สนช.มติเอกฉันท์ ไฟเขียวร่าง กม.วิธีพิจารณาความอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไต่สวนลับหลัง-หนีคดีไม่มีอายุความ “เด็กเพื่อไทย” ปูดเงินทอนขายข้าวสต๊อตรัฐเป็นหมื่นล้าน แฉเทข้าวคนขายถูกๆราคาอาหารสัตว์
วานนี้ (13 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ด้วยคะแนน 176 เสียง ให้ความเห็นชอบ โดยตามขั้นตอนจะต้องส่งร่างกฎหมายฉบับนี้ ให้กับศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เพื่อพิจารณาว่าเนื้อหาในร่างกฎหมายตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ นอกจากมาตรา 26 และ 27 ที่เปิดทางให้มีการไต่สวนและพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ ยังมาตราที่น่าสนใจอีก 1 มาตรา คือ มาตรา 24 กำหนดให้ คดีอาญาตามกฎหมายฉบับนี้ เมื่อได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว หากผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีไประหว่างถูกดำเนินคดีหรือระหว่างพิจารณาคดีของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ ในกรณีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลย ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 98 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยอายุความมาใช้บังคับ
ภายหลังการประชุม นายอุดม รัฐอมฤต คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะกมธ.วิสามัญฯ เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะทำให้คดีเก่าที่ยังไม่ขาดอายุความ ต้องไปใช้ขั้นตอนและหลักเกณท์การพิจารณาคดีตามกฎหมายฉบับใหม่ ส่วนที่ขาดอายุความไปแล้ว ไม่นับ ดังนั้นหากจำเลยในคดีเก่าที่ยังไม่หมดอายุความ มีพฤติกรรมหลบหนีระหว่างพิจารณาคดี การนับอายุความต่างๆ ก็จะต้องหยุดลงตามกฎหมายใหม่ทันที
เมื่อถามว่า ในกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีนายกฯ ที่กำลังถูกดำเนินคดีในโครงการรับจำนำข้าวนั้น หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลบหนีระหว่างพิจารณาคดี แล้วคดีจะไม่ถูกนับอายุความ ตามหลักการของกฎหมายใหม่หรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า หากจำเลยหลบหนีระหว่างพิจารณาคดี การนับอายุความต้องหยุดลงตามกฎหมายใหม่ แต่จะนับเฉพาะคดีเก่าที่ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนคดีที่ขาดอายุไปแล้วไม่นับ
อีกด้าน นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการระบายสต็อกข้าว 18 ล้านตัน ซึ่งเหลือมาจากโครงการรับจำนำข้าวสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า รัฐบาลเตรียมดำเนินการนำข้าวจำนวน 2.87 ล้านตัน ระบายออกสู่ตลาด แบ่งเป็นประเภท 1.ข้าวคนบริโภค 1.67 แสนตัน 2.ข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่คนบริโภคอาหารสัตว์ 2.14 ล้านตัน และ 3.ข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่คนและสัตว์บริโภคพลังงาน 5.68 แสนตัน ซึ่งตนได้ตรวจสอบพบความไม่โปร่งใสการระบายข้าวล็อตสุดท้าย คือ มีผู้มาเสนอซื้อข้าวในโกดังประสิทธิ์ชัยอุบล 2011 จ.อุบลราชธานี ในราคา 11.25 ต่อกิโลกรัม แต่ปรากฏว่า รัฐไม่ขาย แต่กลับเอาขายข้าวมาขายเป็นอาหารสัตว์ ให้กับ บ.กาญจนาอาหารสัตว์ ในราคา 6.10 บาทต่อกิโลกรัม ขาดทุนไปกิโลกรัมละ 5.15 บาท เฉพาะโกดังนี้ขาดทุนไป 72 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจากการประมูลขายข้าวให้คนบริโภคไปเป็นอาหารสัตว์ ยังพบอีก 18 โกดัง จำนวน 200 ตัน ที่พบปัญหาเดียวกัน ซึ่ง นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศอ้างว่า เป็นความเห็นชอบของประธานกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งก็คือนายกฯเป็นคนสั่งให้ดำเนินการ
“ขอเรียกร้องนายกฯเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร่งด่วนที่สุด เพราะส่อถึงความไม่โปร่งใสอีกทั้งยังมีข่าวลือว่ามีเงินทอนกันเป็นหมื่นล้านบาทอีกด้วย” นายยุทธพงศ์ กล่าว.
วานนี้ (13 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีวาระการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ด้วยคะแนน 176 เสียง ให้ความเห็นชอบ โดยตามขั้นตอนจะต้องส่งร่างกฎหมายฉบับนี้ ให้กับศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เพื่อพิจารณาว่าเนื้อหาในร่างกฎหมายตรงกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก่อนประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ นอกจากมาตรา 26 และ 27 ที่เปิดทางให้มีการไต่สวนและพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้ ยังมาตราที่น่าสนใจอีก 1 มาตรา คือ มาตรา 24 กำหนดให้ คดีอาญาตามกฎหมายฉบับนี้ เมื่อได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว หากผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีไประหว่างถูกดำเนินคดีหรือระหว่างพิจารณาคดีของศาล มิให้นับระยะเวลาที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยหลบหนีรวมเป็นส่วนหนึ่งของอายุความ ในกรณีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลย ถ้าจำเลยหลบหนีไปในระหว่างต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ มิให้นำบทบัญญัติมาตรา 98 แห่งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยอายุความมาใช้บังคับ
ภายหลังการประชุม นายอุดม รัฐอมฤต คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในฐานะกมธ.วิสามัญฯ เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะทำให้คดีเก่าที่ยังไม่ขาดอายุความ ต้องไปใช้ขั้นตอนและหลักเกณท์การพิจารณาคดีตามกฎหมายฉบับใหม่ ส่วนที่ขาดอายุความไปแล้ว ไม่นับ ดังนั้นหากจำเลยในคดีเก่าที่ยังไม่หมดอายุความ มีพฤติกรรมหลบหนีระหว่างพิจารณาคดี การนับอายุความต่างๆ ก็จะต้องหยุดลงตามกฎหมายใหม่ทันที
เมื่อถามว่า ในกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีนายกฯ ที่กำลังถูกดำเนินคดีในโครงการรับจำนำข้าวนั้น หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ หลบหนีระหว่างพิจารณาคดี แล้วคดีจะไม่ถูกนับอายุความ ตามหลักการของกฎหมายใหม่หรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า หากจำเลยหลบหนีระหว่างพิจารณาคดี การนับอายุความต้องหยุดลงตามกฎหมายใหม่ แต่จะนับเฉพาะคดีเก่าที่ยังไม่ขาดอายุความ ส่วนคดีที่ขาดอายุไปแล้วไม่นับ
อีกด้าน นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีต รมช.เกษตรและสหกรณ์ พรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงการระบายสต็อกข้าว 18 ล้านตัน ซึ่งเหลือมาจากโครงการรับจำนำข้าวสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า รัฐบาลเตรียมดำเนินการนำข้าวจำนวน 2.87 ล้านตัน ระบายออกสู่ตลาด แบ่งเป็นประเภท 1.ข้าวคนบริโภค 1.67 แสนตัน 2.ข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่คนบริโภคอาหารสัตว์ 2.14 ล้านตัน และ 3.ข้าวเข้าอุตสาหกรรมที่มิใช่คนและสัตว์บริโภคพลังงาน 5.68 แสนตัน ซึ่งตนได้ตรวจสอบพบความไม่โปร่งใสการระบายข้าวล็อตสุดท้าย คือ มีผู้มาเสนอซื้อข้าวในโกดังประสิทธิ์ชัยอุบล 2011 จ.อุบลราชธานี ในราคา 11.25 ต่อกิโลกรัม แต่ปรากฏว่า รัฐไม่ขาย แต่กลับเอาขายข้าวมาขายเป็นอาหารสัตว์ ให้กับ บ.กาญจนาอาหารสัตว์ ในราคา 6.10 บาทต่อกิโลกรัม ขาดทุนไปกิโลกรัมละ 5.15 บาท เฉพาะโกดังนี้ขาดทุนไป 72 ล้านบาท อย่างไรก็ตามจากการประมูลขายข้าวให้คนบริโภคไปเป็นอาหารสัตว์ ยังพบอีก 18 โกดัง จำนวน 200 ตัน ที่พบปัญหาเดียวกัน ซึ่ง นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศอ้างว่า เป็นความเห็นชอบของประธานกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งก็คือนายกฯเป็นคนสั่งให้ดำเนินการ
“ขอเรียกร้องนายกฯเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร่งด่วนที่สุด เพราะส่อถึงความไม่โปร่งใสอีกทั้งยังมีข่าวลือว่ามีเงินทอนกันเป็นหมื่นล้านบาทอีกด้วย” นายยุทธพงศ์ กล่าว.