MGR Online - ศาลพิพากษาจำคุกหนัก 75 - 78 ปี โกโต้ง -
บรรจง - บังสัน - บังเบส อดีตนักการเมืองท้องถิ่นสงขลา สตูล ส่วนนายหน้าพม่าโดน 94 ปี ส่วน “พล.ท.มนัส - อดีตตำรวจ” เจอ คุก 27 ปี ร่วมค้ามนุษย์โรฮีนจา ยกฟ้อง 40 คน
วันนี้ (19 ก.ค.) ศาลได้อ่านพิเคราะห์ถึงความผิดของนายปัจจุบัน หรือ โกโต้ง อังโชติพันธุ์ อดีตนายก อบจ. สตูล จำเลยที่ 29 ซึ่งฝ่ายโจทก์ มีชาวโรฮีนจา ผู้เสียหาย เบิกความว่า ได้ยินคนแวดล้อมของจำเลยที่ 29 เรียกจำเลยว่าเป็น “บิ๊กบอส” ทำให้เป็นจุดสนใจแก่พยานในการจดจำ โดยจำเลยที่ 29 ทำหน้าที่รับแรงงานชาวโรฮีนจา จากทะเลมาขึ้นฝั่งที่ จ.สตูล ก่อนนำแรงงานทั้งหมดไปพักไว้แคมป์คนงานเพื่อรอเวลาส่งตัวแรงงานหมดไปประเทศมาเลเซีย ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์แรงงานเสียชีวิต โกโต้งจำเลยที่ 29 จะเป็นคนนำผ้ามาให้ห่อศพแล้วนำไปฝังดิน ขณะที่ยังมีพยานอื่นระบุว่า รับรู้จากสามีว่าหากติดขัดปัญหาในการขนส่งต้องเจรจา “บิ๊กบอส” ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขนส่งแรงงานได้ โดยในชั้นสอบสวนพยานดังกล่าวสามารถชี้ยืนยันตัวว่า “บิ๊กบอส” คือ จำเลยที่ 29 จากการคำเบิกความพยานที่สอดคล้องกันรับฟังได้ว่าทุกครั้งที่เกิดปัญหาจะมีจำเลยที่ 29 เกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง ซึ่งรายละเอียดนั้นยากต่อการปั้นแต่ง โดยข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 29 ก็ไม่มีน้ำหนักที่จะหักล้างพยานโจทก์ได้ โดยจำเลยที่ 29 ขนชาวโรฮีนจา ผ่าน จ.สตูล ขึ้นเทือกเขาแก้วก่อนส่งไปยังประเทศปลายทาง การกระทำของจำเลยที่ 29 จึงเป็นความผิดฐานเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันค้ามนุษย์เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี, ร่วมกันค้ามนุษย์เด็กอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี, ร่วมกันค้ามนุษย์อายุเกินกว่า 18 ปี, ร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปกระทำผิดค้ามนุษย์, สมคบกัน 2 คนขึ้นไปเพื่อค้ามนุษย์, ร่วมกันนำพาชาวต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร และ ให้ที่พักพิงชาวต่างด้าว ซึ่งจำเลยเป็นเจ้าพนักงานที่ต้องระวางโทษเป็น 2 เท่าของความผิดนั้น
ขณะที่ ด.ต.อัศณีย์รัญ นวลรอด จำเลยที่ 7 ศาลเห็นว่าพยานเบิกความสอดคล้องกันว่าโทรศัพท์ติดต่อกับกลุ่มจำเลยหลายคนโดยปรากฏหลักฐานมียอดเงินเข้าบัญชี เดือนละ 3,000 บาทที่ไม่สามารถระบุที่มาได้ ซึ่งหน้าที่ของจำเลยที่ 7 คือ ต้องประจำอยู่ที่ด่านตรวจในพื้นที่ที่กลุ่มจำเลยต้องสัญจรผ่าน จำเลยเจ้าพนักงานรับเงินค่าผ่านทางในการขนส่งชาวโรฮีนจา จึงมีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตาม ม.157 แต่ไม่พยานหลักฐานยืนยันว่าจำเลยที่ 7 ร่วมกระทำผิดฐานค้ามนุษย์
ส่วน นายอาบู ฮะอูรา สมาชิก อบจ. อำเภอควนโดน จ.สตูล จำเลยที่ 14 ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนว่าทำหน้าที่รับตัวชาวโรฮีนจาจากที่บ้านวังประจัน จ.สตูล ไปส่งประเทศมาเลเซีย พร้อมระบุการกระทำความผิดของจำเลยแต่ละคนที่การลักลอบค้าแรงงานต่างด้าว โดยเล่าเหตุที่มีการกระทำผิดอย่างละเอียดชัดเจน แม้ว่าในชั้นพิจารณาคดีจำเลยที่ 14 จะให้การปฏิเสธโดยเบิกความกลับไปมาก็เป็นข้ออ้างลอยๆ ขาดเหตุผลสนับสนุน จึงเชื่อในคำรับสารภาพในชั้นสอบสวนที่ให้การทันทีหลังการจับกุมไม่นาน ซึ่งไม่มีโอกาสปรุงแต่งเรื่อง จึงน่าเชื่อถือได้มากกว่า อีกทั้งมีพิรุธเงินในบัญชีจำนวน 4.2 ล้านบาทที่จำเลยที่ 14 อ้างว่าได้รับโอนมาจากภรรยาจากการค้าขายอาหารทะเลกับจำเลยที่ 67 แต่จำเลยที่ 67 ประกอบอาชีพเกษตรกรไม่มีเหตุผลที่จะซื้ออาหารทะเลมูลค่ามากตามที่จำเลยที่ 14 อ้างจึงเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 14 มีความผิดฐานเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, ร่วมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปกระทำผิดค้ามนุษย์, สมคบกัน 2 คนขึ้นไปเพื่อค้ามนุษย์ โดยจำเลยเป็นผู้บริหารท้องถิ่นต้องระวางโทษเป็น 2 เท่า
ต่อมาเวลา 15.30 น. ศาลได้พิเคราะห์ ถึงพฤติการณ์ของ นายสุวรรณ หรือโกหนุ่ย แสงทอง จำเลยที่ 17 และ นายปิยวัฒน์ หรือโกหย่ง พงษ์ไทย จำเลยที่ 22
ซึ่งโจกท์มีหลักฐานข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจำเลยทั้งสอง วันที่ 1 - 25 ม.ค. 58 ที่มีการติดต่อกันถึง 48 ครั้ง ในช่วงเวลาแค่ 25 วัน ซึ่งถือว่ามีความถี่มากกว่าเหตุธรรมดาทั่วไป ขณะที่จากการนำสืบของพยานโจทย์ รับฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองคนได้ติดต่อกันเรื่องจัดหาเรือประมงเพื่อในการขนส่งชาวโรฮินจา จำเลยจึงมีความผิดฐานร่วมกันค้ามนุษย์ บุคลกับบุคลที่มีอายุ 15 - 18 ปี ,มีส่วนร่วมองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ,ให้ที่พักพิงกับชาวต่างด้าว
นอกจากนี้ โจทก์มีเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายนาย เบิกความสอดคล้องกันถึงพฤติการณ์ เชื่อมโยงกับขบงนการค้ามนุษย์ โดย นางทัศนีย์ สุวรรณรัตน์ จำเลยที่ 30 เป็นเจ้าของรถกระบะ ที่ขนแรงงานโรฮีนจาไปจังหวัดสงขลา ซึ่งถูกตำรวจจับได้ 2 ครั้งตั้งแต่ปี 56 - 57 แม้จำเลยจะอ้างว่าพี่สาวได้ยืมรถไปแต่ไม่ทราบว่านำไปใช้อะไร ก็เป็นเพียงข้อกล่าวอ้าง เพราะเมื่อครั้งแรกที่รถถูกจับ จำเลยเจ้าของรถก็ยอมทราบเรื่องว่าได้มีการนำรถไปกระทำผิด อีกทั้งยังมีหลักฐานการโอนเงินผ่านบัญชี ของจำเลยและพี่สาวด้วย
ส่วน พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง จำเลยที่ 31 ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจพยานโจทก์ ให้การเบิกความสอดคล้องกัน ซึ่งรับฟังได้ว่าจำเลยทำหน้าที่คุ้มครองดูแลขบวนการค้ามนุษย์แรงงานโรฮีนจา และโจทก์ยังมีหลักฐานการรับโอนเงินระหว่างบัญชี ร.ต.ต.นราทอน สัมพันธ์ จำเลยที่ 33 กับ นายวิรัช หรือบังเสม เบ็ญโส๊ะ จำเลยที่ 27 เจ้าของเรือ เป็นเงิน 100,000 บาท โดยจำเลยที่ 33 จะดูแลกลุ่มที่ส่งแรงงานต่างด้าวทุกกลุ่ม ในพื้นที่ระนองและชุมพร ขณะเดียวกันยังพบหลักฐานการโอนเงินระหว่างบัญชีจำเลยที่ 33 และ นายชินพงษ์ ชาตรูประชีวิน และจำเลยที่ 92 อีกหลายครั้ง ซึ่งลำพังเงินเดือนของจำเลยที่ 33 จะอยู่ที่ 30,000 บาทแต่ ในการตรวจสอบบัญชีพบมีเงินหมุนเวียน 4 ล้านบาทแต่ในส่วนของนายจารึก สุวรรณรัตน์ จำเลยที่ 68 พยานหลักฐานยังฟังไม่ได้ว่า ทำผิดตามฟ้อง
สำหรับ พล.ท.มนัส คงแป้น จำเลยที่ 54 ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนแยกที่ 1 ระนอง นั้น ศาลเห็นว่าในช่วงที่มีการพบแรงงานเมียนมาและบังกลาเทศ ซึ่งเป็นชาวโรฮีนจา ทางการได้มีนโยบายผลักดังกลุ่มแรงงานเหล่านี้ออกจากนอกประเทศ ซึ่งระหว่างที่ พล.ท.มนัส จำเลย 54 ระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ผอ.กอ.รมน. ตำรวจสามารถจับกุมแรงงานต่างด้าวได้ 200 กว่าคน ซึ่งจะต้องทำการผลักดัน โดยส่งลงเรือลอยลำน่านน้ำสากล เพราะทั้งประเทศเมียนมา และบังกลาเทศ ไม่ยอมรับว่าบุคลดังกล่าวไม่ใช่พลเมือง แต่จากพยานหลักฐานโจทก์ พบว่า เมื่อมีการควบคุมแรงงานดังกล่าวแล้วได้ส่งให้จำเลยที่ 54 เพื่อผลักดันตามขั้นตอน แต่ขณะเดียวกันโจทก์ก็มีแรงงานโรฮีนจา ผู้เสียหายที่ถูกจับกุมช่วงดังกล่าว ให้การว่าเคยถูกจับกุมแล้วแต่ก็ได้รับการช่วยเหลือกลับมาเข้าแคมป์เทือกเขาแก้ว ซึ่งรับฟังได้ว่าแม้จะให้มีการผลักดันแรงงานออกน่านน้ำ ตามแผนพิทักษ์อันดามัน 1 แต่แรงงานก็สามารถกลับมาได้โดยความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจากรายงานประวัติรับราชการของจำเลยที่ 54 พบว่า ได้เป็น ผอ.กอ.รมน. ,ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกชุมพร (ผบ.จทบ.ชุมพร) และ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 จ.สงขลา ช่วงระหว่วง ต.ค.53 ถึง ธ.ค.57 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าช่วงเวลาที่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว มีความเชื่อมโยงในการผลักดันแรงงานโรฮีนจาออกนอกประเทศ ขณะที่ในการค้นบ้านพัก นางอรปภา จันทร์พ่วง จำเลยที่ 65 และ นางสาวศิริพร หรือแมว อุดมฤกษ์ จำเลยที่ 82 ก็พบหลักฐานเกี่ยวสลิปการโอนเงิน ซึ่งเชื่อมโยงบัญชี พล.ท.มนัส จำเลยที่ 54 ซึ่งพยานหลักฐานโจทก์ ปรากฏว่ามีการรับโอนเงิน ถึง 65 ครั้ง รวม เทือกเขาแก้ว 850,000 บาท โดยเป็นการโอนช่วงเดือน พ.ย.- ธ.ค. 55 ถึง 61 ครั้ง เป็นเงิน 13,800,000 บาทเศษ และในช่วง เดือน ส.ค. 56 อีก 2 ครั้ง เป็นเงิน 1 ล้านบาทเศษ
แม้ พล.ท.มนัส จำเลยที่ 54 จะต่อสู้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่ได้จากการพนันวัวชน, ซื้อขายวัว และเป็นเงินสนับสนุนจากเอกชนในการผลักดันแรงงานโรฮีนจานั้น จำเลยกลับไม่มีพยานหลักฐานเป็นเอกสารชัดเจน ขณะที่การผลักดันแรงงานรัฐก็มีงบประมาณสนับสนุนอยู่จึงเชื่อได้ว่าเงินที่ได้รับโอนบัญชีของจำเลยที่ 54 เป็นผลประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับขบวนการค้ามนุษย์ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลผู้กระทำความผิดในการค้ามนุษย์ ไม่ให้ถูกจับกุม การกระทำนั้นจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันสมคบกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปกระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ฯและมีส่วนร่วมเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ซึ่งจำเลยที่ 54 เป็นเจ้าพนักงานจึงต้องระวางโทษ 2 เท่าของความผิดนั้น
นอกจากนี้ ศาลยังพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ ของ น.ส.ขวัญฤทัย จันทร์พ่วง จำเลยที่ 59 น.ส.สถาพร ชื่นทับ จำเลยที่ 60 นางอรประภา จันทร์พ่วง จำเลยที่ 65 นายพิศิษย์ เพ็ชรคีรี จำเลยที่ 74 นางผานิต ด้วงขุนนุ้ย จำเลยที่ 78 นางรุ่งกานต์ พิพัฒนวานิช จำเลยที่ 79 นายสรศักดิ์ ห่อมา จำเลยที่ 88 ที่มีส่วนร่วมรับโอนเงินที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กระทั่งเวลา 18.30 น. องค์คณะผู้พิพากษาฯได้พักการอ่านคำพิพากษา 30 นาที ก่อนจะเริ่มอ่านคำพิพากษาในช่วงค่ำ ซึ่งเหลือคำพิพากษาที่ยังไม่ได้อ่านอีกจำนวน 100 หน้า
ต่อมา เมื่อเวลา 21.00 น. ภายหลัง องค์คณะผู้พิพากษาคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา ใช้เวลาอ่านคำพิพากษาคดีค้ามนุษย์แรงงานโรฮิงญาชาวเมียนมา และบังกลาเทศ 500 หน้า นานร่วม 12 ชั่วโมงตั้งแต่เวลา 08.30 น. องค์คณะผู้พิพากษาคดีค้ามนุษย์ในศาลอาญา ได้มีคำพิพากษาให้จำคุก 78 ปี นายบรรจง หรือ จง ปองพล อดีตนายกเทศมนตรีเมืองปาดังเบซาร์ จ.สงขลา จำเลยที่ 1, นายอ่าสัน หรือ หมู่สัน หรือ บังสัน อินทธนู อดีตสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ จำเลยที่ 2 และ นายประสิทธิ์ หรือเดช หรือ บังเบส หรือ บังเค เหล็มเหล๊ะ อดีตรองนายกเทศมนตรีตำบลปาดังเบซาร์ จำเลยที่ 6 ที่เป็นอดีตผู้บริหารท้องถิ่นและอดีตสมาชิกท้องถิ่น ฐานค้ามนุษย์บุคคลที่อายุไม่เกิน 15 ปีและอายุเกิน 15 ปีกับอายุเกิน 18 ปี และมีส่วนร่วมอาชญากรรมข้ามชาติฯ
จำคุุก 74 ปี จำเลยที่ 10, 11, 53, 99, 101 ส่วนจำเลยที่ 39, 56 คงจำคุกคนละ 37 ปี
จำคุก 94 ปี นายซอเนียง อานู หรือ อันวา หรือ โซไนท์ จำเลยที่ 46 อายุ 42 ปี สัญชาติเมียนมา เป็นนายหน้าขบวนการค้ามนุษย์ในประเทศไทย ซึ่งนอกจากความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์แล้วยังผิดฐานให้ทำร้ายผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งถือเป็นจำเลยที่ได้รับโทษสูงสุดจำคุก 76 ปี จำเลยที่ 12, 47 กับจำคุก 57 ปีจำเลยที่ 4 กับ จำคุก 79 ปี จำเลยที่ 5 กับจำคุก 77 ปี จำเลที่ 18, จำคุก 57 ปี 9 เดือน จำเลยที่ 28, จำคุก 50 ปี 16 เดือน จำเลยที่ 43
จำคุก 75 ปี นายปัจจุบัน หรือ โกโต้ง อังโชติพันธุ์ อดีตนายก อบจ.สตูล จำเลยที่ 29
จำคุก 75 ปี จำเลยที่ 16, 38 และจำคุก 50 ปี จำเลยที่ 40 กับจำคุก 76 ปี จำเลยที่ 57, 58 กับจำคุก 22 ปี จำเลยที่ 17, 96 กับจำคุก 14 ปี 8 เดือน จำเลยที่ 3, 20
จำคุก 23 ปีจำเลยที่ 8, 30, 45, 48, 49, 50, 51, 81 กับจำคุก 11 ปี 6 เดือน จำเลยที่ 21, 55 กับจำคุก 15 ปี 4 เดือน จำเลยที่ 44 และจำคุก 17 ปี 3 เดือน จำเลยที่ 13, 19
ส่วน พล.ท.มนัส อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก จำเลยที่ 54, พ.ต.ท.ชาญ อู่ทอง จำเลยที่ 31, ร.ต.ต.นราทอน สัมพันธ์ จำเลยที่ 33 และ นายอาบู หรือ ส.จ.บู ฮะอุรา อดีต ส.อบจ. อ.ควนโดน จ.สตูล จำเลยที่ 14 จำคุกเป็นเวลา 27 ปี
จำคุก 79 ปี จำเลยที่ 22 กับ จำคุก 77 ปี จำเลยที่ 27, 48 และจำคุกจำเลยที่ 5 เป็นเวลา 57 ปี 9 เดือน
จำคุก 19 ปี จำเลยที่ 59, 60, 65, 66, 67, 74, 79, 87, 97, 100 ส่วนจำเลยที่ 78 และ 88
จำคุก 14 ปี 3 เดือน จำเลยที่ 22, 25, 27, 28, 29, 38, 43, 46, 47, 48, 53, 57, 58, 99 และ 100 ซึ่งรวมโทษทุกกระทงแล้วเกินกว่า 50 ปี จึงให้ลงโทษสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 วงเล็บสาม จำคุกไว้คนละสูงสุด 50 ปี
ส่วนจำเลยที่เหลือ 40 ราย พิพากษายกฟ้อง โดยให้ขังจำเลยจำนวน 28 ราย จาก 40 รายไว้ก่อนในระหว่างอุทธรณ์
และให้จำเลย 62 ราย ที่ศาลพิพากษาลงโทษ ร่วมกันชดใช้เงินค่าเสียหายต่อเสรีภาพ กับทุกข์ต่อจิตใจและร่างกาย และการขาดรายได้ทำมากินกับผู้เสียหายทั้งที่เป็นเด็กชาย 7 ราย กับและผู้เสียหายที่อายุกว่า 15 ถึง 18 ปี จำนวน 58 คนด้วย ตั้งแต่รายละ 50,000 - 159,000 บาท รวมเป็นเงิน 4,400,250 บาท
อย่างไรก็ดี เนื่องจากขณะนี้ล่วงเลยเวลาทำการแล้ว จำเลยที่ประสงค์จะยื่นประกันระหว่างต่อสู้อุทธรณ์นั้น ยังไม่สามารถยื่นคำร้องได้ โดยจำเลยจะต้องถูกคุมตัวไปขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพ และทัณฑสถานหญิงกลางก่อน โดยเมื่อเริ่มทำการเวลาราชการสามารถยื่นประกันตัวได้ ส่วนจำเลย 12 ราย ที่ศาลไม่ได้มีคำสั่งให้ขังไว้ระหว่างอุทธรณ์ก็จะได้รับการปล่อยตัวที่เรือนจำต่อไป
ทั้งนี้ ผลคำพิพากษาดังกล่าวเป็นการตัดสินของศาลชั้นต้น ซึ่งกฎหมายยังเปิดโอกาสให้จำเลยยื่นอุทธรณ์สู้คดีได้อีกชั้นหนึ่ง
โดยคดีนี้นับเป็นประวัติศาสตร์ของการอ่านคำพิพากษาคดีอาญามาราธอนนาน 12 ชั่วโมง โดยองค์คณะฯ 9 คน ผลัดเปลี่ยนอ่านคำพิพากษาโดยมีการพักเบรก 2 ครั้งๆ ละ 30 นาทีเท่านั้น และเป็นคดีแรกที่ได้มีการดำเนินคดีกับกลุ่มผู้บริหารท้องถิ่น, ข้าราชการ, ทหาร กระทั่งมีคำตัดสินลงโทษ ขณะที่คดีนี้ศาลใช้เวลาไต่สวนพยานกว่า 200 ปาก ช่วง มี.ค. 59 - 24 ก.พ. 60
ภายหลัง นายชัชวร เปียกลิ่น ทนายความ ด.ต.อัศณีย์รัญ นวลรอด จำเลยที่ 7 โดยในวันนี้ศาลอาญาพิพากษาจำคุกจำเลย ไป 62 คน และยกฟ้องจำเลยไป 40 คน ซึ่งลูกความของตนเป็นจำเลยที่ 7 และเป็นตำรวจ ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องในข้อหาอื่นทั้งหมด ยกเว้นปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ให้จำคุก 4 ปี ก็ถือว่าโทษไม่สูงมาก โดยศาลสั่งให้ขังจำเลยไว้ระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งเราก็พอใจโทษที่ศาลตัดสินแต่ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์ ซึ่งเข้าใจว่าญาติคงขอยื่นประกันตัวระหว่างอุทธรณ์ แต่ศาลจะพิจารณาหรือไม่นั้นก็ไม่ทราบ
โดย นายชัชวร กล่าวว่า คดีนี้จำเลยที่ศาลยกฟ้องไปนั้นเนื่องจากพยานหลักฐานไม่สามารถนำสืบได้ เพราะพยานหลักฐานอ่อน ไม่เพียงพอว่าได้กระทำผิด ส่วนที่ศาลลงโทษก็มีไม่เท่ากัน 70 - 80 ปี ก็มีซึ่งขึ้นอยู่กับศาลความผิดว่าจำเลยเหล่านั้นได้กระทำความผิดในฐานความผิดอะไรบ้าง โดยส่วนมากจำเลยที่ศาลยกฟ้องจะยังให้ขังระหว่างอุทธรณ์ มีส่วนน้อยที่ศาลจะปล่อยเลย ซึ่งจำเลยที่ศาลปล่อยโดยไม่ขังระหว่างอุทธรณ์จะเห็นว่าพฤติการณ์ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด แต่ที่ให้ขังระหว่างอุทธรณ์นั้นเพราะยังมีเหตุสงสัยอยู่ จึงควรให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้กลั่นกรองอีกครั้ง
สำหรับรายชื่อจำเลยประกอบด้วย
1) นายบรรณจง หรือ จง ปองผล ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
2) นายอ่าสัน หรือ หมู่สัน หรือบังสัน อินทธนู ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
3) นายร่อเอ หรือ เอ๋ สนยาแหละ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
4) นายอาหลี หรือ หลี ล่าเม๊าะ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
5) นายยาหลี เขร็ม ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
6) นายประสิทธิ์ หรือ เดช หรือ บังเบส หรือ บังเค เหล็มเหล๊ะ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
7) ดาบตำรวจอัศณีย์รัญ นวลรอด ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
8) นายสาโรจน์ หรือ บังสา แก้วมณีโชติ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
9) ร้อยตำรวจโทมงคล สุโร ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
10) นายชลชาสน์ หรือ บังโอบ ไชยมณี ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
11) นายสมยศ อังโชติพันธุ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
12) นายชลธิชา หรือ บังชล ไชยมณี ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
13) นายเจ๊ะมุสา หรือ ล้าน สีสัย ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
14) นายอาบู หรือ ส.จ.บู ฮะอุรา ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
15) นางสาวปาลิตา หรือ ทอม ชูอมรทรัพย์ ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
16) นายโคเทวย์ หรือ โกทรี (KO HTWE) ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
17) นายสุวรรณ หรือ โกหนุ่ย แสงทอง ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
18) นายอนัตตา หรือ แกะ โชติบุญทอง ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
19) นายสถิต แหมถิ่น ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
20) นายสมรรถชัย หรือ โบ้ หรือแรมโบ้ ฮะหมัด ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
21) นายมูปะกาส หรือ บังกาด แขกพงศ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
22) นายปิยวัฒน์ หรือ โกหย่ง พงษ์ไทย ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
23) นายอนัส หะยีมะแซ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
24) นายมาเลย์ โต๊ะดิน ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
25) นายสุไหลหมาน หรือ ปาซี หมัดอาด้ำ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
26) นายสุรียา หรือ โกชัย อาฮะหมัด หรืออาหะหมัด ( เสียชีวิต ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
27) นายวิรัช หรือ บังเสม เบ็ญโส๊ะ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
28) นายพิชัย หรือ บ่องล๊ะ คงเอียง ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
29) นายปัจจุบัน หรือ โกโต้ง อังโชติพันธุ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
30) นางทัศนีย์ สุวรรณรัตน์ ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
31) พันตำรวจโท ชาญ อู่ทอง ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
32) นายอนุสรณ์ หรือ โกเล้ง สุขเกษม ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
33) ร้อยตำรวจตรี นราทอน สัมพันธ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
34) นายโปเซี่ย หรือ โกเซี่ย อังโชติพันธุ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
35) นายสมบูรณ์ สันโด ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
36) นายวุฒิ วุฒิประดิษฐ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
37) นายสมพล อาดำ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
38) นายอูเซ็น ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
39) นายสมเกียรติ หรือ แอน แก้วประดับ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
40) นายอับดุลลาซีด หรือ ซีด มันตะสุม ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
41) นายหมัดยูโส๊บ หรือ หยัด บิลเหล็ม ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
42) นายเจ๊ะเต๊ะ หรือ บังเต๊ะ ยะฝาด ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
43) นายหมิด หมอ ชื่น ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
44) นายสราวุธ หรือ บังเครา พรหมกะหมัด ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
45) นายทนงศักดิ์ หรือ ยี่สัน เหมมันต์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
46) นายซอเนียง อานู หรือ อันวา หรือโซไนท์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
47) นายเจริญ หรือ บังแฉะ ทองแดง ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
48) นายสะอารี หรือ สะหรี เขร็ม ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
49) นายถาวร หรือ บังวร มณี ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
50) นายดีน หรือ บังดีน เหมมันต์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
51) นายชาคริต หลงสาม๊ะ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
52) นายหมาดสะอาด ใจดี ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
53) นายดาเหร็ด หมานละโต๊ะ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
54) พลโท มนัส คงแป้น ( ขัง )
55) นายประสิทธิ์ หรือ บังเหม แก้วประดับ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
56) นายสุภาพ แก้วประดับ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
57) นายฮาซอล (M.D.HASHIM) ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
58) นายอับดุลนาเซท หรือ อาบู นอช็อต ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
59) นางสาวขวัญฤทัย จันทร์พ่วง ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
60) นางสาวสถาพร ชื่นทับ ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
61) นายหมุดสอและ กำพวน ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
62) นางสาวสีตีคอลีเยาะ วาเตะ ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
63) นางสายตา ฮวดสี ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
64) นายอาแซ เจ๊ะบากา ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
65) นางอรปภา จันทร์พ่วง ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
66) นางสมใจ หละอะด้ำ ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
67) นายอรัณ หนูอินทร์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
68) นายจารึก สุวรรณรัตน์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
69) นางศรัญญา เตะมาหมัด ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
70) นางปราณี สุขสำราญ ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
71) นายสุเมธ พูลสวัสดิ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
72) นายวรวิทย์ หรือ ฟาริด ปูหยัง ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
73) นายธัชพล หรือ บังเป้า หวังเบ็ญหมุด หรือหวังเบ็ญหมูด ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
74) นายพิศิษ์ย์ เพ็ชรศีรี ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
75) นางสายใจ มูเก็ม ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
76) นางโฉมสิณี ปิยทัศสี ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
77) นางสาวสุภิยา ด้วงขุนนุ้ย ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
78) นางหรือนางสาวผานิต ด้วงขุนนุ้ย ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
79) นางรุ่งกานต์ พิพัฒนวานิช ( ขัง )
80) นายวิทยา หรือ โกจ๋วน จีระธัญญาสกุล ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
81) นางจันทร์ตรี แซ่เตีย ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
82) นางสาวศิริพร หรือ แมว อุดมฤกษ์ ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
83) นายภูษณ หรือ ฟิว ตันสุเมธ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
84) นางสาวเสาวลักษณ์ วุรุฬห์รักษ์สกุล ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
85) นายถิระพล ชูคุปติวงศ์ ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
86) นายณัฐวุฒิ ระวังภัย ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
87) นายหัวลี่ฟิ่น อ้าหลี ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
88) นายสรศักดิ์ ห่อมา ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
89) นางสาวโย หรือ นางโย ดำรงพันธ์กุล ( ขัง ) ทัณฑสถานหญิงกลาง
90) ร้อยเอกวิสูตร บุนนาค ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
91) นายชาลี มณีหรรษา ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
92) นายชินพงษ์ ชาตรูประชีวิน ( ขัง ) เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร
93) นางสาวปริศนา จิรธรรมสกุล ( ขัง )
94) นายธวัช นฤหบดินทร์ ( ขัง )
95) นางสาวสายฝน เผยศิริ ( ขัง )
96) นายสาแล๊ะ จางวาง ( ขัง )
97) นางจินตนา พรหมอักษร ( ขัง )
98) นางสาวฉันทนา วันทอง ( ขัง )
99) นายเจ๊ะอาด โต๊ะดิน ( ขัง )
100) นายสมบัติ บำเพ็ญพงษ์ ( ขัง )
101) นายผิน ร่วมบัว ( ขัง )
102) นางนงนุช บำเพ็ญพงษ์ ( ขัง )
103) นายมอฮัมหมัด หาญจิตร