่งตัวแรงงานหมดไปประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แรงงานเสียชีวิต โกโต้ง จะเป็นคนนำผ้ามาให้ห่อศพ แล้วนำไปฝังดิน
ขณะที่ยังมีพยานอื่นระบุว่า รับรู้จากสามีว่า หากติดขัดปัญหาในการขนส่งต้องเจรจา“บิ๊กบอส”ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขนส่งแรงงานได้ โดยในชั้นสอบสวน พยานดังกล่าว สามารถชี้ยืนยันตัวว่า “บิ๊กบอส”คือ จำเลยที่ 29 ส่วนข้อต่อสู้ของ จำเลยที่ 29 ก็ไม่มีน้ำหนักที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ โดยจำเลยที่ 29 ขนชาวโรฮีนจา ผ่าน จ.สตูล ขึ้นเทือกเขาแก้ว ก่อนส่งไปยังประเทศปลายทาง การกระทำของจำเลยที่ 29 จึงเป็นความผิดฐานเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันค้ามนุษย์เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี , ร่วมกันค้ามนุษย์เด็กอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี , ร่วมกันค้ามนุษย์อายุเกินกว่า 18 ปี , ร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปกระทำผิดค้ามนุษย์ , สมคบกัน 2 คนขึ้นไป เพื่อค้ามนุษย์ , ร่วมกันนำพาชาวต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร และ ให้ที่พักพิงชาวต่างด้าว ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าพนักงานที่ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่าของความผิดนั้น
สำหรับพล.ท.มนัส คงแป้น จำเลยที่ 54 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 ส่วนแยกที่ 1 ระนอง นั้น ศาลเห็นว่าในช่วงที่มีการพบแรงงานเมียร์มา และบังคลาเทศ ซึ่งเป็นชาวโรฮีนจา ทางการได้มีนโยบายผลักดังกลุ่มแรงงานเหล่านี้ออกจากนอกประเทศ ซึ่งระหว่างที่ พล.ท.มนัส ดำรงตำแหน่ง ผอ.กอ.รมน. ตำรวจสามารถจับกุมแรงงานต่างด้าวได้ 200 กว่าคน ซึ่งจะต้องทำการผลักดัน โดยส่งลงเรือลอยลำน่านน้ำสากล เพราะทั้งประเทศเมียนมา และบังคลาเทศ ไม่ยอมรับว่าบุคลดังกล่าวเป็นพลเมืองของตน แต่จากพยานหลักฐานโจทก์ พบว่า เมื่อมีการควบคุมแรงงานดังกล่าวแล้วได้ส่งให้จำเลยที่ 54 เพื่อผลักดันตามขั้นตอน แต่ขณะเดียวกัน โจทก์ก็มีแรงงานโรฮีนจา ผู้เสียหายที่ถูกจับกุมช่วงดังกล่าว ให้การว่า เคยถูกจับกุมแล้ว แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือกลับมาเข้าแคมป์เทือกเขาแก้ว ซึ่งรับฟังได้ว่าแม้จะให้มีการผลักดันแรงงานออกน่านน้ำ ตามแผนพิทักษ์อันดามัน 1 แต่แรงงานก็สามารถกลับมาได้ โดยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจากรายงานประวัติรับราชการของ พล.ท.มนัส พบว่า ได้เป็น ผอ.กอ.รมน. , ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกชุมพร (ผบ.จทบ.ชุมพร) และ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 จ.สงขลา ช่วงระหว่าง ต.ค.53 ถึง ธ.ค.57 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลาที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว มีความเชื่อมโยงในการผลักดันแรงงานโรฮีนจาออกนอกประเทศ ขณะที่ในการค้นบ้านพัก นางอรปภา จันทร์พ่วง จำเลยที่ 65 และ นางสาวศิริพร หรือแมว อุดมฤกษ์ จำเลยที่ 82 ก็พบหลักฐานเกี่ยวสลิปการโอนเงิน ซึ่งเชื่อมโยงบัญชี พล.ท.มนัส จำเลยที่ 54 ซึ่งพยานหลักฐานโจทก์ ปรากฏว่า มีการรับโอนเงิน ถึง 65 ครั้ง รวม 14,850,000 บาท โดยเป็นการโอนช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค.55 ถึง 61 ครั้ง เป็นเงิน 13,800,000 บาทเศษ และในช่วง เดือน ส.ค. 56 อีก 2 ครั้ง เป็นเงิน 1 ล้านบาทเศษ แม้ พล.ท.มนัส จำเลยที่ 54 จะต่อสู้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่ได้จากการพนันวัวชน, ซื้อขายวัวและเป็นเงินสนับสนุนจากเอกชนในการผลักดันแรงงานโรฮีนจานั้น จำเลยกลับไม่มีพยานหลักฐานเป็นเอกสารชัดเจน ขณะที่การผลักดันแรงงานรัฐ ก็มีงบประมาณสนับสนุนอยู่ จึงเชื่อได้ว่าเงินที่ได้รับโอนบัญชีของจำเลยที่ 54 เป็นผลประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับขบวนการค้ามนุษย์ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลผู้กระทำความผิดในการค้ามนุษย์ ไม่ให้ถูกจับกุม การกระทำนั้นจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันสมคบกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ฯ และมีส่วนร่วมเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งจำเลยที่ 54 เป็นเจ้าพนักงานจึงต้องระวางโทษ 2 เท่า ของความผิดนั้น